รับจดเครื่องหมายฮาลาล – ขอฮาลาลแบบ OEM

เครื่องหมายฮาลาล (Halal)

บริการรับจดทะเบียนเครื่องหมายฮาลาล ขอรับรองฮาลาลแบบ OEM อย่างถูกต้อง ทุกขั้นตอน

TGC ให้บริการ รับจดทะเบียนเครื่องหมายฮาลาล และ ขอรับรองฮาลาลแบบ OEM อย่างถูกต้อง ครบทุกขั้นตอน โดยทีมงานผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ด้านข้อกำหนดศาสนาอิสลามและมาตรฐานสากล เราพร้อมดูแลตั้งแต่การตรวจสอบเอกสาร การจัดเตรียมข้อมูลผลิตภัณฑ์ การติดต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไปจนถึงการติดตามผลเพื่อให้ลูกค้าได้รับเครื่องหมายฮาลาลอย่างรวดเร็ว

สำหรับ การขอรับรองฮาลาลแบบ OEM เราช่วยตรวจสอบและประสานงานกับโรงงานผลิต เพื่อให้มั่นใจว่ากระบวนการผลิตทุกขั้นตอนสอดคล้องกับหลักฮาลาลอย่างเคร่งครัด TGC มุ่งเน้นความถูกต้อง โปร่งใส และให้คำปรึกษาที่ชัดเจน เพื่อเพิ่มความมั่นใจให้ธุรกิจของคุณในการเข้าสู่ตลาดกลุ่มผู้บริโภคมุสลิมอย่างมั่นคงและยั่งยืน

ฮาลาล (Halal) คืออะไร? ทำไมต้องมีเครื่องหมายฮาลาล?

ฮาลาล หมายถึง “สิ่งที่อนุมัติ” ตามหลักศาสนาอิสลาม โดยเฉพาะในอาหารและเครื่องดื่มที่ต้องปราศจากสิ่งต้องห้าม และผ่านกระบวนการผลิตที่ถูกต้องและสะอาด เครื่องหมายฮาลาล หรือตราฮาลาล คือ ตราที่มีภาษาอาหรับเขียนอยู่ตรงกลางว่า حلال คำนี้อยู่ภายในกรอบสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน หลังกรอบเป็นลายเส้นแนวตั้ง ใต้กรอบภายในเส้นขนานมีคำว่า “สนง.คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย” โดยคณะกรรมการฝ่ายกิจการฮาลาลของคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย หรือคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดต่าง ๆ จะเป็นผู้ออกเครื่องหมายฮาลาล

เครื่องหมายฮาลาล (Halal)
ฮาลาล OEM คืออะไร

การขอฮาลาล OEM คืออะไร? ต่างจาก ODM อย่างไร?

OEM (Original Equipment Manufacturer) คือ การผลิตสินค้าภายใต้แบรนด์ของลูกค้า โดยโรงงานทำหน้าที่ผลิตตามสูตรหรือมาตรฐานที่ลูกค้ากำหนด ส่วน ODM (Original Design Manufacturer) คือ การที่โรงงานช่วยคิดค้นสูตร พัฒนา หรือออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ทั้งหมดให้ลูกค้า ซึ่งลูกค้าเพียงนำไปทำตลาด

ในแง่การขอฮาลาล ทั้ง OEM และ ODM ต้องผ่านกระบวนการตรวจสอบตามหลักศาสนาอิสลาม แต่ ODM อาจต้องมีการตรวจสอบรายละเอียดเพิ่มเติมในส่วนของการพัฒนาสูตรหรือวัสดุใหม่ เพื่อให้แน่ใจว่าทุกขั้นตอนสอดคล้องกับมาตรฐานฮาลาลอย่างเคร่งครัด

สอบถามข้อมูลหรือขอคำปรึกษาการจดทะเบียน

มาตรฐานเกี่ยวกับอาหารฮาลาล

ผู้ประกอบการหรือผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ฮาลาลเองก็มมีบทบาทสำคัญในการขอฮาลาล ด้วยการปฏิบัติตามหลักศาสนาอิสลามและมาตรฐานฮาลาล เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคมุสลิมว่าผลิตภัณฑ์นั้นปลอดภัยและเหมาะสม โดยมีหน้าที่ตามนี้

1. ปฏิบัติตามหลักศาสนาอิสลาม
1.1เลือกใช้วัตถุดิบที่ฮาลาลและไม่มีส่วนผสมของสิ่งที่ต้องห้าม (ฮะรอม)
1.2ใช้กระบวนการผลิตที่ไม่ขัดต่อหลักศาสนา

2. จัดการระบบการผลิตให้ได้มาตรฐาน
2.1แยกอุปกรณ์การผลิตสำหรับผลิตภัณฑ์ฮาลาลจากผลิตภัณฑ์อื่นอย่างชัดเจน
2.2รักษาความสะอาดในสถานที่ผลิตและอุปกรณ์ทุกชิ้น

3.ตรวจสอบวัตถุดิบและแหล่งที่มา
3.1ตรวจสอบและยืนยันความฮาลาลของวัตถุดิบจากซัพพลายเออร์
3.2หลีกเลี่ยงการใช้วัตถุดิบที่มีความเสี่ยงหรือไม่ได้รับการรับรอง

4. ยื่นขอรับรองเครื่องหมายฮาลาล
4.1ดำเนินการขอรับรองฮาลาลกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
4.2เตรียมเอกสารและข้อมูลการผลิตที่จำเป็นสำหรับกระบวนการขอรับรอง

5. ติดตามและปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่อง
5.1 ปฏิบัติตามข้อกำหนดฮาลาลอย่างเคร่งครัดในทุกขั้นตอน
5.2 มีการตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์และการผลิตอย่างสม่ำเสมอ

6. สร้างความโปร่งใส
6.1 ให้ข้อมูลที่ถูกต้องและชัดเจนแก่ผู้บริโภคเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์
6.2 เปิดเผยแหล่งที่มาของวัตถุดิบและกระบวนการผลิตตามความจำเป็น

7. อบรมพนักงานเกี่ยวกับหลักฮาลาล
7.1 ให้ความรู้แก่พนักงานเกี่ยวกับข้อกำหนดฮาลาล
7.2ปลูกฝังจิตสำนึกในการผลิตสินค้าที่ถูกต้องตามหลักศาสนา

การรับรองฮาลาลมีหลากหลายประเภท แบ่งามลักษณะของผลิตภัณฑ์และบริการที่ต้องการรับรอง เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานและข้อกำหนดตามหลักศาสนาอิสลาม ประเภทของการรับรองการขอฮาลาลที่สำคัญมีดังนี้

1. การรับรองฮาลาลสำหรับอาหารและเครื่องดื่ม
– สำหรับอาหารสำเร็จรูป เครื่องดื่ม และวัตถุดิบที่ใช้ในการปรุงอาหาร
– เน้นการตรวจสอบวัตถุดิบ กระบวนการผลิต และความสะอาด

2. การรับรองฮาลาลสำหรับผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางและของใช้ส่วนตัว
– สำหรับผลิตภัณฑ์ที่ใช้กับร่างกาย เช่น เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์บำรุงผิว และของใช้ในชีวิตประจำวัน
– ต้องไม่มีส่วนผสมจากสัตว์ต้องห้าม หรือแอลกอฮอล์ในปริมาณที่เกินกำหนด

3. การรับรองฮาลาลสำหรับยาและเวชภัณฑ์
– สำหรับยารักษาโรค วิตามิน และผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
– ต้องผ่านการตรวจสอบส่วนประกอบและกระบวนการผลิตอย่างละเอียด

4. การรับรองฮาลาลสำหรับสถานประกอบการ
– เช่น ร้านอาหาร โรงแรม และโรงงานผลิต
– เน้นความสะอาด การแยกพื้นที่สำหรับผลิตภัณฑ์ฮาลาล และการบริหารจัดการที่ได้มาตรฐาน

5. การรับรองฮาลาลสำหรับกระบวนการผลิต (OEM/ODM)
– สำหรับผู้ผลิตที่ให้บริการผลิตสินค้าให้กับแบรนด์อื่น
– ต้องยืนยันว่ากระบวนการผลิต วัตถุดิบ และสถานที่ผลิตเป็นไปตามข้อกำหนดฮาลาล

6. การรับรองฮาลาลสำหรับบริการด้านโลจิสติกส์
– สำหรับการขนส่งและจัดเก็บผลิตภัณฑ์ฮาลาล
– ต้องแยกพื้นที่หรือระบบขนส่งจากผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่ฮาลาล

7. การรับรองฮาลาลสำหรับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
– สำหรับผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในโรงงาน เช่น น้ำมันหล่อลื่น สารเคมี หรือบรรจุภัณฑ์
– ต้องมั่นใจว่าปลอดจากสิ่งต้องห้าม

8. การรับรองฮาลาลสำหรับบริการการเงิน (Halal Finance)
– สำหรับผลิตภัณฑ์ทางการเงิน เช่น การลงทุนหรือสินเชื่อที่ปฏิบัติตามหลักชะรีอะห์

เพื่อที่จะขอฮาลาล ผลิตผลิตภัณฑ์ที่จะขอต้องปฏิบัติตามหลักศาสนาอิสลามอย่างเคร่งครัด โดยหลีกเลี่ยงการใช้วัตถุดิบหรือส่วนผสมที่เป็นสิ่งต้องห้าม (ฮารอม) ตามนี้

1. สัตว์ที่ไม่ได้เชือดตามหลักศาสนาอิสลาม เช่น สัตว์ที่ตายเอง (ซากสัตว์)

2. สุกรและผลิตภัณฑ์จากสุกร เช่น เนื้อหมู ไขมันหมู เจลาติน หรือส่วนผสมที่สกัดจากสุกร

3. แอลกอฮอล์ในรูปแบบต้องห้าม เช่น แอลกอฮอล์ที่มาจากการหมักเพื่อทำเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือส่วนผสมที่มีแอลกอฮอล์ในปริมาณสูงหรือเกินกว่าที่ศาสนาอนุญาต

4. เลือดและผลิตภัณฑ์จากเลือดที่เกิดในการผลิตและนำไปผสมกับผลิตภัณฑ์ เช่น ในซอสหรือผลิตภัณฑ์อาหาร

5. กลุ่มสัตว์นักล่าและสัตว์ที่มีพิษ เช่น สัตว์ปีกนักล่า งู หรือแมลงที่เป็นอันตราย

6. ส่วนผสมที่มาจากสัตว์ต้องห้ามอื่นๆ เช่น เนื้อสัตว์หรือวัตถุดิบที่มาจากสัตว์ไม่เจาะจง เช่น ซากสัตว์ป่า

7. สารปนเปื้อนจากสิ่งต้องห้าม ตลอดจนการใช้ส่วนผสมที่สัมผัสกับสิ่งต้องห้ามระหว่างกระบวนการผลิต เช่น เครื่องจักรหรือพื้นที่ที่ปนเปื้อน

8. วัตถุดิบที่ไม่โปร่งใส และไม่สามารถระบุแหล่งที่มา หรือไม่ได้รับการตรวจสอบว่าเป็นฮาลาล

9. วัตถุดิบที่ขัดต่อศีลธรรมและศาสนา เช่น ยาเสพติด

การขอฮาลาลนั้นจะต้องมีมาตรฐานเกี่ยวกับอาหารฮาลาล หนึ่งในนั้นคือมาตรฐานของผู้เชือดสัตว์ตามศาสนบัญญัติ เพื่อให้ได้มาซึ่งเนื้อสัตว์ที่ฮาลาล โดยหน้าที่ของผู้เชือดนั้นจะประกอบไปด้วย 6 ข้อ ตามนี้

1 เตรียมตัวก่อนการเชือด
1.1 ต้องเป็นมุสลิมที่มีศรัทธาในศาสนาอิสลาม
1.2 ตั้งเจตนา (นียะห์) เพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามหลักศาสนา

2. ตรวจสอบความเหมาะสมของสัตว์
2.1 สัตว์ต้องเป็นชนิดที่อนุญาตตามหลักศาสนา เช่น วัว แพะ หรือไก่
2.2 สัตว์ต้องมีสุขภาพสมบูรณ์และไม่มีโรคติดต่อ

3. กล่าว “บิสมิลลาฮฺ” (Bismillah)
3.1 ก่อนลงมือเชือด ผู้เชือดต้องกล่าวชื่อพระเจ้า (“บิสมิลลาฮฺ”) เพื่อแสดงความเคารพและขอพร

4.การเชือดตามวิธีที่กำหนด
4.1 ใช้มีดที่คมและสะอาด
4.2 เชือดให้ขาดหลอดลม หลอดอาหาร และหลอดเลือดแดงใหญ่ เพื่อให้เลือดไหลออกจนหมด
4.3 หลีกเลี่ยงการทำให้สัตว์ทรมานหรือเจ็บปวด

5. หลีกเลี่ยงสิ่งที่ต้องห้าม
5.1 ห้ามเชือดสัตว์ที่เสียชีวิตเอง (มัยตะฮฺ) หรือสัตว์ที่ถูกทำให้ตายด้วยวิธีอื่นที่ขัดต่อศาสนา
5.2 ห้ามใช้เครื่องมือหรือมีดที่ไม่เหมาะสม

6.รักษาความสะอาดและความศักดิ์สิทธิ์
6.1 กระบวนการเชือดต้องทำในสถานที่สะอาดและถูกสุขลักษณะ
6.2 ผู้เชือดต้องรักษาความเคารพในกระบวนการเชือดทั้งหมด

 

บริการรับจดทะเบียนเครื่องหมายฮาลาล TGC

ขอเครื่องหมายฮาลาลใหม่

  1. เตรียมเอกสารและข้อมูล จัดเตรียมเอกสารเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ กระบวนการผลิต และวัตถุดิบที่ใช้
  2. ยื่นคำขอ ยื่นคำขอการรับรองฮาลาลพร้อมเอกสารที่เตรียมไว้ไปยังฝ่ายกิจการฮาลาล
  3. ตรวจสอบสถานที่และกระบวนการ คณะกรรมการตรวจสอบสถานที่ผลิตและกระบวนการผลิตว่าตรงตามหลักฮาลาลหรือไม่
  4. พิจารณาจากคณะกรรมการ ก่อนแจ้งผลการตรวจสอบและอนุมัติการใช้เครื่องหมายฮาลาล
  5. ออกใบรับรองฮาลาล หลังผ่านการอนุมัติ จะได้รับใบรับรองและสามารถใช้เครื่องหมายฮาลาลได้.

ขอเครื่องหมายฮาลาลเพิ่ม

  1. ตรวจสอบเอกสารผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ต้องการขอ พร้อมรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ใหม่ เช่น สูตร ส่วนผสม และแหล่งที่มาให้ครบถ้วน
  2. ยื่นคำขอเพิ่มเติม เพื่อขอเพิ่มผลิตภัณฑ์ในระบบฮาลาล พร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้อง
  3. ตรวจสอบและประเมิน โดยทางคณะกรรมการตรวจสอบข้อมูลและส่วนผสมใหม่ให้เป็นไปตามมาตรฐานฮาลาล
  4. รอกการพิจารณาอนุมัติจากคณะกรรมการกลางอิสลามพิจารณาการขอเพิ่มเติม
  5. อัปเดตใบรับรอง โดยจะได้เมื่อหลังจากผ่านการอนุมัติ ผลิตภัณฑ์ใหม่จะถูกเพิ่มในใบรับรองฮาลาลเดิม

ขอต่ออายุเครื่องหมายฮาลาล

  1. ตรวจสอบวันหมดอายุ ด้วยการเช็กวันหมดอายุใบรับรองฮาลาลของผลิตภัณฑ์ล่วงหน้า เพื่อป้องกันการขาดช่วง
  2. เตรียมเอกสารให้ครบ รวบรวมเอกสารสำคัญ เช่น รายงานการผลิต รายการส่วนผสม และใบรับรองเดิม
  3. ยื่นคำร้องต่ออายุเครื่องหมายฮาลาลไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พร้อมเอกสารที่ครบถ้วน
  4. ระหว่างกระบวนการตรวจสอบ จะมีเจ้าหน้าที่ตรวจสอบเอกสารและมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ เพื่อพิจารณาความเหมาะสม
  5. อนุมัติและออกใบรับรองใหม่ เมื่อผ่านการตรวจสอบ ใบรับรองฮาลาลจะได้รับการต่ออายุเรียบร้อย

ขอยกเลิกเครื่องหมายฮาลาล

  1. แจ้งความประสงค์ เริ่มต้นจากติดต่อหน่วยงานที่รับรองฮาลาล เพื่อแจ้งความประสงค์ขอยกเลิกเครื่องหมายฮาลาลของผลิตภัณฑ์
  2. จัดเตรียมเอกสารสำคัญ เช่น ใบรับรองฮาลาลเดิม และหนังสือแสดงความจำนงขอยกเลิก
  3. ยื่นคำร้องขอยกเลิกเครื่องหมายฮาลาลต่อหน่วยงาน พร้อมแนบเอกสารที่ครบถ้วน
  4. เจ้าหน้าที่ตรวจสอบเอกสารและข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เพื่อยืนยันการยกเลิก
  5. ได้รับการยกเลิกอย่างเป็นทางการ หลังผ่านการตรวจสอบ เครื่องหมายฮาลาลจะถูกยกเลิกในระบบ และแจ้งผลให้ผู้ยื่นทราบ

ขอตรวจสอบสถานะเครื่องหมายฮาลาล

  1. เข้าสู่เว็บไซต์หรือระบบของหน่วยงานที่รับรองฮาลาล
  2. กรอกข้อมูล เช่น ป้อนหมายเลขใบรับรองฮาลาล หรือข้อมูลผลิตภัณฑ์ที่ต้องการตรวจสอบ
  3. ยืนยันข้อมูล พร้อมตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่กรอก และกดค้นหา
  4. ระบบจะแสดงสถานะปัจจุบันของเครื่องหมายฮาลาล เช่น อนุมัติแล้ว, รอการตรวจสอบ, หรือหมดอายุ
  5. หากพบปัญหาหรือข้อมูลไม่ครบถ้วน สามารถติดต่อเจ้าหน้าที่เพื่อขอความช่วยเหลือเพิ่มเติม

ขั้นตอนการขอเครื่องหมายฮาลาลกับ TGC

1.ลงทะเบียน

อันดับแรกขอการขอฮาลาล ให้เข้า Website : www.halal.or.th และ เลือกไอคอน ลงทะเบียน กรอกข้อมูลให้ครบถ้วนทุกช่องและตรวจสอบความถูกต้อง

2.กรอกข้อมูล

กรอกรายละเอียดให้ครบถ้วนเพื่อขอฮาลาล เช่น ชื่อและหมายเลขโรงงาน ประเภทของโรงงาน ที่อยู่ ผู้ประสานงาน และข้อมูลอื่นๆ ตามแบบฟอร์ม

3.ส่งคำร้อง

สำหรีบผู้มีความประสงค์ขอเครื่องหมายฮาลาลต้องส่งคำร้องขอฮาลาล โดยแต่ละประเภทของการขอฮาลาลมีเอกสารที่แตกต่างกันออกไป

4.ชำระค่าธรรมเนียม

การชำระค่าธรรมเนียมเพื่อขอเครื่องหมายฮาลาล แบ่งออกไปตามอัตราต่างๆ เช่น ขนาดของสถานประกอบการ การตรวจสอบ และค่ารับรองอื่นๆ

5.นัดตรวจโรงงาน

เจ้าที่ฝ่ายกิจการฮาลาลจะโทรมาแจ้งเพื่อนัดตรวจโรงงาน ผ่าน ‘จดหมายนัดตรวจ’ เพื่อตรวจสอบความถูกต้องสำหรับการขอใช้เครื่องหมายฮาลาล

6.แจ้งผลการตรวจโรงงาน

หลังจากตรวจสอบเพื่อขอฮาลาล หากแจ้งผลว่าผ่านจะมีการแต่งตั้งที่ปรึกษาประจำสถานประกอบการ และจากนั้นจะได้ขึ้นสถานะ ‘แต่งตั้งที่ปรึกษาเรียบร้อย’

7.เข้ามติที่ประชุม

เจ้าหน้าที่กิจการฮาลาลพิจารณาขอฮาลาล โดยมีคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญด้านศาสนาและมาตรฐานอาหารสากลร่วมตรวจสอบ เมื่อผ่านแล้วจะได้สถานะ “ออกใบรับรองเรียบร้อย”

8.ออกใบรับรอง

หลังจากนั้น เมื่อสถานะของคำร้องขึ้นว่า “ออกใบรับรองเรียบร้อย” หมายถึงสิ้นสุดกระบวนการขอรับรองฮาลาล โดยจะมีอายุการคุ้มครอง 1 ปี

สอบถามข้อมูลหรือขอคำปรึกษาการจดทะเบียน

 

เอกสารที่ใช้ในการขอจดทะเบียนเครื่องหมายรับรองฮาลาล

เอกสารที่ใช้สำหรับบุคคลธรรมดา

สำหรับกรณียื่นแบบบุคคลธรรมดา จะต้องมีแรงม้ารวม 5-20 แรงม้า และ/หรือมีคนงาน 7-20 คน จึงจะสามารถยื่นเอกสารเพื่อขอเครื่องหมายฮาลาลได้

  • สำเนาบัตรประชาชน
  • สำเนาทะเบียนบ้าน
  • คำขอรับเลขสถานที่ผลิตอาหารที่ไม่เข้าข่ายโรงงาน
  • คำขอขึ้นทะเบียนตำรับอาหาร (อ.17)
  • ใบสำคัญการขึ้นทะเบียนตำรับอาหาร (อ.18)
  • หนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า (คม.1)
  • คำขออนุญาตใช้ฉลากอาหาร สบ.3 หรือ สำเนาการใช้ฉลากอาหาร แบบ ฉ.1
  • แบบจดทะเบียนอาหาร (สบ.๕)
  • หนังสือแสดงรายละเอียดวิธีการผลิต, ขั้นตอน, วัตถุดิบ, ส่วนผสม
  • ผลิตภัณฑ์ตัวอย่างเพื่อประกอบการพิจารณาเบื้องต้น
  • แผนที่ตั้งโรงงาน
เอกสารฮาลาลสำหรับบุคคลธรรมดา
เอกสารฮาลาลสำหรับนิติบุคคล

เอกสารที่ใช้สำหรับนิติบุคคล

สำหรับกรณียืนแบบนิติบุคคล จะมีรายละเอียดที่แตกต่างออกไปจากการยื่นแบบบุคคลธรรมดา ตามนี้

  • ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนบริษัท
  • หนังสือรับรองจากสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท (อายุไม่เกิน 6 เดือน)
  • ใบอนุญาตตั้งโรงงานแบบ รง.2 หรือ รง.4 (ขึ้นอยู่กับขนาดของโรงงาน)
  • ใบอนุญาตผลิตอาหาร (อ.2)
  • คำขอขึ้นทะเบียนตำรับอาหาร (อ.17)
  • ใบสำคัญการขึ้นทะเบียนตำรับอาหาร (อ.18)
  • หนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า (คม.1)
  • คำขออนุญาตใช้ฉลากอาหาร สบ. 3 หรือ สำเนาการใช้ฉลากอาหาร แบบ ฉ.1
  • แบบจดทะเบียนอาหาร (สบ.๕)
  • หนังสือแสดงรายละเอียดวิธีการผลิต, ขั้นตอน, วัตถุดิบ, ส่วนผสม
  • ผลิตภัณฑ์ตัวอย่างเพื่อประกอบการพิจารณาเบื้องต้น
  • แผนที่ตั้งโรงงาน

ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนเครื่องหมายฮาลาลในประเทศไทย

อัตราค่าธรรมเนียมในการขอเครื่องหมายฮาลาลประกอบไปด้วยกัน 2 ส่วนใหญ่ๆ คือขั้นตอนการตรวจสอบและหนังสือรับรองฮาลาล

ประกอบไปด้วยค่าธรรมเนียมตามรายการย่อยที่ขึ้นอยู่กับขนาดของสถานประกอบการ โดยประกอบไปด้วย 7 ข้อย่อย ได้แก่

  1. การขอใหม่ มีค่าธรรมเนียมอยู่ที่ 10,000 บาท / 15,000 บาท และ 20,000 บาท ตามลำดับขนาดเล็ก กลางและใหญ่
  2. การขอต่ออายุ มีค่าธรรมเนียมอยู่ที่ 10,000 บาท / 15,000 บาท และ 20,000 บาท ตามลำดับขนาดเล็ก กลางและใหญ่
  3. การขอเพิ่มผลิตภัณฑ์ มีค่าธรรมเนียมอยู่ที่ 5,000 / 7,500 และ 10,000 ตามลำดับขนาดเล็ก กลางและใหญ่
  4. เมื่อมีการร้องเรียน หรือการตรวจสอบติดตามผล มีค่าธรรมเนียมอยู่ที่ 5,000 / 7,500 และ 10,000 ตามลำดับขนาดเล็ก กลางและใหญ่
  5. การวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ ในส่วนนี้ผู้ขอจะเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น
  6. ค่าพาหนะ ทั้ง 3 ขนาดอยู่ที่ราคาเท่ากันคือ 2,500 บาท
  7. ให้สถานประกอบการเป็นผู้จ่ายค่าตอบแทนที่ปรึกษาประจำสถานประกอบการ โดยมีขั้นต่ำเดือนละ 1,500 บาท รวมทั้งปี 18,000 บาท เท่ากันในทุกขนาดของโรงงาน

ประกอบไปด้วยรายละเอียดย่อย ออกโดยสำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย

  1. หนังสือสำคัญให้ใช้เครื่องหมายรับรองฮาลาล รายการละ 500 บาท
  2. หนังสือสำคัญให้ใช้เครื่องหมายรับรองฮาลาล (ฉบับภาษาไทย,อังกฤษ,อาหรับ) ฉบับละ 500 บาท และหากแยกฉบับละ 1 รายการ ค่าธรรมเนียม ฉบับละ 500 บาท
  3. เอกสารรับรองผลิตภัณฑ์ฮาลาลเพื่อส่งออก (ฮ.ล.2) รายการละ 500 บาท
  4. หนังสือรับรองฮาลาลที่สำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดเป็นผู้ออกให้เท่านั้น คือ หนังสือรับรองฮาลาล ฉบับละ 1,000 บาท

คำถามที่พบบ่อย

สำหรับจังหวัดที่มีกรรมการอิสลามประจำจังหวัด ซึ่งมีทั้งหมด 35 จังหวัดทั่วประเทศไทยสามารถขอฮาลาลได้ หากจังหวัดที่เราต้องการจดไม่มีให้ติดต่อสำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย (สกอท)

หนังสือรับรองและหนังสือสำคัญให้ใช้เครื่องหมายรับรองฮาลาลมีกำหนดอายุการรับรองไม่เกิน 2 ปี ทั้งนี้ ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยกำหนด

การขอต่ออายุหนังสือรับรอง ให้ยื่นคำขอก่อนหนังสือรับรองหมดอายุอย่างน้อย 60 วัน หากไม่ยื่นคำขอตามกำหนดต้องดำเนินการขอรับรองใหม่

OEM (Original Equipment Manufacturer) คือรูปแบบการผลิตที่ผู้ประกอบการว่าจ้างโรงงานผลิตสินค้าภายใต้แบรนด์ของตนเอง โดยโรงงานจะรับหน้าที่ผลิตสินค้าให้ตามมาตรฐานและความต้องการของแบรนด์ ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ประกอบการที่ไม่มีโรงงานผลิตเป็นของตนเอง

ในกระบวนการ การขอฮาลาล แบบ OEM มีความสำคัญอย่างมาก เนื่องจากโรงงานผู้ผลิตต้องปฏิบัติตามหลักศาสนาอิสลามอย่างเคร่งครัด เช่น การเลือกวัตถุดิบ การตรวจสอบกระบวนการผลิต และการแยกอุปกรณ์จากสิ่งที่ไม่ฮาลาล หากโรงงานได้รับการรับรองฮาลาล จะช่วยให้แบรนด์มั่นใจว่าสินค้าที่ผลิตมีคุณภาพและถูกต้องตามหลักศาสนา สามารถเข้าถึงตลาดมุสลิมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การขอฮาลาลสำหรับ OEM (Original Equipment Manufacturer) ใช้เวลาประมาณ 2-6 เดือน ขึ้นอยู่กับความซับซ้อนของผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิต

สำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย (กอท.ฮล.) กำหนดให้หมายเลขผลิตภัณฑ์ฮาลาลมี 13 หลัก เลข 2 ตัวแรก คือ หมวดผลิตภัณฑ์ ตามที่ปรากฏในฐานข้อมูลการรับรองฮาลาลของคณะกรรมการกลางฯ เลขตัวที่ 3-6 คือ ลำดับที่ของบริษัทในทะเบียนการขอรับรอง เลขตัวที่ 7-9 คือ ลำดับที่ของผลิตภัณฑ์ในรายการที่ทางบริษัทยื่นขอรับรองฮาลาล และเลข 10-13 คือเดือนและปีที่เริ่มขอรับรอง

การขอฮาลาลใช้ระยะเวลาโดยเฉลี่ยประมาณ 30-60 วัน ขึ้นอยู่กับขั้นตอนและการเตรียมเอกสารที่ครบถ้วน รวมถึงความซับซ้อนของกระบวนการผลิตและผลิตภัณฑ์ที่ขอรับรองฮาลาล โดยขั้นตอนหลักๆ มีดังนี้

1. การเตรียมเอกสารและยื่นคำขอ ใช้เวลาประมาณ 7-14 วัน สำหรับการจัดเตรียมเอกสารและยื่นคำขอ
2. การตรวจสอบเอกสารและการตรวจสถานที่ ใช้เวลาประมาณ 2-3 สัปดาห์ เพื่อให้คณะกรรมการตรวจสอบความถูกต้องและกระบวนการผลิต
3. การพิจารณาจากคณะกรรมการกลางอิสลาม กระบวนการพิจารณาจากคณะกรรมการอาจใช้เวลา 2-3 สัปดาห์ในการอนุมัติ
4. การออกใบรับรองฮาลาล หลังจากอนุมัติแล้ว จะมีการออกใบรับรองภายใน 1 สัปดาห์

เครื่องหมายฮาลาลไม่ได้จำกัดเฉพาะธุรกิจอาหารเท่านั้น แต่ยังครอบคลุมหลายประเภทธุรกิจที่ต้องการความมั่นใจในความถูกต้องตามหลักศาสนาอิสลามและมาตรฐานสากล เช่น ธุรกิจเครื่องสำอางค์ ผลิตภัณฑ์ดูแลร่างกาย ยาและผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร โรงแรมและบริการจัดเลี้ยง ตลอดจนอุตสาหกรรมสิ่งทอและเสื้อผ้า

การขอฮาลาลสำหรับผลิตภัณฑ์ที่ผลิตภายใต้ระบบ OEM (Original Equipment Manufacturer) มีขั้นตอนหลักดังนี้

1. ตรวจสอบข้อกำหนดเบื้องต้น ว่าโรงงานผลิตและวัตถุดิบที่ใช้ตรงตามข้อกำหนดฮาลาลหรือไม่ เช่น วัตถุดิบต้องมาจากแหล่งที่ได้รับการรับรองฮาลาล และกระบวนการผลิตต้องไม่ปนเปื้อนสิ่งต้องห้าม (ฮารอม)

2. เลือกที่ปรึกษาฮาลาลที่มีความเชี่ยวชาญในการช่วยดำเนินการขอรับรองฮาลาล รวมถึงการตรวจสอบมาตรฐานและความสอดคล้องกับหลักศาสนาอิสลาม

3. เตรียมเอกสารและข้อมูลที่จำเป็นและเกี่ยวข้อง เช่น รายการวัตถุดิบ กระบวนการผลิต รายละเอียดเกี่ยวกับการจัดการสิ่งต้องห้าม การทำความสะอาด และความปลอดภัย

4. ยื่นคำขอฮาลาลต่อคณะกรรมการฝ่ายกิจการฮาลาล หรือหน่วยงานที่รับผิดชอบ ซึ่งจะทำการตรวจสอบเอกสารและกระบวนการผลิต

5. การตรวจสอบสถานที่ผลิต รวมถึงการตรวจสอบความสะอาดและกระบวนการผลิตที่สอดคล้องกับข้อกำหนดฮาลาล

6. แต่งตั้งที่ปรึกษาฮาลาล หากการตรวจสอบผ่านแล้ว จะมีการแต่งตั้งที่ปรึกษาฮาลาลประจำสถานประกอบการ เพื่อคอยดูแลและตรวจสอบกระบวนการผลิตอย่างต่อเนื่อง

7. การพิจารณาจากคณะกรรมการกลางอิสลาม ส่งผลการตรวจสอบจะนำเสนอให้คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยพิจารณา และหากได้รับการอนุมัติ จะออกใบรับรองฮาลาล

8. เมื่อผ่านการพิจารณาและอนุมัติจากคณะกรรมการกลางอิสลาม จะมีการออกใบรับรองฮาลาล และสามารถใช้เครื่องหมายฮาลาลในผลิตภัณฑ์ได้

เราให้บริการครบวงจรใน การขอฮาลาล ทั้งกระบวนการ ตั้งแต่เริ่มต้นจนได้รับใบรับรอง ด้วยทีมผู้เชี่ยวชาญด้านศาสนาและมาตรฐานสากลที่พร้อมให้คำปรึกษาและดูแลทุกขั้นตอนอย่างใกล้ชิด มั่นใจได้ว่าการดำเนินงานจะถูกต้อง รวดเร็ว และตอบโจทย์ทุกความต้องการของผู้ประกอบการ

แอดไลน์