การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าโดยไม่ต้องมีการประกาศโฆษณา

การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าโดยไม่ต้องมีการประกาศโฆษณา
พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2543 มาตรา 29 ได้บัญญัติไว้ทำนองเดียวกัน โดยกำหนดให้เมื่อนายทะเบียนพิจารณาแล้วเห็นควรรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารายใด ให้นายทะเบียนมีคำสั่งให้ประกาศโฆษณาคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้น โดยการประกาศลงในหนังสือประกาศโฆษณาคาขอจดทะเบียน หรือเรียกอีกอย่างว่า หนังสือประกาศโฆษณาคาขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า

ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้ำ พ.ศ.2534 มาตรา 41 ได้บัญญัติว่า “ ในกรณีที่ผู้คัดค้านตามมาตรา 35 เป็นผู้ซึ่งได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าที่ตนคัดค้านนั้น และมีคำวินิจฉัยหรือคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดว่าผู้คัดค้านมีสิทธิดีกว่าผู้ถูกคัดค้าน ถ้าเครื่องหมายการค้าที่ผู้คัดค้านขอจดทะเบียนนั้นมีลักษณะอันพึงรับจดทะเบียนได้ตามาตรา 6 และการขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้นายทะเบียนจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้น ตามวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวงโดยไม่ต้องประกาศโฆษณาคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของผู้คัดค้านอีก ”

มาตรา 41 นี้ ได้สร้างหลักเกณฑ์ของกฎหมายเครื่องหมายการค้าขึ้นมาใหม่แตกต่างจากกฎหมายเครื่องหมายการค้าเก่า คือ นายทะเบียนสามารถรับจดทะเบียนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของผู้คัดค้านได้ โดยไม่ต้องมีการประกาศโฆษณาเครื่องหมายการค้านั้น โดยมีหลักเกณฑ์ดังนี้
1. ผู้คัดค้านจะต้องยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของผู้ถูกคัดค้าน
2. การคัดค้านนั้น ผู้คัดค้านจะต้องอ้างประเด็นว่าตนมีสิทธิดีกว่าผู้ถูกคัดค้าน
3. มีคำวินิจฉัยหรือคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดว่าผู้คัดค้านมีสิทธิดีกว่าผู้ถูกคัดค้าน และ
4. เมื่อขณะที่จะรับจดทะเบียน เครื่องหมายการค้าของผู้คัดค้านจะต้องมีลักษณะบ่งเฉพาะตามมาตรา 7 ไม่ต้องห้ามรับจดทะเบียนตามมาตรา 8 และไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ยื่นเข้ามาในภายหลัง รวมทั้งการยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของผู้คัดค้านจะต้องถูกต้องตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า

นายพิบูล ตันศุภผล ( นบ., นบท.) นายทะเบียนเครื่องหมายการค้า

แอดไลน์ การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าโดยไม่ต้องมีการประกาศโฆษณา

การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าโดยไม่ต้องมีการประกาศโฆษณา

การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าโดยไม่ต้องมีการประกาศโฆษณา
พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2543 มาตรา 29 ได้บัญญัติไว้ทำนองเดียวกัน โดยกำหนดให้เมื่อนายทะเบียนพิจารณาแล้วเห็นควรรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารายใด ให้นายทะเบียนมีคำสั่งให้ประกาศโฆษณาคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้น โดยการประกาศลงในหนังสือประกาศโฆษณาคาขอจดทะเบียน หรือเรียกอีกอย่างว่า หนังสือประกาศโฆษณาคาขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า

ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้ำ พ.ศ.2534 มาตรา 41 ได้บัญญัติว่า “ ในกรณีที่ผู้คัดค้านตามมาตรา 35 เป็นผู้ซึ่งได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าที่ตนคัดค้านนั้น และมีคำวินิจฉัยหรือคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดว่าผู้คัดค้านมีสิทธิดีกว่าผู้ถูกคัดค้าน ถ้าเครื่องหมายการค้าที่ผู้คัดค้านขอจดทะเบียนนั้นมีลักษณะอันพึงรับจดทะเบียนได้ตามาตรา 6 และการขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้นายทะเบียนจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้น ตามวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวงโดยไม่ต้องประกาศโฆษณาคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของผู้คัดค้านอีก ”

มาตรา 41 นี้ ได้สร้างหลักเกณฑ์ของกฎหมายเครื่องหมายการค้าขึ้นมาใหม่แตกต่างจากกฎหมายเครื่องหมายการค้าเก่า คือ นายทะเบียนสามารถรับจดทะเบียนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของผู้คัดค้านได้ โดยไม่ต้องมีการประกาศโฆษณาเครื่องหมายการค้านั้น โดยมีหลักเกณฑ์ดังนี้
1. ผู้คัดค้านจะต้องยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของผู้ถูกคัดค้าน
2. การคัดค้านนั้น ผู้คัดค้านจะต้องอ้างประเด็นว่าตนมีสิทธิดีกว่าผู้ถูกคัดค้าน
3. มีคำวินิจฉัยหรือคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดว่าผู้คัดค้านมีสิทธิดีกว่าผู้ถูกคัดค้าน และ
4. เมื่อขณะที่จะรับจดทะเบียน เครื่องหมายการค้าของผู้คัดค้านจะต้องมีลักษณะบ่งเฉพาะตามมาตรา 7 ไม่ต้องห้ามรับจดทะเบียนตามมาตรา 8 และไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ยื่นเข้ามาในภายหลัง รวมทั้งการยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของผู้คัดค้านจะต้องถูกต้องตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า

นายพิบูล ตันศุภผล ( นบ., นบท.) นายทะเบียนเครื่องหมายการค้า

แอดไลน์