หลักการกำหนดค่าเสียหายตามกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา : ศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายไทยและกฎหมายฝรั่งเศส

หลักความรับผิดตามกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญามีลักษณะที่ผสมผสานกันระหว่างความรับผิดทางแพ่งและความรับผิดทางอาญา
การกำหนดค่าเสียหายตามที่ได้เสียหายไปจริง

ศาลฝรั่งเศสได้ปรับใช้หลักการกำหนดค่าเสียหายที่เรียกว่าหลัก “คำนวณจากยอดรวมสินค้าทั้งหมดที่มีในตลาด” โดยคำนวณค่าเสียหายจากราคาของวัตถุปลอมแปลงที่ยึดได้คูณด้วยจำนวนวัตถุของปลอมแปลงถูกรวมนำมาคิดเป็นค่าเสียหาย ศาลฝรั่งเศสวินิจฉัยในกรณีที่ทรัพย์สินทางปัญญานั้นไม่มีการแสวงหาประโยชน์จากเจ้าของโดยตรง ในกรณีนี้ศาลฝรั่งเศสกำหนดให้โจทก์สามารถเรียกค่าเสียหายจากฐานของค่าอนุญาตให้ใช้สิทธิ ที่เจ้าของสิทธิพึงได้ เพราะโจทก์ไม่มีผลกำไรจากการขายมาพิสูจน์อย่างไรก็ตาม ฐานในการกำหนดค่าเสียหายจากค่าธรรมเนียม ให้คิดจากยอดผลประกอบการของจำเลยผู้ล่วงสิทธิแบบเต็มจำนวนโดยไม่หักค่าใช้จ่ายใดๆ เทียบกับจำนวนของค่าธรรมเนียมอนุญาตให้ใช้สิทธิของผู้เสียหาย ศาลอาจกำหนดค่าเสียหายโดยเทียบเคียงเอาค่าธรรมเนียมโดยประมาณจากรายได้ค่าธรรมเนียมของบริษัทอื่นในธุรกิจเดียวกันที่ถูกละเมิดสิทธิ
ศาลไทยมักจะนำหลักเกณฑ์เรื่องการชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ซึ่งเป็นเรื่องของหลักความรับผิดละเมิดทั่วไปปรับใช้กับกฎหมายเครื่องหมายการค้า ซึ่งเป็นไปในแนวทางตรงข้ามกับกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาเรื่องอื่นๆ ที่มีการกำหนดค่าสินไหมทดแทนเป็นการเฉพาะและไม่มีหลักเกณฑ์ในวิธีพิจารณาความที่แน่นอนชัดเจนทำให้เจ้าของสิทธิต้องมี ภาระการพิสูจน์ให้ศาลเห็นว่าตนได้รับความเสียหายแล้ว ต้องพิสูจน์ให้ศาลเห็นว่าการกระทำของจำเลยเข้าข่ายเป็นการล่วงสิทธิโจทก์ด้วย ศาลไทยกำหนดค่าเสียหายอันเป็นค่าใช้จ่ายอันจำเป็นในการบังคับตามสิทธิของโจทก์ ได้แก่ ค่านักสืบ ค่าทนายความและเงินรางวัลนำจับ ซึ่งถ้าโจทก์นำสืบแสดงให้เห็นพยานหลักฐานในส่วนนี้สิทธิเรียกได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7807/2542 กล่าวว่า หากการกระทำของจำเลยเป็นการล่วงสิทธิโจทก์อย่างยิ่งอันมีผลโดยตรงทำให้โจทก์ไม่สามารถจำหน่ายได้ หรือ ยอดการจัดจำหน่ายลดลงอย่างมากอันเนื่องจากผู้บริโภคสนใจซื้อสินค้าปลอมของจำเลย โจทก์ย่อมเรียกค่าเสียหายได้ทั้งต้นทุนในการผลิตและส่วนกำไร ส่วนค่าขาดประโยชน์ที่โจทก์สามารถนำทรัพย์สินทางปัญญาดังกล่าวไปอนุญาตให้ผู้อื่นใช้นั้น ศาลเห็นว่าการที่จำเลยล่วงสิทธิของโจทก์ไม่เป็นเหตุถึงขนาดทำให้ไม่มีบุคคลใดมาขออนุญาตใช้สิทธิของโจทก์จึงไม่ได้กำหนดค่าเสียหายในส่วนนี้ให้

การชดใช้ค่าเสียหายทางศีลธรรม
ศาลอุทธรณ์ฝรั่งเศสวินิจฉัยว่า มีการล่วงสิทธิในความเป็นเจ้าของงานลิขสิทธิ์มากมาย จนทำให้ผู้อื่นหรือบุคคลภายนอกคิดว่างานลิขสิทธิ์จากเจ้าของสิทธิที่แท้จริงเป็นผู้ปลอมแปลง ความเสียหายเช่นนี้รวมถึงการทำให้เสื่อมค่าด้อย หรือ นำงานศิลปกรรมไปใช้ล้อเลียนในการถ่ายภาพยนตร์โป๊ ในกรณีที่เกิดความเสียหายทางศีลธรรมดังกล่าว โจทก์สามารถเรียกค่าเสียหายในส่วนนี้เพิ่มเติมได้อีกนอกจากค่าเสียหายตามความเป็นจริง การเรียกความเสียหายประเภทนี้จะเกิดได้ในกรณีที่สินค้าที่ปลอมแปลงไม่ได้คุณภาพอย่างยิ่งหรืออาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสาธารณชน หรือกรณีอื่น ศาลฝรั่งเศสวินิจฉัยว่ากรณีที่การล่วงสิทธิ ในเครื่องหมายการค้าโดยการทำลายคุณค่าที่ดึงดูดใจของสินค้า ศาลเห็นว่าเป็นค่าเสียหายทางศีลธรรม เพราะเป็นการลดคุณค่าหรือเสน่ห์ของงาน การสูญเสียคุณค่าของเครื่องหมายการค้า ซึ่งถือเป็นความเสียหายทางกายภาพด้วย การลดคุณค่าอาจเกิดจากการทำให้บุคคลอื่นเห็นว่าสินค้าตามเครื่องหมายการค้าดังกล่าวไร้คุณภาพ มีคดีที่ศาลตัดสินว่าการตั้งราคาขายของปลอมในราคาที่ต่ำกว่าราคาขายทั่วไปอย่างรุนแรงเป็นการทำให้ลดคุณค่าแก่เครื่องหมายการค้าแล้ว
ศาลไทยยังไม่มีแนวพิจารณาที่ชัดเจนในเรื่อง ค่าเสียหายต่อชื่อเสียงทางการค้า ซึ่งโจทก์มักอ้างว่าสินค้า หรือ วัตถุดิบของจำเลยที่ใช้ในการผลิต ขาย ไม่ได้มาตรฐานหรือคุณภาพอย่างสินค้าที่แท้จริงย่อมก่อให้เกิดความเสียหายต่อชื่อเสียงทางการค้า ซึ่งในทางปฏิบัติจะพิจารณาค่าเสียหายไปโดยรวมไม่ได้แยกว่าเป็นค่าเสียหายต่อชื่อเสียงทางการค้าไว้ชัดเจน

ค่าเสียหายเชิงลงโทษ
กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาของฝรั่งเศสได้เปิดโอกาสให้ศาลสามารถกำหนดค่าเสียหายสูงกว่าในคดีทั่วไป เช่น ในคดีที่ศาลให้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจริงและค่าเสียหายชดเชยความเสียหายหรือทางจิตใจไปพร้อมๆกัน ศาลตัดสินให้แก่ผู้ทรงสิทธิเพื่อสองวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อยับยั้งความผิดที่เกิดขึ้นและ2) เพื่อเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้น ดังนั้นค่าเสียหายต้องสูงกว่าค่าเสียหายตามความเป็นจริงในกรณีทั่วไป
กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาของไทยปรากฏในเรื่องกฎหมายลิขสิทธิ์ มาตรา 76 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 โดยหลักตามมาตรา 76 นั้นบัญญัติหลักเอาไว้ว่า
“ค่าปรับที่ได้ชำระตามคำพิพากษา ให้จ่ายแก่เจ้าของลิขสิทธิ์เป็นจำนวนกึ่งหนึ่งแต่ทั้งนี้ไม่เป็นการกระทบกระเทือนถึงสิทธิของเจ้าของสิทธิ ที่จะฟ้องเรียกค่าเสียหายทางแพ่งสำหรับส่วนเกินจากค่าปรับที่เจ้าของได้รับแล้วนั้น” ทั้งนี้อันเนื่องมาจากเหตุผลในการร่างมาตราดังกล่าวก็เพราะ “การพิสูจน์ค่าเสียหายในทางแพ่งหลายกรณีกระทำได้ยากมากจึงกำหนดโทษปรับไว้สูงเพื่ออาจแบ่งให้แก่เจ้าของลิขสิทธิ์ โดยที่ตามกฎหมายพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 69,70 ได้กำหนดเพดานอัตราค่าปรับในบทกำหนดโทษไว้สูงมากและกำหนดโทษขั้นต่ำไว้ เช่น การละเมิดลิขสิทธิ์ขั้นต้นเพื่อการค้าต้องจ่ายค่าปรับตั้งแต่หนึ่งแสนถึงแปดแสนบาทหรือการละเมิดลิขสิทธิ์ขั้นรองต้องจ่ายค่าปรับตั้งแต่ห้าหมื่นบาทถึงสี่แสนบาท จึงอาจแยกได้ว่าค่าเสียหายที่เจ้าของลิขสิทธิ์จะได้รับในกรณีถูกล่วงสิทธิมีได้สองกรณีคือ1) การได้รับค่าเสียหายในรูปของส่วนแบ่งค่าปรับโดยผลจากการดำเนินคดีอาญา 2) การได้รับค่าเสียหายโดยดำเนินคดีทางแพ่งส่วนที่เกินจากค่าปรับ แนวโน้มการพัฒนาการกำหนดค่าเสียหายเชิงลงโทษในประเทศไทยนั้นได้เกิดขึ้นอย่างชัดเจนในกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา ในกฎหมายคุ้มครองความลับทางการค้า พ.ศ. 2545 มีการบัญญัติการกำหนดค่าสินไหมทดแทนเป็นกรณีพิเศษ มาตรา 11 วรรค 4 กล่าวคือ ศาลมีอำนาจกำหนด 1) นอกจากค่าเสียหายที่เกิดขึ้นอย่างแท้จริงแล้ว ศาลอาจให้ผู้ละเมิดคืนผลประโยชน์ที่ได้จากการทำละเมิดโดยคิดรวมไปในค่าสินไหมทดแทนได้ หรือ 2) แต่ถ้าไม่อาจกำหนดตาม 1) ให้ศาลกำหนดตามจำนวนที่เห็นสมควร หรือ 3) ถ้าเป็นการละเมิดโดยจงใจ หรือมีเจตนากลั่นแกล้งเป็นเหตุให้ความลับทางการค้าดังกล่าวต้องสิ้นสภาพ ให้ศาลมีอำนาจสั่งให้ผู้ละเมิดจ่ายค่าสินไหมทดแทนเพื่อการลงโทษเพิ่มขึ้นจากจำนวนที่ศาลกำหนดแต่ต้องไม่เกินสองเท่าของค่าสินไหมทดแทนตาม 1) หรือ 2)

ข้อมูล : อาจารย์ ภูมินทร์ บุตรอินทร์ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

แอดไลน์ หลักการกำหนดค่าเสียหายตามกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา : ศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายไทยและกฎหมายฝรั่งเศส

หลักการกำหนดค่าเสียหายตามกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา : ศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายไทยและกฎหมายฝรั่งเศส

หลักความรับผิดตามกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญามีลักษณะที่ผสมผสานกันระหว่างความรับผิดทางแพ่งและความรับผิดทางอาญา
การกำหนดค่าเสียหายตามที่ได้เสียหายไปจริง

ศาลฝรั่งเศสได้ปรับใช้หลักการกำหนดค่าเสียหายที่เรียกว่าหลัก “คำนวณจากยอดรวมสินค้าทั้งหมดที่มีในตลาด” โดยคำนวณค่าเสียหายจากราคาของวัตถุปลอมแปลงที่ยึดได้คูณด้วยจำนวนวัตถุของปลอมแปลงถูกรวมนำมาคิดเป็นค่าเสียหาย ศาลฝรั่งเศสวินิจฉัยในกรณีที่ทรัพย์สินทางปัญญานั้นไม่มีการแสวงหาประโยชน์จากเจ้าของโดยตรง ในกรณีนี้ศาลฝรั่งเศสกำหนดให้โจทก์สามารถเรียกค่าเสียหายจากฐานของค่าอนุญาตให้ใช้สิทธิ ที่เจ้าของสิทธิพึงได้ เพราะโจทก์ไม่มีผลกำไรจากการขายมาพิสูจน์อย่างไรก็ตาม ฐานในการกำหนดค่าเสียหายจากค่าธรรมเนียม ให้คิดจากยอดผลประกอบการของจำเลยผู้ล่วงสิทธิแบบเต็มจำนวนโดยไม่หักค่าใช้จ่ายใดๆ เทียบกับจำนวนของค่าธรรมเนียมอนุญาตให้ใช้สิทธิของผู้เสียหาย ศาลอาจกำหนดค่าเสียหายโดยเทียบเคียงเอาค่าธรรมเนียมโดยประมาณจากรายได้ค่าธรรมเนียมของบริษัทอื่นในธุรกิจเดียวกันที่ถูกละเมิดสิทธิ
ศาลไทยมักจะนำหลักเกณฑ์เรื่องการชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ซึ่งเป็นเรื่องของหลักความรับผิดละเมิดทั่วไปปรับใช้กับกฎหมายเครื่องหมายการค้า ซึ่งเป็นไปในแนวทางตรงข้ามกับกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาเรื่องอื่นๆ ที่มีการกำหนดค่าสินไหมทดแทนเป็นการเฉพาะและไม่มีหลักเกณฑ์ในวิธีพิจารณาความที่แน่นอนชัดเจนทำให้เจ้าของสิทธิต้องมี ภาระการพิสูจน์ให้ศาลเห็นว่าตนได้รับความเสียหายแล้ว ต้องพิสูจน์ให้ศาลเห็นว่าการกระทำของจำเลยเข้าข่ายเป็นการล่วงสิทธิโจทก์ด้วย ศาลไทยกำหนดค่าเสียหายอันเป็นค่าใช้จ่ายอันจำเป็นในการบังคับตามสิทธิของโจทก์ ได้แก่ ค่านักสืบ ค่าทนายความและเงินรางวัลนำจับ ซึ่งถ้าโจทก์นำสืบแสดงให้เห็นพยานหลักฐานในส่วนนี้สิทธิเรียกได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7807/2542 กล่าวว่า หากการกระทำของจำเลยเป็นการล่วงสิทธิโจทก์อย่างยิ่งอันมีผลโดยตรงทำให้โจทก์ไม่สามารถจำหน่ายได้ หรือ ยอดการจัดจำหน่ายลดลงอย่างมากอันเนื่องจากผู้บริโภคสนใจซื้อสินค้าปลอมของจำเลย โจทก์ย่อมเรียกค่าเสียหายได้ทั้งต้นทุนในการผลิตและส่วนกำไร ส่วนค่าขาดประโยชน์ที่โจทก์สามารถนำทรัพย์สินทางปัญญาดังกล่าวไปอนุญาตให้ผู้อื่นใช้นั้น ศาลเห็นว่าการที่จำเลยล่วงสิทธิของโจทก์ไม่เป็นเหตุถึงขนาดทำให้ไม่มีบุคคลใดมาขออนุญาตใช้สิทธิของโจทก์จึงไม่ได้กำหนดค่าเสียหายในส่วนนี้ให้

การชดใช้ค่าเสียหายทางศีลธรรม
ศาลอุทธรณ์ฝรั่งเศสวินิจฉัยว่า มีการล่วงสิทธิในความเป็นเจ้าของงานลิขสิทธิ์มากมาย จนทำให้ผู้อื่นหรือบุคคลภายนอกคิดว่างานลิขสิทธิ์จากเจ้าของสิทธิที่แท้จริงเป็นผู้ปลอมแปลง ความเสียหายเช่นนี้รวมถึงการทำให้เสื่อมค่าด้อย หรือ นำงานศิลปกรรมไปใช้ล้อเลียนในการถ่ายภาพยนตร์โป๊ ในกรณีที่เกิดความเสียหายทางศีลธรรมดังกล่าว โจทก์สามารถเรียกค่าเสียหายในส่วนนี้เพิ่มเติมได้อีกนอกจากค่าเสียหายตามความเป็นจริง การเรียกความเสียหายประเภทนี้จะเกิดได้ในกรณีที่สินค้าที่ปลอมแปลงไม่ได้คุณภาพอย่างยิ่งหรืออาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสาธารณชน หรือกรณีอื่น ศาลฝรั่งเศสวินิจฉัยว่ากรณีที่การล่วงสิทธิ ในเครื่องหมายการค้าโดยการทำลายคุณค่าที่ดึงดูดใจของสินค้า ศาลเห็นว่าเป็นค่าเสียหายทางศีลธรรม เพราะเป็นการลดคุณค่าหรือเสน่ห์ของงาน การสูญเสียคุณค่าของเครื่องหมายการค้า ซึ่งถือเป็นความเสียหายทางกายภาพด้วย การลดคุณค่าอาจเกิดจากการทำให้บุคคลอื่นเห็นว่าสินค้าตามเครื่องหมายการค้าดังกล่าวไร้คุณภาพ มีคดีที่ศาลตัดสินว่าการตั้งราคาขายของปลอมในราคาที่ต่ำกว่าราคาขายทั่วไปอย่างรุนแรงเป็นการทำให้ลดคุณค่าแก่เครื่องหมายการค้าแล้ว
ศาลไทยยังไม่มีแนวพิจารณาที่ชัดเจนในเรื่อง ค่าเสียหายต่อชื่อเสียงทางการค้า ซึ่งโจทก์มักอ้างว่าสินค้า หรือ วัตถุดิบของจำเลยที่ใช้ในการผลิต ขาย ไม่ได้มาตรฐานหรือคุณภาพอย่างสินค้าที่แท้จริงย่อมก่อให้เกิดความเสียหายต่อชื่อเสียงทางการค้า ซึ่งในทางปฏิบัติจะพิจารณาค่าเสียหายไปโดยรวมไม่ได้แยกว่าเป็นค่าเสียหายต่อชื่อเสียงทางการค้าไว้ชัดเจน

ค่าเสียหายเชิงลงโทษ
กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาของฝรั่งเศสได้เปิดโอกาสให้ศาลสามารถกำหนดค่าเสียหายสูงกว่าในคดีทั่วไป เช่น ในคดีที่ศาลให้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจริงและค่าเสียหายชดเชยความเสียหายหรือทางจิตใจไปพร้อมๆกัน ศาลตัดสินให้แก่ผู้ทรงสิทธิเพื่อสองวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อยับยั้งความผิดที่เกิดขึ้นและ2) เพื่อเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้น ดังนั้นค่าเสียหายต้องสูงกว่าค่าเสียหายตามความเป็นจริงในกรณีทั่วไป
กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาของไทยปรากฏในเรื่องกฎหมายลิขสิทธิ์ มาตรา 76 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 โดยหลักตามมาตรา 76 นั้นบัญญัติหลักเอาไว้ว่า
“ค่าปรับที่ได้ชำระตามคำพิพากษา ให้จ่ายแก่เจ้าของลิขสิทธิ์เป็นจำนวนกึ่งหนึ่งแต่ทั้งนี้ไม่เป็นการกระทบกระเทือนถึงสิทธิของเจ้าของสิทธิ ที่จะฟ้องเรียกค่าเสียหายทางแพ่งสำหรับส่วนเกินจากค่าปรับที่เจ้าของได้รับแล้วนั้น” ทั้งนี้อันเนื่องมาจากเหตุผลในการร่างมาตราดังกล่าวก็เพราะ “การพิสูจน์ค่าเสียหายในทางแพ่งหลายกรณีกระทำได้ยากมากจึงกำหนดโทษปรับไว้สูงเพื่ออาจแบ่งให้แก่เจ้าของลิขสิทธิ์ โดยที่ตามกฎหมายพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 69,70 ได้กำหนดเพดานอัตราค่าปรับในบทกำหนดโทษไว้สูงมากและกำหนดโทษขั้นต่ำไว้ เช่น การละเมิดลิขสิทธิ์ขั้นต้นเพื่อการค้าต้องจ่ายค่าปรับตั้งแต่หนึ่งแสนถึงแปดแสนบาทหรือการละเมิดลิขสิทธิ์ขั้นรองต้องจ่ายค่าปรับตั้งแต่ห้าหมื่นบาทถึงสี่แสนบาท จึงอาจแยกได้ว่าค่าเสียหายที่เจ้าของลิขสิทธิ์จะได้รับในกรณีถูกล่วงสิทธิมีได้สองกรณีคือ1) การได้รับค่าเสียหายในรูปของส่วนแบ่งค่าปรับโดยผลจากการดำเนินคดีอาญา 2) การได้รับค่าเสียหายโดยดำเนินคดีทางแพ่งส่วนที่เกินจากค่าปรับ แนวโน้มการพัฒนาการกำหนดค่าเสียหายเชิงลงโทษในประเทศไทยนั้นได้เกิดขึ้นอย่างชัดเจนในกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา ในกฎหมายคุ้มครองความลับทางการค้า พ.ศ. 2545 มีการบัญญัติการกำหนดค่าสินไหมทดแทนเป็นกรณีพิเศษ มาตรา 11 วรรค 4 กล่าวคือ ศาลมีอำนาจกำหนด 1) นอกจากค่าเสียหายที่เกิดขึ้นอย่างแท้จริงแล้ว ศาลอาจให้ผู้ละเมิดคืนผลประโยชน์ที่ได้จากการทำละเมิดโดยคิดรวมไปในค่าสินไหมทดแทนได้ หรือ 2) แต่ถ้าไม่อาจกำหนดตาม 1) ให้ศาลกำหนดตามจำนวนที่เห็นสมควร หรือ 3) ถ้าเป็นการละเมิดโดยจงใจ หรือมีเจตนากลั่นแกล้งเป็นเหตุให้ความลับทางการค้าดังกล่าวต้องสิ้นสภาพ ให้ศาลมีอำนาจสั่งให้ผู้ละเมิดจ่ายค่าสินไหมทดแทนเพื่อการลงโทษเพิ่มขึ้นจากจำนวนที่ศาลกำหนดแต่ต้องไม่เกินสองเท่าของค่าสินไหมทดแทนตาม 1) หรือ 2)

ข้อมูล : อาจารย์ ภูมินทร์ บุตรอินทร์ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

แอดไลน์