สิทธิบัตรซอฟต์แวร์ (Software Patent) กับ ลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ (Software Copy Right )

ลิขสิทธิ์ให้ความคุ้มครองโดยอัตโนมัติ เมื่อสร้างสรรค์ ซอฟต์แวร์ขึ้นมาและไม่ต้องดำเนินการเพื่อขอรับความคุ้มครองเพียงแต่ดำเนินการจดแจ้งเพื่อเป็นหลักฐานเท่านั้น โดยสิ่งที่จะได้รับความคุ้มครองคือ ตัวโค้ด (Code) ของ ซอฟต์แวร์นั้นในลักษณะของผลงานวรรณกรรม กล่าวคือคุ้มครองเฉพาะตัวโค้ด (Code) ที่ได้แสดงออกมา (Expression) แต่ไม่ได้รับความคุ้มครองไปถึงแนวคิด หรือ ลักษณะการทำงาน ของ ซอฟต์แวร์นั้น เช่น หากผู้สร้างสรรค์รายอื่นทำซอฟต์แวร์ที่มีลักษณะการทำงานเหมือน MS-WORD ขึ้นมาโดยการเขียน ตัวโค้ด (Code) ขึ้นมาใหม่ จะไม่ถือเป็นการละเมิดเพราะไม่ได้ทำซ้ำหรือดัดแปลง ตัวโค้ด (Code) ดังนั้นจึงมีความพยายามที่จะนำผลงานดังกล่าวมาจดทะเบียนเป็นสิทธิบัตร เนื่องจากจะได้รับความคุ้มครองในส่วนของแนวคิดและลักษณะการทำงาน ทำให้ผู้อื่นไม่สามารถนำ ซอฟต์แวร์ที่มีแนวคิดและลักษณะการทำงานอย่างเดียวกันนี้มาใช้ได้ แม้ว่าจะเขียน ตัวโค้ด (Code) ที่แตกต่างกันขึ้นมาก็ตาม อย่างไรก็ตามยังมีปัญหาอุปสรรคสำหรับการนำเสนอการประดิษฐ์ต่อ สำนักงานสิทธิบัตรในประเทศไทย เนื่องจาก พระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. ๒๕๒๒แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ. สิทธิบัตร (ฉบับที่ ๓)พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ กำหนดว่า การประดิษฐ์ “ระบบข้อมูลสำหรับการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์” ไม่ได้รับความคุ้มครอง

สำนักงานสิทธิบัตรในประเทศไทย ( Thai Patent Office) ได้ยอมรับคำขอที่เป็นการประดิษฐ์ที่เกี่ยวกับซอฟต์แวร์ (Software-Related Invention ) คือเป็นอุปกรณ์หรือเครื่องจักรที่มีซอฟต์แวร์เป็นตัวควบคุมแต่จะไม่ยอมรับการประดิษฐ์ที่เป็นซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ที่ถูกบันทึกลงบนตัวกลางและการประดิษฐ์มีเพียงแหล่งรหัสต้นกำเนิด (Source Code) ซอฟต์แวร์ ที่อยู่ในรูปแบบหรือขั้นตอนวิธี หรือ อัลกอริทึม (Algorithm) ที่ไปควบคุมการทำงานของอุปกรณ์หรือเครื่องคอมพิวเตอร์อาจขอรับความคุ้มครองได้ หากขั้นตอนวิธี หรือ อัลกอริทึม (Algorithm) ทำให้เกิดผลทางเทคนิค (Technical Effect)

สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ยอมรับและออกสิทธิบัตร เกี่ยวกับซอฟต์แวร์ โดยมีเงื่อนไขที่แตกต่างกันไปคือ
สำนักสิทธิบัตรยุโรป ( European Patent Office) ยอมออกสิทธิบัตรที่เกี่ยวกับซอฟต์แวร์ที่มีลักษณะทางเทคนิค (Technical Effect) โดย ซอฟต์แวร์ที่ถูกบันทึกลงในสื่อกลางจะไม่ได้รับความคุ้มครอง แต่ถ้า ซอฟต์แวร์นั้นก่อให้เกิดผลทาง เทคนิค (Technical Effect) กับ เครื่องคอมพิวเตอร์ ตัวอย่างเช่นระบบประมวลผลข้อมูลทั่วไปที่มีหน่วยความจำเล็ก ทำงานเร็ว และหน่วยความจำอีกหน่วยหนึ่งขนาดใหญ่กว่าแต่ทำงานช้ากว่าแต่ ซอฟต์แวร์ได้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทำให้หน่วยความจำที่มีขนาดใหญ่นั้นทำงานได้เร็ว เท่ากับหน่วยความจำขนาดเล็ก ซอฟต์แวร์นั้นอาจได้รับความคุ้มครองเนื่องจากมี ผลเทคนิค (Technical Effect) ในส่วนของการแสดงข้อมูล (Presentation of Information ) บนสื่อหรือไอคอน ที่หน้าจอคอมพิวเตอร์ ก็ไม่สามารถรับความคุ้มครองได้ เช่น เครื่องหมายที่แสดงถึงการเตือน สัญญาณเสียง ตัวอักษรที่แสดงบนหน้าจอ แต่กระบวนการแสดงข้อมูลอาจขอรับความคุ้มครองได้

สำนักสิทธิบัตรสหรัฐอเมริกา ( US Patent Office) ถือว่าการประดิษฐ์ที่เกี่ยวข้องกับซอฟต์แวร์ / คอมพิวเตอร์ เป็นการประดิษฐ์ที่มีลักษณะทางเทคนิคและจะต้องให้ผลลัพธ์ที่มีประโยชน์ (Useful) และจับต้องได้ ( Concrete and Tangible)

สำนักสิทธิบัตรญี่ปุ่น ( Japan Patent Office) มีแนวทางการพิจารณาแบบเดียวกับสำนักสิทธิบัตรยุโรป ( European Patent Office) คือการประดิษฐ์จะต้องเป็นการประดิษฐ์ที่สร้างสรรค์ก้าวหน้าของความคิดทางเทคนิค (Advance Creation of Technical Idea)

แต่ทั้งสามประเทศจะไม่ออกสิทธิบัตรให้กับงานที่ไม่มีลักษณะทางเทคนิค การเขียนคำขอสิทธิบัตรเกี่ยวกับซอฟต์แวร์ในประเทศไทยเป็นเรื่องที่มีความยากระดับหนึ่งเนื่องจาก สำนักงานสิทธิบัตรในประเทศไทยจะปฏิเสธรับคำขอที่จดทะเบียนเกี่ยวข้องกับระบบซอฟต์แวร์ ซึ่งจะต้องเป็นการเขียนคำขอที่ใช้คำศัพท์ทางเทคนิคอย่างสูงในการอธิบายและพยายามหลบเลี่ยงเพื่อให้เกิดความเข้าใจว่าเป็นเรื่องของซอฟต์แวร์เพื่อจะทำให้ สำนักงานสิทธิบัตรในประเทศไทยดำเนินการจดทะเบียนให้ หมายถึงว่าจะต้องเขียนคำขอรับสิทธิบัตรให้เป็นเรื่องของการประดิษฐ์ที่เกี่ยวกับซอฟต์แวร์ (Software-Related Invention ) เช่นสิทธิบัตรเลขที่ 14333 เครื่องนับครั้งการใช้โทรศัพท์ เป็นต้น

สิทธิบัตรซอฟต์แวร์ (Software Patent) คืออะไร

แบบที่ 1  : Software + Hard Ware และเกิดผลทางเทคนิค Technical Effect แบบนี้จดทะเบียนสิทธิบัตรได้

แบบที่ 2 : Software (ไม่มี Hard Ware) ต้องมีลักษณะเป็นขั้นตอนการทำงานของระบบ เช่น ระบบการทำงานของ Software ที่สั่งงานออกมาทางจอแสดงผล และ ไปสั่งให้ คนทำงานอะไรบางอย่าง หรือ ให้คนรับรู้อะไรบางอย่างระหว่างกันและเกิดเป็น transaction ของคน แบบนี้จดทะเบียนสิทธิบัตรได้

แบบที่ 3 : Software (ไม่มี Hard Ware) ต้องมีลักษณะเป็นขั้นตอนการประมวลผล เช่น มีการป้อนข้อมูลที่ 1 2 3 4 เป็นต้น เข้าไป และ Software ประมวลผลออกมาทางจอแสดงผล จนเกิดเป็น transaction แบบนี้จดทะเบียนสิทธิบัตรได้

แต่ทั้ง 3 แบบจะต้องเกิด ผลทางเทคนิค Technical Effect ในลักษณะการทำงานใหม่ที่เป็น invention แบบนี้จดทะเบียนสิทธิบัตรได้

แอดไลน์