สิทธิบัตรต่างประเทศ

บริการของเรา

TGC International Company Limited

การจดทะเบียนสิทธิบัตรในประเทศที่หนึ่งจะไม่มีผลคุ้มครองไปถึงประเทศที่สอง เนื่องจากการจดทะเบียนสิทธิบัตรในประเทศใดก็จะอยู่ภายใต้กฎหมายสิทธิบัตรของประเทศนั้น ซึ่งกฎหมายในประเทศที่หนึ่งจะไม่สามารถบังคับใช้ไปถึงประเทศที่สองด้วยตามหลักดินแดน และ อํานาจอธิปไตย

ดังนั้นการจดทะเบียนสิทธิบัตรในประเทศไทยจะไม่มีผลคุ้มครองไปถึงต่างประเทศด้วย ซึ่งเมื่อต้องการให้สิ่งประดิษฐ์ได้รับความคุ้มครองในต่างประเทศ ผู้ขอจดทะเบียนจะต้องทำการยื่นจดทะเบียนสิทธิบัตรในประเทศนั้นด้วย

ผู้ขอจดทะเบียนสามารถยื่นจดทะเบียนสิทธิบัตรในต่างประเทศ โดยมีทางเลือก ดังนี้

(1) สามารถยื่นคำขอรับสิทธิบัตรในทุกประเทศที่ต้องการให้สิ่งประดิษฐ์ของตนได้รับความคุ้มครอง ซึ่งจะต้องเตรียมคำขอประเทศละ 1 ชุด

(2) สามารถยื่นคำขอรับสิทธิบัตรในประเทศที่เป็นสมาชิกของอนุสัญญากรุงปารีส (ประเทศสมาชิกของอนุสัญญากรุงปารีสเพื่อการคุ้มครองทรัพย์สินอุตสาหกรรม) และหลังจากนั้นจึงยื่นคำขอรับสิทธิบัตรในแต่ละประเทศสมาชิก อนุสัญญากรุงปารีสอื่น ๆ ภายในระยะเวลา 12 เดือน นับจากวันที่ได้ยื่นคำขอรับสิทธิบัตรฉบับแรกเพื่อให้ผู้ขอได้รับประโยชน์จากวันที่ได้ยื่นคำขอครั้งแรกในทุก ๆ ประเทศเหล่านั้น

(3) สามารถยื่นคำขอภายใต้  สนธิสัญญาความร่วมมือด้านสิทธิบัตร หรือ PCT (Patent Cooperation Treaty)  โดยสามารถที่จะยื่นคำขอที่สำนักงานสิทธิบัตรภายในประเทศ ของตน และสำนักงานสิทธิบัตรก็จะส่งคำขอไปดำเนินการตามขั้นตอนของระบบ PCT ที่องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (WIPO) ซึ่งการรับจดทะเบียนสิทธิบัตร PCT เป็นอำนาจอธิปไตยของแต่ละประเทศที่ผู้ขอประสงค์จะขอความคุ้มครอง ซึ่งจะมีการตรวจสอบตามขั้นตอนและเงื่อนไขของกฎหมายภายในประเทศนั้น ๆ ก่อนรับจดทะเบียนสิทธิบัตรต่อไป

ข้อมูลเพิ่มเติม
http://www.wipo.int/pct/en/

*** ข้อความนี้มีลิขสิทธิ์ที่ถูกเขียนขึ้นโดย TGC เท่านั้น

การจดสิทธิบัตรทั่วโลก คืออะไร

Step 1 ยื่นจดทะเบียนสิทธิบัตรแบบระบบสนธิสัญญาความร่วมมือด้านสิทธิบัตร (PCT) สํานักงานสิทธิบัตรในประเทศไทย (International Phase)

Step 2 สํานักงานสิทธิบัตรในประเทศไทย ส่งสิทธิบัตรไปตรวจสอบยัง องค์กรตรวจค้นระหว่างประเทศ (ISA) โดยองค์กรตรวจค้นระหว่างประเทศ (ISA) จะจัดทํารายงานผลการตรวจค้น ภายใน 16-18 เดือน (International Phase)
ค่าตรวจสอบ
บุคคลธรรมดาประมาณ 21,000 บาท
นิติบุคคลประมาณ 70,000 บาท
ผลรายงานผลการตรวจค้น
1.ผ่าน
2.ไม่ผ่าน

Step 3 หากผลผ่าน ยื่นจดทะเบียนสิทธิบัตรแบบระบบสนธิสัญญาความร่วมมือด้านสิทธิบัตร (PCT) ในสํานักงานสิทธิบัตรในประเทศปลายทาง เช่น ประเทศไทย ประเทศอเมริกา (Nation Phase)

ค่าธรรมเนียมดำเนินการรวมค่าบริการตัวแทนในประเทศปลายทางประมาณ 50,000-200,000 บาท

ขั้นตอนการพิจารณาของสํานักงานสิทธิบัตรในประเทศปลายทาง (Nation Phase)
1.ยื่นจดทะเบียน
2.ประกาศโฆษณา
3.ร้องขอให้ตรวจสอบการประดิษฐ์
4.อนุมัติรับจดทะเบียน (คุ้มครอง 20 ปี)

ระยะเวลาพิจารณา 2-4 ปี

หมายเหตุ

PCT ย่อมาจาก Patent Cooperation Treaty เป็นความตกลงระหว่างประเทศสำหรับการขอรับความคุ้มครองการประดิษฐ์ในประเทศที่เป็นสมาชิก เพื่ออำนวยความสะดวก และลดภาระของผู้ขอรับสิทธิบัตร แทนที่จะต้องไปยื่นคำขอรับสิทธิบัตรในประเทศต่าง ๆ แต่ละประเทศที่ผู้ขอประสงค์จะขอรับความคุ้มครอง โดยสามารถที่จะยื่นคำขอที่สำนักงานสิทธิบัตรภายในประเทศ ของตน สำนักงานสิทธิบัตรก็จะส่งคำขอไปดำเนินการตามขั้นตอนของระบบ PCTที่องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (WIPO)

ระบบ PCT นี้ไม่ได้เป็นระบบการรับจดทะเบียนสิทธิบัตรที่จะส่งผลให้ประเทศที่เป็นสมาชิกต้องรับจดทะเบียนตามไปด้วย เนื่องจาก ระบบ PCT จะมีการดำเนินการในขั้นตอนต้น ๆ ของการขอรับสิทธิบัตรเท่านั้น ไม่มีการรับจดทะเบียนแต่อย่างใด การรับจดทะเบียนสิทธิบัตร PCT เป็นอำนาจอธิปไตยของแต่ละประเทศที่ผู้ขอประสงค์จะขอความคุ้มครอง ซึ่งจะมีการตรวจสอบตามขั้นตอนและเงื่อนไขของกฎหมายภายในประเทศนั้น ๆ ก่อนรับจดทะเบียนสิทธิบัตรต่อไป ซึ่งประเทศไทยสมัครเข้าเป็นภาคีสนธิสัญญาความร่วมมือด้านสิทธิบัตร เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2552 ถือเป็นสมาชิกลำดับที่ 142

แอดไลน์