ปกป้องข้อมูลและงานสร้างสรรค์ ด้วยการจดแจ้งลิขสิทธิ์

บริษัทของเราให้บริการรับจดลิขสิทธิ์ โดยสามารถตรวจสอบวิเคราะห์แนวโน้มการรับจดลิขสิทธิ์ได้ทันที เพื่อให้ทราบว่าลิขสิทธิ์ที่จะนำมาจดแจ้งลิขสิทธิ์นั้นจะยื่นจดทะเบียนและได้รับอนุมัติรับจดลิขสิทธิ์ได้หรือไม่

นอกจากนั้นยังสามารถทำการยื่นจดลิขสิทธิ์จนได้เลขคำขอภาย 1 วันเท่านั้น และมีระบบการเร่งรัดตรวจสอบอนุมัติอย่างรวดเร็วและทำให้คำขอของท่านได้รับการอนุมัติภายใน 20-30 วันอย่างแน่นอน 100%

ลิขสิทธิ์ คืออะไร?

ลิขสิทธิ์ คืองานสร้างสรรค์ที่เกิดจากจิตนาการ ประสบการณ์ โดยมุ่งเน้น ความสวยงาม ความบันเทิง ให้ความรู้ ที่อยู่ในรูปแบบของ งานจิตรกรรม งานประติมากรรม งานภาพพิมพ์ งานสถาปัตยกรรม งานภาพถ่าย งานภาพประกอบ งานศิลปประยุกต์ นาฏกรรม ศิลปกรรม ดนตรีกรรม โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ สิ่งบันทึกเสียง งานแพร่เสียงแพร่ภาพ หรืองานอื่นใดในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะของผู้สร้างสรรค์ เป็นต้น และลิขสิทธิ์ต้องเกิดโดยผู้สร้างสรรค์ที่ทำหรือผู้ก่อให้เกิดงานสร้างสรรค์ขึ้น เช่น ได้ทำขึ้นซึ่ง หนังสือ จุลสาร สิ่งพิมพ์ คำปราศรัย โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ฯลฯ ท่ารำ ท่าเต้น ฯลฯ) จิตรกรรม ประติมากรรม ภาพพิมพ์ ภาพถ่าย ศิลปประยุกต์ ฯลฯ งานดนตรีกรรม (ทำนอง ,ทำนองและเนื้อร้อง ฯลฯ งานสิ่งบันทึกเสียง (เทป ซีดี ) วีซีดี ดีวีดี ที่มีภาพหรือมีทั้งภาพและเสียง

ประเภทงานที่สามารถจดลิขสิทธิ์ได้

การจดแจ้งงานอันมีลิขสิทธิ์แก่งานสร้างสรรค์ 9 ประเภทตามที่กฎหมายกำหนดได้แก่

  • งานวรรณกรรม (หนังสือ จุลสาร สิ่งพิมพ์ คำปราศรัย โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ฯลฯ)
  • งานนาฎกรรม (ท่ารำ ท่าเต้น ฯลฯ)
  • งานศิลปกรรม (จิตรกรรม ประติมากรรม ภาพพิมพ์ ภาพถ่าย ศิลปประยุกต์ ฯลฯ)
  • งานดนตรีกรรม (ทำนอง , ทำนองและเนื้อร้อง ฯลฯ)
  • งานสิ่งบันทึกเสียง (เทป ซีดี )
  • งานโสตทัศนวัสดุ (วีซีดี ดีวีดี ที่มีภาพหรือมีทั้งภาพและเสียง)
  • งานภาพยนตร์
  • งานแพร่เสียงแพร่ภาพ
  • งานอื่นใดในแผนกวรรณคดี วิทยาศาสตร์ หรือศิลปะ

การจดแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์กับ TGC

ขั้นตอนการจดแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์

ยื่นจดแจ้งและรอการพิจารณาอนุมัติ ประมาณ 2 เดือน

ข้อมูลที่ใช้ในการจดแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์

  1. ชื่อ นามสกุล ที่อยู่ เบอร์ อีเมล ผู้ขอจดแจ้ง
  2. ชื่อผลงาน
  3. ภาพผลงาน / ซอสโค้ด
  4. วัน เดือน ปีที่สร้างสรรค์

เอกสารที่ใช้ในการจดแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์

  1. หนังสือมอบอำนาจ (ทางเราจัดทำให้)
  2. กรณีบริษัท : รับรองสำเนาหนังสือรับรองบริษัทฉบับจริงออกไม่เกิน 6 เดือน และ สำเนาบัตรกรรมการ
  3. กรณีบุคคลธรรมดา : รับรองสำเนาบัตร ปชช

บุคคลธรรมดา
ลิขสิทธิ์คุ้มครอง 50 ปีนับจากวันที่เสียชีวิต (แนะนำ)

นิติบุคคล
ลิขสิทธิ์คุ้มครอง 50 ปีนับจากวันสร้างสรรค์

ใครคือเจ้าของลิขสิทธิ์?

เจ้าของลิขสิทธิ์ คือผู้สร้างสรรค์ หมายความว่า ผู้ทำหรือผู้ก่อให้เกิดงานสร้างสรรค์อย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 และผู้สร้างสรรค์เป็นผู้มีลิขสิทธิ์ในงานที่ตนได้สร้างสรรค์ขึ้นตามมาตรา 8 พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗

ผู้สร้างสรรค์ได้สร้างสรรค์ขึ้นในฐานะพนักงานหรือลูกจ้าง ถ้ามิได้ทำเป็นหนังสือตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น ให้ลิขสิทธิ์ในงานนั้นเป็นของผู้สร้างสรรค์ แต่นายจ้างมีสิทธินำงานนั้นออกเผยแพร่ต่อสาธารณชนได้ตามที่เป็นวัตถุประสงค์แห่งการจ้างแรงงานนั้นตามมาตรา 9 พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗

กฎหมายลิขสิทธิ์เกิดจากการลงนามความตกลงระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้า (Agreements on Trade- Related Aspects of Intellectual Property Rights: TRIPS) ซึ่งประเทศไทยก็เป็นหนึ่งในประเทศที่ร่วมลงนามเช่นกัน และคุ้มครองความคิดสร้างสรรค์โดยอัตโนมัติ โดยไม่จำเป็นต้องยื่นเพื่อจดลิขสิทธ์ อย่างไรก็ตามการพิสูจน์ถึงสิทธิ์ในความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ และต้องการใช้บังคับตามกฎหมายจะต้องดำเนินการยื่นจดลิขสิทธิ์เพื่อที่จะได้มีหลักฐานการเป็นเจ้าของสิทธิและสามารถใช้บังคับตามกฎหมายได้ โดยหน่วยงานรับจดลิขสิทธิ์จะอยู่ที่กรมทรัพย์สินทางปัญญากระทรวงพาณิชย์ หรือพาณิชย์จังหวัดทั่วประเทศ และไม่มีค่าใช้จ่าย

สิทธิ์ของเจ้าของลิขสิทธิ์มีอะไรบ้าง?

ตามมาตรา 15 เจ้าของลิขสิทธิ์ย่อมมีสิทธิ แต่ผู้เดียวดังต่อไปนี้
(๑) ทำซ้ำหรือดัดแปลง
(๒) เผยแพร่ต่อสาธารณชน
(๓) ให้เช่าต้นฉบับหรือสำเนางานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ และสิ่งบันทึกเสียง
(๔) ให้ประโยชน์อันเกิดจากลิขสิทธิ์แก่ผู้อื่น
(๕) อนุญาตให้ผู้อื่นใช้สิทธิตาม (๑) (๒) หรือ (๓) โดยจะกำหนดเงื่อนไข อย่างใดหรือไม่ก็ได้ แต่เงื่อนไขดังกล่าวจะกำหนด ในลักษณะที่เป็นการจำกัดการแข่งขันโดยไม่เป็นธรรม ไม่ได้

นอกจากนั้น มาตรา 17 ลิขสิทธิ์นั้นย่อมโอนให้แก่กันได้เจ้าของลิขสิทธิ์อาจโอนลิขสิทธิ์ของตนทั้งหมดหรือแต่บางส่วนให้แก่บุคคลอื่นได้ และจะโอนให้โดยมีกำหนดเวลาหรือตลอดอายุแห่งการคุ้มครองลิขสิทธิ์ก็ได้

อายุแห่งการคุ้มครองการรับจดลิขสิทธิ์ มาตรา 19 ให้มีอยู่ตลอดอายุของผู้สร้างสรรค์ และมีอยู่ต่อไปอีกเป็นเวลาห้าสิบปี นับแต่ผู้สร้างสรรค์ถึงแก่ความตาย

สำหรับงานจดลิขสิทธิ์ในงานภาพถ่าย โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ สิ่งบันทึกเสียงหรืองาน แพร่เสียงแพร่ภาพให้มีอายุห้าสิบปีนับแต่ได้ สร้างสรรค์งานนั้นขึ้น แต่ถ้าได้มีการโฆษณางานนั้นในระหว่างระยะเวลาดังกล่าวให้ลิขสิทธิ์มีอายุห้าสิบปีนับแต่ได้มีการโฆษณาเป็น ครั้งแรก

ตามมาตรา 22 ลิขสิทธิ์ในงานศิลปประยุกต์ให้มีอายุยี่สิบห้าปีนับแต่ได้สร้างสรรค์งานนั้นขึ้นแต่ถ้าได้มีการโฆษณางานนั้นในระหว่าง ระยะเวลาดังกล่าวให้ลิขสิทธิ์มีอายุยี่สิบห้าปีนับแต่ได้มีการโฆษณาเป็นครั้งแรก

ตามมาตรา 69 ผู้ใดกระทำการละเมิดลิขสิทธิ์ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็น การกระทำเพื่อการค้า ผู้กระทำ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสี่ปี หรือปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงแปดแสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

หลักเกณฑ์ในการพิจารณางานลิขสิทธิ์

ลิขสิทธิ์ ต้องเป็นงานสร้างสรรค์ คือมีการทำให้เกิดงานใหม่ขึ้น โดยใช้ความวิริยะอุตสาหะ ในความรู้ความสามารถและประสบการณ์ โดยหลักเกณฑ์ในการพิจารณางานลิขสิทธิ์ คือ

1.ต้องเป็นงานสร้างสรรค์ งานที่มีความง่ายในการทำ ถือว่าไม่ใช่งานสร้างสรรค์ กฎหมายจะไม่รับจดลิขสิทธิ์ให้

2.เป็นงานประเภทตามที่กฎหมายกำหนด ดังนี้ งานวรรณกรรม งานนาฎกรรม งานศิลปกรรม งานดนตรีกรรม งานสิ่งบันทึกเสียง งานโสตทัศนวัสดุ งานภาพยนตร์ งานแพร่เสียงแพร่ภาพ งานอื่นใดในแผนกวรรณคดี วิทยาศาสตร์ หรือศิลปะ

3.ผู้สร้างสรรค์ต้องเป็นผู้มีสัญชาติไทย หรือบุคคลที่อยู่ในราชอาณาจักรหรือเป็นผู้มีสัญชาติหรืออยู่ในประเทศที่เป็นภาคีแห่งอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองลิขสิทธิ์

หากมีหลักเกณฑ์ครบตามข้างต้นก็สามารถยื่นจดลิขสิทธิ์ได้เลย

การได้มาซึ่งลิขสิทธิ์

ผู้สร้างสรรค์เป็นผู้มีลิขสิทธิ์ในงานที่ตนได้สร้างสรรค์ขึ้นและสามารถยื่นจดลิขสิทธิ์ได้ภายใต้เงื่อนไขดังต่อไปนี้

1.ในกรณีที่ยังไม่ได้มีการโฆษณางานผู้สร้างสรรค์ต้องเป็นผู้มีสัญชาติไทยหรืออยู่ในราชอาณาจักรหรือเป็นผู้มีสัญชาติหรือ ในประเทศที่เป็นภาคีแห่งอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองลิขสิทธิ์ซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ด้วย

2. ในกรณีที่ได้มีการโฆษณางานแล้วการโฆษณางานนั้นในครั้งแรกได้กระทำขึ้นในราชอาณาจักรหรือในประเทศที่เป็นภาคีแห่งอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองลิขสิทธิ์ซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ด้วย

3. งานที่ผู้สร้างสรรค์ได้สร้างสรรค์ขึ้นในฐานะพนักงานหรือลูกจ้าง ถ้ามิได้ทำเป็นหนังสือตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น ให้ลิขสิทธิ์ในงานนั้นเป็นของผู้สร้างสรรค์ แต่นายจ้างมีสิทธินำงานนั้นออกเผยแพร่ต่อสาธารณชนได้ตามที่เป็นวัตถุประสงค์แห่งการจ้างแรงงานนั้น

4. งานที่ผู้สร้างสรรค์ได้สร้างสรรค์ขึ้นโดยการรับจ้างบุคคลอื่น ให้ผู้ว่าจ้างเป็นผู้มีลิขสิทธิ์ในงานนั้น เว้นแต่ผู้สร้างสรรค์และผู้ว่าจ้างจะได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น

5. งานใดมีลักษณะเป็นการดัดแปลงงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ โดยได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ ให้ผู้ที่ได้ดัดแปลงนั้นมีลิขสิทธิ์ในงานที่ได้ดัดแปลงตามพระราชบัญญัตินี้แต่ทั้งนี้ไม่กระทบกระเทือนสิทธิของเจ้าของลิขสิทธิ์ที่มีอยู่ในงานของผู้สร้างสรรค์เดิมที่ถูกดัดแปลง

6. งานใดมีลักษณะเป็นการนำเอางานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้มารวบรวมหรือประกอบเข้ากันโดยได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์หรือเป็นการนำเอาข้อมูลหรือสิ่งอื่นใดซึ่งสามารถอ่านหรือถ่ายทอดได้โดยอาศัยเครื่องกลหรืออุปกรณ์อื่นใดมารวบรวมหรือประกอบเข้ากัน หากผู้ที่ได้รวบรวมหรือประกอบเข้ากันได้รวบรวมหรือประกอบเข้ากันซึ่งงานดังกล่าวขึ้น โดยการคัดเลือกหรือจัดลำดับในลักษณะซึ่งมิได้ลอกเลียนงานของบุคคลอื่นให้ผู้ที่ได้รวบรวมหรือประกอบเข้ากันนั้น มีลิขสิทธิ์ในงานที่ได้รวบรวมหรือประกอบเข้ากันตามพระราชบัญญัตินี้แต่ทั้งนี้ไม่กระทบกระเทือนสิทธิของเจ้าของลิขสิทธิ์ที่มีอยู่ในงานหรือข้อมูลหรือสิ่งอื่นใดของผู้สร้างสรรค์เดิมที่ถูกนำมารวบรวมหรือประกอบเข้ากัน

7. กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่นย่อมมีลิขสิทธิ์ในงานที่ได้สร้างสรรค์ขึ้นโดยการจ้างหรือตามคำสั่ง หรือในความควบคุมของตน เว้นแต่จะได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่นเป็นลายลักษณ์อักษร

หากมีเงื่อนไขครบตามข้างต้นก็สามารถยื่นให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับจดลิขสิทธิ์ให้ได้

ผลงานที่ไม่ถือว่ามีลิขสิทธิ์ / ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์

การกระทำแก่งานอันมีลิขสิทธิ์และไม่ขัดต่อการแสวงหาประโยชน์จากงาน อันมีลิขสิทธิ์ตามปกติของเจ้าของลิขสิทธิ์ และไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิอันชอบด้วยกฎหมายของเจ้าของลิขสิทธิ์เกินสมควร มิให้ถือว่า เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ถ้าได้กระทำดังต่อไปนี้

  1. วิจัยหรือศึกษางานนั้น อันมิใช่การกระทำเพื่อหากำไร
  2. ใช้เพื่อประโยชน์ของตนเอง หรือเพื่อประโยชน์ของตนเองและบุคคลอื่นในครอบครัวหรือญาติสนิท
  3. ติชม วิจารณ์ หรือแนะนำผลงานโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานนั้น
  4. เสนอรายงานข่าวทางสื่อสารมวลชนโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานนั้น
  5. ทำซ้ำ ดัดแปลง นำออกแสดง หรือทำให้ปรากฏ เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาของศาลหรือเจ้าพนักงาน ซึ่งมีอำนาจตามกฎหมาย หรือในการรายงานผลการพิจารณาดังกล่าว
  6. ทำซ้ำ ดัดแปลง นำออกแสดง หรือทำให้ปรากฏ โดยผู้สอนเพื่อประโยชน์ ในการสอนของตน อันมิใช่การกระทำเพื่อหากำไร
  7. ทำซ้ำ ดัดแปลงบางส่วนของงาน หรือตัดทอน หรือทำบทสรุปโดยผู้สอน หรือสถาบันศึกษา เพื่อแจกจ่ายหรือจำหน่ายแก่ผู้เรียนในชั้นเรียนหรือในสถาบันศึกษา ทั้งนี้ต้องไม่เป็นการกระทำเพื่อหากำไร
  8. นำงานนั้นมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการถามและตอบในการสอบ
  9. การกล่าว คัด ลอก เลียน หรืออ้างอิงงานบางตอนตามสมควรจากงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ โดยมีการรับรู้ถึง ความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานนั้น มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์
  10. การทำซ้ำโดยบรรณารักษ์ของห้องสมุด หากการทำซ้ำนั้นมิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อหากำไร
  11. การกระทำแก่โปรแกรมคอมพิวเตอร์หากไม่มีวัตถุประสงค์ เพื่อหากำไร
  12. การนำงานนาฏกรรม หรือดนตรีกรรม ออกแสดงเพื่อเผยแพร่ต่อสาธารณชนตามความเหมาะสมโดยมิได้จัดทำขึ้น หรือดำเนินการ เพื่อหากำไร
  13. การวาดเขียน การเขียนระบายสี การก่อสร้าง การแกะลายเส้น การปั้น การ แกะสลัก การพิมพ์ภาพ การถ่ายภาพ การถ่ายภาพยนตร์ การแพร่ภาพ หรือการ กระทำใด ๆ ทำนอง เดียวกันนี้ซึ่งศิลปกรรมใดอันตั้งเปิดเผยประจำอยู่ในที่สาธารณะ นอกจากงานสถาปัตยกรรม มิให้ถือว่า เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ในงานศิลปกรรมนั้น
  14. การวาดเขียน การเขียนระบายสี การแกะลายเส้น การปั้น การแกะสลัก การ พิมพ์ภาพ การถ่ายภาพ การถ่ายภาพยนตร์หรือ การแพร่ภาพซึ่งงานสถาปัตยกรรมใด มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ในงานสถาปัตยกรรมนั้น
  15. การถ่ายภาพหรือการถ่ายภาพยนตร์หรือการแพร่ภาพซึ่งงานใด ๆ อันมีศิลปกรรมใด รวมอยู่เป็นส่วนประกอบด้วย มิให้ถือว่าเป็นการ ละเมิดลิขสิทธิ์ในศิลปกรรมนั้น
  16. ในกรณีที่ลิขสิทธิ์ในศิลปกรรมใดมีบุคคลอื่นนอกจากผู้สร้างสรรค์เป็นเจ้าของอยู่ด้วยการที่ผู้สร้างสรรค์คนเดียวกันได้ทำ ศิลปกรรมนั้นอีกในภายหลังในลักษณะที่เป็นการทำซ้ำบางส่วนกับศิลปกรรมเดิม หรือใช้แบบพิมพ์ ภาพร่าง แผนผัง แบบจำลอง หรือข้อมูล ที่ได้จากการศึกษาที่ใช้ในการทำศิลปกรรมเดิม ถ้าปรากฏว่าผู้สร้างสรรค์มิได้ทำซ้ำหรือลอกแบบในส่วนอันเป็น สาระสำคัญของศิลปกรรมเดิม มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ในศิลปกรรมนั้น
  17. อาคารใดเป็นงานสถาปัตยกรรมอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ การบูรณะอาคารนั้นในรูปแบบเดิม มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์
  18. ในกรณีที่อายุแห่งการคุ้มครองลิขสิทธิ์ในภาพยนตร์ใดสิ้นสุดลงแล้ว
  19. การทำซ้ำ เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติราชการโดยเจ้าพนักงาน ซึ่งมีอำนาจตามกฎหมายหรือตามคำสั่งของเจ้าพนักงาน และที่อยู่ในความครอบครองของทางราชการ มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์

ประโยชน์ของลิขสิทธิ์มีอะไรบ้าง?

หากได้ทำการสร้างสรรค์งานอันมีลิขสิทธิ์แล้ว งานสร้างสรรค์ดังกล่าวถือว่าผู้สร้างสรรค์เป็นเจ้าของและป้องกันการทำซ้ำจากบุคคลอื่นได้ ดังนี้

  1. ทำซ้ำหรือดัดแปลง
  2. เผยแพร่ต่อสาธารณชน
  3. ให้เช่าต้นฉบับหรือสำเนางานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ และสิ่งบันทึกเสียง

นอกจากนั้นยังสามารถให้ประโยชน์อันเกิดจากลิขสิทธิ์แก่ผู้อื่นในงานอันมีลิขสิทธิ์ได้ด้วย ซึ่งถือเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งในการช่วยเหลือในการประกอบธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ

แม้ลิขสิทธิ์จะคุ้มครองทันทีนับจากวันที่สร้างสรรค์ แต่ก่อนการบังคับใช้และอ้างสิทธิตามกฎหมายจะต้องยื่นจดลิขสิทธิ์ด้วย ดังนั้นท่านจะต้องยื่นจดลิขสิทธิ์กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ได้อนุมัติรับจดลิขสิทธิ์แล้วถึงจะนำไปฟ้องร้องทางกฎหมายได้

ค่าธรรมเนียมการใช้บริการจดลิขสิทธิ์กับเรา

ค่าธรรมเนียมและรายการจดลิขสิทธิ์

การจดลิขสิทธิ์ ทางกรมทรัพย์สินทางปัญญาจะรับจดลิขสิทธิ์โดยไม่มีค่าธรรมเนียม เนื่องจากต้องการส่งเสริมให้ประชาชนได้ทำการสร้างสรรค์งานอันมีลิขสิทธิ์และนำไปสู่การพัฒนาประเทศได้ และเป็นงานอันมีคุณค่าทางจิตใจมากกว่านำไปหาประโยชน์เชิงพาณิชย์

ทำไมต้องใช้บริการจดแจ้งลิขสิทธิ์กับเรา?

  1. จัดทำเอกสารและยื่นจดทะเบียนลิขสิทธิ์ภายใน 1 วัน
  2. มีใบอนุญาตจากกรมทรัพย์สินทางปัญญาโดยตรง
  3. ประสบการณ์ยื่นจดลิขสิทธิ์มากว่า 25 ปี
  4. รับจดลิขสิทธิ์ผ่านมากกว่า 90% และมีระบบรับประกันผล
  5. จดลิขสิทธิ์ให้ได้รับความคุ้มครองแบบทั่วโลก ภายใต้ความตกลงระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้า (Agreements on Trade- Related Aspects of Intellectual Property Rights: TRIPS)
  6. บริษัทอยู่ใกล้กับกรมทรัพย์สินทางปัญญา สะดวก รวดเร็ว ฉับไว และทันท่วงที
แอดไลน์ บริการรับจดลิขสิทธิ์ จดแจ้งงานสร้างสรรค์อันมีลิขสิทธิ์ - TGC

ปกป้องข้อมูลและงานสร้างสรรค์ ด้วยการจดแจ้งลิขสิทธิ์

บริษัทของเราให้บริการรับจดลิขสิทธิ์ โดยสามารถตรวจสอบวิเคราะห์แนวโน้มการรับจดลิขสิทธิ์ได้ทันที เพื่อให้ทราบว่าลิขสิทธิ์ที่จะนำมาจดแจ้งลิขสิทธิ์นั้นจะยื่นจดทะเบียนและได้รับอนุมัติรับจดลิขสิทธิ์ได้หรือไม่

นอกจากนั้นยังสามารถทำการยื่นจดลิขสิทธิ์จนได้เลขคำขอภาย 1 วันเท่านั้น และมีระบบการเร่งรัดตรวจสอบอนุมัติอย่างรวดเร็วและทำให้คำขอของท่านได้รับการอนุมัติภายใน 20-30 วันอย่างแน่นอน 100%

ลิขสิทธิ์ คืออะไร?

ลิขสิทธิ์ คืองานสร้างสรรค์ที่เกิดจากจิตนาการ ประสบการณ์ โดยมุ่งเน้น ความสวยงาม ความบันเทิง ให้ความรู้ ที่อยู่ในรูปแบบของ งานจิตรกรรม งานประติมากรรม งานภาพพิมพ์ งานสถาปัตยกรรม งานภาพถ่าย งานภาพประกอบ งานศิลปประยุกต์ นาฏกรรม ศิลปกรรม ดนตรีกรรม โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ สิ่งบันทึกเสียง งานแพร่เสียงแพร่ภาพ หรืองานอื่นใดในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะของผู้สร้างสรรค์ เป็นต้น และลิขสิทธิ์ต้องเกิดโดยผู้สร้างสรรค์ที่ทำหรือผู้ก่อให้เกิดงานสร้างสรรค์ขึ้น เช่น ได้ทำขึ้นซึ่ง หนังสือ จุลสาร สิ่งพิมพ์ คำปราศรัย โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ฯลฯ ท่ารำ ท่าเต้น ฯลฯ) จิตรกรรม ประติมากรรม ภาพพิมพ์ ภาพถ่าย ศิลปประยุกต์ ฯลฯ งานดนตรีกรรม (ทำนอง ,ทำนองและเนื้อร้อง ฯลฯ งานสิ่งบันทึกเสียง (เทป ซีดี ) วีซีดี ดีวีดี ที่มีภาพหรือมีทั้งภาพและเสียง

ประเภทงานที่สามารถจดลิขสิทธิ์ได้

การจดแจ้งงานอันมีลิขสิทธิ์แก่งานสร้างสรรค์ 9 ประเภทตามที่กฎหมายกำหนดได้แก่

  • งานวรรณกรรม (หนังสือ จุลสาร สิ่งพิมพ์ คำปราศรัย โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ฯลฯ)
  • งานนาฎกรรม (ท่ารำ ท่าเต้น ฯลฯ)
  • งานศิลปกรรม (จิตรกรรม ประติมากรรม ภาพพิมพ์ ภาพถ่าย ศิลปประยุกต์ ฯลฯ)
  • งานดนตรีกรรม (ทำนอง , ทำนองและเนื้อร้อง ฯลฯ)
  • งานสิ่งบันทึกเสียง (เทป ซีดี )
  • งานโสตทัศนวัสดุ (วีซีดี ดีวีดี ที่มีภาพหรือมีทั้งภาพและเสียง)
  • งานภาพยนตร์
  • งานแพร่เสียงแพร่ภาพ
  • งานอื่นใดในแผนกวรรณคดี วิทยาศาสตร์ หรือศิลปะ

การจดแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์กับ TGC

ขั้นตอนการจดแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์

ยื่นจดแจ้งและรอการพิจารณาอนุมัติ ประมาณ 2 เดือน

ข้อมูลที่ใช้ในการจดแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์

  1. ชื่อ นามสกุล ที่อยู่ เบอร์ อีเมล ผู้ขอจดแจ้ง
  2. ชื่อผลงาน
  3. ภาพผลงาน / ซอสโค้ด
  4. วัน เดือน ปีที่สร้างสรรค์

เอกสารที่ใช้ในการจดแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์

  1. หนังสือมอบอำนาจ (ทางเราจัดทำให้)
  2. กรณีบริษัท : รับรองสำเนาหนังสือรับรองบริษัทฉบับจริงออกไม่เกิน 6 เดือน และ สำเนาบัตรกรรมการ
  3. กรณีบุคคลธรรมดา : รับรองสำเนาบัตร ปชช

บุคคลธรรมดา
ลิขสิทธิ์คุ้มครอง 50 ปีนับจากวันที่เสียชีวิต (แนะนำ)

นิติบุคคล
ลิขสิทธิ์คุ้มครอง 50 ปีนับจากวันสร้างสรรค์

ใครคือเจ้าของลิขสิทธิ์?

เจ้าของลิขสิทธิ์ คือผู้สร้างสรรค์ หมายความว่า ผู้ทำหรือผู้ก่อให้เกิดงานสร้างสรรค์อย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 และผู้สร้างสรรค์เป็นผู้มีลิขสิทธิ์ในงานที่ตนได้สร้างสรรค์ขึ้นตามมาตรา 8 พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗

ผู้สร้างสรรค์ได้สร้างสรรค์ขึ้นในฐานะพนักงานหรือลูกจ้าง ถ้ามิได้ทำเป็นหนังสือตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น ให้ลิขสิทธิ์ในงานนั้นเป็นของผู้สร้างสรรค์ แต่นายจ้างมีสิทธินำงานนั้นออกเผยแพร่ต่อสาธารณชนได้ตามที่เป็นวัตถุประสงค์แห่งการจ้างแรงงานนั้นตามมาตรา 9 พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗

กฎหมายลิขสิทธิ์เกิดจากการลงนามความตกลงระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้า (Agreements on Trade- Related Aspects of Intellectual Property Rights: TRIPS) ซึ่งประเทศไทยก็เป็นหนึ่งในประเทศที่ร่วมลงนามเช่นกัน และคุ้มครองความคิดสร้างสรรค์โดยอัตโนมัติ โดยไม่จำเป็นต้องยื่นเพื่อจดลิขสิทธ์ อย่างไรก็ตามการพิสูจน์ถึงสิทธิ์ในความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ และต้องการใช้บังคับตามกฎหมายจะต้องดำเนินการยื่นจดลิขสิทธิ์เพื่อที่จะได้มีหลักฐานการเป็นเจ้าของสิทธิและสามารถใช้บังคับตามกฎหมายได้ โดยหน่วยงานรับจดลิขสิทธิ์จะอยู่ที่กรมทรัพย์สินทางปัญญากระทรวงพาณิชย์ หรือพาณิชย์จังหวัดทั่วประเทศ และไม่มีค่าใช้จ่าย

สิทธิ์ของเจ้าของลิขสิทธิ์มีอะไรบ้าง?

ตามมาตรา 15 เจ้าของลิขสิทธิ์ย่อมมีสิทธิ แต่ผู้เดียวดังต่อไปนี้
(๑) ทำซ้ำหรือดัดแปลง
(๒) เผยแพร่ต่อสาธารณชน
(๓) ให้เช่าต้นฉบับหรือสำเนางานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ และสิ่งบันทึกเสียง
(๔) ให้ประโยชน์อันเกิดจากลิขสิทธิ์แก่ผู้อื่น
(๕) อนุญาตให้ผู้อื่นใช้สิทธิตาม (๑) (๒) หรือ (๓) โดยจะกำหนดเงื่อนไข อย่างใดหรือไม่ก็ได้ แต่เงื่อนไขดังกล่าวจะกำหนด ในลักษณะที่เป็นการจำกัดการแข่งขันโดยไม่เป็นธรรม ไม่ได้

นอกจากนั้น มาตรา 17 ลิขสิทธิ์นั้นย่อมโอนให้แก่กันได้เจ้าของลิขสิทธิ์อาจโอนลิขสิทธิ์ของตนทั้งหมดหรือแต่บางส่วนให้แก่บุคคลอื่นได้ และจะโอนให้โดยมีกำหนดเวลาหรือตลอดอายุแห่งการคุ้มครองลิขสิทธิ์ก็ได้

อายุแห่งการคุ้มครองการรับจดลิขสิทธิ์ มาตรา 19 ให้มีอยู่ตลอดอายุของผู้สร้างสรรค์ และมีอยู่ต่อไปอีกเป็นเวลาห้าสิบปี นับแต่ผู้สร้างสรรค์ถึงแก่ความตาย

สำหรับงานจดลิขสิทธิ์ในงานภาพถ่าย โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ สิ่งบันทึกเสียงหรืองาน แพร่เสียงแพร่ภาพให้มีอายุห้าสิบปีนับแต่ได้ สร้างสรรค์งานนั้นขึ้น แต่ถ้าได้มีการโฆษณางานนั้นในระหว่างระยะเวลาดังกล่าวให้ลิขสิทธิ์มีอายุห้าสิบปีนับแต่ได้มีการโฆษณาเป็น ครั้งแรก

ตามมาตรา 22 ลิขสิทธิ์ในงานศิลปประยุกต์ให้มีอายุยี่สิบห้าปีนับแต่ได้สร้างสรรค์งานนั้นขึ้นแต่ถ้าได้มีการโฆษณางานนั้นในระหว่าง ระยะเวลาดังกล่าวให้ลิขสิทธิ์มีอายุยี่สิบห้าปีนับแต่ได้มีการโฆษณาเป็นครั้งแรก

ตามมาตรา 69 ผู้ใดกระทำการละเมิดลิขสิทธิ์ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็น การกระทำเพื่อการค้า ผู้กระทำ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสี่ปี หรือปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงแปดแสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

หลักเกณฑ์ในการพิจารณางานลิขสิทธิ์

ลิขสิทธิ์ ต้องเป็นงานสร้างสรรค์ คือมีการทำให้เกิดงานใหม่ขึ้น โดยใช้ความวิริยะอุตสาหะ ในความรู้ความสามารถและประสบการณ์ โดยหลักเกณฑ์ในการพิจารณางานลิขสิทธิ์ คือ

1.ต้องเป็นงานสร้างสรรค์ งานที่มีความง่ายในการทำ ถือว่าไม่ใช่งานสร้างสรรค์ กฎหมายจะไม่รับจดลิขสิทธิ์ให้

2.เป็นงานประเภทตามที่กฎหมายกำหนด ดังนี้ งานวรรณกรรม งานนาฎกรรม งานศิลปกรรม งานดนตรีกรรม งานสิ่งบันทึกเสียง งานโสตทัศนวัสดุ งานภาพยนตร์ งานแพร่เสียงแพร่ภาพ งานอื่นใดในแผนกวรรณคดี วิทยาศาสตร์ หรือศิลปะ

3.ผู้สร้างสรรค์ต้องเป็นผู้มีสัญชาติไทย หรือบุคคลที่อยู่ในราชอาณาจักรหรือเป็นผู้มีสัญชาติหรืออยู่ในประเทศที่เป็นภาคีแห่งอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองลิขสิทธิ์

หากมีหลักเกณฑ์ครบตามข้างต้นก็สามารถยื่นจดลิขสิทธิ์ได้เลย

การได้มาซึ่งลิขสิทธิ์

ผู้สร้างสรรค์เป็นผู้มีลิขสิทธิ์ในงานที่ตนได้สร้างสรรค์ขึ้นและสามารถยื่นจดลิขสิทธิ์ได้ภายใต้เงื่อนไขดังต่อไปนี้

1.ในกรณีที่ยังไม่ได้มีการโฆษณางานผู้สร้างสรรค์ต้องเป็นผู้มีสัญชาติไทยหรืออยู่ในราชอาณาจักรหรือเป็นผู้มีสัญชาติหรือ ในประเทศที่เป็นภาคีแห่งอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองลิขสิทธิ์ซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ด้วย

2. ในกรณีที่ได้มีการโฆษณางานแล้วการโฆษณางานนั้นในครั้งแรกได้กระทำขึ้นในราชอาณาจักรหรือในประเทศที่เป็นภาคีแห่งอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองลิขสิทธิ์ซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ด้วย

3. งานที่ผู้สร้างสรรค์ได้สร้างสรรค์ขึ้นในฐานะพนักงานหรือลูกจ้าง ถ้ามิได้ทำเป็นหนังสือตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น ให้ลิขสิทธิ์ในงานนั้นเป็นของผู้สร้างสรรค์ แต่นายจ้างมีสิทธินำงานนั้นออกเผยแพร่ต่อสาธารณชนได้ตามที่เป็นวัตถุประสงค์แห่งการจ้างแรงงานนั้น

4. งานที่ผู้สร้างสรรค์ได้สร้างสรรค์ขึ้นโดยการรับจ้างบุคคลอื่น ให้ผู้ว่าจ้างเป็นผู้มีลิขสิทธิ์ในงานนั้น เว้นแต่ผู้สร้างสรรค์และผู้ว่าจ้างจะได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น

5. งานใดมีลักษณะเป็นการดัดแปลงงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ โดยได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ ให้ผู้ที่ได้ดัดแปลงนั้นมีลิขสิทธิ์ในงานที่ได้ดัดแปลงตามพระราชบัญญัตินี้แต่ทั้งนี้ไม่กระทบกระเทือนสิทธิของเจ้าของลิขสิทธิ์ที่มีอยู่ในงานของผู้สร้างสรรค์เดิมที่ถูกดัดแปลง

6. งานใดมีลักษณะเป็นการนำเอางานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้มารวบรวมหรือประกอบเข้ากันโดยได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์หรือเป็นการนำเอาข้อมูลหรือสิ่งอื่นใดซึ่งสามารถอ่านหรือถ่ายทอดได้โดยอาศัยเครื่องกลหรืออุปกรณ์อื่นใดมารวบรวมหรือประกอบเข้ากัน หากผู้ที่ได้รวบรวมหรือประกอบเข้ากันได้รวบรวมหรือประกอบเข้ากันซึ่งงานดังกล่าวขึ้น โดยการคัดเลือกหรือจัดลำดับในลักษณะซึ่งมิได้ลอกเลียนงานของบุคคลอื่นให้ผู้ที่ได้รวบรวมหรือประกอบเข้ากันนั้น มีลิขสิทธิ์ในงานที่ได้รวบรวมหรือประกอบเข้ากันตามพระราชบัญญัตินี้แต่ทั้งนี้ไม่กระทบกระเทือนสิทธิของเจ้าของลิขสิทธิ์ที่มีอยู่ในงานหรือข้อมูลหรือสิ่งอื่นใดของผู้สร้างสรรค์เดิมที่ถูกนำมารวบรวมหรือประกอบเข้ากัน

7. กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่นย่อมมีลิขสิทธิ์ในงานที่ได้สร้างสรรค์ขึ้นโดยการจ้างหรือตามคำสั่ง หรือในความควบคุมของตน เว้นแต่จะได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่นเป็นลายลักษณ์อักษร

หากมีเงื่อนไขครบตามข้างต้นก็สามารถยื่นให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับจดลิขสิทธิ์ให้ได้

ผลงานที่ไม่ถือว่ามีลิขสิทธิ์ / ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์

การกระทำแก่งานอันมีลิขสิทธิ์และไม่ขัดต่อการแสวงหาประโยชน์จากงาน อันมีลิขสิทธิ์ตามปกติของเจ้าของลิขสิทธิ์ และไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิอันชอบด้วยกฎหมายของเจ้าของลิขสิทธิ์เกินสมควร มิให้ถือว่า เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ถ้าได้กระทำดังต่อไปนี้

  1. วิจัยหรือศึกษางานนั้น อันมิใช่การกระทำเพื่อหากำไร
  2. ใช้เพื่อประโยชน์ของตนเอง หรือเพื่อประโยชน์ของตนเองและบุคคลอื่นในครอบครัวหรือญาติสนิท
  3. ติชม วิจารณ์ หรือแนะนำผลงานโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานนั้น
  4. เสนอรายงานข่าวทางสื่อสารมวลชนโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานนั้น
  5. ทำซ้ำ ดัดแปลง นำออกแสดง หรือทำให้ปรากฏ เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาของศาลหรือเจ้าพนักงาน ซึ่งมีอำนาจตามกฎหมาย หรือในการรายงานผลการพิจารณาดังกล่าว
  6. ทำซ้ำ ดัดแปลง นำออกแสดง หรือทำให้ปรากฏ โดยผู้สอนเพื่อประโยชน์ ในการสอนของตน อันมิใช่การกระทำเพื่อหากำไร
  7. ทำซ้ำ ดัดแปลงบางส่วนของงาน หรือตัดทอน หรือทำบทสรุปโดยผู้สอน หรือสถาบันศึกษา เพื่อแจกจ่ายหรือจำหน่ายแก่ผู้เรียนในชั้นเรียนหรือในสถาบันศึกษา ทั้งนี้ต้องไม่เป็นการกระทำเพื่อหากำไร
  8. นำงานนั้นมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการถามและตอบในการสอบ
  9. การกล่าว คัด ลอก เลียน หรืออ้างอิงงานบางตอนตามสมควรจากงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ โดยมีการรับรู้ถึง ความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานนั้น มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์
  10. การทำซ้ำโดยบรรณารักษ์ของห้องสมุด หากการทำซ้ำนั้นมิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อหากำไร
  11. การกระทำแก่โปรแกรมคอมพิวเตอร์หากไม่มีวัตถุประสงค์ เพื่อหากำไร
  12. การนำงานนาฏกรรม หรือดนตรีกรรม ออกแสดงเพื่อเผยแพร่ต่อสาธารณชนตามความเหมาะสมโดยมิได้จัดทำขึ้น หรือดำเนินการ เพื่อหากำไร
  13. การวาดเขียน การเขียนระบายสี การก่อสร้าง การแกะลายเส้น การปั้น การ แกะสลัก การพิมพ์ภาพ การถ่ายภาพ การถ่ายภาพยนตร์ การแพร่ภาพ หรือการ กระทำใด ๆ ทำนอง เดียวกันนี้ซึ่งศิลปกรรมใดอันตั้งเปิดเผยประจำอยู่ในที่สาธารณะ นอกจากงานสถาปัตยกรรม มิให้ถือว่า เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ในงานศิลปกรรมนั้น
  14. การวาดเขียน การเขียนระบายสี การแกะลายเส้น การปั้น การแกะสลัก การ พิมพ์ภาพ การถ่ายภาพ การถ่ายภาพยนตร์หรือ การแพร่ภาพซึ่งงานสถาปัตยกรรมใด มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ในงานสถาปัตยกรรมนั้น
  15. การถ่ายภาพหรือการถ่ายภาพยนตร์หรือการแพร่ภาพซึ่งงานใด ๆ อันมีศิลปกรรมใด รวมอยู่เป็นส่วนประกอบด้วย มิให้ถือว่าเป็นการ ละเมิดลิขสิทธิ์ในศิลปกรรมนั้น
  16. ในกรณีที่ลิขสิทธิ์ในศิลปกรรมใดมีบุคคลอื่นนอกจากผู้สร้างสรรค์เป็นเจ้าของอยู่ด้วยการที่ผู้สร้างสรรค์คนเดียวกันได้ทำ ศิลปกรรมนั้นอีกในภายหลังในลักษณะที่เป็นการทำซ้ำบางส่วนกับศิลปกรรมเดิม หรือใช้แบบพิมพ์ ภาพร่าง แผนผัง แบบจำลอง หรือข้อมูล ที่ได้จากการศึกษาที่ใช้ในการทำศิลปกรรมเดิม ถ้าปรากฏว่าผู้สร้างสรรค์มิได้ทำซ้ำหรือลอกแบบในส่วนอันเป็น สาระสำคัญของศิลปกรรมเดิม มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ในศิลปกรรมนั้น
  17. อาคารใดเป็นงานสถาปัตยกรรมอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ การบูรณะอาคารนั้นในรูปแบบเดิม มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์
  18. ในกรณีที่อายุแห่งการคุ้มครองลิขสิทธิ์ในภาพยนตร์ใดสิ้นสุดลงแล้ว
  19. การทำซ้ำ เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติราชการโดยเจ้าพนักงาน ซึ่งมีอำนาจตามกฎหมายหรือตามคำสั่งของเจ้าพนักงาน และที่อยู่ในความครอบครองของทางราชการ มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์

ประโยชน์ของลิขสิทธิ์มีอะไรบ้าง?

หากได้ทำการสร้างสรรค์งานอันมีลิขสิทธิ์แล้ว งานสร้างสรรค์ดังกล่าวถือว่าผู้สร้างสรรค์เป็นเจ้าของและป้องกันการทำซ้ำจากบุคคลอื่นได้ ดังนี้

  1. ทำซ้ำหรือดัดแปลง
  2. เผยแพร่ต่อสาธารณชน
  3. ให้เช่าต้นฉบับหรือสำเนางานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ และสิ่งบันทึกเสียง

นอกจากนั้นยังสามารถให้ประโยชน์อันเกิดจากลิขสิทธิ์แก่ผู้อื่นในงานอันมีลิขสิทธิ์ได้ด้วย ซึ่งถือเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งในการช่วยเหลือในการประกอบธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ

แม้ลิขสิทธิ์จะคุ้มครองทันทีนับจากวันที่สร้างสรรค์ แต่ก่อนการบังคับใช้และอ้างสิทธิตามกฎหมายจะต้องยื่นจดลิขสิทธิ์ด้วย ดังนั้นท่านจะต้องยื่นจดลิขสิทธิ์กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ได้อนุมัติรับจดลิขสิทธิ์แล้วถึงจะนำไปฟ้องร้องทางกฎหมายได้

ค่าธรรมเนียมการใช้บริการจดลิขสิทธิ์กับเรา

ค่าธรรมเนียมและรายการจดลิขสิทธิ์

การจดลิขสิทธิ์ ทางกรมทรัพย์สินทางปัญญาจะรับจดลิขสิทธิ์โดยไม่มีค่าธรรมเนียม เนื่องจากต้องการส่งเสริมให้ประชาชนได้ทำการสร้างสรรค์งานอันมีลิขสิทธิ์และนำไปสู่การพัฒนาประเทศได้ และเป็นงานอันมีคุณค่าทางจิตใจมากกว่านำไปหาประโยชน์เชิงพาณิชย์

ทำไมต้องใช้บริการจดแจ้งลิขสิทธิ์กับเรา?

  1. จัดทำเอกสารและยื่นจดทะเบียนลิขสิทธิ์ภายใน 1 วัน
  2. มีใบอนุญาตจากกรมทรัพย์สินทางปัญญาโดยตรง
  3. ประสบการณ์ยื่นจดลิขสิทธิ์มากว่า 25 ปี
  4. รับจดลิขสิทธิ์ผ่านมากกว่า 90% และมีระบบรับประกันผล
  5. จดลิขสิทธิ์ให้ได้รับความคุ้มครองแบบทั่วโลก ภายใต้ความตกลงระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้า (Agreements on Trade- Related Aspects of Intellectual Property Rights: TRIPS)
  6. บริษัทอยู่ใกล้กับกรมทรัพย์สินทางปัญญา สะดวก รวดเร็ว ฉับไว และทันท่วงที
แอดไลน์