การจดสิทธิบัตรต่างประเทศ คืออะไร
การจดทะเบียนสิทธิบัตรในประเทศที่หนึ่งจะไม่มีผลคุ้มครองไปถึงประเทศที่สอง เนื่องจากการจดทะเบียนสิทธิบัตรในประเทศใดก็จะอยู่ภายใต้กฎหมายสิทธิบัตรของประเทศนั้น ซึ่งกฎหมายในประเทศที่หนึ่งจะไม่สามารถบังคับใช้ไปถึงประเทศที่สองด้วยตามหลักดินแดนและ อํานาจอธิปไตย
ดังนั้นการจดทะเบียนสิทธิบัตรในประเทศไทยจะไม่มีผลคุ้มครองถึงต่างประเทศด้วย ซึ่งเมื่อต้องการให้สิทธิบัตรมีผลคุ้มครองไปถึงต่างประเทศ ผู้ขอจดทะเบียนจะต้องทำการยื่นจดทะเบียนสิทธิบัตรในประเทศนั้นด้วย
ผู้ขอจดทะเบียนสามารถยื่นจดทะเบียนสิทธิบัตรในต่างประเทศ โดยมีทางเลือก ดังนี้
(1) สามารถยื่นคำขอรับสิทธิบัตรในทุกประเทศที่ต้องการให้สิ่งประดิษฐ์ของตนได้รับความคุ้มครอง ซึ่งจะต้องเตรียมคำขอประเทศละ 1 ชุด
ซึ่งมีข้อเสียคือ หากยื่นจดทะเบียนสิทธิบัตรไป 5 ประเทศเราจะต้องเสียเงินค่ายื่นจดทะเบียนทันทีโดยยังไม่ทราบว่าสิทธิบัตรเราจะผ่านหรือไม่ เช่น 5 ประเทศ เสีย 1 แสนบาท
(2) สามารถยื่นคำขอรับสิทธิบัตรในประเทศที่เป็นสมาชิกของอนุสัญญาปารีสว่าด้วยการคุ้มครองทรัพย์สินอุตสาหกรรม (Paris Convention for the Protection of Industrial Property) และหลังจากนั้นจึงยื่นคำขอรับสิทธิบัตรในแต่ละประเทศสมาชิก อนุสัญญากรุงปารีสอื่น ๆ ภายในระยะเวลา 12 เดือน นับจากวันที่ได้ยื่นคำขอรับสิทธิบัตรฉบับแรกเพื่อให้ผู้ขอได้รับประโยชน์จากวันที่ได้ยื่นคำขอครั้งแรกในทุก ๆ ประเทศเหล่านั้น
ซึ่งมีข้อเสียคือ หากยื่นจดทะเบียนสิทธิบัตรไป 5 ประเทศเราจะต้องเสียเงินค่ายื่นจดทะเบียนทันทีโดยยังไม่ทราบว่าสิทธิบัตรเราจะผ่านหรือไม่ เช่น 5 ประเทศ เสีย 1 แสนบาท ข้อดีคือ สามารถขอถือสิทธิย้อนหลัง (claim priority) ได้ เช่น ยื่นจดทะเบียนในประเทศไทยวันที่ 5/5/2566 และ นำคำขอไปยื่นในประเทศสมาชิกอื่นภายใน 12 เดือนจะถือว่าวันยื่นจดทะเบียนในประเทศสมาชิกปลายทางคือวันที่ 5/5/2566 ด้วย
(3) สามารถยื่นคำขอภายใต้ สนธิสัญญาความร่วมมือด้านสิทธิบัตร หรือ PCT (Patent Cooperation Treaty) โดยสามารถที่จะยื่นคำขอที่สำนักงานสิทธิบัตรภายในประเทศ ของตน และสำนักงานสิทธิบัตรก็จะส่งคำขอไปดำเนินการตามขั้นตอนของระบบ PCT ที่องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (WIPO) ซึ่งการรับจดทะเบียนสิทธิบัตร PCT เป็นอำนาจอธิปไตยของแต่ละประเทศที่ผู้ขอประสงค์จะขอความคุ้มครอง ซึ่งจะมีการตรวจสอบตามขั้นตอนและเงื่อนไขของกฎหมายภายในประเทศนั้น ๆ ก่อนรับจดทะเบียนสิทธิบัตรต่อไป
ซึ่งมีข้อดีคือ ยื่นขอตรวจสอบความใหม่กับส่วนกลางองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (WIPO) ก่อนเพื่อให้ทราบว่าสิทธิบัตรผ่านหรือไม่โดยจะเสียค่าตรวจสอบประมาณ 2 หมื่นบาท และ หลังจากทราบว่าสิทธิบัตรผ่านถึงจะนำไปยื่นจดทะเบียน 5 ประเทศ เสีย 1 แสนบาท โดยจะเสียรวม ๆ อยู่ที่ 1.2 แสนบาท แต่เราจะทราบแนวโน้มสิทธิบัตรก่อนว่าจะผ่านหรือไม่ก่อนที่จะยื่นจดทะเบียนและมีเวลาการตัดสินใจ
หมายเหตุ ราคาเป็นการยกตัวอย่าง ไม่ใช่ราคาจริง
ข้อมูลเพิ่มเติม
http://www.wipo.int/pct/en/
การจดสิทธิบัตรทั่วโลก คืออะไร
Step 1 ยื่นจดทะเบียนสิทธิบัตรแบบระบบสนธิสัญญาความร่วมมือด้านสิทธิบัตร (PCT) สํานักงานสิทธิบัตรในประเทศไทย (International Phase)
โดยเนื้อหาของสิทธิบัตรที่จะเขียนขอความคุ้มครองต้องเป็นเนื้อหาสิทธิบัตรที่เป็น Basic Application ที่ดีที่สุดและขอความคุ้มครองกว้างที่สุด ซึ่งเนื้อหาที่เป็น Basic Application จะถูกนำไปแปลเป็น ภาษาอังกฤษเพื่อนำ Basic Application ไปยื่นจดทะเบียนเข้าระบบ PCT (Patent Cooperation Treaty) และ นำส่ง Basic Application ไปยังประเทศปลายทางต่อไป โดยจะไม่สามารถเพิ่มเติมเนื้อหาที่เป็นสาระสำคัญเข้าไปใน Basic Application ได้อีกเว้นแต่เป็นการเพิ่มเติมเล็ก ๆ น้อยๆ
โดยเนื้อหาสิทธิบัตรที่เป็น Basic Application ควรจะเป็นคำขอที่เขียนคุ้มครองแบบกว้างๆ ในเชิงลงรายละเอียดปลีกย่อย เพราะหากส่วนไหนไม่ผ่าน เรายังเหลือส่วนที่ผ่านไว้เพื่อให้ได้รับความคุ้มครองได้ และ การเขียนเนื้อหาสิทธิบัตรแบบกว้างๆ ในเชิงลงรายละเอียดปลีกย่อย จะต้องประกอบด้วย
ชื่อที่แสดงถึงการประดิษฐ์ เช่น AUTOMATIC ELECTRIC AIR MATTRESS FRAME FOR PREVENTING PRESSURE SORES.
สาขาวิทยาการที่เกี่ยวข้องกับการประดิษฐ์ /Branch of Science Associated with the Invention เช่น ด้านวิศวกรรม เกษตร เคมี ชีววิทยา แพทย์
ภูมิหลังของศิลปะหรือวิทยาการที่เกี่ยวข้อง /Background of related art or science คือ งานประดิษฐ์แบบเดิมก่อนหน้านี้ว่ามีข้อเสียอย่างไร
ลักษณะและความมุ่งหมายของการประดิษฐ์ /Description and Purpose of the Invention ลักษณะคล้ายบทสรุปการประดิษฐ์ให้อ่านเข้าใจงานทั้งหมดได้แบบย่อ
การเปิดเผยการประดิษฐ์โดยสมบูรณ์ /Full Disclosure of Invention
รูปที่ 1 และ รูปที่ 2 แสดงภาพ / Figure 1 and Figure 2 ….. โดยอธิบายรายละเอียดให้มากที่สุด แสดงถึงส่วนประกอบแต่ละส่วน ความสัมพันธ์ และ หน้าที่การทำงาน เป็นต้น
คำอธิบายรูปเขียนโดยย่อ /Brief Description of Drawings
รูปที่ 1 / Figure 1 ..
รูปที่ 2 / Figure 2 …
วิธีการในการประดิษฐ์ที่ดีที่สุด/ Best Invention Method
ข้อถือสิทธิ / Claims
ข้อนี้สำคัญที่สุดเพราะเป็นข้อที่จะนำไปบังคับใช้และฟ้องร้องกันได้ มี 3 ส่วนสำคัญ
ส่วนที่ 1 คือส่วนทั่วไปที่มีอยู่แล้วและไม่ได้มีการพัฒนาอะไรเพิ่มเติม เช่น The automatic electric air mattress frame for preventing pressure sores consists of:
The electric air mattress (20) is a number of long cylindrical air cushions (21) connected on a flat plane with an undulating top surface. The interior of the long cylindrical air cushions (21) is hollow to contain air.
ส่วนที่ 2 คือส่วนที่มีการพัฒนาเพิ่มเติมให้ดีขึ้น ถือเป็นข้อถือสิทธิหลักข้อที่ 1 ที่ควรจะเขียนเพียงหลักการกว้างๆ ถ้ามีใครทำตามหลักการกว้างๆ ก็จะผิดกับสิทธิบัตรของเราทันที และ จะอยู่หลังจากคำว่า โดยมีลักษณะพิเศษคือ /Special Characteristics consist of the following:
เช่น One position of the long cylindrical air cushions (21) is installed with the air supply tube. The air supply tube is installed with the valve cap (11) connected to the pressure sensor (33) which functions to measure air pressure in the long cylindrical air cushions (21). The valve cap (11) connects the air supply tube to the air inlet pump (31) and the air outlet valve (32).
The air inlet pump (31) and the air outlet pump (32) connected to the air valve management system (40) functions to direct the air inlet pump (31) and the air outlet valve (32) to increase or reduce the amount of air in the long cylindrical air cushions (21).
The air valve management system (40) is connected to the function control system (12). The function control system (12) will direct the air valve management system (40) to increase or decrease the amount of air inside a number of long cylindrical air cushions (21) in each curve based on differences in the motions of the bed user according to data on pressure space and weight in order to properly manage pressure caused by the bed user’s weight as an automatic system for preventing pressure sores.
ส่วนที่ 3 คือส่วนที่มีการพัฒนาเพิ่มเติมจากข้อถือสิทธิหลักข้อที่ 1 ซึ่งแสดงถึงความชัดเจนของการละเมิดจากข้อที่ 1 ไปยัง ข้ออื่นๆ ด้วย และ จะอยู่หลังจากคำว่า ตามข้อถือสิทธิ 1 ที่ซึ่ง / in Claims 1 is such that:
เช่น 2.The automatic electric air mattress frame for preventing pressure sores in Claims 1 is such that: The air valve management system (40) is connected to at least one air inlet pump (31) and a number of air outlet valves (32).At least one air inlet pump (31) functions to transfer air into long
บทสรุปการประดิษฐ์ /Abstract การประดิษฐ์ให้อ่านเข้าใจงานทั้งหมดได้แบบย่อ มักไม่ควรเกิน 500 คำ
Step 2 สํานักงานสิทธิบัตรในประเทศไทย ส่งสิทธิบัตรไปตรวจสอบยัง องค์กรตรวจค้นระหว่างประเทศ (ISA) โดยองค์กรตรวจค้นระหว่างประเทศ (ISA) จะจัดทํารายงานผลการตรวจค้นสิทธิบัตรที่มีอยู่แล้วทั่วโลกจำนวน 157 ประเทศ ภายใน 16-18 เดือน เป็นช่วงที่เรียกว่า ขั้นตอนระหว่างประเทศ (International Phase)
ค่าตรวจสอบที่เราต้องชำระให้กับ องค์กรตรวจค้นระหว่างประเทศ (ISA) โดยชำระที่กรมทรัพย์สินทางปัญญาในประเทศไทย
ก.บุคคลธรรมดาประมาณ 22,400 บาท (updated 2566/2023)
ข.นิติบุคคลประมาณ 70,000-90,000 บาท (เทคนิคที่แนะนำ ส่วนนี้สามารถใช้บุคคลในการยื่นตรวจสอบได้ แต่เวลายื่นจดทะเบียนในประเทศปลายทางสามารถเปลี่ยนมาเป็นนิติบุคคลเพื่อให้ประหยัดได้)
ผลรายงานผลการตรวจค้นจะออกมาในรูป ISR (International Searching Report) ที่มีเอกสารอ้างอิงสิทธิบัตรก่อนหน้า โดยจะต้องผ่านและได้ YES ทั้ง 3 ส่วน คือ
ผ่านจะแสดงรายละเอียด ดังนี้
Novelty / ใหม่ – yes
Invention step / มีขั้นประดิษฐ์สูงขึ้น – yes
Industrial applicability / ประยุกต์ใช้ในทางอุตสาหกรรมได้ – yes
ตัวอย่างผลผ่าน
ไม่ผ่านจะแสดงรายละเอียด ดังนี้
Novelty / ใหม่ – yes
Invention step / มีขั้นประดิษฐ์สูงขึ้น – No (มักจะได้ No ตรงนี้)
Industrial applicability / ประยุกต์ใช้ในทางอุตสาหกรรมได้ – yes
ตัวอย่างผลไม่ผ่าน
Step 3 หากผลผ่าน ต้องนำ Basic Application ไปแปลเป็นภาษาอังกฤษ ภาษาจีนสำหรับประเทศจีน ภาษาอินโดนีเซียสำหรับประเทศอินโดนีเซีย โดยเป็นภาษาท้องถิ่นที่ประเทศปลายทางร้องขอ ส่วนใหญ่จะใช้เป็นภาษาอังกฤษ และ นำ Basic Application พร้อมผลการตรวจค้นที่ออกมาในรูป ISR (International Searching Report) ไปยื่นจดทะเบียนสิทธิบัตรแบบระบบสนธิสัญญาความร่วมมือด้านสิทธิบัตร (PCT) ในสํานักงานสิทธิบัตรในประเทศปลายทาง เช่น ประเทศอเมริกา (Nation Phase) ประเทศจีน (Nation Phase) ประเทศเวียดนาม (Nation Phase) ประเทศสิงค์โปร (Nation Phase) เป็นต้น
ค่าธรรมเนียมดำเนินการรวมค่าบริการตัวแทนในประเทศปลายทางประมาณ 50,000-200,000 บาท
ขั้นตอนการพิจารณาของสํานักงานสิทธิบัตรในประเทศปลายทาง (Nation Phase) จะคล้ายกันทั่วโลกคือ
1.ยื่นจดทะเบียนเพื่อได้เลขคำขอภายในประเทศปลายทาง
2.ประกาศโฆษณาเพื่อให้บุคคลอื่นมาคัดค้าน
3.ร้องขอให้ตรวจสอบการประดิษฐ์เพื่อทำการตรวจสอบความใหม่อีกครั้งภายในประเทศของตนเอง เพราะอาจจะมีสิทธิบัตรบางฉบับไม่สามารถตรวจสอบพบได้ในส่วนกลาง ISR (International Searching Report) เช่น อาจจะเพิ่งยื่นเข้ามาระหว่างเรากำลังทำเรื่อง เป็นต้น
4.อนุมัติรับจดทะเบียน (คุ้มครอง 20 ปีกรณีสิทธิบัตร) หรือ (คุ้มครอง 10 ปีกรณีอนุสิทธิบัตร ) สามารถเลือกประเภทได้ โดยระยะเวลาการพิจารณาอนุมัติของประเทศปลายทาง (Nation Phase) จะคล้ายกันทั่วโลกคือ ประมาณ 2-5 ปี
โดยการยื่นจดทะเบียนในประเทศปลายทางต้องมีทนายความของประเทศนั้นคอยดูแลคำขอด้วย
สมาชิกปัจจุบันมี 157 ประเทศ (The PCT now has 157 Contracting States) มีดังนี้
AE | United Arab Emirates | 10 March 1999 |
AG | Antigua and Barbuda | 17 March 2000 |
AL | Albania | 4 October 1995 |
AM | Armenia2 | 25 December 1991 |
AO | Angola | 27 December 2007 |
AT | Austria | 23 April 1979 |
AU | Australia | 31 March 1980 |
AZ | Azerbaijan | 25 December 1995 |
BA | Bosnia and Herzegovina | 7 September 1996 |
BB | Barbados | 12 March 1985 |
BE | Belgium | 14 December 1981 |
BF | Burkina Faso | 21 March 1989 |
BG | Bulgaria | 21 May 1984 |
BH | Bahrain2 | 18 March 2007 |
BJ | Benin | 26 February 1987 |
BN | Brunei Darussalam | 24 July 2012 |
BR | Brazil | 9 April 1978 |
BW | Botswana | 30 October 2003 |
BY | Belarus2 | 25 December 1991 |
BZ | Belize | 17 June 2000 |
CA | Canada | 2 January 1990 |
CF | Central African Republic | 24 January 1978 |
CG | Congo | 24 January 1978 |
CH | Switzerland | 24 January 1978 |
CI | Côte d’Ivoire | 30 April 1991 |
CL | Chile2 | 2 June 2009 |
CM | Cameroon | 24 January 1978 |
CN | China3, 4 | 1 January 1994 |
CO | Colombia | 28 February 2001 |
CR | Costa Rica | 3 August 1999 |
CU | Cuba2 | 16 July 1996 |
CV | Cabo Verde | 6 July 2022 |
CY | Cyprus | 1 April 1998 |
CZ | Czechia | 1 January 1993 |
DE | Germany | 24 January 1978 |
DJ | Djibouti | 23 September 2016 |
DK | Denmark | 1 December 1978 |
DM | Dominica | 7 August 1999 |
DO | Dominican Republic | 28 May 2007 |
DZ | Algeria2 | 8 March 2000 |
EC | Ecuador | 7 May 2001 |
EE | Estonia | 24 August 1994 |
EG | Egypt | 6 September 2003 |
ES | Spain | 16 November 1989 |
FI | Finland5 | 1 October 1980 |
FR | France2, 6 | 25 February 1978 |
GA | Gabon | 24 January 1978 |
GB | United Kingdom7 | 24 January 1978 |
GD | Grenada | 22 September 1998 |
GE | Georgia2 | 25 December 1991 |
GH | Ghana | 26 February 1997 |
GM | Gambia | 9 December 1997 |
GN | Guinea | 27 May 1991 |
GQ | Equatorial Guinea | 17 July 2001 |
GR | Greece | 9 October 1990 |
GT | Guatemala | 14 October 2006 |
GW | Guinea-Bissau | 12 December 1997 |
HN | Honduras | 20 June 2006 |
HR | Croatia | 1 July 1998 |
HU | Hungary2 | 27 June 1980 |
ID | Indonesia2 | 5 September 1997 |
IE | Ireland | 1 August 1992 |
IL | Israel | 1 June 1996 |
IN | India2 | 7 December 1998 |
IQ | Iraq | 30 April 2022 |
IR | Iran (Islamic Republic of) | 4 October 2013 |
IS | Iceland | 23 March 1995 |
IT | Italy | 28 March 1985 |
JM | Jamaica | 10 February 2022 |
JO | Jordan | 9 June 2017 |
JP | Japan | 1 October 1978 |
KE | Kenya | 8 June 1994 |
KG | Kyrgyzstan2 | 25 December 1991 |
KH | Cambodia | 8 December 2016 |
KM | Comoros | 3 April 2005 |
KN | Saint Kitts and Nevis | 27 October 2005 |
KP | Democratic People’s Republic of Korea | 8 July 1980 |
KR | Republic of Korea | 10 August 1984 |
KW | Kuwait | 9 September 2016 |
KZ | Kazakhstan2 | 25 December 1991 |
LA | Lao People’s Democratic Republic2 | 14 June 2006 |
LC | Saint Lucia2 | 30 August 1996 |
LI | Liechtenstein | 19 March 1980 |
LK | Sri Lanka | 26 February 1982 |
LR | Liberia | 27 August 1994 |
LS | Lesotho | 21 October 1995 |
LT | Lithuania | 5 July 1994 |
LU | Luxembourg | 30 April 1978 |
LV | Latvia | 7 September 1993 |
LY | Libya | 15 September 2005 |
MA | Morocco | 8 October 1999 |
MC | Monaco | 22 June 1979 |
MD | Republic of Moldova2 | 25 December 1991 |
ME | Montenegro | 3 June 2006 |
MG | Madagascar | 24 January 1978 |
MK | North Macedonia | 10 August 1995 |
ML | Mali | 19 October 1984 |
MN | Mongolia | 27 May 1991 |
MR | Mauritania | 13 April 1983 |
MT | Malta2 | 1 March 2007 |
MU | Mauritius | 15 March 2023 |
MW | Malawi | 24 January 1978 |
MX | Mexico | 1 January 1995 |
MY | Malaysia2 | 16 August 2006 |
MZ | Mozambique2 | 18 May 2000 |
NA | Namibia | 1 January 2004 |
NE | Niger | 21 March 1993 |
NG | Nigeria | 8 May 2005 |
NI | Nicaragua | 6 March 2003 |
NL | Netherlands8 | 10 July 1979 |
NO | Norway5 | 1 January 1980 |
NZ | New Zealand | 1 December 1992 |
OM | Oman2 | 26 October 2001 |
PA | Panama | 7 September 2012 |
PE | Peru | 6 June 2009 |
PG | Papua New Guinea | 14 June 2003 |
PH | Philippines | 17 August 2001 |
PL | Poland5 | 25 December 1990 |
PT | Portugal | 24 November 1992 |
QA | Qatar 2 | 3 August 2011 |
RO | Romania2 | 23 July 1979 |
RS | Serbia9 | 1 February 1997 |
RU | Russian Federation2 | 29 March 197810 |
RW | Rwanda | 31 August 2011 |
SA | Saudi Arabia | 3 August 2013 |
SC | Seychelles | 7 November 2002 |
SD | Sudan | 16 April 1984 |
SE | Sweden5 | 17 May 1978 |
SG | Singapore | 23 February 1995 |
SI | Slovenia | 1 March 1994 |
SK | Slovakia | 1 January 1993 |
SL | Sierra Leone | 17 June 1997 |
SM | San Marino | 14 December 2004 |
SN | Senegal | 24 January 1978 |
ST | Sao Tome and Principe | 3 July 2008 |
SV | El Salvador | 17 August 2006 |
SY | Syrian Arab Republic | 26 June 2003 |
SZ | Eswatini | 20 September 1994 |
TD | Chad | 24 January 1978 |
TG | Togo | 24 January 1978 |
TH | Thailand2 | 24 December 2009 |
TJ | Tajikistan2 | 25 December 1991 |
TM | Turkmenistan2 | 25 December 1991 |
TN | Tunisia2 | 10 December 2001 |
TR | Türkiye | 1 January 1996 |
TT | Trinidad and Tobago | 10 March 1994 |
TZ | United Republic of Tanzania | 14 September 1999 |
UA | Ukraine2 | 25 December 1991 |
UG | Uganda | 9 February 1995 |
US | United States of America11, 12 | 24 January 1978 |
UZ | Uzbekistan2 | 25 December 1991 |
VC | Saint Vincent and the Grenadines2 | 6 August 2002 |
VN | Viet Nam | 10 March 1993 |
WS | Samoa2 | 2 January 2020 |
ZA | South Africa2 | 16 March 1999 |
ZM | Zambia | 15 November 2001 |
ZW | Zimbabwe | 11 June 1997 |
หมายเหตุ
PCT ย่อมาจาก Patent Cooperation Treaty เป็นความตกลงระหว่างประเทศสำหรับการขอรับความคุ้มครองการประดิษฐ์ในประเทศที่เป็นสมาชิก เพื่ออำนวยความสะดวก และลดภาระของผู้ขอรับสิทธิบัตร แทนที่จะต้องไปยื่นคำขอรับสิทธิบัตรในประเทศต่าง ๆ แต่ละประเทศที่ผู้ขอประสงค์จะขอรับความคุ้มครอง โดยสามารถที่จะยื่นคำขอที่สำนักงานสิทธิบัตรภายในประเทศ ของตน สำนักงานสิทธิบัตรก็จะส่งคำขอไปดำเนินการตามขั้นตอนของระบบ PCT ที่องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (WIPO)
ระบบ PCT นี้ไม่ได้เป็นระบบการรับจดทะเบียนสิทธิบัตรที่จะส่งผลให้ประเทศที่เป็นสมาชิกต้องรับจดทะเบียนตามไปด้วย เนื่องจาก ระบบ PCT จะมีการดำเนินการในขั้นตอนต้น ๆ ของการขอรับสิทธิบัตรเท่านั้น ไม่มีการรับจดทะเบียนแต่อย่างใด การรับจดทะเบียนสิทธิบัตร PCT เป็นอำนาจอธิปไตยของแต่ละประเทศที่ผู้ขอประสงค์จะขอความคุ้มครอง ซึ่งจะมีการตรวจสอบตามขั้นตอนและเงื่อนไขของกฎหมายภายในประเทศนั้น ๆ ก่อนรับจดทะเบียนสิทธิบัตรต่อไป ซึ่งประเทศไทยสมัครเข้าเป็นภาคีสนธิสัญญาความร่วมมือด้านสิทธิบัตร เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2552 ถือเป็นสมาชิกลำดับที่ 142
ภาพผังระบบของการยื่นจดทะเบียนสิทธิบัตรผ่านระบบพีซีที (PCT ย่อมาจาก Patent Cooperation Treaty)