รับว่าความ จ้างทนาย รับจ้างเป็นทนายความ เกี่ยวกับคดีทุกประเภท
บริการให้คำปรึกษาคดีและข้อกฎหมาย รับว่าความ รับจ้างเป็นทนาย คดีทุกประเภท และบริการอื่นๆ เช่น รับตรวจและร่างสัญญา รับทำพินัยกรรม และเอกสารทางกฎหมายทุกประเภท รวมถึงให้บริการรับรองลายมือชื่อโนตารีพับลิค (Notary public Attorney) โดยทีมงานทนายความที่มีประสบการณ์มายาวนานกว่า 25 ปี
โดยทางเราจะรับว่าความและนำเสนอข้อกฎหมายที่จะช่วยให้ลูกความชนะคดีและได้รับความยุติธรรม หรือช่วยให้คู่ความได้ทำการไกล่เกลี่ยและตกลงกันให้เกิดความยุติธรรม โดยนำเสนอข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายทั้งหลายให้แก่ศาลได้ทราบ เพราะตามกฎหมายศาลจะไม่เห็นเอง หรือศาลจะยกขึ้นมาเองไม่ได้ หากไม่มีการนำเสนอข้อเท็จจริงนั้นต่อศาล
ดังนั้นไม่ว่าคดีแพ่งหรือคดีอาญาบุคคลทั่วไปจะทำเองไม่ได้เพราะไม่มีโอกาสลองผิดลองถูกเนื่องจากมีโอกาสต่อสู้เพียงแค่ครั้งเดียว อาจทำให้ท่านต้องถูกตัดสินคุกหรือเสียเงินจำนวนมากมาย ทั้งนี้ทนายความที่มีประสบการณ์นั้นได้ว่าความมาจำนวนมากมายที่จะช่วยอ้างอิงประสบการณ์นั้นได้ แนะนำให้ท่านจ้างทนายที่มีประสบการณ์จะดีที่สุด
ทนายความ คืออะไร?
ทนายความ คือบุคคลที่มีความรู้ทางกฎหมายเรียนจบนิติศาสตร์บัณฑิตและต้องสอบขึ้นทะเบียนใบอนุญาตว่าความเรียกว่าตั๋วทนาย เพื่อให้มีสิทธิในการว่าความในศาลได้ การจ้างทนายความต้องจ้างทนายที่มีตั๋วทนายเท่านั้น ทนายความที่สอบเป็นเนติบัณทิตได้จะเป็นผู้ที่มีความรู้ที่น่าเชื่อถือมากขึ้นระดับหนึ่ง เนื่องจากได้นำเอาความรู้ที่เรียนมา 4 ปีทุกวิชามาขึ้นทะเบียนสอบในครั้งเดียว ซึ่งเป็นการสอบที่ยากมาก ต้องอ่านหนังสือทบทวนอย่างน้อย 1 ปี บางท่านสอบมาเป็น 10 ปีก็ยังไม่สามารถสอบผ่านได้ ดังนั้นการว่าจ้างทนายลักษณะนี้ก็จะมีความน่าเชื่อถือมากขึ้นแสดงถึงความมีระเบียบวินัย
ทนายความที่รับว่าความในศาลที่ดีที่สุด คือทนายที่มีประสบการณ์สูงเพราะทราบถึงเทคนิคการว่าความต่างๆ ข้อกฎหมาย ข้อเท็จจริง การนำสืบพยาน การซักค้าน ซึ่งมีผลถึงการแพ้ชนะสูงมาก
ทนายความของรัฐก็คืออัยการ ทำคดีที่เกี๋ยวกับสิ่งที่กระทบกระเทือนและเสียหายถึงรัฐ เช่น ลักทรัพย์นาย ก.กับ นาย ข. ถือว่ากระทบกระเทือนถึงความสงบสุขของประชาชน ซึ่งอัยการก็จะมาทำหน้าที่เป็นทนายของรัฐเพื่อนำผู้กระทำผิดมาลงโทษ อัยการต้องจบนิติศาสตร์บัณฑิตและต้องสอบขึ้นทะเบียนใบอนุญาตว่าความเรียกว่าตั๋วทนาย สอบเป็นเนติบัณทิตได้ และสอบเป็นอัยการในครั้งสุดท้าย
รับว่าความ รับจ้างเป็นทนายความ
บริการรับว่าความ รับจ้างเป็นทนายความ คดีทุกประเภทและคดีทรัพย์สินทางปัญญา
- ให้คำปรึกษา การละเมิดสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา
- การจับกุม แจ้งความดำเนินคดี การละเมิดสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา
- ทนายความคดีแพ่ง (Civil Case) ฟ้องคดีหรือต่อสู้คดี ทุกประเภท
- ทนายความคดีอาญา (Criminal Case) รับว่าความหรือแก้ข้อกล่าวหา ทุกฐานความผิด
- ทนายความคดีครอบครัว (Family Law) ฟ้องหย่า ฟ้องชู้ เรียกค่าอุปการะเลี้ยงดู เรียก ค่าทดแทน ฟ้องให้รับเด็กเป็นบุตร
- ทนายความคดีแรงงาน (Labour Law) ฟ้องเรียกค่าชดเชย เลิกจ้างไม่เป็นธรรม
- ทนายความคดีที่ดิน (Real Estate) ฟ้องขับไล่ ครอบครองปรปักษ์ ทางจำเป็น ภาระจำยอม หรือคดีพิพาทเกี่ยวกับที่ดิน
- ทนายความคดีมรดก (The Legacy) ฟ้องแบ่งมรดก จัดการมรดก พินัยกรรม
- ทนายความคดีล้มละลาย (Bankruptcy)
- คดีทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual Propeทนายความrty Litigation)
- ทนายความคดีละเมิดลิขสิทธิ์ (Piracy Lawsuit)
- ทนายความคดีเช็ค เช็คเด้ง ความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค
- ทนายความคดีผู้บริโภค บัตรเครดิต เช่าซื้อรถยนต์ สินเชื่อเงินกู้ยืม ค้ำประกัน จำนอง
- ทนายความคดียาเสพติด มีไว้ครอบครอง จำหน่าย หรือเสพ
- รับทำอุทธรณ์ – ฎีกา แก้อุทธรณ์ – ฎีกา คดีแพ่ง และคดีอาญา คดีทุจริตและประพฤติมิชอบ คดีปกครอง
- การเจรจาต่อรอง และ ประนีประนอมยอมความด้านทรัพย์สินทางปัญญา
- การฟ้องร้องต่อสู้คดี ด้านทรัพย์สินทางปัญญา
- การทำสัญญา Licensing ด้านสิทธิบัตร
- การทำสัญญาจดทะเบียนอนุญาตให้ใช้สิทธิบัตร
- การทำสัญญาซื้อขาย โอนสิทธิบัตร
รับว่าความ รับจ้างเป็นทนายความ
บริการรับว่าความ รับจ้างเป็นทนายความ คดีทุกประเภทและคดีทรัพย์สินทางปัญญา
- ให้คำปรึกษา การละเมิดสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา
- การจับกุม แจ้งความดำเนินคดี การละเมิดสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา
- ทนายความคดีแพ่ง (Civil Case) ฟ้องคดีหรือต่อสู้คดี ทุกประเภท
- ทนายความคดีอาญา (Criminal Case) รับว่าความหรือแก้ข้อกล่าวหา ทุกฐานความผิด
- ทนายความคดีครอบครัว (Family Law) ฟ้องหย่า ฟ้องชู้ เรียกค่าอุปการะเลี้ยงดู เรียก ค่าทดแทน ฟ้องให้รับเด็กเป็นบุตร
- ทนายความคดีแรงงาน (Labour Law) ฟ้องเรียกค่าชดเชย เลิกจ้างไม่เป็นธรรม
- ทนายความคดีที่ดิน (Real Estate) ฟ้องขับไล่ ครอบครองปรปักษ์ ทางจำเป็น ภาระจำยอม หรือคดีพิพาทเกี่ยวกับที่ดิน
- ทนายความคดีมรดก (The Legacy) ฟ้องแบ่งมรดก จัดการมรดก พินัยกรรม
- ทนายความคดีล้มละลาย (Bankruptcy)
- คดีทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual Propeทนายความrty Litigation)
- ทนายความคดีละเมิดลิขสิทธิ์ (Piracy Lawsuit)
- ทนายความคดีเช็ค เช็คเด้ง ความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค
- ทนายความคดีผู้บริโภค บัตรเครดิต เช่าซื้อรถยนต์ สินเชื่อเงินกู้ยืม ค้ำประกัน จำนอง
- ทนายความคดียาเสพติด มีไว้ครอบครอง จำหน่าย หรือเสพ
- รับทำอุทธรณ์ – ฎีกา แก้อุทธรณ์ – ฎีกา คดีแพ่ง และคดีอาญา คดีทุจริตและประพฤติมิชอบ คดีปกครอง
- การเจรจาต่อรอง และ ประนีประนอมยอมความด้านทรัพย์สินทางปัญญา
- การฟ้องร้องต่อสู้คดี ด้านทรัพย์สินทางปัญญา
- การทำสัญญา Licensing ด้านสิทธิบัตร
- การทำสัญญาจดทะเบียนอนุญาตให้ใช้สิทธิบัตร
- การทำสัญญาซื้อขาย โอนสิทธิบัตร
คุณสมบัติของทนายความที่เหมาะกับการว่าจ้าง
- ต้องประกอบอาชีพเป็นทนายความโดยเฉพาะ ไม่ใช่ประกอบอาชีพอื่นแล้วแบ่งเวลามารับว่าความ เพราะถือว่าไม่ใช่ทนายความอาชีพ จะไม่มีการใส่ใจกับคดี
- ต้องมีใจรักและชอบที่จะเป็นทนายความ บางท่านเรียนจบมาก็ประกอบอาชีพทนายความไม่ได้เพราะไม่มีใจรัก
- ต้องเรียนจบนิติศาสตร์ ต้องสอบขึ้นทะเบียนใบอนุญาตว่าความเรียกว่าตั๋วทนายได้ และหากสามารถสอบเนติบัณฑิตได้ก็จะทำให้มีความรู้มากขึ้น
- ต้องมีความรับผิดชอบ มีระเบียบวินัยสูง และต้องมีประสบการณ์สูง
- ต้องมีจิตใจที่เข้าใจถึงความยุติธรรมได้และทำให้ลูกความได้รับความยุติธรรม
ดังนั้นการว่าจ้างทนายต้องตรวจสอบคุณสมบัติและมีการพูดคุยเพื่อหาแนวทางการดำเนินคดีก่อน
ข้อแนะนำในการเลือกว่าจ้างทนายความ
- ต้องมีความรับผิดชอบและมีระเบียบวินัยสูง
- ต้องไม่ดื่มเหล้า ติดการพนัน และสิ่งเสพติด เพราะจะทำให้สูญเสียไหวพริบ ปฏิภาณ
- ต้องมีประสบการณ์สูง
- ต้องมีความรู้และศึกษาหาความรู้อยู่ตลอดเวลา
- ทนายถ้าอยู่ในสถานที่มูลคดีเกิดและไปศาลได้สะดวกก็จะทำให้ไม่มีปัญหาเรื่องการเดินทาง
ดังนั้นการว่าจ้างทนายต้องตรวจสอบคุณสมบัติให้ดี ทนายที่รับว่าความในศาลส่วนใหญ่จะประกอบวิชาชีพมานาน และมีเพื่อนทนายที่ช่วยให้คำปรึกษาได้ดีเพื่อให้มองเห็นมุมมองต่างๆ หลายมิติ ก็เป็นส่วนที่จะช่วยให้ชนะคดีได้
ข้อแนะนำในการเลือกว่าจ้างทนายความ
- ต้องมีความรับผิดชอบและมีระเบียบวินัยสูง
- ต้องไม่ดื่มเหล้า ติดการพนัน และสิ่งเสพติด เพราะจะทำให้สูญเสียไหวพริบ ปฏิภาณ
- ต้องมีประสบการณ์สูง
- ต้องมีความรู้และศึกษาหาความรู้อยู่ตลอดเวลา
- ทนายถ้าอยู่ในสถานที่มูลคดีเกิดและไปศาลได้สะดวกก็จะทำให้ไม่มีปัญหาเรื่องการเดินทาง
ดังนั้นการว่าจ้างทนายต้องตรวจสอบคุณสมบัติให้ดี ทนายที่รับว่าความในศาลส่วนใหญ่จะประกอบวิชาชีพมานาน และมีเพื่อนทนายที่ช่วยให้คำปรึกษาได้ดีเพื่อให้มองเห็นมุมมองต่างๆ หลายมิติ ก็เป็นส่วนที่จะช่วยให้ชนะคดีได้
ทนายความสำคัญหรือไม่?
ทนายความ คือ บุคคลที่มีความรู้ทางกฎหมายเรียนจบนิติศาสตร์บัณฑิตและต้องสอบขึ้นทะเบียนใบอนุญาตว่าความเรียกว่าตั๋วทนาย ทนายความบางท่านสามารถสอบเป็นเนติบัณทิตได้ ถือว่าเป็นผู้มีความรู้ความสามารถที่น่าเชื่อถือมากขึ้น
อัยการก็คือทนายความเหมือนกัน แต่เป็นทนายความของรัฐ เช่น ลักทรัพย์ของรัฐ อัยการก็ทำการฟ้องร้อง
ทำไมต้องมีทนายความ
ทนายความมีหน้าที่ในการรักษาสิทธิของผู้เสียหายหรือของผู้กระทำความผิด
ผู้เสียหายต้องการความยุติธรรม ชดเชยความเสียหาย และ ต้องการให้ผู้กระทำผิดได้รับการลงโทษ
ผู้กระทำความผิด ต้องการความยุติธรรม และ ได้รับสิทธิตามกฎหมายในฐานะที่เป็นผู้กระทำความผิด เช่น สิทธิในการต่อสู้คดี สิทธิในการพิสูจน์ความจริง สิทธิในเหตุบรรเทาโทษ เป็นต้น ซึ่งสิทธิเหล่านี้จะได้มาต้องผ่านกระบวนการพิจาณาคดีความที่ทำโดยทนายความเท่านั้น
การให้คำปรึกษากฎหมายและให้ข้อเท็จจริงแก่ทนายความต้องพูดความจริงหรือไม่
ทนายความหน้าที่คือ รักษาสิทธิของ ผู้เสียหายและของผู้กระทำความผิด และ ให้คำปรึกษาทางกฎหมาย แต่ต้องตั้งอยู่บนความยุติธรรมด้วย ดังนั้น ผู้เสียหายและของผู้กระทำความผิด ต้องให้ข้อมูลและถ่ายทอดความจริงทั้งหมดให้แก่ทนายความเพื่อทนายความจะได้กำหนดแนวทางการต่อสู้คดีได้ดีที่สุด
ขั้นตอนการทำคดีของทนายความ
ขั้นตอนที่ 1 : ผู้เสียหายและของผู้กระทำความผิด ต้องให้ข้อมูล หลักฐานทั้งหมด และถ่ายทอดความจริงทั้งหมดให้แก่ทนายความเพื่อทนายความจะได้กำหนดแนวทางการต่อสู้คดีได้ดีที่สุด
ขั้นตอนที่ 2 : ทนายว่าความกำหนดแนวทางการต่อสู้คดี ซึ่งแนวทางการต่อสู้คดีน้นสำคัญมาก ว่าจะกำหนดแนวทางไปในข้อกฎหมายด้านไหน หากกำหนดแนวทางได้ถูกต้องโอกาสชนะคดีก็จะมีสูง
ในขณะเดียวกันในคดีแพ่ง ทนายว่าความก็ต้องมีหน้าที่ในการเจรจาไกล่เกลี่ยให้คู่ความได้ตกลงกันและบรรลุความพอใจได้ทั้งสองฝ่าย
ระยะเวลาการดำเนินคดีของศาล
ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความไม่ยุติธรรม (justice delayed is justice denied; ฝรั่งเศส: justice différée est justice refusée) ภาษิตนี้เป็นของ วิลเลียม เอวาร์ต แกล็ดสโตน (William Ewart Gladstone) เป็นภาษิตกฎหมาย หมายความว่า ถ้ากฎหมายจัดให้มีการเยียวยาความเสียหายแก่ผู้เสียหาย แต่การเยียวยานั้นมาไม่ทันกาลหรือล้าสมัย ก็ไม่ต่างอะไรกับว่าไม่ได้เยียวยานั่นเอง หลักการนี้ตั้งอยู่บนสิทธิในอันที่จะเข้าถึงการพิจารณาคดีอย่างรวดเร็ว
ปัจจุบันคดีมีจำนวนมากและ ตำรวจ อัยการ ผู้พิพากษาก็มีไม่เพียงพอ ถึงแม้จะมีหลักการพิจารณาคดีแบบต่อเนื่อง ตามมาตรา 179 ภายใต้บังคับแห่งประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมาย อื่น ศาลจะดำเนินการพิจารณาตลอดไปจนเสร็จโดยไม่เลื่อนก็ได้ ถ้าพยานไม่มา หรือมีเหตุอื่นอันควรต้องเลื่อนการพิจารณา ก็ให้ศาลเลื่อนคดีไปตามที่เห็นสมควร แต่คดีก็ยังล่าช้า อาจจะใช้เวลาถึง 1-2 ปีคดีในศาลชั้นต้นจะพิพากษา
โอกาสชนะคดีขึ้นอยู่กับอะไร
โอกาสชนะคดีขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงในคดี พยานหลักฐาน และ กระบวนการนำเสนอพยานหลักฐานและข้อเท็จจริงทั้งปวงจากทนายความด้วย โดยทนายความจะต้องมีประสบการณ์ ความรู้ ไหวพริบปฎิภาณ ความใส่ใจและความตั้งใจในการทำคดีด้วย การซักซ้อมพยานก่อนขึ้นศาล การแสวงหาพยานหลักฐานต่างๆ เข้ามาในสำนวน ที่เป็นประโยชน์ต่อลูกความ
ค่าบริการทนายความแพงหรือไม่
ค่าบริการว่าจ้างทนายความขึ้นอยู่กับข้อตกลง ความยากง่ายของคดี และ ประสบการณ์ของทนายความ
- การให้คำปรึกษา หรือ แนะนำคดี ค่าบริการ 4,000 บาทขึ้นไปต่อครั้งทางโทรศัพท์
- การเข้าร่วมประชุมคดี นอกสถานที่ ค่าบริการ 6,000 บาทขึ้นไปต่อครั้ง
ในคดีอาญา การดำเนินคดีในชั้นตำรวจ ค่าบริการ 10,000 บาทขึ้นไป
ค่าบริการว่าจ้างทนายความการดำเนินคดีในศาล
- ค่าจ้างทนายคดีในศาลชั้นต้น ค่าบริการ 50,000 บาทขึ้นไป
- ค่าจ้างทนายคดีในศาลชั้นอุทธรณ์หรือฎีกา ค่าบริการตั้งแต่ 50,000 บาทขึ้นไป
- ค่าจ้างทนายในชั้นบังคับคดี ค่าบริการตั้งแต่ 20,000 บาทขึ้นไป
ค่าธรรมเนียมว่าจ้างทนายความศาลคดีแพ่ง
- ค่าจ้างขึ้นศาลในคดีที่มีทุนทรัพย์โจทก์ต้องเสียอัตราร้อยละ 2 ของจำนวนทุนทรัพย์ แต่ไม่เกิน 200,000 บาท
- สำหรับทุนทรัพย์พิพาทเกิน 50 ล้านบาท ส่วนที่เกินเสียอัตราร้อยละ 0.1
- สำหรับคดีมโนสาเร่ ทุนทรัพย์พิพาทไม่เกิน 300,000 บาท เสียค่าธรรมเนียมร้อยละ 2 แต่ไม่เกิน 1,000 บาท อยู่เขตอำนาจศาลแขวง
- คำฟ้องขอให้ศาลบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ คิดค่าขึ้นศาลอัตราร้อยละ 1 ตามจำนวนทุนทรัพย์ที่อนุญาโตตุลาการกำหนดไว้ในคำชี้ขาดแต่ไม่เกิน 100,000 บาท
- คำฟ้องขอให้บังคับจำนองหรือบังคับเอาทรัพย์สินจำนองหลุด คิดค่าขึ้นศาลตามจำนวนหนี้ที่เรียกร้องในอัตราร้อยละ 1 แต่ไม่เกิน 100,000 บาท
- อุทธรณ์หรือฎีกาคำสั่งศาล ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 227 หรือ 228 เสียค่าขึ้นศาลเรื่องละ 200 บาท
- ค่าจ้างขึ้นศาลในอนาคต เกี่ยวกับค่าเช่า ดอกเบี้ย ค่าเสียหาย เป็นต้น 100 บาท
ค่าธรรมเนียมว่าจ้างทนายความศาลคดีอาญา
- ไม่มี
คดีแพ่งกับคดีอาญาแตกต่างกันอย่างไร?
- คดีแพ่งคือ เกิดความเสียหายแก่เอกชน เยียวยาด้วยเงิน และ ไม่ถูกลงโทษ
- คดีอาญาคือ เกิดความเสียหายแก่มหาชน เยียวยาด้วยเงิน และ ถูกลงโทษ คือ เสียหายต่อความสงบเรียบร้อย หรือ ศีลธรรมอันดีของประชาชน เช่น ยาเสพติด ลักทรัพย์ ทำร้ายร่างกาย
ทำไมต้องใช้บริการรับว่าความ จ้างทนายความกับเรา?
- บริษัทของเรามีทนายความที่มีประสบการณ์มีใบอนุญาตรับจ้างว่าความมาและไม่น้อยกว่า 20 ปี ที่ได้ให้บริการแก่ลูกความ
- บริษัทของเรามีทนายความที่มีประสบการณ์ในคดีแพ่ง คดีอาญา คดีครอบครัว คดีแรงงาน คดีที่ดิน คดีมรดก คดีล้มละลาย คดีทรัพย์สินทางปัญญา คดีละเมิดลิขสิทธิ์ คดีเช็ค คดีผู้บริโภค คดียาเสพติด โดยสามารถช่วยเหลือให้คำปรึกษาได้อย่างทันท่วงที
- บริษัทของเราคิดค่าจ้างทนาย และให้บริการรับว่าความในราคาที่เหมาะสมและเข้าถึงได้กับผู้ประกอบการทุกราย
- บริษัทของเรามีทนายความที่สอบผ่านเนติบัณทิตแล้วเป็นส่วนมาก
- บริษัทของเรามีทนายความที่มีประสบการณ์ด้านจับคดีลิขสิทธิ์โดยเฉพาะ ทำให้เราได้ทราบและคุ้นเคยกับสน. (สถานีตำรวจ) ทุกแห่งทั่วประเทศ ซึ่งสามารถนำประสบการณ์นี้มาอ้างอิงเพื่ออำนวยความสะดวกในการดำเนินคดีได้