รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ลิขสิทธิ์โลโก้ แบรนด์
อย่างถูกต้องทุกขั้นตอน

บริษัทของเราให้บริการรับจดเครื่องหมายการค้า โดยสามารถตรวจสอบความเหมือนคล้ายได้ภายใน 15 นาทีเพื่อให้ทราบว่าเครื่องหมายการค้าที่จะนำมาจดทะเบียนสามารถยื่นจดทะเบียนและได้รับอนุมัติให้รับจดเครื่องหมายการค้าได้หรือไม่

นอกจากนั้นยังสามารถทำการยื่นจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าจนได้เลขคำขอภาย 1 วันเท่านั้น และมีระบบการเร่งรัดตรวจสอบอนุมัติอย่างรวดเร็วและทำให้คำขอของท่านได้รับการอนุมัติอย่างแน่นอน 100 %

สำหรับการจดลิขสิทธิ์โลโก้ คือการจดเครื่องหมายการค้านั่นเอง แต่ลิขสิทธิ์โลโก้เป็นคำพูดที่ไม่เป็นทางการสำหรับโลโก้ที่เป็นภาพไม่สามารถอ่านได้ด้วยปาก เช่น ภาพลุงเคนของสินค้าไก่ทอด

จดแบรนด์ คือการจดเครื่องหมายการค้านั่นเอง แต่แบรนด์เป็นคำพูดที่ไม่เป็นทางการสำหรับ แบรนด์คือคำอ่านที่สามารถอ่านได้ด้วยปาก เช่น KFC ของสินค้าไก่ทอด

เครื่องหมายการค้า คืออะไร?

เครื่องหมาย หมายความว่า ภาพถ่าย ภาพวาด ภาพประดิษฐ์ ตรา ชื่อ คำข้อความ ตัวหนังสือ ตัวเลข ลายมือชื่อ กลุ่มของสี รูปร่างหรือรูปทรงของวัตถุ หรือสิ่งเหล่านี้อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน

เครื่องหมายการค้า (Trademark) หมายความว่า เครื่องหมายที่ใช้หรือจะใช้เป็นที่หมายเกี่ยวข้องกับสินค้า เพื่อแสดงว่าสินค้าที่ใช้เครื่องหมายของเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้นแตกต่างกับสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่น

เครื่องหมายการค้า จะใช้ในทางการค้าเพื่อระบุตัวตนเพื่อให้ประชาชนและผู้ใช้สินค้าสามารถแยกแยะความแตกต่างระหว่างความเป็นเจ้าของสินค้าได้ การแยกแยะความแตกต่างจะสื่อได้จาก
1.เสียงเรียกขาน ที่อ่านด้วยปาก เช่น Pepsi
2.ภาพปรากฎ ที่มองด้วยสายตา เช่น ภาพนางเงือกของ Starbucks
3.รายการสินค้า เช่น โออิชิที่จดทะเบียนในจำพวก 32 เครื่องดื่ม กับโออิชิที่จดทะเบียนในจำพวก 43 ร้านอาหาร แม้จะใช้ชื่อเดียวกันแต่ก็แยกแยะความแตกต่างระหว่างความเป็นเจ้าของสินค้าได้ด้วยรายการสินค้า

งานบริการที่เกี่ยวกับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ลิขสิทธิ์โลโก้หรือแบรนด์

  • บริการรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายร่วม เครื่องหมายบริการ โลโก้หรือแบรนด์
  • การตรวจสอบความเหมือนคล้ายและวิเคราะห์ชื่อเครื่องหมายการค้าว่ามีแนวโน้มที่สามารถจดทะเบียนได้หรือไม่
  • การดำเนินการแก้ไขคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า
  • การอุทธรณ์โต้แย้งคำปฏิเสธรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า
  • การคัดค้านคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า โลโก้หรือแบรนด์
  • การจดทะเบียนโอนเครื่องหมายการค้า
  • การต่ออายุเครื่องหมายการค้า
  • การตรวจสอบสถานะเครื่องหมายการค้า
  • การแก้ไขเปลี่ยนแปลงรูปแบบเครื่องหมายการค้า โลโก้หรือแบรนด์
  • การทำหนังสือเร่งรัดการพิจารณาจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าให้รวดเร็วขึ้น
  • หลักการคิดชื่อเครื่องหมายการค้า คลิกที่นี่ https://www.trademark-patent.com
  • การออกแบบโลโก้เพื่อจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า  คลิกที่นี่  https://www.design365days.com/

ประเภทของโลโก้หรือเครื่องหมายการค้า

  1. เครื่องหมายการค้า คือเครื่องหมาย โลโก้ หรือแบรนด์ ที่ใช้หรือจะใช้เป็นที่หมายเกี่ยวข้องกับสินค้า เพื่อแสดงว่าสินค้าที่ใช้เครื่องหมายของเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้นแตกต่างกับสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่น
  2. เครื่องหมายบริการ คือเครื่องหมายที่ใช้หรือจะใช้เป็นที่หมายหรือเกี่ยวข้องกับ บริการเพื่อแสดงว่าบริการที่ใช้เครื่องหมายของเจ้าของเครื่องหมายบริการนั้นแตกต่างกับบริการที่ใช้เครื่องหมายบริการของบุคคลอื่น
  3. เครื่องหมายรับรอง คือเครื่องหมายที่เจ้าของเครื่องหมายรับรองใช้หรือจะใช้เป็น ที่หมายหรือเกี่ยวข้องกับสินค้าและบริการของบุคคลอื่น เพื่อเป็นการรับรองเกี่ยวกับแหล่งกำเนิด ส่วนประกอบ วิธีการผลิต คุณภาพ หรือคุณลักษณะอื่นใดของสินค้านั้น หรือเพื่อรับรองเกี่ยวกับสภาพคุณภาพ ชนิด หรือคุณลักษณะอื่นใดของบริการนั้น
  4. เครื่องหมายร่วม เครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายบริการที่ใช้หรือจะใช้โดยบริษัทหรือรัฐวิสาหกิจในกลุ่มเดียวกันหรือโดยสมาชิกของสมาคม สหกรณ์ สหภาพ สมาพันธ์ กลุ่มบุคคลหรือองค์กรอื่นใดของรัฐหรือเอกชน

หลักเกณฑ์ที่ใช้ในการจดทะเบียนโลโก้ หรือเครื่องหมายการค้า

  1. เสียงเรียกขานต้องไม่พ้องเสียงกัน เช่น HONDA กับ HUNDA
  2. ภาพปรากฎต้องไม่พ้องรูปกัน เช่น มีรูปเสือคล้ายกัน
  3. สินค้าจำพวกเดียวกันหรือต่างจำพวกที่นายทะเบียนเห็นว่ามีลักษณะอย่างเดียวกัน จำพวกเดียวกัน เช่น จำพวก 25 เสื้อ และจำพวก 18 กระเป๋า ถือว่าต่างจำพวกที่นายทะเบียนเห็นว่ามีลักษณะอย่างเดียวกัน
  4. ความสับสนหลงผิดคือต้องพิจารณาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับโอกาสที่จะสร้างความสับสนที่เกิดขึ้นแก่ผู้บริโภคในการเลือกซื้อสินค้าที่ขายอยู่ในท้องตลาดระหว่างสินค้าของทั้งสองฝ่าย โดยคำนึงถึงระยะเวลาในการใช้เครื่องหมายการค้าของทั้งสองฝ่าย
  5. ความสุจริตของผู้ขอจดทะเบียนประกอบด้วย เช่น เสือพ่นไฟ และ หมีพ่นไฟ ถือว่ามีความไม่สุจริตในการจดทะเบียนและเป็นเรื่องของการลวงขาย เช่น หมีพ่นไฟที่ได้ยื่นจดเครื่องหมายการค้าไว้ และยังไม่ได้รับจดเครื่องหมายการค้า จนกระทั่งถูกศาลชั้นต้นตัดสินให้มีความผิดในเรื่องความไม่สุจริตเช่น แม้จะได้ยื่นจดลิขสิทธิ์โลโก้ หรือ จดแบรนด์ ไว้แล้วและต่อมาได้รับการจดทะเบียนแล้วก็ไม่ได้หมายความว่าจะใช้สิทธิอย่างไรก็ได้ หากใช้สิทธิโดยไม่สุจริตก็ถือว่ามีความผิดในเรื่องการลวงขายด้วย

เครื่องหมายการค้าที่ต้องห้ามและไม่สามารถจดทะเบียนได้

  1. เครื่องหมายติดบ่งเฉพาะ (ไม่มีเอกลักษณ์ที่พิเศษ)
    1.1 ชื่อที่สื่อถึงสินค้า เช่น Apple จดทะเบียนใช้กับ ผลไม้แอปเปิ้ล หรือ ร้านขายแอปเปิ้ลจะ จดทะเบียนไม่ผ่านเนื่องจากสื่อถึงสินค้า การจดทะเบียนลักษณะนี้เป็นการผูกขาดการใช้คำว่า Apple กฎหมายจะไม่ให้จดทะเบียน หากจดทะเบียนใช้กับ โทรศัพท์ แบบนี้สามารถจดทะเบียนได้เนื่องจากไม่ถือเป็นการผูกขาด
    1.2 ชื่อที่สื่อถึงลักษณะและคุณสมบัติของสินค้า เช่น ละอองเย็น/laong yen จดทะเบียนใช้กับ สเปร์ยฉีดตัว จะจดทะเบียนไม่ผ่านเนื่องจากสื่อถึงลักษณะและคุณสมบัติของสินค้า การจดทะเบียนลักษณะนี้เป็นการผูกขาดการใช้คำว่า ละอองเย็น/laong yen กฎหมายจะไม่ให้จดทะเบียน หากจดทะเบียนใช้กับ โทรศัพท์ แบบนี้สามารถจดทะเบียนได้เนื่องจากไม่ถือเป็นการผูกขาดชื่อเครื่องหมายตาม 1.1, 1.2 ก็อาจจะเป็นคำที่พ้องเสียงได้ด้วย เช่น SHA TAI สื่อถึง ชาไทย การจดทะเบียนลักษณะนี้เป็นการผูกขาดการใช้คำว่า ชาไทย ผู้ตรวจสอบสามารถมีคำสั่งออกมาไม่ให้จดทะเบียนได้ชื่อเครื่องหมายตาม 1.1, 1.2 หากมีการผสมคำ แต่คำที่นำมาผสมไม่ใช่สาระสำคัญ เช่น Apple Thai, Super Apple, The Apple, Apple Plus, Apple Restaurant, คำที่นำมาผสมจะไม่ถูกนำเป็นสาระสำคัญในการตรวจสอบ เนื่องจากเป็นคำทั่วไป และ มาเสริมคำว่า Apple ให้โดดเด่นขึ้นไปอีก ดังนั้นจะเหลือแต่คำว่า Apple ที่เป็นสาระสำคัญการจดทะเบียนลักษณะนี้เป็นการผูกขาดการใช้คำว่า Apple(เว้นแต่ชื่อ/ข้อความตาม 1.1-1.2 ต้องมีคำ หรือ ภาพโลโก้ที่มีสาระสำคัญมาประกอบ เช่น ข้อความตาม 1.1-1.2 + คำว่า นายฮ้อย ถ้าคำว่านายฮ้อยไม่ซ้ำ กฎหมายจะอนุญาตให้จดทะเบียน และ ทำการสละสิทธิข้อความตาม 1.1-1.2) หรือ เช่น ข้อความตาม 1.1-1.2 + ภาพโลโก้ที่มีสาระสำคัญ หากภาพโลโก้ไม่ซ้ำ กฎหมายจะอนุญาตให้จดทะเบียน และ ทำการสละสิทธิข้อความตาม 1.1-1.2)1.3 ตัวอักษร 1 ตัว 2 ตัว 3 ตัว ที่ไม่มีความหมาย ต้องทำการประดิษฐ์ตัวอักษรให้มีลักษณะพิเศษ เหตุผลที่บังคับให้ประดิษฐ์ตัวอักษรเพราะการจดทะเบียนจะได้ตัวอักษร+ที่มีการประดิษฐ์ให้มีลักษณะพิเศษ เพราะมิฉะนั้นจะเหมือนว่าเราเอาตัวอักษรโรมันธรรมดามาจดทะเบียน ซึ่งหลักการแนวนี้ใช้กับทุกภาษา
    เช่น ตัวอักษรตัวเดียว A ต้องทำการประดิษฐ์ตัวอักษรให้มีลักษณะพิเศษถึงจะจดทะเบียนผ่าน
    เช่น ตัวอักษรสองตัว AF ต้องทำการประดิษฐ์ตัวอักษรให้มีลักษณะพิเศษถึงจะจดทะเบียนผ่าน
    เช่น ตัวอักษรสามตัว AFS ต้องทำการประดิษฐ์ตัวอักษรให้มีลักษณะพิเศษถึงจะจดทะเบียนผ่าน(เว้นแต่ตัวอักษรตาม 1.3 หากไม่ได้ประดิษฐ์ตัวอักษรให้มีลักษณะพิเศษ ต้องมีคำ หรือ ภาพโลโก้ที่มีสาระสำคัญมาประกอบ เช่น ตัวอักษรตาม 1.3 + คำว่า นายฮ้อย ถ้าคำว่านายฮ้อยไม่ซ้ำ กฎหมายจะอนุญาตให้จดทะเบียน และ ทำการสละสิทธิตัวอักษรตาม 1.3 หรือ เช่น ตัวอักษรตาม 1.3 + ภาพโลโก้ที่มีสาระสำคัญ หากภาพโลโก้ไม่ซ้ำ กฎหมายจะอนุญาตให้จดทะเบียน และ ทำการสละสิทธิตัวอักษรตาม 1.3
  2. เครื่องหมายติดเหมือนหรือคล้าย ต้องครบองค์ประกอบดังนี้2.1 พ้องเสียง เช่น Manee, Marni, Marnie, MaaNii กลุ่มคำเหล่านี้ถือว่าพ้องเสียง2.2 พ้องรูป เช่น มีรูปคล้ายคลึงกัน เช่น รูปนก ที่คล้ายๆ กันการพ้องเสียงหรือพ้องรูปตาม 2.1 และ 2.2 จะต้องคู่กับ รายการสินค้าที่อยู่จำพวก เดียวกันและคล้ายกันด้วย เช่น Manee สินค้า เสื้อ และ Marni สินค้า รองเท้า ถือว่า คล้ายกันและจดทะเบียนไม่ผ่าน เนื่องจาก Manee และ Marni พ้องเสียง เสื้อ และ รองเท้า อยู่จำพวก 25 กลุ่ม เสื้อผ้าเหมือนกันหาก เช่น Manee สินค้า เสื้อ และ Marni สินค้า ปุ๋ยเคมี แม้จะพ้องเสียงคล้ายกันแต่คนละจำพวกถือว่าจดทะเบียนได้ เนื่องจาก การทำธุรกิจของ Marni สินค้า ปุ๋ยเคมี ไม่กระทบกระเทือนธุรกิจ Manee สินค้า เสื้อเครื่องหมายการค้าที่ติดเหมือนคล้ายหรือติดพ้องเสียงกัน เช่น Manee กับ Mani หากนำภาพโลโก้ที่มีสาระสำคัญมาประกอบกับ Mani ก็ถือว่าติดเหมือนคล้ายกัน เพราะ
    1.พ้องเสียง
    2.พ้องรูป
    3.รายการสินค้า/บริการคือถือว่าติดเหมือนคล้ายกันเพราะติด 2 ใน 3 คือติดพ้องเสียง+รายการสินค้า/บริการสรุป พ้องเสียง พ้องรูป ต้องจับคู่กับ รายการสินค้าที่อยู่จำพวกเดียวกันและคล้ายกันด้วยถึงจะถือว่าเครื่องหมายการค้านั้นเหมือนหรือคล้ายกัน2.3 ข้อยกเว้นชื่อพ้องเสียง ที่สามารถจดทะเบียนซ้ำกันได้
    เช่น ตัวอักษรตัวเดียว A สามารถจดทะเบียนซ้ำกันได้ แต่ต้องทำการประดิษฐ์ตัวอักษรให้แตกต่างกัน
    เช่น ตัวอักษรสองตัว AF มีสองแนว คือ สามารถจดทะเบียนซ้ำกันได้แต่ต้องทำการประดิษฐ์ตัวอักษร และ บางครั้งก็มีคำสั่งว่าติดเหมือนคล้าย ถ้าเป็น ตัวอักษรสามตัว AFS แม้จะมีการออกแบบที่แตกต่างกันแต่ก็จดทะเบียนซ้ำกันไม่ได้ เพราะตัวอักษรสามตัวถือว่ามีเอกลักษณ์สูง
  3. เครื่องหมายการค้าที่นำภาพที่เป็นเลขาคณิตทั่วไป/หรือภาพเสมือนจริง มาจดทะเบียนใช้กับสินค้าประเภทนั้น และ ภาพนั้นไม่ได้มีการประดิษฐ์เพียงพอ3.1 ภาพรวงข้าวเสมือนจริง ใช้กับ ข้าว จดทะเบียนไม่ผ่าน เป็นต้น ที่ไม่ได้มีการประดิษฐ์เพียงพอ3.2 ภาพรถยนต์เสมือนจริง ใช้กับอะไหล่ น้ำยาขัดรถยนต์ เป็นต้น ที่ไม่ได้มีการประดิษฐ์เพียงพอ3.3 ภาพผลไม้เสมือนจริง ใช้กับน้ำผลไม้ เป็นต้น ที่ไม่ได้มีการประดิษฐ์เพียงพอ3.4 ภาพสัตว์เสมือนจริง ใช้กับ น้ำยาสระขนสัตว์ อาหารสัตว์ เป็นต้น ที่ไม่ได้มีการประดิษฐ์เพียงพอ3.5 ภาพโทรศัพท์เสมือนจริง ใช้กับ โทรศัพท์ เป็นต้น ที่ไม่ได้มีการประดิษฐ์เพียงพอ3.6 ภาพกุ๊กเสมือนจริง ใช้กับ อาหาร ร้านอาหาร เป็นต้น ที่ไม่ได้มีการประดิษฐ์เพียงพอ3.7 รูปหัวใจเลขาคณิต ใช้กับยารักษาโรคหัวใจ เป็นต้น ที่ไม่ได้มีการประดิษฐ์เพียงพอ เป็นต้น(เว้นแต่ภาพตาม 3.1-3.7 ต้องมีคำมาประกอบ เช่น ภาพตาม 3.1-3.7 + คำว่า นายฮ้อย ถ้าคำว่านายฮ้อยไม่ซ้ำ กฎหมายจะอนุญาตให้จดทะเบียน และ ทำการสละสิทธิภาพตาม 3.1-3.7)
  4. เครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนโดยไม่สุจริต เช่น นำคำว่า Honda หรือ นำเอาเครื่องหมายของบุคคลอื่นที่ไปจดทะเบียนไว้แล้ว (ลอกมา 100 %) ไปจดทะเบียนในอีกจำพวกหนึ่งที่แตกต่างกัน เช่น นำคำว่า Honda ไปจดทะเบียนใช้กับ ปุ๋ยเคมี ซึ่งไม่กระทบธุรกิจการขายรถยนต์ของ Honda แต่การกระทำนี้ถือว่าไม่สุจริต กฎหมายจะไม่ให้ความคุ้มครอง หรือ Starbuck กับ Starbung ไม่ได้ทำให้ประชาชนสับสนหลงผิด แต่ถือว่าการกระทำนี้ไม่สุจริต กฎหมายจะไม่ให้ความคุ้มครอง4.1 เครื่องหมายการค้าที่มีชื่อเสียงแพร่หลาย เช่น Honda หากลอกมาทั้งหมดหรือเลียนมา ถือว่าไม่สุจริตและกฎหมายจะไม่ให้ความคุ้มครอง4.2 เครื่องหมายการค้าที่ไม่มีชื่อเสียงแพร่หลาย คือไม่โด่งดัง ต้องลอกมา 100 % เท่านั้น จะถือว่าไม่สุจริตและกฎหมายจะไม่ให้ความคุ้มครอง
  5. เครื่องหมายการค้าที่ขัดต่อกฎหมาย/ต้องห้ามไม่ให้รับจดทะเบียน5.1 ชื่อทางภูมิศาสตร์ เช่น ชื่อประเทศ ชื่อจังหวัด ชื่อเมือง (2 แนว แนวที่ 1 มีในเครื่องหมายได้แต่ต้องทำการสละสิทธิ / แนวที่ 2 มีไม่ได้เลย เช่น paris)5.2 ธงชาติ (มีไม่ได้เด็ดขาด เช่น honda+ธงชาติ จะจดไม่ผ่านต้องตัดออก)5.3 ชื่อดารา หรือ คนที่มีชื่อเสียงโด่งดัง (มีไม่ได้เลย)5.4.ชื่อที่ไม่สุภาพ / ลามก (มีไม่ได้เลย)5.5 ชื่อที่ไปเกี่ยวข้องกับ ราชวงศ์ หรือ ชื่อทางราชการ องค์กรต่างๆ (มีไม่ได้เลย)5.6 ชื่อเครื่องหมายที่มีชื่อเสียงแพร่หลาย (well know Trademark) และ เป็นคำประดิษฐ์ เช่น Honda (มีไม่ได้เลย) เป็นต้น
  6. เครื่องหมายที่มีชื่อเสียงแพร่หลาย (well know Trademark) แบ่งดังนี้6.1 เครื่องหมายที่มีชื่อเสียงแพร่หลาย (well know Trademark) ที่ไม่ใช่คำประดิษฐ์ เช่น Apple(iphone) สามารถใช้ซ้ำกันได้ แต่ต้องอยู่คนละรายการสินค้า และ ต้องไม่ใช้การลอกแบบมาจดทะเบียน เช่น นำคำว่า apply มาจดทะเบียนใช้กับสินค้า เครื่องดนตรี สามารถยื่นจดทะเบียนได้6.2 เครื่องหมายที่มีชื่อเสียงแพร่หลาย (well know Trademark) ที่เป็นคำประดิษฐ์ขึ้น ไม่มีในพจนานุกรม เช่น Starbuck, Pepsi ไม่สามารถใช้ซ้ำกันได้ ไม่ว่าจะอยู่ในรายการสินค้าไหนก็ตาม เช่น นำคำว่า Pepsi มาจดทะเบียนใช้กับสินค้า เครื่องดนตรี จะไม่สามารถยื่นจดทะเบียนได้ เป็นต้น

ขั้นตอนจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า


ขั้นตอน
จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ลิขสิทธิ์โลโก้หรือแบรนด์

  1. ตรวจสอบความเหมือนคล้ายของโลโก้หรือแบรนด์ ตลอด 24 ชั่วโมง (ภายใน 10 นาที)
  2. จัดทำเอกสารและยื่นจดทะเบียนโลโก้หรือแบรนด์ภายใน 30 นาที
  3. ทางราชการตรวจสอบและออกหนังสือสำคัญการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าประมาณ 15-20 เดือน

ข้อมูลที่ใช้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ลิขสิทธิ์โลโก้หรือแบรนด์

  1. ชื่อ นามสกุล ที่อยู่ผู้ขอจดทะเบียนโลโก้หรือแบรนด์
  2. ภาพเครื่องหมายการค้า
  3. รายการสินค้า/บริการ

เอกสารที่ใช้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ลิขสิทธิ์โลโก้หรือแบรนด์

  1. หนังสือมอบอำนาจ (ทางเราจัดทำให้)
  2. รับรองสำเนาบัตร ประชาชน (กรณีบุคคลธรรมดา)
  3. รับรองสำเนาหนังสือรับรองบริษัท (กรณีบริษัท) บัตรกรรมการไม่ใช้

 

เหตุผลที่ต้องจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า

1. จดเครื่องหมายการค้าก่อนมีสิทธิดีกว่า เครื่องหมายการค้าเป็นเครื่องมือหนึ่งในการสร้างการจดจำ และ สามารถให้ผู้ใช้สินค้า บริการ ทราบว่าแหล่งกำเนิดของสินค้ามาจากที่ไหน
2. เครื่องหมายการค้า ประกอบด้วยชื่อที่เรียกกันติดปากว่า จดลิขสิทธิ์โลโก้, จดแบรนด์ ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องเดียวกัน ดังนั้นหากท่านต้องการสร้างตัวตนในโลกของธุรกิจและสร้างการจดจำว่าเราคือใคร การจดเครื่องหมายการค้าเป็นเหตุผลเดียวเท่านั้น
3. เครื่องหมายการค้าสร้างมูลค่าและภาพลักษณ์ทางธุรกิจ และเป็นแรงผลักดันที่ส่งเสริมธุรกิจให้เติบโตได้
4. เครื่องหมายการค้า คือทรัพย์สินทางปัญญาอย่างหนึ่ง ที่สามารถอนุญาตให้ใช้ อนุญาตให้เช่า หรือนำไปค้ำประกันเพื่อได้มาซึ่งตัวเงินได้
5. ปกป้องการละเมิดเครื่องหมายการค้า ทั้งการปลอมเครื่องหมาย การเลียนเครื่องหมาย การลวงขาย ด้วยการฟ้องร้องทั้งทางแพ่งและทางอาญาได้ หากได้ทำการ จดเครื่องหมายการค้า,จดลิขสิทธิ์โลโก้, จดแบรนด์ แล้ว

ดังนั้นการยื่นจดเครื่องหมายการค้าและได้รับจดเครื่องหมายการค้าแล้วจะต้องนำหลักฐานเหล่านั้นไปทำการฟ้องร้องด้วย

 

ผู้ที่เหมาะสำหรับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า

1. ผู้ประกอบการธุรกิจทุกประเภทที่สร้างแบรนด์ใหม่ ต้องทำการจดเครื่องหมายการค้า เพื่อคุ้มครองสิทธิการใช้โลโก้ แบรนด์ไว้ก่อน
2. ผู้เริ่มต้น ทั้ง SME หรือธุรกิจที่ใหญ่ ต้องยื่นจดเครื่องหมายการค้า ต้องทำก่อนทำธุรกิจ หากทำธุรกิจไปแล้วมายื่นจดเครื่องหมายการค้าภายหลังจะไม่ทันเพราะจดลิขสิทธิ์โลโก้ไม่ผ่าน หรือการจดแบรนด์มีคนยื่นจดทะเบียนไปก่อนแล้ว
3. องค์กร มหาวิทยาลัย วัด หากมี โลโก้, จดแบรนด์ ก็แนะนำให้ทำการยื่นจดเครื่องหมายการค้า
4. บริษัทต่างประเทศ ที่ต้องการทำธุรกิจในประเทศไทยต้องยื่นจดเครื่องหมายการค้า, จดลิขสิทธิ์โลโก้, จดแบรนด์ไว้ก่อนที่บุคคลอื่นจะมาแย่งและได้รับการจดเครื่องหมายการค้าไปก่อน
5. นักประดิษฐ์คิดค้น ที่สร้างสรรค์งานใหม่ และมีชื่อเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์นั้นก็แนะนำให้ยื่นจดลิขสิทธิ์โลโก้, จดแบรนด์ ไว้ก่อนที่บุคคลอื่นจะคิดค้นงานแบบเดียวกันและได้รับการจดเครื่องหมายการค้าไปก่อน

 

การสละสิทธิการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า

การจดลิขสิทธิ์โลโก้, จดแบรนด์ , จดเครื่องหมายการค้า คือการผูกขาดการใช้คำ ผูกขาดการใช้ภาพ ดังนั้นคำและภาพบางอย่างเป็นสิ่งสามัญทั่วไปที่ทุกคนนำมาใช้ได้ คำเหล่านี้ต้องทำการสละสิทธิ ตัวอย่างคำสั่ง เช่น
1. เครื่องหมายนี้ยังไม่สามารถรับการจดทะเบียนได้ เว้นแต่จะได้ดำเนินการ ตามมาตรา 17 โดยให้ยื่นแบบ ก.12 ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือฉบับนี้ เพื่อ – แสดงเจตนาว่าไม่ขอถือเป็นสิทธิของตนแต่เพียงผู้เดียวที่จะใช้อักษรโรมันและอักษรไทยคำว่า SEAFOOD ซีฟู้ด (เพราะเป็นคำบรรยายการบริการ)
2. แสดงเจตนาว่าไม่ขอถือเป็นสิทธิของตนแต่เพียงผู้เดียว ก็คือการสละสิทธิ ภาษาอังกฤษ เรียกว่า disclaim กล่าวคือการสละสิทธินี้ทำให้บุคคลอื่นๆ สามารถใช้อักษรโรมันและอักษรไทยคำว่า SEAFOOD ซีฟู้ด ที่เป็นคำบรรยายการบริการได้ ไม่ได้จำกัดแค่เราคนเดียว

อะไรที่ต้องทำการสละสิทธิบ้าง?
1. คำ ข้อความ สี หรือรูปภาพ ที่เป็นคำบรรยายการบริการนั้น
2. คำ หรือข้อความ เป็นคำสามัญที่ใช้กันโดยทั่วไป หรือเป็นสิ่งสามัญที่ใช้ในการค้าขาย รวมทั้งสื่อถึงตัวสินค้าด้วย เช่น ภาพลิงที่ใช้กับยาหม่อง ถือว่าเป็นสิ่งสามัญที่ใช้ในการค้าขายนั้น
3.ชื่อภูมิศาสตร์ ชื่อประเทศ เป็นต้น

 

การคัดค้านการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า

การจดลิขสิทธิ์โลโก้, จดแบรนด์ , จดเครื่องหมายการค้า หากกรมทรัพย์สินทางปัญญาสั่งประกาศโฆษณาแล้ว สามารถยื่นคัดค้านได้ ดังนี้
เมื่อได้ประกาศโฆษณาคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า บุคคลใดเห็นว่าตนมีสิทธิดีกว่าผู้ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า หรือเห็นว่าเครื่องหมายการค้ารายนั้นไม่มีลักษณะอันพึงรับจดทะเบียนได้ หรือการขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารายนั้นไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ บุคคลนั้นจะยื่นคำคัดค้านต่อนายทะเบียนก็ได้ แต่ต้องยื่นภายในหกสิบวันนับแต่วันประกาศโฆษณา พร้อมทั้งแสดงเหตุแห่งการคัดค้าน

บุคคลใดเห็นว่าตนมีสิทธิดีกว่าผู้ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า เช่น
1. เป็นหุ้นส่วนกันมาก่อนและอีกฝ่ายยื่นจดลิขสิทธิ์โลโก้, แบรนด์, เครื่องหมายการค้าก่อนตนเอง
2. มีการนำเอาลิขสิทธิ์โลโก้, แบรนด์, เครื่องหมายการค้าที่เลียนแบบหรือจงใจเลียนแบบมายื่นจดทะเบียน
3. ลิขสิทธิ์โลโก้, แบรนด์, เครื่องหมายการค้านั้นมีลักษณะเหมือนคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของตนเองที่ได้รับการจดลิขสิทธิ์โลโก้, จดแบรนด์, จดเครื่องหมายการค้าไว้ก่อนแล้ว
4. เป็นทายาท หรือกงสี และอีกฝ่ายนำลิขสิทธิ์โลโก้, แบรนด์, ไปจดเครื่องหมายการค้าก่อนตนเอง
5. เป็นลิขสิทธิ์โลโก้, แบรนด์, เครื่องหมายการค้าที่เกี่ยวข้องกับองค์กร กลุ่มแม่บ้าน สถาบัน และถูกนำไปใช้ส่วนตัวโดยประธานองค์กรนั้น

 

ประโยชน์ของการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า

ประโยชน์ทางธุรกิจ

1. สิทธิพิเศษ การจดลิขสิทธิ์โลโก้, จดแบรนด์, จดเครื่องหมายการค้า ให้สิทธิ์แต่เพียงผู้เดียวแก่เจ้าของที่จดทะเบียนเพื่อป้องกันไม่ให้บุคคลที่สามทำการตลาดผลิตภัณฑ์หรือบริการที่เหมือนหรือคล้ายกันภายใต้เครื่องหมายการค้าที่เหมือนกันหรือคล้ายกันจนสับสน
2. การบังคับใช้ การจดลิขสิทธิ์โลโก้, จดแบรนด์, จดเครื่องหมายการค้า นั้นง่ายต่อการบังคับใช้เนื่องจากมักจะมีข้อสันนิษฐานของความเป็นเจ้าของ นอกจากนี้บางประเทศได้วางระบบที่ช่วยให้เจ้าหน้าที่ศุลกากรสามารถตรวจสอบและยึดสินค้าลอกเลียนแบบที่ละเมิดเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนได้
3. ลิขสิทธิ์โลโก้, แบรนด์, เครื่องหมายการค้า เป็นหนึ่งในสินทรัพย์ทางธุรกิจที่ยั่งยืนที่สุด (โดยเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนสามารถอยู่ได้นาน หากมีการใช้และต่ออายุ)
4. ลิขสิทธิ์โลโก้, แบรนด์, เครื่องหมายการค้า สามารถขายหรืออนุญาตให้ได้การขายหรือการอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้าเป็นแหล่งรายได้ที่เป็นไปได้สำหรับเจ้าของสิทธิ์
5. มูลค่าทางการเงินสามารถใช้ลิขสิทธิ์โลโก้, แบรนด์, เครื่องหมายการค้า ที่รับจดลิขสิทธิ์โลโก้, รับจดแบรนด์, รับจดเครื่องหมายการค้า เพื่อขอรับเงินทุนจากสถาบันการเงินได้

ประโยชน์ทางกฎหมาย

1. การจดลิขสิทธิ์โลโก้, จดแบรนด์, จดเครื่องหมายการค้า สามารถอนุญาตให้บุคคลมีสิทธิการใช้เครื่องหมายนั้นแต่เพียงผู้เดียวในการให้บริการหรือสินค้า นอกจากนี้จุดประสงค์ที่สำคัญที่สุดในการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าประกอบด้วยคำตอบที่มีประสิทธิภาพสำหรับการใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าทำให้เจ้าของสามารถเริ่มฟ้องร้องการละเมิดได้
2. การจดลิขสิทธิ์โลโก้, จดแบรนด์, จดเครื่องหมายการค้า ยังป้องกันไม่ให้ผู้อื่นใช้เครื่องหมายที่คล้ายกันด้วยการทำให้เครื่องหมายนั้นค้นหาได้ง่ายเมื่อค้นหาการค้นหาที่มีเครื่องหมายการค้า นอกจากนี้ยังเป็นการป้องกันปัญหาก่อนที่จะเกิดขึ้น
3. การจดลิขสิทธิ์โลโก้, จดแบรนด์, จดเครื่องหมายการค้า เป็นการป้องกันเครื่องหมายการค้าที่สับสนเกินไปการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของเรา ซึ่งมีความสำคัญนี้ต้องจดเครื่องหมายการค้าก่อนถึงจะมิสิทธิดีกว่า
4. การจดลิขสิทธิ์โลโก้, จดแบรนด์, จดเครื่องหมายการค้า ทำให้ประกาศความเป็นเจ้าของในระดับชาติ หยุดผู้อื่นจากการอ้างสิทธิ์ในการใช้เครื่องหมายในภายหลังเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนอาจได้รับการกำหนดให้เป็นหลักประกัน
5. สำหรับทรัพย์สินที่มีตัวตน การรับจดลิขสิทธิ์โลโก้, รับจดแบรนด์, รับจดเครื่องหมายการค้าแล้ว ของคุณถือเป็นทรัพย์สินที่มีค่าและไม่มีตัวตน การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเป็นการสร้างมูลค่าและชื่อเสียงไว้กับผลิตภัณฑ์

 

ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ลิขสิทธิ์โลโก้หรือแบรนด์

ราชการ

รายการที่ 1 ยื่นจดทะเบียนชำระ 1,000 บาท อนุมัติรับจดทะเบียนชำระ 600 บาท

รายการที่ 2 ยื่นจดทะเบียนชำระ 1,000 บาท อนุมัติรับจดทะเบียนชำระ 600 บาท

รายการที่ 3 ยื่นจดทะเบียนชำระ 1,000 บาท อนุมัติรับจดทะเบียนชำระ 600 บาท

รายการที่ 4 ยื่นจดทะเบียนชำระ 1,000 บาท อนุมัติรับจดทะเบียนชำระ 600 บาท

รายการที่ 5 ยื่นจดทะเบียนชำระ 1,000 บาท อนุมัติรับจดทะเบียนชำระ 600 บาท

*** รวม  5 รายการ ยื่นจดทะเบียนชำระ 5,000 บาท อนุมัติรับจดทะเบียนชำระ 3,000 บาท

ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในประเทศไทย

ลำดับ รายการ ค่าธรรมเนียม
1 ก.01 คำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการเครื่องหมายรับรองหรือเครื่องหมายร่วม
ก) สินค้าหรือบริการแต่ละจำพวก 1 ถึง 5 อย่าง อย่างละ 1,000 บาท
ข) สินค้าหรือบริการแต่ละจำพวก มากกว่า 5 อย่าง จำพวกละ 9,000 บาท

2 ก.02
คำคัดค้านการขอจดทะเบียนตาม (1) ฉบับละ 2,000 บาท
คำโต้แย้ง ไม่มี

3 ก.03
คำอุทธรณ์

ก) อุทธรณ์คำสั่งของนายทะเบียนตามมาตรา 16 มาตรา 17 มาตรา 27 หรือคำวินิจฉัยของนายทะเบียนตามมาตรา 37 ฉบับละ 4,000 บาท
ข) อุทธรณ์ตามมาตราอื่น ฉบับละ 2,000 บาท

4 ก.04 คำขอโอนหรือรับมรดกสิทธิในคำขอที่ยื่นจดทะเบียน
และคำขอโอนหรือรับมรดกสิทธิในเครื่องหมายที่จดทะเบียนแล้ว คำขอละ 2,000 บาท

5 ก.05 คำขอจดทะเบียนสัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายบริการ คำขอละ 1,000 บาท

6 ก.06
คำขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำขอจดทะเบียนตาม (1) (4) และ (5) คำขอละ 200 บาท
คำขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการ เครื่องหมายรับรองหรือเครื่องหมายร่วม และสัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายบริการ คำขอละ 400 บาท
คำขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อบังคับว่าด้วยการใช้เครื่องหมายรับรอง
ก) ก่อนการจดทะเบียนเครื่องหมายรับรอง คำขอละ
200 บาท

ข) หลังการจดทะเบียนเครื่องหมายรับรอง คำขอละ 400 บาท
คำขออื่นๆ คำขอละ 200 บาท

7 ก.07 คำขอต่ออายุการจดทะเบียน

ก) สินค้าหรือบริการแต่ละจำพวก 1 ถึง 5 อย่าง อย่างละ 2,000 บาท
ข) สินค้าหรือบริการแต่ละจำพวก มากกว่า 5 อย่าง จำพวกละ 18,000 บาท

8 ก.08 คำร้องขอต่อคณะกรรมการให้สั่งเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการ เครื่องหมายรับรองหรือเครื่องหมายร่วม ฉบับละ 1,000 บาท
คำขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนสัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายบริการ คำขอละ 400 บาท

9 ก.09 การขอตรวจดูทะเบียนเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการ เครื่องหมายรับรองหรือเครื่องหมายร่วม หรือสารบบเครื่องหมายดังกล่าว ชั่วโมงละ

(เศษของชั่วโมงให้คิดเป็นหนึ่งชั่วโมง) 200 บาท
การขอสำเนาทะเบียนเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการ เครื่องหมายรับรองหรือเครื่องหมายร่วม เป็นชุดพร้อมคำรับรอง ฉบับละ 400 บาท
การขอคัดสำเนาเอกสาร หน้าละ 20 บาท
การขอให้รับรองสำเนาเอกสารเรื่องเดียวกัน
ก) เอกสารไม่เกิน 40 หน้า หน้าละ 20 บาท
ข) เอกสารเกิน 40 หน้า ฉบับละ 800 บาท
การขอคำรับรองจากนายทะเบียนเกี่ยวกับรายการการจดทะเบียน ฉบับละ 100 บาท
ใบแทนหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียน ฉบับละ 200 บาท
คำขอตรวจดูแฟ้ม คำขอจดทะเบียน คำขอละ 200 บาท
คำขออื่นๆ คำขอละ 200 บาท

10 ก.10 คำขอถือสิทธิวันที่ยื่นคำขอนอกราชอาณาจักรครั้งแรกหรือวันที่นำสินค้าที่ใช้เครื่องหมายออกแสดงในงานแสดงสินค้าระหว่างประเทศเป็นวันยื่นคำขอในราชอาณาจักรตามมาตรา 28 , 28 ทวิ ไม่มี

11 ก.11 ใบต่อแนบท้ายคำขอ ไม่มี

12 ก.12 หนังสือแสดงการปฏิเสธ ไม่มี

13 ก.13 หนังสือจดทะเบียนเครื่องหมายชุด ยกเลิก

14 ก.14 หนังสือแจ้งฟ้องคดีต่อศาล คำพิพากษาและผลคดี ไม่มี

15 ก.15 หนังสือชี้แจงการถูกร้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียน ไม่มี

16 ก.16 บัตรหมาย ยกเลิก

17 ก.17 หนังสือสัญญาโอน ไม่มี

18 ก.18 หนังสือมอบอำนาจ ไม่มี

19 ก.19 หนังสือขอผ่อนผันการส่งเอกสารหลักฐาน ไม่มี

20 ก.20 หนังสือนำส่งเอกสารหลักฐานและคำชี้แจง ไม่มี

21 การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการ เครื่องหมายรับรองหรือเครื่องหมายร่วม

ก) สินค้าหรือบริการแต่ละจำพวก 1 ถึง 5 อย่าง อย่างละ 600 บาท
ข) สินค้าหรือบริการแต่ละจำพวก มากกว่า 5 อย่าง จำพวกละ 5,400 บาท

22 การจดทะเบียนสัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายบริการ สัญญาละ 2,000 บาท

23 รูปเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการ เครื่องหมายรับรองหรือเครื่องหมายร่วมที่มีด้านกว้างหรือด้านยาวเกิน 5 เซนติเมตร
ให้คิดเฉพาะส่วนที่เกิน เศษของเซนติเมตรให้คิดเป็นหนึ่งเซนติเมตร เซนติเมตรละ 200 บาท

ลำดับ รายการ ค่าธรรมเนียม
1 การจัดเตรียมและจัดส่งคำขอจดทะเบียนระหว่างประเทศและคำขออื่นภายใต้พิธีสารมาดริด
ก) บริการจัดเตรียมและจัดส่งคำขอจดทะเบียน คำขอละ 2,000 บาท
ข) บริการจัดเตรียมและจัดส่งคำขอต่ออายุ คำขอโอน คำขอแก้ไขเปลี่ยนแปลง และคำขออื่นๆ คำขอละ 1,000 บาท
ค) คำขอให้บันทึกการจดทะเบียนระหว่างประเทศแทนการจดทะเบียนในราชอาณาจักร คำขอละ 2,000 บาท

 

สอบถามข้อมูลหรือขอคำปรึกษาการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า

 

ทำไมต้องใช้บริการจดเครื่องหมายการค้ากับเรา?

  1. ตรวจสอบความเหมือนคล้ายของเครื่องหมายการค้า โลโก้ และแบรนด์ ตลอด 24 ชั่วโมง
  2. จัดทำเอกสารและยื่นจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าภายใน 1 วัน
  3. มีระบบเร่งรัดการตรวจสอบและออกหนังสือสำคัญแบบ Fast track
  4. มีใบอนุญาตจากกรมทรัพย์สินทางปัญญาโดยตรง
  5. ประสบการณ์ยื่นจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ากว่า 25 ปี
  6. รับจดเครื่องหมายการค้าผ่านมากกว่า 90 %
  7. รับจดเครื่องหมายการค้าแบบทั่วโลก ในระบบมาดริด
  8. มีบริการให้คำปรึกษาสำหรับการจดลิขสิทธิ์โลโก้ จดแบรนด์ สำหรับผู้ประกอบการทุกสาขาอาชีพ
  9. บริษัทอยู่ใกล้กับกรมทรัพย์สินทางปัญญา สะดวก รวดเร็ว ฉับไว และทันท่วงที
แอดไลน์