เกี่ยวกับเรา
บริษัทผู้ให้บริการรับจดลิขสิทธิ์ จดสิทธิบัตร จดเครื่องหมายการค้า อย. มอก. รับขึ้นทะเบียนนวัตกรรม จดลิขสิทธิ์โลโก้ จดแบรนด์
และรับจ้างทนายว่าความ ครบวงจร โดยทีมงานผู้เชี่ยวชาญ
“ข้าพเจ้าเพียงทำสิ่งที่จะเป็นประโยชน์ ”
พระราชดำรัสในหลวงรัชกาลที่ 9
TGC International Company Limited บริษัท ทีจีซี อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด บริการรับจดเครื่องหมายการค้า บริการขอใบอนุญาต มอก. สมอ. รับจด อย.อาหารและยา รับขึ้นทะเบียนนวัตกรรม จดสิทธิบัตร จดลิขสิทธิ์ จดแบรนด์ จดลิขสิทธิ์โลโก้ รับจ้างเป็นทนายและว่าความ แบบครบวงจร ที่มีประสบการณ์งานด้านทรัพย์สินทางปัญญามายาวนานมากกว่า 20 ปี
เราก่อตั้งขึ้นโดยทีมงาน ซึ่งทำงานและมีประสบการณ์งานด้านทรัพย์สินทางปัญญา โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานเขียนสิทธิบัตรซึ่งถือเป็นงานที่จะต้องใช้ประสบการณ์ และ ความสามารถเป็นอย่างมาก ในการเขียนให้ถูกต้องตามหลักสากล และ สามารถใช้บังคับได้ โดยเชื่อมั่นว่าจะสามารถทำให้คุณได้ความพึงพอใจสูงสุด
เราได้ร่วมทำงานกับ นักประดิษฐ์ นักวิทยาศาสตร์ นักฟิสิกส์ นักเคมี และ นักวิจัย ทั้งภาคเอกชน และ ภาครัฐ ในการระบุ สาระสำคัญที่พิเศษแท้จริงของสิ่งประดิษฐ์ของพวกเขาเพื่อให้บรรลุการรับรู้ทางกฎหมายและได้รับการคุ้มครองทางทรัพย์สินทางปัญญา โดยได้ประสานงานร่วมกับสำนักงานทรัพย์สินทางปัญญาในต่างประเทศทั่วโลกเพื่อดำเนินการจดทะเบียนซึ่งถือเป็นโอกาสในการอ้างอิงประสบการณ์ในการทำงานที่จะช่วยสร้างศักยภาพในธุรกิจของคุณและสามารถรองรับต่อความต้องการของคุณได้อย่างมีประสิทธิภาพ
บริการของเรา
ทีมงานของเรา
มนุษย์แตกต่างจากสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นตรงที่เรามีนิ้วโป้งที่สามารถหยิบจับและสร้างเครื่องมือได้ ความฉลาดของมนุษย์แท้จริงแล้วเกิดจากการที่เรามีสิ่งนี้ การหยิบจับสิ่งของได้ประกอบกับการเรียนรู้จากธรรมชาติทำให้สมองมนุษย์พัฒนาและสามารถสร้างสิ่งต่างๆ ได้
บทความและข่าวสาร
งานบริการรับ จดสิทธิบัตร ในประเทศไทยมีขั้นตอนดังต่อไปนี้
- สืบค้น สิทธิบัตรที่ได้เปิดเผยไว้แล้วระยะเวลาประมาณ 5-10 วัน
- ร่างเนื้อหาและจัดทำรูปเขียนประมาณ 5-10 วัน
- ยื่นจดทะเบียนและรอการพิจารณาอนุมัติ
- 3.1 อนุสิทธิบัตรใช้ระยะเวลารวม 1-2 ปี
– ตรวจสอบความใหม่ในประเทศ และ ประกาศโฆษณาพร้อมรับจดทะเบียน 1-2 ป - 3.2 สิทธิบัตรใช้ระยะเวลารวม 2-4 ปี
– ตรวจสอบความใหม่ในประเทศและประกาศโฆษณา 2-3 ปี
– ตรวจสอบความใหม่ในต่างประเทศเพื่อรับจดทะเบียน 1-2 ปี
- 3.1 อนุสิทธิบัตรใช้ระยะเวลารวม 1-2 ปี
ข้อมูลสำหรับ จดสิทธิบัตร การประดิษฐ์
- ชื่อ นามสกุล ที่อยู่ เบอร์ อีเมล ผู้ขอจดทะเบียน
- ชื่อ นามสกุล ที่อยู่ ผู้ประดิษฐ์
- ข้อมูลคำอธิบายที่เกี่ยวข้องกับสิ่งประดิษฐ์
- ที่ประกอบด้วยอะไรบ้าง
- แต่ละส่วนทำหน้าที่อย่างไร
- ขั้นตอนการทำงาน
- ส่วนประกอบ สัดส่วน พอสังเขป
- รูปเขียนแสดงส่วนประกอบ (หากมี)
เอกสารในการจดสิทธิบัตร
- หนังสือมอบอำนาจ (ทางเราจัดทำให้)
- กรณีบริษัท : สำเนาหนังสือรับรองบริษัทออกไม่เกิน 6 เดือน / สำเนาบัตร กรรมการและผู้ประดิษฐ์
- กรณีบุคคลธรรมดา : รับรองสำเนาบัตร ปชช
ความแตกต่างระหว่างการจดอนุสิทธิบัตร และ จดสิทธิบัตร
อนุสิทธิบัตร การประดิษฐ์
- มีความซับซ้อนไม่มาก
- ตรวจสอบเฉพาะในเมืองไทย
- ระยะเวลาพิจารณา อนุสิทธิบัตร 1-2 ปี
- อนุสิทธิบัตร คุ้มครอง 10 ปี ค่าธรรมเนียมรายปีรวม 10 ปี รวมชำระประมาณ 17,000 บาท แบ่งชำระตั้งแต่ปีที่ 5 เป็นต้นไป (ปีไหนไม่ชำระก็สิ้นผล)
สิทธิบัตร การประดิษฐ์
- การจดสิทธิบัตร การประดิษฐ์ มีความซับซ้อนมากกว่า
- ตรวจสอบในเมืองไทยและในต่างประเทศ
- ระยะเวลาพิจารณา สิทธิบัตร 2-4 ปี
- สิทธิบัตร คุ้มครอง 20 ปี ค่าธรรมเนียมรายปีรวม 20 ปี รวมชำระประมาณ 140,000 บาท แบ่งชำระตั้งแต่ปีที่ 5 เป็นต้นไป (ปีไหนไม่ชำระก็สิ้นผล)
ขั้นตอนการจดสิทธิบัตรการออกแบบ
- สืบค้น สิทธิบัตรที่ได้เปิดเผยไว้แล้วระยะเวลาประมาณ 7 วัน
- ร่างเนื้อหาและจัดทำเอกสารประมาณ 7 วัน
- ยื่นจดทะเบียนและรอการพิจารณาอนุมัติ (รวมประมาณ 2-4 ปี) แบ่งดังนี้
- ตรวจสอบความใหม่ในประเทศและประกาศโฆษณา 1-2 ปี
- ตรวจสอบความใหม่ในต่างประเทศ 1-2 ปี
สิทธิบัตรการออกแบบ คุ้มครอง 10 ปี นับจากวันยื่นจดทะเบียน
ค่าธรรมเนียมรายปีรวม 10 ปี รวมชำระประมาณ 8,000 บาท แบ่งชำระตั้งแต่ปีที่ 5 เป็นต้นไป (ปีไหนไม่ชำระก็สิ้นผล)
ข้อมูลสำหรับจดสิทธิบัตรการออกแบบ
- ชื่อ นามสกุล ที่อยู่ ผู้ขอจดทะเบียน
- ชื่อ นามสกุล ที่อยู่ ผู้ประดิษฐ์
- ภาพถ่าย หรือ ภาพเขียน 7 มุมมอง บน ล่าง ซ้าย ขวา หน้า หลัง perspective
เอกสาร
- หนังสือมอบอำนาจ (ทางเราจัดทำให้)
- กรณีบริษัท : สำเนาหนังสือรับรองบริษัทออกไม่เกิน 6 เดือน / สำเนาบัตร กรรมการและผู้ประดิษฐ์
- กรณีบุคคลธรรมดา : รับรองสำเนาบัตร ปชช
ความแตกต่างระหว่างสิทธิบัตรการประดิษฐ์ กับ สิทธิบัตรการออกแบบ
A. สิทธิบัตรการประดิษฐ์ แบ่งออกเป็น
- อนุสิทธิบัตร คุ้มครอง 10 ปี (งานประดิษฐ์ขั้นไม่สูง)
- สิทธิบัตร คุ้มครอง 20 ปี (งานประดิษฐ์ขั้นสูง)
อนุสิทธิบัตร/สิทธิบัตร คุ้มครอง กลไกการทำงาน โครงสร้างการทำงาน ฟังชั่นการทำงาน ในเชิงเทคนิค มีผลทางเทคนิค ไม่สนใจภาพนอกที่มองเห็นด้วยตา
B. สิทธิบัตรการออกแบบ
สิทธิบัตรการออกแบบ คุ้มครอง 10 ปี
คุ้มครอง ภาพที่มองเห็นจากภาพนอกด้วยตา คุ้มครองรูปร่าง รูปทรงเชิงมิติ เท่านั้น ไม่สนใจว่าข้างในทำงานยังไง
หากมีหลายขนาด เช่น size S M L ถือว่ามีเพียง 1 แบบและการจดทะเบียนจดได้เพียง 1 แบบเท่านั้นคุ้มครองทุกขนาด
- ยื่นคำขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ 500 บาท
- ยื่นคำขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ 250 บาท
- ยื่นคำขอรับอนุสิทธิบัตรการประดิษฐ์ 250 บาท
- คำขอแก้ไขเพิ่มเติม 50 บาท
- การประกาศโฆษณาคำขอรับสิทธิบัตร 250 บาท
- รับจดทะเบียนและประกาศโฆษณาอนุสิทธิบัตร 500 บาท
- คำขอให้ตรวจสอบการประดิษฐ์(กรณีการประดิษฐ์) 250 บาท
- รับจดทะเบียนและออกสิทธิบัตร 500 บาท
- คำคัดค้าน 250 บาท
- คำอุทธรณ์ 500 บาท
- คำขอเปลี่ยนแปลงประเภทของสิทธิ 100 บาท
บริษัทของเราให้บริการรับจดเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายร่วม เครื่องหมายบริการ โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
- การตรวจสอบความเหมือนคล้ายและวิเคราะห์ชื่อเครื่องหมายการค้าว่ามีแนวโน้มที่สามารถจดทะเบียนได้หรือไม่
- การดำเนินการแก้ไขคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า
- การอุทธรณ์โต้แย้งคำปฏิเสธรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า
- การคัดค้านคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า
- การจดทะเบียนโอนเครื่องหมายการค้า
- การต่ออายุเครื่องหมายการค้า
- การตรวจสอบสถานะเครื่องหมายการค้า
- การแก้ไขเปลี่ยนแปลงรูปแบบเครื่องหมายการค้า
- การทำหนังสือเร่งรัดการพิจารณาจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าให้รวดเร็วขึ้น
หลักการคิดชื่อเครื่องหมายการค้า คลิกที่นี่ https://www.trademark-patent.com
การออกแบบโลโก้เพื่อจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า คลิกที่นี่ https://www.design365days.com/
ขั้นตอนการจดเครื่องหมายการค้า
- ตรวจสอบความเหมือนคล้าย ตลอด 24 ชั่วโมง (ภายใน 10 นาที)
- จัดทำเอกสารและยื่นจดทะเบียนภายใน 30 นาที
- ทางราชการตรวจสอบและออกหนังสือสำคัญการจดทะเบียนประมาณ 15-20 เดือนข้อมูล
ข้อมูลสำหรับจดเครื่องหมายการค้า
- ชื่อ นามสกุล ที่อยู่ผู้ขอจดทะเบียน
- ภาพเครื่องหมายการค้า
- รายการสินค้า/บริการเอกสาร
เอกสารในการจดเครื่องหมายการค้า
- หนังสือมอบอำนาจ (ทางเราจัดทำให้)
- รับรองสำเนาบัตร ประชาชน (กรณีบุคคลธรรมดา)
- รับรองสำเนาหนังสือรับรองบริษัท (กรณีบริษัท) บัตรกรรมการไม่ใช้
ค่าธรรมเนียมรายการสินค้าสำหรับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในประเทศไทย
https://tgcthailand.com/the-trademark-registration-fee/
ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในประเทศไทย
https://tgcthailand.com/fee-domestic-trademark/
*** ข้อความนี้มีลิขสิทธิ์ที่ถูกเขียนขึ้นโดย TGC เท่านั้น
**เครื่องหมายการค้าที่ไม่สามารถจดทะเบียนได้**
1.เครื่องหมายติดบ่งเฉพาะ (ไม่มีเอกลักษณ์ที่พิเศษ)
1.1 ชื่อที่สื่อถึงสินค้า เช่น Apple จดทะเบียนใช้กับ ผลไม้แอปเปิ้ล หรือ ร้านขายแอปเปิ้ลจะ จดทะเบียนไม่ผ่านเนื่องจากสื่อถึงสินค้า การจดทะเบียนลักษณะนี้เป็นการผูกขาดการใช้คำว่า Apple กฎหมายจะไม่ให้จดทะเบียน หากจดทะเบียนใช้กับ โทรศัพท์ แบบนี้สามารถจดทะเบียนได้เนื่องจากไม่ถือเป็นการผูกขาด
1.2 ชื่อที่สื่อถึงลักษณะและคุณสมบัติของสินค้า เช่น ละอองเย็น/laong yen จดทะเบียนใช้กับ สเปร์ยฉีดตัว จะจดทะเบียนไม่ผ่านเนื่องจากสื่อถึงลักษณะและคุณสมบัติของสินค้า การจดทะเบียนลักษณะนี้เป็นการผูกขาดการใช้คำว่า ละอองเย็น/laong yen กฎหมายจะไม่ให้จดทะเบียน หากจดทะเบียนใช้กับ โทรศัพท์ แบบนี้สามารถจดทะเบียนได้เนื่องจากไม่ถือเป็นการผูกขาด
ชื่อเครื่องหมายตาม 1.1, 1.2 ก็อาจจะเป็นคำที่พ้องเสียงได้ด้วย เช่น SHA TAI สื่อถึง ชาไทย การจดทะเบียนลักษณะนี้เป็นการผูกขาดการใช้คำว่า ชาไทย ผู้ตรวจสอบสามารถมีคำสั่งออกมาไม่ให้จดทะเบียนได้
ชื่อเครื่องหมายตาม 1.1, 1.2 หากมีการผสมคำ แต่คำที่นำมาผสมไม่ใช่สาระสำคัญ เช่น Apple Thai, Super Apple, The Apple, Apple Plus, Apple Restaurant, คำที่นำมาผสมจะไม่ถูกนำเป็นสาระสำคัญในการตรวจสอบ เนื่องจากเป็นคำทั่วไป และ มาเสริมคำว่า Apple ให้โดดเด่นขึ้นไปอีก ดังนั้นจะเหลือแต่คำว่า Apple ที่เป็นสาระสำคัญการจดทะเบียนลักษณะนี้เป็นการผูกขาดการใช้คำว่า Apple
(เว้นแต่ชื่อ/ข้อความตาม 1.1-1.2 ต้องมีคำ หรือ ภาพโลโก้ที่มีสาระสำคัญมาประกอบ เช่น ข้อความตาม 1.1-1.2 + คำว่า นายฮ้อย ถ้าคำว่านายฮ้อยไม่ซ้ำ กฎหมายจะอนุญาตให้จดทะเบียน และ ทำการสละสิทธิข้อความตาม 1.1-1.2) หรือ เช่น ข้อความตาม 1.1-1.2 + ภาพโลโก้ที่มีสาระสำคัญ หากภาพโลโก้ไม่ซ้ำ กฎหมายจะอนุญาตให้จดทะเบียน และ ทำการสละสิทธิข้อความตาม 1.1-1.2)
1.3 ตัวอักษร 1 ตัว 2 ตัว 3 ตัว ที่ไม่มีความหมาย ต้องทำการประดิษฐ์ตัวอักษรให้มีลักษณะพิเศษ เหตุผลที่บังคับให้ประดิษฐ์ตัวอักษรเพราะการจดทะเบียนจะได้ตัวอักษร+ที่มีการประดิษฐ์ให้มีลักษณะพิเศษ เพราะมิฉะนั้นจะเหมือนว่าเราเอาตัวอักษรโรมันธรรมดามาจดทะเบียน ซึ่งหลักการแนวนี้ใช้กับทุกภาษา
เช่น ตัวอักษรตัวเดียว A ต้องทำการประดิษฐ์ตัวอักษรให้มีลักษณะพิเศษถึงจะจดทะเบียนผ่าน
เช่น ตัวอักษรสองตัว AF ต้องทำการประดิษฐ์ตัวอักษรให้มีลักษณะพิเศษถึงจะจดทะเบียนผ่าน
เช่น ตัวอักษรสามตัว AFS ต้องทำการประดิษฐ์ตัวอักษรให้มีลักษณะพิเศษถึงจะจดทะเบียนผ่าน
(เว้นแต่ตัวอักษรตาม 1.3 หากไม่ได้ประดิษฐ์ตัวอักษรให้มีลักษณะพิเศษ ต้องมีคำ หรือ ภาพโลโก้ที่มีสาระสำคัญมาประกอบ เช่น ตัวอักษรตาม 1.3 + คำว่า นายฮ้อย ถ้าคำว่านายฮ้อยไม่ซ้ำ กฎหมายจะอนุญาตให้จดทะเบียน และ ทำการสละสิทธิตัวอักษรตาม 1.3 หรือ เช่น ตัวอักษรตาม 1.3 + ภาพโลโก้ที่มีสาระสำคัญ หากภาพโลโก้ไม่ซ้ำ กฎหมายจะอนุญาตให้จดทะเบียน และ ทำการสละสิทธิตัวอักษรตาม 1.3
2.เครื่องหมายติดเหมือนหรือคล้าย ต้องครบองค์ประกอบดังนี้
2.1 พ้องเสียง เช่น Manee, Marni, Marnie, MaaNii กลุ่มคำเหล่านี้ถือว่าพ้องเสียง
2.2 พ้องรูป เช่น มีรูปคล้ายคลึงกัน เช่น รูปนก ที่คล้ายๆ กัน
การพ้องเสียงหรือพ้องรูปตาม 2.1 และ 2.2 จะต้องคู่กับ รายการสินค้าที่อยู่จำพวก เดียวกันและคล้ายกันด้วย
เช่น Manee สินค้า เสื้อ และ Marni สินค้า รองเท้า ถือว่า คล้ายกันและจดทะเบียนไม่ผ่าน เนื่องจาก Manee และ Marni พ้องเสียง เสื้อ และ รองเท้า อยู่จำพวก 25 กลุ่ม เสื้อผ้าเหมือนกัน
หาก เช่น Manee สินค้า เสื้อ และ Marni สินค้า ปุ๋ยเคมี แม้จะพ้องเสียงคล้ายกันแต่คนละจำพวกถือว่าจดทะเบียนได้ เนื่องจาก การทำธุรกิจของ Marni สินค้า ปุ๋ยเคมี ไม่กระทบกระเทือนธุรกิจ Manee สินค้า เสื้อ
เครื่องหมายการค้าที่ติดเหมือนคล้ายหรือติดพ้องเสียงกัน เช่น Manee กับ Mani หากนำภาพโลโก้ที่มีสาระสำคัญมาประกอบกับ Mani ก็ถือว่าติดเหมือนคล้ายกัน เพราะ
1.พ้องเสียง
2.พ้องรูป
3.รายการสินค้า/บริการ
คือถือว่าติดเหมือนคล้ายกันเพราะติด 2 ใน 3 คือติดพ้องเสียง+รายการสินค้า/บริการ
สรุป พ้องเสียง พ้องรูป ต้องจับคู่กับ รายการสินค้าที่อยู่จำพวกเดียวกันและคล้ายกันด้วยถึงจะถือว่าเครื่องหมายการค้านั้นเหมือนหรือคล้ายกัน
2.3 ข้อยกเว้นชื่อพ้องเสียง ที่สามารถจดทะเบียนซ้ำกันได้
เช่น ตัวอักษรตัวเดียว A สามารถจดทะเบียนซ้ำกันได้ แต่ต้องทำการประดิษฐ์ตัวอักษรให้แตกต่างกัน
เช่น ตัวอักษรสองตัว AF มีสองแนว คือ สามารถจดทะเบียนซ้ำกันได้แต่ต้องทำการประดิษฐ์ตัวอักษร และ บางครั้งก็มีคำสั่งว่าติดเหมือนคล้าย
ถ้าเป็น ตัวอักษรสามตัว AFS แม้จะมีการออกแบบที่แตกต่างกันแต่ก็จดทะเบียนซ้ำกันไม่ได้ เพราะตัวอักษรสามตัวถือว่ามีเอกลักษณ์สูง
3.เครื่องหมายการค้าที่นำภาพที่เป็นเลขาคณิตทั่วไป/หรือภาพเสมือนจริง มาจดทะเบียนใช้กับสินค้าประเภทนั้น และ ภาพนั้นไม่ได้มีการประดิษฐ์เพียงพอ
3.1 ภาพรวงข้าวเสมือนจริง ใช้กับ ข้าว จดทะเบียนไม่ผ่าน
3.2 ภาพรถยนต์เสมือนจริง ใช้กับอะไหล่ น้ำยาขัดรถยนต์ เป็นต้น ที่ไม่ได้มีการประดิษฐ์เพียงพอ
3.3 ภาพผลไม้เสมือนจริง ใช้กับน้ำผลไม้ เป็นต้น ที่ไม่ได้มีการประดิษฐ์เพียงพอ
3.4 ภาพสัตว์เสมือนจริง ใช้กับ น้ำยาสระขนสัตว์ อาหารสัตว์ เป็นต้น ที่ไม่ได้มีการประดิษฐ์เพียงพอ
3.5 ภาพโทรศัพท์เสมือนจริง ใช้กับ โทรศัพท์ เป็นต้น ที่ไม่ได้มีการประดิษฐ์เพียงพอ
3.6 ภาพกุ๊กเสมือนจริง ใช้กับ อาหาร ร้านอาหาร เป็นต้น ที่ไม่ได้มีการประดิษฐ์เพียงพอ
3.7 รูปหัวใจเลขาคณิต ใช้กับยารักษาโรคหัวใจ เป็นต้น ที่ไม่ได้มีการประดิษฐ์เพียงพอ
เป็นต้น
(เว้นแต่ภาพตาม 3.1-3.7 ต้องมีคำมาประกอบ เช่น ภาพตาม 3.1-3.7 + คำว่า นายฮ้อย ถ้าคำว่านายฮ้อยไม่ซ้ำ กฎหมายจะอนุญาตให้จดทะเบียน และ ทำการสละสิทธิภาพตาม 3.1-3.7)
4.เครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนโดยไม่สุจริต
เช่น นำคำว่า Honda หรือ นำเอาเครื่องหมายของบุคคลอื่นที่ไปจดทะเบียนไว้แล้ว (ลอกมา 100 %) ไปจดทะเบียนในอีกจำพวกหนึ่งที่แตกต่างกัน เช่น นำคำว่า Honda ไปจดทะเบียนใช้กับ ปุ๋ยเคมี ซึ่งไม่กระทบธุรกิจการขายรถยนต์ของ Honda แต่การกระทำนี้ถือว่าไม่สุจริต กฎหมายจะไม่ให้ความคุ้มครอง หรือ Starbuck กับ Starbung ไม่ได้ทำให้ประชาชนสับสนหลงผิด แต่ถือว่าการกระทำนี้ไม่สุจริต กฎหมายจะไม่ให้ความคุ้มครอง
4.1 เครื่องหมายการค้าที่มีชื่อเสียงแพร่หลาย เช่น Honda หากลอกมาทั้งหมดหรือเลียนมา ถือว่าไม่สุจริตและกฎหมายจะไม่ให้ความคุ้มครอง
4.2 เครื่องหมายการค้าที่ไม่มีชื่อเสียงแพร่หลาย คือไม่โด่งดัง ต้องลอกมา 100 % เท่านั้น จะถือว่าไม่สุจริตและกฎหมายจะไม่ให้ความคุ้มครอง
5. เครื่องหมายการค้าที่ขัดต่อกฎหมาย/ต้องห้ามไม่ให้รับจดทะเบียน
5.1 ชื่อทางภูมิศาสตร์ เช่น ชื่อประเทศ ชื่อจังหวัด ชื่อเมือง
5.2 ธงชาติ
5.3 ชื่อดารา หรือ คนที่มีชื่อเสียงโด่งดัง
5.4.ชื่อที่ไม่สุภาพ / ลามก
5.5 ชื่อที่ไปเกี่ยวข้องกับ ราชวงศ์ หรือ ชื่อทางราชการ องค์กรต่างๆ
5.6 ชื่อเครื่องหมายที่มีชื่อเสียงแพร่หลาย (well know Trademark) และ เป็นคำประดิษฐ์ เช่น Honda
เป็นต้น
6. เครื่องหมายที่มีชื่อเสียงแพร่หลาย (well know Trademark) แบ่งดังนี้
6.1 เครื่องหมายที่มีชื่อเสียงแพร่หลาย (well know Trademark) ที่ไม่ใช่คำประดิษฐ์ เช่น Apple(iphone)
สามารถใช้ซ้ำกันได้ แต่ต้องอยู่คนละรายการสินค้า และ ต้องไม่ใช้การลอกแบบมาจดทะเบียน เช่น นำคำว่า apply มาจดทะเบียนใช้กับสินค้า เครื่องดนตรี สามารถยื่นจดทะเบียนได้
6.2 เครื่องหมายที่มีชื่อเสียงแพร่หลาย (well know Trademark) ที่เป็นคำประดิษฐ์ขึ้น ไม่มีในพจนานุกรม เช่น Starbuck, Pepsi
ไม่สามารถใช้ซ้ำกันได้ ไม่ว่าจะอยู่ในรายการสินค้าไหนก็ตาม เช่น นำคำว่า Pepsi มาจดทะเบียนใช้กับสินค้า เครื่องดนตรี จะไม่สามารถยื่นจดทะเบียนได้ เป็นต้น
- ภาพลวดลายกล่องสินค้าที่สร้างสรรค์ จดได้ ถ้าลวดลายปกติ เช่น แถบสีคาดไปมา ลวดลายปกติอาจจะมีความแตกต่างก็จริง แต่ไม่ใช่งานสร้างสรรค์จดแจ้งลิขสิทธิ์ไม่ได้
- ภาพการ์ตูน จดได้
- งานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ใช้ซอสโค้ดจดแจ้งได้
- งานหนังสือ งานเขียน เพลงเนื้อร้อง ทำนองเพลง ต่างๆ จดได้
- ภาพงานประติมากรรม เช่น พระพิฆเนศที่สร้างสรรค์ใหม่ จดได้
โดยการยื่นจดแจ้งและรอการพิจารณาอนุมัติ ประมาณ 1 เดือน
ข้อมูลสำหรับ จดลิขสิทธิ์
- ชื่อ นามสกุล ที่อยู่ เบอร์ อีเมล ผู้ขอจดแจ้ง
- ชื่อผลงาน
- ภาพผลงาน เนื้อหา 5 หน้าแรก 5 หน้าสุดท้าย /ภาพถ่ายสินค้า / ซอสโค้ด 5 หน้าแรก 5 หน้าสุดท้าย เป็นต้น
- วัน เดือน ปีที่สร้างสรรค์
เอกสารที่ต้องใช้
- หนังสือมอบอำนาจ (ทางเราจัดทำให้)
- กรณีบริษัท : รับรองสำเนาหนังสือรับรองบริษัทฉบับจริงออกไม่เกิน 6 เดือน และ สำเนาบัตรกรรมการ
- กรณีบุคคลธรรมดา : รับรองสำเนาบัตร ปชช
บุคคลธรรมดา ลิขสิทธิ์คุ้มครอง 50 ปีนับจากวันที่เสียชีวิต (แนะนำ)
นิติบุคคล ลิขสิทธิ์คุ้มครอง 50 ปีนับจากวันสร้างสรรค์
ตอบข้อสงสัย : จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าทั่วโลก ตามพิธีสารมาดริด (Madrid Protocol) หรือการจดเครื่องหมายการค้าระบบมาดริดคืออะไร แบบอธิบายง่ายที่สุด
A.แบบรายประเทศ
Step 1
หากเราต้องการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าก็ต้องทำการติดต่อตัวแทนในประเทศปลายทางแยกรายประเทศ เช่น ต้องการยื่นจดทะเบียนในประเทศกัมพูชา ประเทศอเมริกา ประเทศเวียดนาม
ต้องติดต่อตัวแทนที่ ประเทศปลายทางทุกประเทศและทำเอกสารประเทศละ 1 ชุด เพื่อยื่นจดทะเบียน และ หน่วยงานเครื่องหมายการค้าของประเทศปลายทางก็จะทำการตรวจสอบความเหมือนคล้ายในฐานข้อมูลของตนเองและกฎหมายของตนเอง และ อนุมัติรับจดทะเบียน โดยปกติจะใช้เวลา 1 ปี และ อนุมัติคุ้มครอง 10 ปี ต่ออายุทุก 10 ปี
ซึ่งราคาการยื่นจดทะเบียนจะสูงเนื่องจากต้องเสีย (ค่าบริการตัวแทนในประเทศปลายทาง) + (ค่าธรรมเนียมราชการ)
การยื่นจดทะเบียนแบบรายประเทศจะไม่เกี่ยวกับคำขอในประเทศไทย
*************************************************************************************************
B.แบบพิธีสารมาดริด (Madrid Protocol)
ปัจจุบันมี 109 สมาชิก รวม 125 ประเทศ (สถานะ September 28, 2021)
ขั้นตอน
Step 1 ยื่นคำขอพื้นฐาน (basic application) ในประเทศไทย โดยแนะนำให้ยื่นจดทะเบียนให้คุ้มครองรายการสินค้าหลายรายการ
เช่น หากยื่นจดทะเบียน 1 รายการสินค้า เวลายื่นเข้าส่วนกลาง (สำนักงานกรมทรัพย์สินทางปัญญาภายในประเทศไทย) จะส่งคำขอไปยังประเทศปลายทางได้แค่ 1 รายการ
เช่น หากยื่นจดทะเบียน 100 รายการสินค้า เวลายื่นเข้าส่วนกลาง (สำนักงานกรมทรัพย์สินทางปัญญาภายในประเทศไทย) จะส่งคำขอไปยังประเทศปลายทางได้ 100 รายการ หรือ น้อยกว่า 100 รายการได้ แต่ต้องเลือกจาก 100 รายการที่ระบุเลือกไว้เท่านั้น
ขั้นตอนนี้ใช้เวลาเพียง 3-7 วันในการยื่นจดทะเบียนและนายทะเบียนจะพิจารณาอนุมัติประมาณ 10-20 เดือน (ระยะเวลาพิจารณาปกติภายในประเทศไทย ไม่มีอะไรพิเศษ)
Step 2 ผู้ขอนำเอาคำขอพื้นฐาน (basic application) ที่ยื่นจดทะเบียนใน Step 1 เข้าไปจดทะเบียนในส่วนกลาง (สำนักงานกรมทรัพย์สินภายในประเทศไทย)
การยื่นจดทะเบียนใน Step 2 คำขอพื้นฐาน (basic application) ไม่ว่าจะอยู่ระหว่างการพิจารณาตรวจสอบ หรือ อนุมัติรับจดทะเบียนแล้วก็สามารถยื่นจดทะเบียนได้
โดยจะเสียค่าธรรมเนียมแรกเข้า (basic fee) ประมาณ 30,000 บาท
โดยจะต้องเสียค่าธรรมเนียมรายประเทศ ประเทศละประมาณ 5,000-50,000 บาทไม่เท่ากัน (เฉลี่ยแล้วโดยรวมประเทศละประมาณ 8,000 บาท) โดยจะเสียตามประเทศที่เลือก เช่น เลือก 20 ประเทศจะเสียค่าธรรมเนียมรายประเทศ 160,000 บาท เป็นต้น รวม (basic fee) ประมาณ 30,000 บาท จะเสียไม่เกิน 200,000 บาท ** ยกตัวอย่าง ราคาจริงต้องคำนวณ
(A.แบบรายประเทศอาจจะเสียประเทศละประมาณ 20,000 รวม 20 ประเทศ ประมาณ 400,000 บาท) ** ยกตัวอย่าง ราคาจริงต้องคำนวณ
และทำการชำะเงินให้แก่ World Intellectual Property Organization (WIPO)
ขั้นตอนนี้ส่วนกลาง (สำนักงานกรมทรัพย์สินภายในประเทศไทย) ใช้เวลา 2-3 เดือนในการตรวจสอบคำขอและส่งคำขอไปยังหน่วยราชการของประเทศปลายทางทั้งหมดที่เลือก เช่น ส่งไปประเทศปลายทาง 20 ประเทศ (ไม่ผ่านตัวแทน (เอกชน) ของประเทศปลายทางส่วนนี้เองทำให้ราคายื่นจดทะเบียนถูกลง เป็นการส่งผ่านระหว่าง ราชการ-ราชการ)
**ระบบนี้ไม่ใช่คุ้มครองอัตโนมัติทั่วโลก ยังไงผู้ขอต้องเลือกประเทศ ไม่เลือกไม่ได้
Step 3 ประเทศปลายทางเมื่อได้รับคำขอทะเบียนก็จะทำการพิจารณาตรวจสอบความเหมือนคล้าย ตามฐานข้อมูลระบบเครื่องหมายการค้าในประเทศของตนเองตามปกติ ไม่ได้มีอะไรพิเศษ ดังนั้นการยื่นจดทะเบียนผ่านแล้วในประเทศไทย ไม่ได้หมายความว่าจะได้รับการอนุมัติในประเทศปลายทาง
ขั้นตอนนี้ประเทศปลายทางจะใช้เวลาตรวจสอบ 8-24 เดือน แล้วแต่ขั้นตอนในประเทศปลายทางของตนเองตามปกติ ไม่ได้มีอะไรพิเศษ
Step 4.1 หากคำขอตาม Step 3 ผ่านประเทศปลายทางก็จะทำการประกาศโฆษณาและอนุมัติคุ้มครอง 10 ปี (ต่ออายุได้ ทุก 10 ปี)
Step 4.2 หากคำขอตาม Step 3 ไม่ผ่าน เช่นมีการแก้ไขรายการสินค้า การสละสิทธิ ติดเหมือนคล้าย หรือ ติดบ่งเฉพาะ เป็นต้น ทางประเทศปลายทางจะแจ้งไปยัง (WIPO) และ (WIPO) จะแจ้งมายังผู้ขอจดทะเบียนโดยตรง การแจ้งจะแจ้งผ่านอีเมลเท่านั้น
ดังนั้น Step 4.2 หากต้องการยื่นอุทธรณ์ ยื่นโต้แย้ง ผู้ขอต้องทำการตั้งตัวแทน (เอกชน) ในประเทศปลายทาง ซึ่งต้องเสียค่าบริการให้กับตัวแทน (เอกชน) ในประเทศปลายทาง (เพราะผู้ขอไม่มีตัวแทนเนื่องจากคำขอถูกส่งระหว่าง ราชการไทย กับ ราชการประเทศปลายทาง ในครั้งแรก)
เมื่อยื่นอุทธรณ์ ยื่นโต้แย้ง ก็จะเข้าสู่ขั้นตอนการพิจาณาของประเทศปลายทางต่อไป ผลคือ ผ่าน/ไม่ผ่าน ถ้าผ่านกลับไปยัง Step 3
*โดยรวม B.แบบพิธีสารมาดริด (Madrid Protocol) ถือว่ามีราคาที่ประหยัดและสะดวก เป็นระบบทะเบียนเดียว ต่ออายุต่อครั้งเดียวได้ทุกประเทศ ซึ่งหากมีการยื่นจดทะเบียนหลายประเทศจะทำให้มีราคาที่ประหยัด แนะนำให้ใช้ระบบนี้
Madrid Member
- AF Afghanistan
- African intellectual property organization (oapi)
- AG Antigua and Barbuda
- AL Albania
- AM Armenia
- AT Austria
- AU Australia
- AZ Azerbaijan
- BA Bosnia and Herzegovina
- BG Bulgaria
- BH Bahrain
- BN Brunei
- BQ Bonaire, Saint Eustatius and Saba
- BR Brazil
- BT Bhutan
- BW Botswana
- BX Benelux
- BY Belarus
- CA Canada
- CH Switzerland
- CN China
- CO Colombia
- CU Cuba
- CW Curacao
- CY Cyprus
- CZ Czech Republic
- DE Germany
- DK Denmark
- DZ Algeria
- EE Estonia
- EG Egypt
- EM European Union
- ES Spain
- FI Finland
- FR France
- GB United Kingdom
- GE Georgia
- GH Ghana
- GM Gambia
- GR Greece
- HR Croatia
- HU Hungary
- ID Indonesia
- IE Ireland
- IL Israel
- IN India
- IR Iran
- IS Iceland
- IT Italy
- JP Japan
- KE Kenya
- KG Kyrgyzstan
- KH Cambodia
- KP North Korea
- KR South Korea
- KZ Kazakhstan
- LA Laos
- LI Liechtenstein
- LR Liberia
- LS Lesotho
- LT Lithuania
- LV Latvia
- MA Morocco
- MC Monaco
- MD Moldova
- ME Montenegro
- MG Madagascar
- MK Macedonia
- MN Mongolia
- MW Malawi
- MX Mexico
- MY Malaysia
- MZ Mozambique
- NA Namibia
- NO Norway
- NZ New Zealand
- OA African Intellectual Property Organization (OAPI)
- OM Oman
- PH Philippines
- PK Pakistan
- PL Poland
- PT Portugal
- RO Romania
- RS Serbia
- RU Russia
- RW Rwanda
- SD Sudan
- SE Sweden
- SG Singapore
- SI Slovenia
- SK Slovakia
- SL Sierra Leone
- SM San Marino
- ST Sao Tome and Principe
- SX Sint Maarten
- SY Syrian Arab Republic
- SZ Swaziland
- TJ Tajikistan
- TM Turkmenistan
- TN Tunisia
- TR Turkey
- TT Trinidad and Tobago
- UA Ukraine
- US United States of America
- UZ Uzbekistan
- VN Vietnam
- WS Samoa
- ZM Zambia
- ZW Zimbabwe
การจดสิทธิบัตรทั่วโลก คืออะไร
*** ข้อความนี้มีลิขสิทธิ์ที่ถูกเขียนขึ้นโดย TGC เท่านั้น
Step 1 ยื่นจดทะเบียนสิทธิบัตรแบบระบบสนธิสัญญาความร่วมมือด้านสิทธิบัตร (PCT) สํานักงานสิทธิบัตรในประเทศไทย (International Phase)
Step 2 สํานักงานสิทธิบัตรในประเทศไทย ส่งสิทธิบัตรไปตรวจสอบยัง องค์กรตรวจค้นระหว่างประเทศ (ISA) โดยองค์กรตรวจค้นระหว่างประเทศ (ISA) จะจัดทํารายงานผลการตรวจค้น ภายใน 16-18 เดือน (International Phase)
ค่าตรวจสอบ
บุคคลธรรมดาประมาณ 21,000 บาท
นิติบุคคลประมาณ 70,000 บาท
ผลรายงานผลการตรวจค้น
1.ผ่าน
2.ไม่ผ่าน
Step 3 หากผลผ่าน ยื่นจดทะเบียนสิทธิบัตรแบบระบบสนธิสัญญาความร่วมมือด้านสิทธิบัตร (PCT) ในสํานักงานสิทธิบัตรในประเทศปลายทาง เช่น ประเทศอเมริกา (Nation Phase) ประเทศกัมพูชา ประเทศแคนาดา เป็นต้น (คำขอในประเทศไทยจะยื่นก่อน Step 1 แล้ว)
ค่าธรรมเนียมดำเนินการรวมค่าบริการตัวแทนในประเทศปลายทางประมาณ
ก.โซนเอเซีย 50,000-100,000 บาท (ต่อประเทศ โดยประมาณ)
ข.โซนนอกเอเซีย 100,000-200,000 บาท (ต่อประเทศ โดยประมาณ)
ขั้นตอนการพิจารณาของสํานักงานสิทธิบัตรในประเทศปลายทาง (Nation Phase)
1.ยื่นจดทะเบียน
2.ประกาศโฆษณา
3.ร้องขอให้ตรวจสอบการประดิษฐ์
4.อนุมัติรับจดทะเบียน (คุ้มครอง 20 ปี)
ระยะเวลาพิจารณา 2-4 ปี
หมายเหตุ
PCT ย่อมาจาก Patent Cooperation Treaty เป็นความตกลงระหว่างประเทศสำหรับการขอรับความคุ้มครองการประดิษฐ์ในประเทศที่เป็นสมาชิก เพื่ออำนวยความสะดวก และลดภาระของผู้ขอรับสิทธิบัตร แทนที่จะต้องไปยื่นคำขอรับสิทธิบัตรในประเทศต่าง ๆ แต่ละประเทศที่ผู้ขอประสงค์จะขอรับความคุ้มครอง โดยสามารถที่จะยื่นคำขอที่สำนักงานสิทธิบัตรภายในประเทศ ของตน สำนักงานสิทธิบัตรก็จะส่งคำขอไปดำเนินการตามขั้นตอนของระบบ PCTที่องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (WIPO)
ระบบ PCT นี้ไม่ได้เป็นระบบการรับจดทะเบียนสิทธิบัตรที่จะส่งผลให้ประเทศที่เป็นสมาชิกต้องรับจดทะเบียนตามไปด้วย เนื่องจาก ระบบ PCT จะมีการดำเนินการในขั้นตอนต้น ๆ ของการขอรับสิทธิบัตรเท่านั้น ไม่มีการรับจดทะเบียนแต่อย่างใด การรับจดทะเบียนสิทธิบัตร PCT เป็นอำนาจอธิปไตยของแต่ละประเทศที่ผู้ขอประสงค์จะขอความคุ้มครอง ซึ่งจะมีการตรวจสอบตามขั้นตอนและเงื่อนไขของกฎหมายภายในประเทศนั้น ๆ ก่อนรับจดทะเบียนสิทธิบัตรต่อไป ซึ่งประเทศไทยสมัครเข้าเป็นภาคีสนธิสัญญาความร่วมมือด้านสิทธิบัตร เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2552 ถือเป็นสมาชิกลำดับที่ 142
- ก.เครื่องหมายการค้า หรือ ภาษาอังกฤษคือ Trademark ซึ่งเป็นคำทางการตามกฎหมายและมีความหมายเดียวกัน
- ข.โลโก้ แบรนด์ ยี่ห้อ กับ เครื่องหมายการค้า เป็นความหมายเดียวกันแต่ โลโก้ แบรนด์ ยี่ห้อ เป็นคำที่ไม่เป็นทางการ
- ค.โลโก้เรามักจะสื่อถึงภาพ เช่น ภาพนางเงือก
- ง.แบรนด์ ยี่ห้อ มักจะสื่อถึงเสียงเรียกขาน สตาร์บัคส์ (Starbucks)
- จ.เมื่อ ภาพนางเงือก+สตาร์บัคส์ (Starbucks) เราหมายถึงทั้งก้อนของเครื่องหมายการค้าที่รวมกันและจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้าทั้งก้อนนี้ ที่เราเรียกว่า เครื่องหมายการค้า (Trademark)