การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารูปร่างรูปทรงของวัตถุสอง-มิติ (2-dimensions) และ สาม-มิติ (3-dimensions) : ศึกษากรณี รูปทรงขวดของ เดอะ โคคา โคล่า คัมปนี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 630/2551

การรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ามีหลักเกณฑ์ โดยสรุปคือต้องมีลักษณะบ่งเฉพาะ และไม่เป็นเครื่องหมายการค้าที่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่จดทะเบียนไว้แล้ว ในมาตรา 7 วรรคสอง มีหลักเกณฑ์ว่า (6) ภาพที่ประดิษฐ์ขึ้นให้ถือว่ามีลักษณะบ่งเฉพาะ เมื่อพิเคราะห์เครื่องหมายการค้า “รูปขวด” ของโจทก์ที่ขอจดทะเบียนที่มีลักษณะบ่งเฉพาะพิเศษโดยมีส่วนเว้า ส่วนนูน และโดยเฉพาะอย่างยิ่งมีลวดลายเป็นจุดที่เว้าลึกรอบขวดในระยะที่ห่างเท่ากันแล้ว เห็นว่า รูปขวดของโจทก์มีลักษณะไม่เหมือนรูปขวดทั่วไป แต่เป็นภาพที่ประดิษฐ์ขึ้นตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 7 วรรคสอง (6) ซึ่งถือได้ว่าเป็นเครื่องหมายการค้าที่มีลักษณะบ่งเฉพาะในตัวเองที่ทำให้ประชาชนผู้ใช้สินค้าทราบและเข้าใจได้ว่า สินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์นั้นแตกต่างไปจากสินค้าอื่น เครื่องหมายการค้ารูปขวดของโจทก์จึงเป็นเครื่องหมายการค้าที่มีลักษณะบ่งเฉพาะตามมาตรา 7 ตามคำนิยามใหม่ในบทบัญญัติมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2543 ซึ่งให้คำนิยามคำว่าเครื่องหมายหมายความรวมถึง “…รูปร่างหรือรูปทรงของวัตถุ…” ดังนั้นรูปร่างรูปทรงจึงมีความหมายรวมถึง 2-dimensions สอง-มิติ เกิดจากการเขียนภาพ บนกระดาษ ในแนวตั้ง และแนวนอน โดยภาพจะเป็นแค่ด้านกว้างและยาว 3-dimensions สาม-มิติ เกิดจากการเขียนภาพ ด้วยการใช้คอมพิวเตอร์สร้างขึ้นมา และเพิ่มเติมมิติที่สามเข้ามา คือ “แนวลึก” รูปร่างรูปทรงของวัตถุจึงสามารถนำมาจดทะเบียนได้แต่ต้องแสดงให้เห็นถึงลักษณะเฉพาะ ซึ่งเป็นหลักเกณฑ์พื้นฐานเบื้องต้น (prima facie) ที่จะต้องมีจึงจะมีการรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าได้ ลักษณะบ่งเฉพาะ (distinctive character) อาจกล่าวได้ว่า หมายถึงความเด่นความมีลักษณะพิเศษ ลักษณะเฉพาะของเครื่องหมายการค้า ซึ่งย่อมแตกต่างหรือตรงกันข้ามกับลักษณะสามัญธรรมดา (generic) ตลอดจนไม่เป็นการพรรณนาหรือเล็งลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้า (descriptive or suggestive)
คำพิพากษาของศาลไม่ได้วิเคราะห์ไปถึงเรื่องเครื่องหมายการค้า 3-dimensions สาม-มิติ อย่างชัดเจน ซึ่งไม่ว่าจะด้วยวัตถุประสงค์ใด การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า 3-dimensions สาม-มิติ ก็ยังเป็นอุปสรรคสำหรับกรมทรัพย์สินทางปัญญาในการจัดการกับประเภทของโปรแกรมนี้ รวมถึงรูปแบบของใบคำขอจดทะเบียนที่ต้องมีความแตกต่างจากเดิม และ ครอบคลุมถึงความต้องการที่จะจดทะเบียนแบบ3-dimensions สาม-มิติ ด้วย ถ้าเป็นเช่นนั้นกรมทรัพย์สินทางปัญญาจำเป็นต้องใช้เครื่องหมายที่จะแสดงในหลายมุมมอง หลายปัญหาที่มีอยู่ในกระบวนการในการลงทะเบียนเครื่องหมาย3-dimensions สาม-มิติ จะต้องได้รับการแก้ไข

แอดไลน์ การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารูปร่างรูปทรงของวัตถุสอง-มิติ (2-dimensions) และ สาม-มิติ (3-dimensions) : ศึกษากรณี รูปทรงขวดของ เดอะ โคคา โคล่า คัมปนี

การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารูปร่างรูปทรงของวัตถุสอง-มิติ (2-dimensions) และ สาม-มิติ (3-dimensions) : ศึกษากรณี รูปทรงขวดของ เดอะ โคคา โคล่า คัมปนี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 630/2551

การรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ามีหลักเกณฑ์ โดยสรุปคือต้องมีลักษณะบ่งเฉพาะ และไม่เป็นเครื่องหมายการค้าที่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่จดทะเบียนไว้แล้ว ในมาตรา 7 วรรคสอง มีหลักเกณฑ์ว่า (6) ภาพที่ประดิษฐ์ขึ้นให้ถือว่ามีลักษณะบ่งเฉพาะ เมื่อพิเคราะห์เครื่องหมายการค้า “รูปขวด” ของโจทก์ที่ขอจดทะเบียนที่มีลักษณะบ่งเฉพาะพิเศษโดยมีส่วนเว้า ส่วนนูน และโดยเฉพาะอย่างยิ่งมีลวดลายเป็นจุดที่เว้าลึกรอบขวดในระยะที่ห่างเท่ากันแล้ว เห็นว่า รูปขวดของโจทก์มีลักษณะไม่เหมือนรูปขวดทั่วไป แต่เป็นภาพที่ประดิษฐ์ขึ้นตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 7 วรรคสอง (6) ซึ่งถือได้ว่าเป็นเครื่องหมายการค้าที่มีลักษณะบ่งเฉพาะในตัวเองที่ทำให้ประชาชนผู้ใช้สินค้าทราบและเข้าใจได้ว่า สินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์นั้นแตกต่างไปจากสินค้าอื่น เครื่องหมายการค้ารูปขวดของโจทก์จึงเป็นเครื่องหมายการค้าที่มีลักษณะบ่งเฉพาะตามมาตรา 7 ตามคำนิยามใหม่ในบทบัญญัติมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2543 ซึ่งให้คำนิยามคำว่าเครื่องหมายหมายความรวมถึง “…รูปร่างหรือรูปทรงของวัตถุ…” ดังนั้นรูปร่างรูปทรงจึงมีความหมายรวมถึง 2-dimensions สอง-มิติ เกิดจากการเขียนภาพ บนกระดาษ ในแนวตั้ง และแนวนอน โดยภาพจะเป็นแค่ด้านกว้างและยาว 3-dimensions สาม-มิติ เกิดจากการเขียนภาพ ด้วยการใช้คอมพิวเตอร์สร้างขึ้นมา และเพิ่มเติมมิติที่สามเข้ามา คือ “แนวลึก” รูปร่างรูปทรงของวัตถุจึงสามารถนำมาจดทะเบียนได้แต่ต้องแสดงให้เห็นถึงลักษณะเฉพาะ ซึ่งเป็นหลักเกณฑ์พื้นฐานเบื้องต้น (prima facie) ที่จะต้องมีจึงจะมีการรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าได้ ลักษณะบ่งเฉพาะ (distinctive character) อาจกล่าวได้ว่า หมายถึงความเด่นความมีลักษณะพิเศษ ลักษณะเฉพาะของเครื่องหมายการค้า ซึ่งย่อมแตกต่างหรือตรงกันข้ามกับลักษณะสามัญธรรมดา (generic) ตลอดจนไม่เป็นการพรรณนาหรือเล็งลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้า (descriptive or suggestive)
คำพิพากษาของศาลไม่ได้วิเคราะห์ไปถึงเรื่องเครื่องหมายการค้า 3-dimensions สาม-มิติ อย่างชัดเจน ซึ่งไม่ว่าจะด้วยวัตถุประสงค์ใด การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า 3-dimensions สาม-มิติ ก็ยังเป็นอุปสรรคสำหรับกรมทรัพย์สินทางปัญญาในการจัดการกับประเภทของโปรแกรมนี้ รวมถึงรูปแบบของใบคำขอจดทะเบียนที่ต้องมีความแตกต่างจากเดิม และ ครอบคลุมถึงความต้องการที่จะจดทะเบียนแบบ3-dimensions สาม-มิติ ด้วย ถ้าเป็นเช่นนั้นกรมทรัพย์สินทางปัญญาจำเป็นต้องใช้เครื่องหมายที่จะแสดงในหลายมุมมอง หลายปัญหาที่มีอยู่ในกระบวนการในการลงทะเบียนเครื่องหมาย3-dimensions สาม-มิติ จะต้องได้รับการแก้ไข

แอดไลน์