31
May2025

ความแตกต่างระหว่าง มอก.กับ อย.และวิธีพิจารณาสินค้าในเบื้องต้น

 

มอก.คือ มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม

อย. คือ อาหารและยา

สิ่งที่เหมือนกันคือ : รัฐต้องการควบคุมสินค้าและบริการให้เป็นไปตามมาตราฐานเพื่อความปลอดภัยสำหรับบุคคล

ความแตกต่าง : การพิจารณาว่าสินค้านั้นเข้าข่ายที่ต้องจดมอก.หรือ จดอย. แยกง่ายๆ ดังนี้

  • สินค้าที่ต้องจดอย. คือ สินค้าที่เข้าร่างกายหรือสัมผัสร่างกาย ต้องจดอย. เช่น อาหาร ยา เครื่องมือแพทย์ ที่ทานหรือดมเข้าไป หรือ เข้าไปในร่างกาย เช่น เครื่องมือผ่าตัด ยารักษาโรค ครีมบำรุงผิว เครื่องนวด เป็นต้น
  • สินค้าที่ต้องจดมอก.คือสินค้าที่ใช้ไฟฟ้าและส่วนใหญ่ใช้ในครัวเรือน หรือ เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในครัวเรือน และ ใช้กันแพร่หลาย เช่น เครื่องเป่าผม ตู้เย็น ทีวี ยางรถยนต์ ภาชนะสัมผัสอาหาร ที่ไม่เข้าร่างกายหรือสัมผัสร่างกาย ยกเว้น เครื่องนวด เป็นต้น
  • สินค้าที่ต้องจดอย.และ สินค้าที่ต้องจดมอก. พร้อมกัน 2 อย่างคือ เครื่องนวด เป็นต้น (ปัจจุบันกำลังแก้กฎหมายให้ติดแค่อย่างเดียวแต่ยังไม่มีผลบังคับใช้)
  • สินค้าที่ไม่ต้องจดอย.และ จดมอก. คือ เช่น เครื่องจักรใช้ไฟฟ้าแต่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม เนื่องจากไม่ได้ใช้ในครัวเรือนและมีผู้เชี่ยวชาญควบคุม อาหารสด เช่น ขนมครกทำสด น้ำผลไม้คั้นสด เนื่องจากมีอายุสั้น เป็นต้น

มอก.คือ มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม

หน่วยงานที่่เกี่ยวข้อง สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม

เว็บไซต์ www.tisi.go.th

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

พระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ.๒๕๑๑ และกฎกระทรวงออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ.๒๕๑๑

มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้
มาตรฐาน หมายความว่า ข้อกำหนดรายการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างเกี่ยวกับ
(๑) จำพวก แบบ รูปร่าง มิติ การทำ เครื่องประกอบคุณภาพ ชั้น ส่วนประกอบ
ความสามารถ ความทนทาน และความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
(๒) วิธีทำ วิธีออกแบบ วิธีเขียนรูป วิธีใช้ วัตถุที่จะนำมาทำผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
และความปลอดภัยอันเกี่ยวกับการทำผลิตภัณฑ์อตสาหกรรม
(๓) จำพวก แบบ รูปร่าง มิติของหีบห่อหรือสิ่งบรรจุชนิดอื่น รวมตลอดถึงการทำ
หีบห่อหรือสิ่งบรรจุชนิดอื่น วิธีการบรรจุ หุ้มห่อหรือผูกมัด และวัตถุที่ใช้ในการนั้นด้วย
(๔) วิธีทดลอง วิธีวิเคราะห์ วิธีเปรียบเทียบ วิธีตรวจ วิธีทดสอบ และวิธีชั่ง ตวง วัด
อันเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
(๕) คำเฉพาะ คำย่อ สัญลักษณ์ เครื่องหมาย สีเลขหมาย และหน่วยที่ใช้ในทาง
วิชาการอันเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม

อย. คือ อาหารและยา

หน่วยงานที่่เกี่ยวข้อง สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข

เว็บไซต์ www.fda.moph.go.th

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

อาหาร (พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522)
ยา (พระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510)
เครื่องสำอาง (พระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ. 2558)
วัตถุอันตราย (พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535)
วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท (พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518)
ยาเสพติดให้โทษ (พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522)
เครื่องมือแพทย์ (พระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ พ.ศ. 2531)
สารระเหย (พระราชกำหนดป้องกันการใช้สารระเหย พ.ศ. 2533)
สมุนไพร (พระราชบัญญัติผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ. 2562)

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

[/vc_column][/vc_row]

แอดไลน์ ความแตกต่างระหว่าง มอก.กับ อย.และวิธีพิจารณาสินค้าในเบื้องต้น
31
May2025

ความแตกต่างระหว่าง มอก.กับ อย.และวิธีพิจารณาสินค้าในเบื้องต้น

 

มอก.คือ มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม

อย. คือ อาหารและยา

สิ่งที่เหมือนกันคือ : รัฐต้องการควบคุมสินค้าและบริการให้เป็นไปตามมาตราฐานเพื่อความปลอดภัยสำหรับบุคคล

ความแตกต่าง : การพิจารณาว่าสินค้านั้นเข้าข่ายที่ต้องจดมอก.หรือ จดอย. แยกง่ายๆ ดังนี้

  • สินค้าที่ต้องจดอย. คือ สินค้าที่เข้าร่างกายหรือสัมผัสร่างกาย ต้องจดอย. เช่น อาหาร ยา เครื่องมือแพทย์ ที่ทานหรือดมเข้าไป หรือ เข้าไปในร่างกาย เช่น เครื่องมือผ่าตัด ยารักษาโรค ครีมบำรุงผิว เครื่องนวด เป็นต้น
  • สินค้าที่ต้องจดมอก.คือสินค้าที่ใช้ไฟฟ้าและส่วนใหญ่ใช้ในครัวเรือน หรือ เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในครัวเรือน และ ใช้กันแพร่หลาย เช่น เครื่องเป่าผม ตู้เย็น ทีวี ยางรถยนต์ ภาชนะสัมผัสอาหาร ที่ไม่เข้าร่างกายหรือสัมผัสร่างกาย ยกเว้น เครื่องนวด เป็นต้น
  • สินค้าที่ต้องจดอย.และ สินค้าที่ต้องจดมอก. พร้อมกัน 2 อย่างคือ เครื่องนวด เป็นต้น (ปัจจุบันกำลังแก้กฎหมายให้ติดแค่อย่างเดียวแต่ยังไม่มีผลบังคับใช้)
  • สินค้าที่ไม่ต้องจดอย.และ จดมอก. คือ เช่น เครื่องจักรใช้ไฟฟ้าแต่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม เนื่องจากไม่ได้ใช้ในครัวเรือนและมีผู้เชี่ยวชาญควบคุม อาหารสด เช่น ขนมครกทำสด น้ำผลไม้คั้นสด เนื่องจากมีอายุสั้น เป็นต้น

มอก.คือ มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม

หน่วยงานที่่เกี่ยวข้อง สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม

เว็บไซต์ www.tisi.go.th

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

พระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ.๒๕๑๑ และกฎกระทรวงออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ.๒๕๑๑

มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้
มาตรฐาน หมายความว่า ข้อกำหนดรายการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างเกี่ยวกับ
(๑) จำพวก แบบ รูปร่าง มิติ การทำ เครื่องประกอบคุณภาพ ชั้น ส่วนประกอบ
ความสามารถ ความทนทาน และความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
(๒) วิธีทำ วิธีออกแบบ วิธีเขียนรูป วิธีใช้ วัตถุที่จะนำมาทำผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
และความปลอดภัยอันเกี่ยวกับการทำผลิตภัณฑ์อตสาหกรรม
(๓) จำพวก แบบ รูปร่าง มิติของหีบห่อหรือสิ่งบรรจุชนิดอื่น รวมตลอดถึงการทำ
หีบห่อหรือสิ่งบรรจุชนิดอื่น วิธีการบรรจุ หุ้มห่อหรือผูกมัด และวัตถุที่ใช้ในการนั้นด้วย
(๔) วิธีทดลอง วิธีวิเคราะห์ วิธีเปรียบเทียบ วิธีตรวจ วิธีทดสอบ และวิธีชั่ง ตวง วัด
อันเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
(๕) คำเฉพาะ คำย่อ สัญลักษณ์ เครื่องหมาย สีเลขหมาย และหน่วยที่ใช้ในทาง
วิชาการอันเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม

อย. คือ อาหารและยา

หน่วยงานที่่เกี่ยวข้อง สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข

เว็บไซต์ www.fda.moph.go.th

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

อาหาร (พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522)
ยา (พระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510)
เครื่องสำอาง (พระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ. 2558)
วัตถุอันตราย (พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535)
วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท (พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518)
ยาเสพติดให้โทษ (พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522)
เครื่องมือแพทย์ (พระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ พ.ศ. 2531)
สารระเหย (พระราชกำหนดป้องกันการใช้สารระเหย พ.ศ. 2533)
สมุนไพร (พระราชบัญญัติผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ. 2562)

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

[/vc_column][/vc_row]

แอดไลน์