การป้องปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา

17
Mar2018

ตาม พระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. ๒๕๒๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ. สิทธิบัตร (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๒ ระบุไว้ดังนี้
มาตรา ๓๖ ผู้ทรงสิทธิบัตรเท่านั้นมีสิทธิดังต่อไปนี้
(๑) ในกรณีสิทธิบัตรผลิตภัณฑ์ สิทธิในการผลิต ใช้ ขาย มีไว้เพื่อขาย เสนอขายหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตร
มาตรา ๘๕ บุคคลใดกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งตามมาตรา ๓๖ หรือมาตรา ๖๓ โดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ทรงสิทธิบัตร ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกิน สี่แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
การกระทำที่ฝ่าฝืนกฎหมายข้างต้นย่อมมีความผิดตามกฎหมาย ดังนั้นเมื่อบุคคลถูกจับกุม มีข้อพิจารณาดังนี้
(1) กรณีถูกดำเนินคดีอาญา ผู้ถูกจับย่อมมีสิทธิ์ตามกฎหมายที่จะขอตรวจดูเอกสารต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการกระทำใด ๆ อันกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของตนเอง
(2) การค้นในที่รโหฐานจะต้องมีคำสั่งหรือหมายศาล มาแสดงก่อนจึงจะทำการค้น
(3) ของกลางในคดีละเมิดลิขสิทธิ์ที่ถูกยึดหรืออายัด คือ เครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ใช้ในการกระทำความผิดเท่านั้น เช่น คอมพิวเตอร์ที่บันทึกเพลงละเมิดลิขสิทธิ์ เป็นต้น
(4) กรณีตกเป็นผู้ต้องหาย่อมมีสิทธิ์ ดังนี้
ก. สิทธิ์พบและปรึกษาผู้ที่จะเป็นทนายความสองต่อสอง
ข. สิทธิ์ได้รับการเยี่ยมตามสมควร
ค. สิทธิ์ได้รับการรักษาพยาบาล โดยเร็วเมื่อเกิดอาการเจ็บป่วย
ง. สิทธิ์ขอทราบข้อกล่าวหาในการกระทำความผิด เนื่องจากบุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมายและได้รับการความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกันโดยไม่เลือกปฏิบัติ
(5) การประกันตัวผู้ต้องหา หลักฐานที่ต้องนำมาใช้ในการประกันตัวผู้ต้องหา คือ โฉนด ที่ดิน เงินสด หรือบุคคลที่เป็นข้าราชการพลเรือนตำแหน่งระดับ 6 ขึ้นไป กรณีนี้คณะรัฐมนตรีได้มีมติ เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2546 ให้ถือปฏิบัติห้ามไม่ให้ข้าราชการประกันตัวผู้ต้องหาในคดีละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา

ข้อมูล : กรมทรัพย์สินทางปัญญา

แอดไลน์ การป้องปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา

การป้องปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา

17
Mar2018

ตาม พระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. ๒๕๒๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ. สิทธิบัตร (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๒ ระบุไว้ดังนี้
มาตรา ๓๖ ผู้ทรงสิทธิบัตรเท่านั้นมีสิทธิดังต่อไปนี้
(๑) ในกรณีสิทธิบัตรผลิตภัณฑ์ สิทธิในการผลิต ใช้ ขาย มีไว้เพื่อขาย เสนอขายหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตร
มาตรา ๘๕ บุคคลใดกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งตามมาตรา ๓๖ หรือมาตรา ๖๓ โดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ทรงสิทธิบัตร ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกิน สี่แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
การกระทำที่ฝ่าฝืนกฎหมายข้างต้นย่อมมีความผิดตามกฎหมาย ดังนั้นเมื่อบุคคลถูกจับกุม มีข้อพิจารณาดังนี้
(1) กรณีถูกดำเนินคดีอาญา ผู้ถูกจับย่อมมีสิทธิ์ตามกฎหมายที่จะขอตรวจดูเอกสารต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการกระทำใด ๆ อันกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของตนเอง
(2) การค้นในที่รโหฐานจะต้องมีคำสั่งหรือหมายศาล มาแสดงก่อนจึงจะทำการค้น
(3) ของกลางในคดีละเมิดลิขสิทธิ์ที่ถูกยึดหรืออายัด คือ เครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ใช้ในการกระทำความผิดเท่านั้น เช่น คอมพิวเตอร์ที่บันทึกเพลงละเมิดลิขสิทธิ์ เป็นต้น
(4) กรณีตกเป็นผู้ต้องหาย่อมมีสิทธิ์ ดังนี้
ก. สิทธิ์พบและปรึกษาผู้ที่จะเป็นทนายความสองต่อสอง
ข. สิทธิ์ได้รับการเยี่ยมตามสมควร
ค. สิทธิ์ได้รับการรักษาพยาบาล โดยเร็วเมื่อเกิดอาการเจ็บป่วย
ง. สิทธิ์ขอทราบข้อกล่าวหาในการกระทำความผิด เนื่องจากบุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมายและได้รับการความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกันโดยไม่เลือกปฏิบัติ
(5) การประกันตัวผู้ต้องหา หลักฐานที่ต้องนำมาใช้ในการประกันตัวผู้ต้องหา คือ โฉนด ที่ดิน เงินสด หรือบุคคลที่เป็นข้าราชการพลเรือนตำแหน่งระดับ 6 ขึ้นไป กรณีนี้คณะรัฐมนตรีได้มีมติ เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2546 ให้ถือปฏิบัติห้ามไม่ให้ข้าราชการประกันตัวผู้ต้องหาในคดีละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา

ข้อมูล : กรมทรัพย์สินทางปัญญา

แอดไลน์