โดยทั่วไปแล้ว กฎหมายลิขสิทธิ์ของไทยให้ความคุ้มครองงานอันมีลิขสิทธิ์ตลอดอายุของผู้สร้างสรรค์กับอีก ๕๐ ปี นับแต่ผู้สร้างสรรค์ถึงแก่ความตาย ส่วนกรณีที่นิติบุคคลเป็นเจ้าของงานอันมีลิขสิทธิ์ งานอันมีลิขสิทธิ์นั้นก็จะได้รับความคุ้มครองเป็นระยะเวลา ๕๐ ปี นับแต่ที่ได้สร้างสรรค์หรือเมื่อมีการนำงานนั้นออกโฆษณาครั้งแรก หลักการเช่นนี้ถือได้ว่าสอดคล้องกับมาตรฐานขั้นต่ำที่กำหนดไว้ในความตกลงทริปส์ แต่ความตกลงการค้าเสรีได้กำหนดให้ประเทศคู่ค้าต้องให้ความคุ้มครองลิขสิทธิ์ตลอดอายุของผู้สร้างสรรค์กับอีก ๗๐ ปี นับแต่ผู้สร้างสรรค์ถึงแก่ความตาย และกรณีที่ผู้สร้างสรรค์เป็นนิติบุคคล อายุการคุ้มครองต้องไม่น้อยกว่า ๗๐ ปี ในปัจจุบัน ประเทศที่พัฒนาแล้วหลายประเทศได้ให้ความคุ้มครองงานอันมีลิขสิทธิ์ตลอดอายุของผู้สร้างสรรค์กับอีก ๗๐ ปี นับแต่ผู้สร้างสรรค์ถึงแก่ความตาย และประเทศที่พัฒนาแล้วเหล่านี้ต้องการให้ประเทศกำลังพัฒนากำหนดอายุการคุ้มครองงานอันมีลิขสิทธิ์ในระยะเวลา ที่เท่ากันด้วย ผู้ที่สนับสนุนแนวคิดนี้ให้ความเห็นว่าการกำหนดให้อายุการคุ้มครองลิขสิทธิ์มีความสอดคล้องกันจะเป็นการสะดวกแก่การบริหารจัดการการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ขององค์กรจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ (Collecting Societies) แต่ฝ่ายที่โต้แย้งกลับเห็นว่า การขยายอายุการคุ้มครองลิขสิทธิ์ออกไปจะไม่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่สังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อการศึกษาวิจัยผลงานอันมีลิขสิทธิ์นั้น

สำหรับประเทศสหรัฐนั้น เดิมงานอันมีลิขสิทธิ์มีอายุการคุ้มครองตลอดอายุของผู้สร้างสรรค์และอีก ๕๐ ปีเท่านั้น ต่อมาในปี ค.ศ. ๑๙๙๘ ได้ออกกฎหมายฉบับหนึ่งเรียกว่า “Sonny Bono Copyright Term Extension Act 1998” โดยกฎหมายฉบับนี้ได้ขยายอายุการคุ้มครองลิขสิทธิ์ออกไปอีก ๒๐ ปี เหตุผลสำคัญของการออกกฎหมายฉบับนี้ก็คือต้องการที่จะขยายอายุการคุ้มครองตัวการ์ตูน “มิคกี้เม้าส์” (Mickey Mouse) อันเป็นลิขสิทธิ์ของบริษัทวอลต์ดิสนีย์ที่จะหมดอายุการคุ้มครองลงในปี ค.ศ. ๒๐๐๓ ดังนั้นหากไม่มีกฎหมายฉบับนี้ ตัวการ์ตูนมิคกี้เม้าส์ก็จะหมดอายุการคุ้มครองลงแล้วในประเทศสหรัฐ กฎหมายฉบับนี้จึงถูกเรียกว่า “กฎหมายมิคกี้เม้าส์” (Mickey Mouse Act)
ในปี ค.ศ. ๒๐๐๓ ศาลสูงสุด (Supreme Court) ของสหรัฐได้มีโอกาสพิจารณาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมายดังกล่าวข้างต้นในคดี Eldred v Ashcroft โดยในคดีนี้นาย Eldred ซึ่งเป็นผู้ที่มักจะนำงานอันมีลิขสิทธิ์ที่หมดอายุการคุ้มครองแล้วมาเผยแพร่ทางอินเทอร์เน็ตเพื่อประโยชน์แก่สาธารณชนได้ยื่นฟ้องต่อศาลสหรัฐกล่าวหาว่ากฎหมายดังกล่าวไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญของสหรัฐที่ให้การคุ้มครองงานอันมีลิขสิทธิ์ในระยะเวลาอันจำกัดและขัดขวางต่อสิทธิในการแสดงความคิดเห็น (Freedom of Expression) แม้ว่าผลสุดท้ายคดีนี้ศาลสูงสุดของสหรัฐจะมีคำพิพากษาด้วยคะแนนเสียง ๗ ต่อ ๒ ว่า รัฐสภามีอำนาจออกกฎหมายขยายอายุการคุ้มครองงานอันมีลิขสิทธิ์ได้ แต่ก็ได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับอำนาจผูกขาดของเจ้าของลิขสิทธิ์และผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับการศึกษาวิจัยงานสร้างสรรค์นั้นของสาธารณชน หลังจากศาลมีคำพิพากษาฉบับนี้ ก็ยังมีการโต้แย้งความชอบด้วยกฎหมายของกฎหมายดังกล่าวอีกหลายประเด็น ทั้งนี้ก็เนื่องจากความกังวลว่าการขยายอายุการคุ้มครองลิขสิทธิ์จะเป็นอุปสรรคต่อการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและการศึกษาวิจัยโดยรวม

ข้อมูล : นันทน อินนนท์

แอดไลน์ กฎหมายมิคกี้เม้าส์ (Mickey Mouse Act)

โดยทั่วไปแล้ว กฎหมายลิขสิทธิ์ของไทยให้ความคุ้มครองงานอันมีลิขสิทธิ์ตลอดอายุของผู้สร้างสรรค์กับอีก ๕๐ ปี นับแต่ผู้สร้างสรรค์ถึงแก่ความตาย ส่วนกรณีที่นิติบุคคลเป็นเจ้าของงานอันมีลิขสิทธิ์ งานอันมีลิขสิทธิ์นั้นก็จะได้รับความคุ้มครองเป็นระยะเวลา ๕๐ ปี นับแต่ที่ได้สร้างสรรค์หรือเมื่อมีการนำงานนั้นออกโฆษณาครั้งแรก หลักการเช่นนี้ถือได้ว่าสอดคล้องกับมาตรฐานขั้นต่ำที่กำหนดไว้ในความตกลงทริปส์ แต่ความตกลงการค้าเสรีได้กำหนดให้ประเทศคู่ค้าต้องให้ความคุ้มครองลิขสิทธิ์ตลอดอายุของผู้สร้างสรรค์กับอีก ๗๐ ปี นับแต่ผู้สร้างสรรค์ถึงแก่ความตาย และกรณีที่ผู้สร้างสรรค์เป็นนิติบุคคล อายุการคุ้มครองต้องไม่น้อยกว่า ๗๐ ปี ในปัจจุบัน ประเทศที่พัฒนาแล้วหลายประเทศได้ให้ความคุ้มครองงานอันมีลิขสิทธิ์ตลอดอายุของผู้สร้างสรรค์กับอีก ๗๐ ปี นับแต่ผู้สร้างสรรค์ถึงแก่ความตาย และประเทศที่พัฒนาแล้วเหล่านี้ต้องการให้ประเทศกำลังพัฒนากำหนดอายุการคุ้มครองงานอันมีลิขสิทธิ์ในระยะเวลา ที่เท่ากันด้วย ผู้ที่สนับสนุนแนวคิดนี้ให้ความเห็นว่าการกำหนดให้อายุการคุ้มครองลิขสิทธิ์มีความสอดคล้องกันจะเป็นการสะดวกแก่การบริหารจัดการการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ขององค์กรจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ (Collecting Societies) แต่ฝ่ายที่โต้แย้งกลับเห็นว่า การขยายอายุการคุ้มครองลิขสิทธิ์ออกไปจะไม่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่สังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อการศึกษาวิจัยผลงานอันมีลิขสิทธิ์นั้น

สำหรับประเทศสหรัฐนั้น เดิมงานอันมีลิขสิทธิ์มีอายุการคุ้มครองตลอดอายุของผู้สร้างสรรค์และอีก ๕๐ ปีเท่านั้น ต่อมาในปี ค.ศ. ๑๙๙๘ ได้ออกกฎหมายฉบับหนึ่งเรียกว่า “Sonny Bono Copyright Term Extension Act 1998” โดยกฎหมายฉบับนี้ได้ขยายอายุการคุ้มครองลิขสิทธิ์ออกไปอีก ๒๐ ปี เหตุผลสำคัญของการออกกฎหมายฉบับนี้ก็คือต้องการที่จะขยายอายุการคุ้มครองตัวการ์ตูน “มิคกี้เม้าส์” (Mickey Mouse) อันเป็นลิขสิทธิ์ของบริษัทวอลต์ดิสนีย์ที่จะหมดอายุการคุ้มครองลงในปี ค.ศ. ๒๐๐๓ ดังนั้นหากไม่มีกฎหมายฉบับนี้ ตัวการ์ตูนมิคกี้เม้าส์ก็จะหมดอายุการคุ้มครองลงแล้วในประเทศสหรัฐ กฎหมายฉบับนี้จึงถูกเรียกว่า “กฎหมายมิคกี้เม้าส์” (Mickey Mouse Act)
ในปี ค.ศ. ๒๐๐๓ ศาลสูงสุด (Supreme Court) ของสหรัฐได้มีโอกาสพิจารณาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมายดังกล่าวข้างต้นในคดี Eldred v Ashcroft โดยในคดีนี้นาย Eldred ซึ่งเป็นผู้ที่มักจะนำงานอันมีลิขสิทธิ์ที่หมดอายุการคุ้มครองแล้วมาเผยแพร่ทางอินเทอร์เน็ตเพื่อประโยชน์แก่สาธารณชนได้ยื่นฟ้องต่อศาลสหรัฐกล่าวหาว่ากฎหมายดังกล่าวไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญของสหรัฐที่ให้การคุ้มครองงานอันมีลิขสิทธิ์ในระยะเวลาอันจำกัดและขัดขวางต่อสิทธิในการแสดงความคิดเห็น (Freedom of Expression) แม้ว่าผลสุดท้ายคดีนี้ศาลสูงสุดของสหรัฐจะมีคำพิพากษาด้วยคะแนนเสียง ๗ ต่อ ๒ ว่า รัฐสภามีอำนาจออกกฎหมายขยายอายุการคุ้มครองงานอันมีลิขสิทธิ์ได้ แต่ก็ได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับอำนาจผูกขาดของเจ้าของลิขสิทธิ์และผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับการศึกษาวิจัยงานสร้างสรรค์นั้นของสาธารณชน หลังจากศาลมีคำพิพากษาฉบับนี้ ก็ยังมีการโต้แย้งความชอบด้วยกฎหมายของกฎหมายดังกล่าวอีกหลายประเด็น ทั้งนี้ก็เนื่องจากความกังวลว่าการขยายอายุการคุ้มครองลิขสิทธิ์จะเป็นอุปสรรคต่อการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและการศึกษาวิจัยโดยรวม

ข้อมูล : นันทน อินนนท์

แอดไลน์