ระเบียบเรื่องการรับแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ป้องกันการแอบอ้างเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์โดยไม่สุจริต

กรมทรัพย์สินทางปัญญา ได้แก้ไขเพิ่มเติมระเบียบกรมทรัพย์สินทางปัญญา ว่าด้วยการรับแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์และการให้บริการข้อมูลลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2547 โดยออกระเบียบกรมทรัพย์สินทางปัญญา ว่าด้วยการรับแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์และการให้บริการข้อมูลลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554 ลงวันที่ 1 กรกฎาคม 2554 เพื่อระบุสถานะของหนังสือรับรองการแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ให้ชัดเจน ซึ่งเป็นมาตรการในการแก้ไขปัญหาที่ได้รับการร้องเรียนว่า มีผู้นำหนังสือรับรองการแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ ซึ่งออกตามระเบียบดังกล่าว ไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ หรือในทางไม่สุจริต เช่น นำไปอ้างว่า เป็นเอกสารแสดงการจดทะเบียนเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ จากกรมทรัพย์สินทางปัญญา ทำให้ผู้ประกอบการที่ถูกกล่าวหาว่าละเมิดลิขสิทธิ์ต้องยอมจ่ายเงินเป็นค่ายอมความในอัตราที่สูง เพื่อแลกกับการไม่ต้องถูกดำเนินคดี
วัตถุประสงค์ของการรับแจ้งข้อมูลภายใต้ระเบียบดังกล่าวเป็นการรวบรวมฐานข้อมูลผลงานลิขสิทธิ์ โดยเปิดโอกาสให้ผู้สร้างสรรค์หรือเจ้าของลิขสิทธิ์ที่สมัครใจ สามารถแจ้งข้อมูลไว้ต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อประโยชน์ให้ผู้สนใจสามารถติดต่อขออนุญาตใช้งานลิขสิทธิ์ๆได้โดยสะดวก และออกหนังสือรับรองการแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ไว้ เพื่อให้ผู้แจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์สามารถนำไปใช้เป็นหลักประกันการกู้ยืมเงินตามโครงการแปลงทรัพย์สินทางปัญญาเป็นทุนของรัฐบาล
โดยที่กฎหมายลิขสิทธิ์ไม่ได้กำหนดเงื่อนไขให้เจ้าของลิขสิทธิ์ต้องนำงานลิขสิทธิ์มาจดทะเบียน กรมทรัพย์สินทางปัญญาจึงไม่มีอำนาจและฐานข้อมูลในการตรวจสอบจนเป็นที่ยุติและมีผลทางกฎหมายว่างานใดมีลิขสิทธิ์และผู้ใดเป็นเจ้าของ ผู้แจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญาจึงต้องมีหนังสือรับรองสิทธิ์ของตนเองและยอมรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นหากปรากฏในภายหลังว่าผู้แจ้งไม่ใช่เจ้าของลิขสิทธิ์ ดังนั้นเจ้าของลิขสิทธิ์ที่มาแจ้งข้อมูล จึงจำเป็นต้องดำเนินการโดยสุจริต และพร้อมแสดงหลักฐานอื่นๆเพื่อพิสูจน์หลักฐานต่อศาลเมื่อมีข้อพิพาทเกิดขึ้น
ระเบียบฉบับใหม่กำหนดให้ระบุสถานะของหนังสือรับรอง ตามแบบ รลข 01 และแบบ รลข 02 เป็นหมายเหตุว่า “เอกสารนี้ไม่ได้รับรองความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์” เพื่อให้ผู้ประกอบการและบุคคลภายนอกเกิดความเข้าใจที่ถูกต้องว่า หนังสือรับรองการแจ้งข้อมูลไม่ใช่เอกสารแสดงสิทธิทางกฎหมายและผู้มีหนังสือรับรองดังกล่าวมิได้มีสิทธิดีกว่าผู้ที่มิได้แจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญา
อย่างไรก็ดี เพื่อป้องกันปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ ในการนำสินค้าที่เกี่ยวข้องกับผลงานลิขสิทธิ์มาจำหน่าย ควรรับสินค้าจากแหล่งผลิตที่น่าเชื่อถือ หรือผู้ผลิตที่สามารถออกเอกสารรับรองได้ว่าเป็นสินค้าที่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์แล้ว หรือไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้ใด และยอมรับผิดในความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น เป็นต้น

Info : กรมทรัพย์สินทางปัญญา

แอดไลน์ ระเบียบเรื่องการรับแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ป้องกันการแอบอ้างเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์โดยไม่สุจริต

ระเบียบเรื่องการรับแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ป้องกันการแอบอ้างเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์โดยไม่สุจริต

กรมทรัพย์สินทางปัญญา ได้แก้ไขเพิ่มเติมระเบียบกรมทรัพย์สินทางปัญญา ว่าด้วยการรับแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์และการให้บริการข้อมูลลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2547 โดยออกระเบียบกรมทรัพย์สินทางปัญญา ว่าด้วยการรับแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์และการให้บริการข้อมูลลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554 ลงวันที่ 1 กรกฎาคม 2554 เพื่อระบุสถานะของหนังสือรับรองการแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ให้ชัดเจน ซึ่งเป็นมาตรการในการแก้ไขปัญหาที่ได้รับการร้องเรียนว่า มีผู้นำหนังสือรับรองการแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ ซึ่งออกตามระเบียบดังกล่าว ไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ หรือในทางไม่สุจริต เช่น นำไปอ้างว่า เป็นเอกสารแสดงการจดทะเบียนเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ จากกรมทรัพย์สินทางปัญญา ทำให้ผู้ประกอบการที่ถูกกล่าวหาว่าละเมิดลิขสิทธิ์ต้องยอมจ่ายเงินเป็นค่ายอมความในอัตราที่สูง เพื่อแลกกับการไม่ต้องถูกดำเนินคดี
วัตถุประสงค์ของการรับแจ้งข้อมูลภายใต้ระเบียบดังกล่าวเป็นการรวบรวมฐานข้อมูลผลงานลิขสิทธิ์ โดยเปิดโอกาสให้ผู้สร้างสรรค์หรือเจ้าของลิขสิทธิ์ที่สมัครใจ สามารถแจ้งข้อมูลไว้ต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อประโยชน์ให้ผู้สนใจสามารถติดต่อขออนุญาตใช้งานลิขสิทธิ์ๆได้โดยสะดวก และออกหนังสือรับรองการแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ไว้ เพื่อให้ผู้แจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์สามารถนำไปใช้เป็นหลักประกันการกู้ยืมเงินตามโครงการแปลงทรัพย์สินทางปัญญาเป็นทุนของรัฐบาล
โดยที่กฎหมายลิขสิทธิ์ไม่ได้กำหนดเงื่อนไขให้เจ้าของลิขสิทธิ์ต้องนำงานลิขสิทธิ์มาจดทะเบียน กรมทรัพย์สินทางปัญญาจึงไม่มีอำนาจและฐานข้อมูลในการตรวจสอบจนเป็นที่ยุติและมีผลทางกฎหมายว่างานใดมีลิขสิทธิ์และผู้ใดเป็นเจ้าของ ผู้แจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญาจึงต้องมีหนังสือรับรองสิทธิ์ของตนเองและยอมรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นหากปรากฏในภายหลังว่าผู้แจ้งไม่ใช่เจ้าของลิขสิทธิ์ ดังนั้นเจ้าของลิขสิทธิ์ที่มาแจ้งข้อมูล จึงจำเป็นต้องดำเนินการโดยสุจริต และพร้อมแสดงหลักฐานอื่นๆเพื่อพิสูจน์หลักฐานต่อศาลเมื่อมีข้อพิพาทเกิดขึ้น
ระเบียบฉบับใหม่กำหนดให้ระบุสถานะของหนังสือรับรอง ตามแบบ รลข 01 และแบบ รลข 02 เป็นหมายเหตุว่า “เอกสารนี้ไม่ได้รับรองความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์” เพื่อให้ผู้ประกอบการและบุคคลภายนอกเกิดความเข้าใจที่ถูกต้องว่า หนังสือรับรองการแจ้งข้อมูลไม่ใช่เอกสารแสดงสิทธิทางกฎหมายและผู้มีหนังสือรับรองดังกล่าวมิได้มีสิทธิดีกว่าผู้ที่มิได้แจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญา
อย่างไรก็ดี เพื่อป้องกันปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ ในการนำสินค้าที่เกี่ยวข้องกับผลงานลิขสิทธิ์มาจำหน่าย ควรรับสินค้าจากแหล่งผลิตที่น่าเชื่อถือ หรือผู้ผลิตที่สามารถออกเอกสารรับรองได้ว่าเป็นสินค้าที่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์แล้ว หรือไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้ใด และยอมรับผิดในความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น เป็นต้น

Info : กรมทรัพย์สินทางปัญญา

แอดไลน์