การจดสิทธิบัตรในไทย สิทธิบัตรระบบ PCT สิทธิบัตรทั่วโลก

การจดสิทธิบัตรเกิดขึ้นมาจากการที่มนุษย์ได้เรียนรู้สิ่งที่มีอยู่ตามธรรมชาติ และ นำสิ่งเหล่านั้นมาทำให้การดำรงชีวิตนั้นดีขึ้น และ แก้ปัญหาที่เกิดขึ้น เช่นมนุษย์เห็นว่านกบินได้ ก็ได้พัฒนาจนกลายมาเป็นเครื่องบิน มนุษย์เห็นขอนไม้ที่กลิ้งได้ ก็ได้พัฒนามาเป็นเกวียน มนุษย์เห็นควันไฟที่ลอยได้ ก็พัฒนามาเป็นการจุดระเบิดของเครื่องยนต์

การคิดค้นสิ่งเหล่านี้คือ การคิดเพื่อมาแก้ปัญหาที่มีอยู่ สิ่งที่คิดจะอยู่ในรูปของ งานประดิษฐ์ทั้งหมด ต่อมามนุษย์มองว่า การคิดสิ่งเหล่านี้มีความสำคัญจึงได้สร้างกฎหมายขึ้นมา เรียกว่า กฎหมายสิทธิบัตร เพื่อให้สิ่งที่คิดค้นนั้นได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย

หากไม่มี กฎหมายสิทธิบัตร มนุษย์ก็จะไม่มีแรงจูงใจที่จะคิดค้นสิ่งใหม่ๆ เพราะหากคิดค้นมาแล้วคนอื่นก็จะนำไปใช้ได้อย่างเสรี และ การคิดค้นเกิดจากการลองผิดลองถูกเป็น 1000 ครั้งเพื่อให้รู้ว่า 999 ครั้งนั้นผิดและมีแค่ 1 ครั้งที่ถูกซึ่งต้องใช้ทั้งเวลา ต้นทุน

อีกมุมมองก็มองว่าการจดสิทธิบัตร เป็นการผูกขาดธุรกิจและเอารัดเอาเปรียบหรือไม่ ซึ่งความจริงนั้นไม่ใช่เลยกลับเป็นข้อดีด้วย เนื่องจาก บุคลอื่นก็จะได้คิดค้นทางเลือกใหม่ ๆ และการต่อยอดสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ ให้ดีขึ้น เพราะไม่มีสิ่งประดิษฐ์ไหนที่ไม่สามารถพัฒนาต่อยอดได้ แต่มนุษย์นั้นไม่รู้ว่าจะทำยังไงและไม่เชื่อ ยกตัวอย่างเช่น หากเราย้อนกลับไปยุคโบราณ แล้ว มีคนพูดว่าเราจะมี โทรศัพท์ที่โทรหากันได้ ณ วันนั้นก็จะเป็นเรื่องตลกมาก เช่นเดียวกันในวันนี้ หากเราพูดว่าในอนาคตเราจะหายตัวได้ เราจะมีประตูมิติ หรือ เราจะไม่มีวันตายและไปใช้ชีวิตอยู่ในโลกของคอมพิวเตอร์ เราก็อาจจะสงสัยว่าเป็นไปได้หรือไม่

ดังนั้น หากไม่มีกฎหมายสิทธิบัตร ประชากรโลกและประเทศชาติจะไม่มีการพัฒนาเช่นทุกวันนี้ได้อย่างแน่นอน

การจดสิทธิบัตรคืออะไร? มีประโยชน์อย่างไร?

การจดสิทธิบัตร คือ การนำสิ่งประดิษฐ์ที่ไม่เคยปรากฎมาก่อน หรือ การต่อยอดสิ่งประดิษฐ์เดิม ที่สร้างมาเพื่อแก้ปัญหา และ ทำให้ดีขึ้นในการดำรงชีวิตของมนุษย์ สะดวกสบายขึ้น สิ่งเหล่านี้มักจะอยู่ในรูปของ อุปกรณ์ ชิ้นงาน กลไก ฟังชั่น การใช้งาน อาหารการกิน หรือ ยารักษาโรค เคมี เป็นต้น ซึ่งเราต้องการหวงกันสิ่งที่เราคิดค้นมานี้ การหวงกันนี้ก็คือการนำมาจดทะเบียนสิทธิบัตรนั่นเอง

จดสิทธิบัตร คืออะไร มีประโยชน์อย่างไร
จดสิทธิบัตร

ประโยชน์ของการจดสิทธิบัตร

ประโยชน์ของการสิทธิบัตรนั้นมีมากมายไม่ว่าจะเป็นในด้านของเจ้าของสิทธิบัตร ไปจนถึงผู้บริโภค

  1. กฎหมายสิทธิบัตรช่วยให้มนุษย์มีแรงจูงใจที่จะคิดค้นสิ่งใหม่ๆ เพื่อไม่ให้การคิดค้นนั้น ถูกคนอื่นก็จะนำไปใช้ได้อย่างเสรี และ สิ่งที่คิดค้นก็ได้ช่วยเหลือบุคคลอื่นได้ด้วย เช่น รถยนต์เราสามารถซื้อได้ในราคา 8 แสน แต่ถ้าเราต้องมาสร้างเองทุกอย่างเพื่อใช้งาน เราอาจจะต้องใช้เงินมากกว่า 10 ล้าน เป็นต้น เช่น ต้องซื้อเครื่องจักร เครื่องทดสอบ สร้างโรงผลิต เป็นต้น
  2. ช่วยชีวิตมนุษย์ เช่น การคิดค้น ยารักษาโรค ซึ่งช่วยป้องกันโรคระบาด เป็นต้น เช่น โรคโควิด สิ่งเหล่านี้เกิดจากองค์ความรู้หลายแขนงซึ่งเป็นการนำความรู้ที่สะสมมาจาก แรงจูงใจที่จะคิดค้นสิ่งใหม่ๆ แบบเดิม เพื่อให้สามารถคิดค้นแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นใหม่ได้ง่าย
  3. ช่วยทำให้ชีวิตของมนุษย์สะดวก สบายขึ้น จากเครื่องมือที่สร้างขึ้น และ เครื่องมือเหล่านั้นก็เป็นผลมาจากแรงจูงใจที่จะคิดค้นสิ่งใหม่ๆ
  4. สิทธิบัตรนั้นสามารถหวงกันสิทธิได้และการหวงกันสิทธินั้น ก็สามารถนำมาสร้างมูลค่าที่เป็นตัวเงินได้
  5. สิทธิบัตรของบุคคลอื่นก็เป็นแนวทางหรือฐานความรู้ให้เราสามารถคิดค้นสิ่งใหม่ๆ ได้ เนื่องจากสิทธิบัตรจะอยู่ในรูปของเอกสารและสามารถค้นหานำมาศึกษาได้

การจดสิทธิบัตรระบบ PCT และสิทธิบัตรทั่วโลกคืออะไร?

การจดสิทธิบัตรระบบ PCT และสิทธิบัตรทั่วโลก คือเดิม หากเราต้องการคุ้มครองสิทธิบัตรที่ประเทศไหน เราต้องยื่นเอกสารสิทธิบัตรให้ประเทศนั้นตรวจสอบ ซึ่งแต่ละประเทศก็จะมีวิธีการและแนวทางการตรวจสอบของตน เอง ซึ่งทำให้สิทธิบัตรที่เป็นเรื่องเดียวกัน อาจจะผ่านในบางประเทศและไม่ผ่านในบางประเทศ เนื้อหาก็จะถูกแก้ไขไม่เหมือนกันในแต่ละประเทศทำให้เกิดความ สะเปะสะปะ ในเนื้อหา และแต่ละประเทศการตรวจสอบจะไม่ทราบผลของกันและกัน ลักษณะต่างคนต่างตรวจ

เช่น เรายื่นจดทะเบียนในประเทศไทย ประเทศไทยก็จะมีอำนาจอิสระในการตรวจสอบสิทธิบัตรของตนเอง เรียกว่าการจดแบบตรงแค่ในประเทศไทย

ต่อมาเกิดแนวคิดที่จะสร้างระบบใหม่เรียกว่า ระบบ pct คือสิทธิบัตรแบบระบบสนธิสัญญาความร่วมมือด้านสิทธิบัตร (PCT) ก็คือ ทุกประเทศสมาชิกมารวมกัน และ สร้างองค์กรมา 1 องค์กรร่วม โดยการยื่นจดทะเบียนสิทธิบัตรเราจะยื่นไปที่องค์กรนี้เลย ซึ่งทุกประเทศจะให้ความร่วมมือโดยส่งฐานข้อมูลสิทธิบัตรของตนมาที่องค์กรนี้เพื่อทำการตรวจสอบแบบรวมศูนย์ ผลการตรวจสอบจะออกมาในรูปของเอกสารรายงานการตรวจสอบ

โดยเราจะนำรายงานการตรวจสอบนั้นไปใช้เป็นผลในการนำไปส่งยังประเทศปลายทางเพื่อทำการพิจารณาสิทธิบัตรต่อไป ซึ่ง หากเราต้องการคุ้มครองสิทธิบัตรที่ประเทศไหน เราต้องยื่นเอกสารสิทธิบัตรให้ประเทศนั้นตรวจสอบ แต่การตรวจสอบนั้นจะมีรายงานการตรวจสอบขององค์กรกลางประกอบ ซึ่งทำให้ประเทศปลายทางมีแนวการพิจารณาที่ใกล้เคียงกัน เราเลยเรียกกันว่า การจดสิทธิบัตรระบบ PCT หรือสิทธิบัตรทั่วโลกนั่นเอง

ขั้นตอนการจดสิทธิบัตรระบบ PCT และสิทธิบัตรทั่วโลก

Step 1 ยื่นจดทะเบียนสิทธิบัตรแบบระบบสนธิสัญญาความร่วมมือด้านสิทธิบัตร (PCT) สํานักงานสิทธิบัตรในประเทศไทย (International Phase)

Step 2 สํานักงานสิทธิบัตรในประเทศไทย ส่งสิทธิบัตรไปตรวจสอบยัง องค์กรตรวจค้นระหว่างประเทศ (ISA) โดยองค์กรตรวจค้นระหว่างประเทศ (ISA) จะจัดทํารายงานผลการตรวจค้น ภายใน 16-18 เดือน (International Phase)

ค่าตรวจสอบ บุคคลธรรมดาประมาณ 25,000 บาท นิติบุคคลประมาณ 75,000 บาท

โดยผลรายงานผลการตรวจค้น จะขึ้นว่าผ่าน หรือไม่ผ่าน

Step 3 หากผลผ่าน ยื่นจดทะเบียนสิทธิบัตรแบบระบบสนธิสัญญาความร่วมมือด้านสิทธิบัตร (PCT) ในสํานักงานสิทธิบัตรในประเทศปลายทาง เช่น ประเทศอเมริกา (Nation Phase) ประเทศกัมพูชา ประเทศแคนาดา เป็นต้น (คำขอในประเทศไทยจะยื่นก่อน Step 1 แล้ว)

ค่าธรรมเนียมดำเนินการรวมค่าบริการตัวแทนในประเทศปลายทางประมาณ 50,000-100,000 บาท (ต่อประเทศ โดยประมาณ) สำหรับโซนเอเซีย  แต่หากเป็น โซนนอกเอเซียจะอยู่ที่ 100,000-200,000 บาท (ต่อประเทศ โดยประมาณ)

ขั้นตอนการพิจารณาของสํานักงานสิทธิบัตรระบบ PCT ในประเทศปลายทาง (Nation Phase)

  1. ยื่นจดทะเบียน
  2. ประกาศโฆษณา
  3. ร้องขอให้ตรวจสอบการประดิษฐ์
  4. อนุมัติรับจดทะเบียน (คุ้มครอง 20 ปี)

โดยใช้ระยะเวลาพิจารณา 2-4 ปี

สิ่งที่สามารถจดสิทธิบัตรในไทย สิทธิบัตรระบบ PCT และสิทธิบัตรทั่วโลกได้

ตาม พระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 สิ่งเหล่านี้สามารถนำมาจดสิทธิบัตรในไทย สิทธิบัตรระบบ PCT และสิทธิบัตรทั่วโลกได้

  1. การประดิษฐ์ การคิดค้นหรือคิดทำขึ้น อันเป็นผลให้ ได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์หรือกรรมวิธีใดขึ้นใหม่ หรือการกระทำใด ๆ ที่ทำให้ดีขึ้นซึ่งผลิตภัณฑ์หรือกรรมวิธี
  2. กรรมวิธี หมายความว่า วิธีการ กระบวนการ หรือกรรมวิธีในการผลิต หรือการเก็บรักษาให้คงสภาพหรือให้มีคุณภาพดีขึ้นหรือการปรับสภาพให้ดีขึ้นซึ่งผลิตภัณฑ์ และรวมถึงการใช้กรรมวิธีนั้น ๆ ด้วย
  3. แบบผลิตภัณฑ์ หมายความว่า รูปร่างของผลิตภัณฑ์ หรือองค์ประกอบ ของลวดลาย หรือสีของผลิตภัณฑ์ อันมีลักษณะพิเศษสำหรับผลิตภัณฑ์ซึ่งสามารถใช้เป็นแบบสำหรับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมรวมทั้งหัตถกรรมได้

สิ่งที่ไม่สามารถจดสิทธิบัตรในไทย สิทธิบัตรระบบ PCT และสิทธิบัตรทั่วโลกได้

ในขณะเดียวกันก็มีอีกหลายสิ่งที่เราไม่สามารถจดสิทธิบัตรในไทย สิทธิบัตรรระบบ PCT และสิทธิบัตรทั่วโลกได้ โดยตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 ประกอบไปด้วย

  1. การประดิษฐ์ที่เป็นงานที่ปรากฏอยู่แล้ว งานที่ปรากฏอยู่แล้ว ให้หมายความถึงการประดิษฐ์ ดังต่อไปนี้ด้วย
    • การประดิษฐ์ที่มีหรือใช้แพร่หลายอยู่แล้วในราชอาณาจักรก่อนวันขอรับสิทธิบัตร
    • การประดิษฐ์ที่ได้มีการเปิดเผยสาระสำคัญหรือรายละเอียดในเอกสาร หรือสิ่งพิมพ์ที่ได้เผยแพร่อยู่แล้วไม่ว่าในหรือนอกราชอาณาจักรก่อนวันขอรับสิทธิบัตร และ ไม่ว่าการเปิดเผยนั้นจะกระทำโดยเอกสาร สิ่งพิมพ์ การนำออกแสดง หรือการเปิดเผยต่อสาธารณชนด้วยประการใด ๆ
    • การประดิษฐ์ที่ได้รับสิทธิบัตรหรืออนุสิทธิบัตรแล้วไม่ว่าในหรือนอกราชอาณาจักรก่อนวันขอรับสิทธิบัตร
  2. การประดิษฐ์ดังต่อไปนี้ไม่ได้รับความคุ้มครอง
    • จุลชีพและส่วนประกอบส่วนใดส่วนหนึ่งของจุลชีพที่มีอยู่ตาม ธรรมชาติ สัตว์ พืช หรือสารสกัดจากสัตว์หรือพืช
    • กฎเกณฑ์และทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
    • ระบบข้อมูลสำหรับการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์
    • วิธีการวินิจฉัย บำบัด หรือรักษาโรคมนุษย์ หรือสัตว์
    • การประดิษฐ์ที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดี อนามัยหรือสวัสดิภาพของประชาชน

ควรเริ่มวางแผนการจดสิทธิบัตรในไทย สิทธิบัตรระบบ PCT และสิทธิบัตรทั่วโลกตอนไหน

ห้ามคิดค้นและพัฒนางานประดิษฐ์จนกว่าเราจะได้ทำการตรวจสอบภูเขาน้ำแข็งใต้น้ำทั้งหมด เพราะการคิดค้นนั้นอาจจะไปทำซ้ำกับงานของคนอื่นที่ทำอยู่แล้ว ทำให้เสียเวลา ค่าใช้จ่ายมหาศาล

สิ่งที่ดีที่สุดคือการ ไปตรวจสอบงานของสิทธิบัตรของคนอื่นที่ทำอยู่แล้ว และ นำมาพัฒนาต่อยอดเรียกว่าการ copy and development หรือ การยืนอยู่บนไหล่ของยักษ์จะทำให้เรามองเห็นได้ไกล

หลังจากตรวจสอบทั้งหมดแล้วเราก็เริ่มมาพัฒนาต่อยอดให้ดีขึ้น และ นำมายื่นจดทะเบียนสิทธิบัตรของเราเอง

อีกประการหนึ่งคือ การเขียนสิทธิบัตรนั้นต้องเขียนให้ดีและคลอบคลุมงานประดิษฐ์ให้ได้ เช่น สิ่งประดิษฐ์เราอยู่ในระดับ 5 การเขียนงานเอกสารสิทธิบัตรต้องให้คุ้มครองได้ถึงระดับ 7-10 หากไปเขียนเนื้อหาที่ไม่คลอบคลุมและใช้บังคับตามกฎหมายไม่ได้เช่นไป เขียนให้คุ้มครองแค่ใน ระดับ 3 ก็จะทำให้งานประดิษฐ์สูญเสียคุณค่าลงไปทันที เพราะการใช้บังคับทางกฎหมายเราใช้บังคับในด้านเอกสารสิทธิบัตร ไม่ได้ใช้งานประดิษฐ์จริงมาเปรียบเทียบ ดังนั้นการเลือกใช้ตัวแทนมืออาชีพในการเขียนงานนั้นก็มีความสำคัญ

ประเภทของสิทธิบัตรในไทย สิทธิบัตรระบบ PCT และสิทธิบัตรทั่วโลก และข้อแตกต่างที่ควรรู้

กลุ่มสิทธิบัตรการประดิษฐ์

กลุ่มสิทธิบัตรการประดิษฐ์ คือ งานดังนี้

  1. การประดิษฐ์ การคิดค้นหรือคิดทำขึ้น อันเป็นผลให้ ได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์หรือกรรมวิธีใดขึ้นใหม่ หรือการกระทำใด ๆ ที่ทำให้ดีขึ้นซึ่งผลิตภัณฑ์หรือกรรมวิธี
  2. กรรมวิธี หมายความว่า วิธีการ กระบวนการ หรือกรรมวิธีในการผลิต หรือการเก็บรักษาให้คงสภาพหรือให้มีคุณภาพดีขึ้นหรือการปรับสภาพให้ดีขึ้นซึ่งผลิตภัณฑ์ และรวมถึงการใช้กรรมวิธีนั้น ๆ ด้วย

กลุ่มสิทธิบัตรการออกแบบ

กลุ่มสิทธิบัตรการออกแบบ คือ งานดังนี้

  1. แบบผลิตภัณฑ์ หมายความว่า รูปร่างของผลิตภัณฑ์ หรือองค์ประกอบ ของลวดลาย หรือสีของผลิตภัณฑ์ อันมีลักษณะพิเศษสำหรับผลิตภัณฑ์ซึ่งสามารถใช้เป็นแบบสำหรับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมรวมทั้งหัตถกรรมได้

ความแตกต่างระหว่างสิทธิบัตรการประดิษฐ์ กับ สิทธิบัตรการออกแบบ

สิทธิบัตรการประดิษฐ์

สิทธิบัตรการประดิษฐ์ แบ่งออกเป็น

  • อนุสิทธิบัตร คุ้มครอง 10 ปี (งานประดิษฐ์ขั้นไม่สูง)
  • สิทธิบัตร คุ้มครอง 20 ปี (งานประดิษฐ์ขั้นสูง)

อนุสิทธิบัตร/สิทธิบัตร คุ้มครอง กลไกการทำงาน โครงสร้างการทำงาน ฟังชั่นการทำงาน ในเชิงเทคนิค มีผลทางเทคนิค ไม่สนใจภาพนอกที่มองเห็นด้วยตา

สิทธิบัตรการออกแบบ

สิทธิบัตรการออกแบบ คุ้มครอง 10 ปี

คุ้มครอง ภาพที่มองเห็นจากภาพนอกด้วยตา คุ้มครองรูปร่าง รูปทรงเชิงมิติ เท่านั้น ไม่สนใจว่าข้างในทำงานยังไง

หากมีหลายขนาด เช่น size S M L ถือว่ามีเพียง 1 แบบและการจดทะเบียนจดได้เพียง 1 แบบเท่านั้นคุ้มครองทุกขนาด

การจดสิทธิบัตรต้องจดกับหน่วยงานอะไร วิธีการเตรียมเอกสาร ตัวอย่างแบบฟอร์ม และ ใช้เวลานานไหม

การจดทะเบียนสิทธิบัตรต้องจดทะเบียนที่ กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ หรือ สามารถยื่นเอกสารที่พาณิชย์จังหวัดได้ โดยเป็นลักษณะของการอำนวยความสะดวก ซึ่งพาณิชย์จังหวัด ก็จะส่งเอกสารมาที่ กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ และ กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ ก็จะส่งเอกสารไปหาผู้ขอจดทะเบียน โดยตรง

ขั้นตอนการจดสิทธิบัตรแต่ละประเภทและระยะเวลาการดำเนินการ

ขั้นตอนการจดอนุสิทธิบัตร การประดิษฐ์

จะตรวจสอบความใหม่เฉพาะในประเทศไทย โดยใช้ระยะเวลาพิจารณา อนุสิทธิบัตรประมาณ 1-2 ปี มีขั้นตอนการตรวจสอบของผู้ตรวจสอบประมาณ 6-8 เดือน หากมีการแก้ไขจะใช้เวลาต่อไปอีก 3-6 เดือน  หากไม่มีการแก้ไขจะได้รับการอนุมัติ คุ้มครอง 10 ปี

สิทธิบัตร การประดิษฐ์

จะตรวจสอบความใหม่ในประเทศไทย และ ในต่างประเทศ โดยใช้ระยะเวลาพิจารณา สิทธิบัตรประมาณ 2-4 ปี

มีขั้นตอนการตรวจสอบของผู้ตรวจสอบในประเทศไทย ประมาณ 10-15 เดือน หากมีการแก้ไขจะใช้เวลาต่อไปอีก 6-8 เดือน หลังจากนั้นจะได้รับการประกาศโฆษณาอีก 2 เดือน หากไม่มีใครมาคัดค้าน ขั้นตอนต่อไปจะต้องร้องขอให้มีการตรวจสอบการประดิษฐ์ในต่างประเทศ

มีขั้นตอนการตรวจสอบของผู้ตรวจสอบในต่างประเทศ ประมาณ 2-3 ปี หากไม่มีการแก้ไขและไม่ซ้ำกับงานที่ปรากฎอยู่แล้วจะได้รับการอนุมัติ คุ้มครอง 20 ปี

สิทธิบัตร การออกแบบ

ตรวจสอบความใหม่ในประเทศไทย และ ในต่างประเทศ โดยใช้ระยะเวลาพิจารณา สิทธิบัตรประมาณ 2-4 ปี

มีขั้นตอนการตรวจสอบของผู้ตรวจสอบในประเทศไทย ประมาณ 6-8 เดือน หากมีการแก้ไขจะใช้เวลาต่อไปอีก 3-6 เดือน หลังจากนั้นจะได้รับการประกาศโฆษณาอีก 2 เดือน หากไม่มีใครมาคัดค้าน ขั้นตอนต่อไปทำการตรวจสอบความใหม่ในต่างประเทศ

มีขั้นตอนการตรวจสอบของผู้ตรวจสอบในต่างประเทศ ประมาณ 2-3 ปี หากไม่มีการแก้ไขและไม่ซ้ำกับงานที่ปรากฎอยู่แล้วจะได้รับการอนุมัติ คุ้มครอง 10 ปี

เอกสารการมอบอำนาจในการยื่นเรื่องดำเนินการจดทะเบียนสิทธิบัตร

การเขียนสิทธิบัตรนั้นต้องเขียนให้ดีและคลอบคลุมงานประดิษฐ์ให้ได้ และใช้บังคับตามกฎหมายไม่ได้ เพราะการใช้บังคับทางกฎหมายเราจะนำเอกสารสิทธิบัตรมาอ้างอิง ไม่ได้ใช้งานประดิษฐ์จริงมาเปรียบเทียบ ดังนั้นการเลือกใช้ตัวแทนมืออาชีพในการเขียนงานนั้นก็มีความสำคัญ

การมอบอำนาจก็มอบอำนาจให้ตัวแทนที่มีประสบการณ์และมีใบอนุญาตเท่านั้น

เอกสารที่ใช้ จะเป็นเอกสารพื้นฐานส่วน ตัวเช่น สำเนาบัตรประชาชน สำเนาหนังสือรับรองบริษัท เอกสารมอบอำนาจ เป็นต้น ส่วนแบบฟอร์มก็เป็นหน้าที่ของตัวแทนผู้รับมอบอำนาจในการดำเนินการ ซึ่งเป็นการกรอกเอกสารข้อมูลทั่วไปของสิ่งประดิษฐ์

กรณีบริษัทเป็นผู้ขอจดทะเบียนจะต้องมีสัญญาโอนสิทธิจากผู้ประดิษฐ์ที่เป็นบุคคลและโอนสิทธิให้บริษัท เนื่องจากบริษัทตามกฎหมายเป็นบุคคลที่สมมุติขึ้น ไม่สามารถประดิษฐ์งานได้ ดังนั้นจึงต้องมี การโอนสิทธิในงานประดิษฐ์ของบุคคลให้กับบริษัท

ค่าธรรมเนียมรายปีของสิทธิบัตรแต่ละประเภท

ค่าธรรมเนียมรายปีสิทธิบัตรการประดิษฐ์

  • ปีที่ 1-5 ไม่เสีย
  • ปีที่ 5 1,000 บาท
  • ปีที่ 6 1,200 บาท
  • ปีที่ 7 1,600 บาท
  • ปีที่ 8 2,200 บาท
  • ปีที่ 9 3,000 บาท
  • ปีที่ 10 4,000 บาท
  • ปีที่ 11 5,200 บาท
  • ปีที่ 12 6,600 บาท
  • ปีที่ 13 8,200 บาท
  • ปีที่ 14 10,000 บาท
  • ปีที่ 15 12,000 บาท
  • ปีที่ 16 14,200 บาท
  • ปีที่ 17 16,600 บาท
  • ปีที่ 18 19,200 บาท
  • ปีที่ 19 22,000 บาท
  • ปีที่ 20 25,000 บาท
  • หรือชำระทั้งหมดในการชำระค่าธรรมเนียมรายปีครั้งแรก 140 ,000 บาท

ค่าธรรมเนียมรายปี อนุสิทธิบัตรการประดิษฐ์

  • ปีที่ 1-5 ไม่เสีย
  • ปีที่ 5 750 บาท
  • ปีที่ 6 1,500 บาท
  • หรือชำระทั้งหมดในการชำระค่าธรรมเนียมรายปีครั้งแรก 2,000 บาท

ค่าธรรมเนียมการต่ออายุอนุสิทธิบัตร

  • ครั้งที่ 1 6,000 บาท (ปีที่ 7-8)
  • ครั้งที่ 2 9,000 บาท (ปีที่ 9-10)
  • รวมอนุสิทธิบัตรคุ้มครอง 10 ปี

ค่าธรรมเนียมรายปีสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์

  • ปีที่ 1-5 ไม่เสีย
  • ปีที่ 5 500 บาท
  • ปีที่ 6 650 บาท
  • ปีที่ 7 950 บาท
  • ปีที่ 8 1,400 บาท
  • ปีที่ 9 2,000 บาท
  • ปีที่ 10 2,750 บาท
  • หรือชำระทั้งหมดในการชำระค่าธรรมเนียมรายปีครั้งแรก 7,500 บาท

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการจดสิทธิบัตร

ซึ่งการเสียภาษีในแต่ละประเทศนั้นขึ้นอยู่กับการมีรายได้ที่สิทธิบัตรระบบ PCT นั้นทำให้เกิดขึ้นจึงจะต้องมีภาระการเสียภาษีในประเทศปลายทาง สิทธิบัตรระบบ PCT ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ไม่ต้องยื่นเสียภาษี จนกระทั่งมีการนำสิทธิบัตรระบบ PCT ไปประกอบธุรกิจจนกระทั่งมีรายได้ถึงจะเป็นภาระหน้าที่สำหรับการยื่นเสียภาษี

  • ความซับซ้อนของตัวงาน และ ความยากในการคิดค้น
  • สิทธิบัตรนั้นมีคุณสมบัติที่เป็นลดภาระค่าใช้จ่ายได้สูง เข่น ค่าไฟฟ้า
  • อายุของสิทธิบัตรที่เหลือน้อย มูลค่ายิ่งต่ำลง เพราะถ้าสิทธิบัตรหมดอายุก็จะเป็นสาธารณะทันที
  • สิทธิบัตรนั้นไม่ได้เปิดเผย เทคนิค คือต้องมีตัวคนไปเปิดเผยเทคนิคด้วยถึงจะทำได้ สิทธิบัตรก็จะมีมูลค่ารวมตัวคน
  • จำนวนการจดทะเบียนในต่างประเทศ หรือ ประเทศที่ให้ความสำคัญกับสิทธิบัตร มูลค่าก็จะสูงขึ้น

สิทธิบัตรระบบ PCT จะใช้เวลาตรวจสอบเนื้อหาสิทธิบัตรที่ได้ยื่นจดทะเบียนไว้แล้วทั่วโลกจำนวน 157 ประเทศทำให้ต้องใช้เวลาในการตรวจสอบความใหม่นาน แต่กฎหมายจะกำหนดระยะเวลาไว้ไม่เกิน 18 เดือนนับจากวันที่่ยื่นขอตรวจสอบความใหม่ในทุกประเทศทั่วโลก และจะได้รายงานการตรวจสอบที่เรียกว่า (International Searching Report: ISR) เพื่อนำรายงานการตรวจสอบไปยื่นลงทะเบียนในประเทศปลายทางอีกครั้ง และเป็นอำนาจอธิปไตยของแต่ละประเทศที่จะอนุมัติรับจดทะเบียนให้ตามขั้นตอนและเงื่อนไขของกฎหมายภายในประเทศนั้น ๆ

การจดสิทธิบัตรระบบ PCT (Patent Cooperation Treaty) คือความตกลงระหว่างประเทศสำหรับการขอรับความคุ้มครองการประดิษฐ์ในประเทศที่เป็นสมาชิกโดยสามารถตรวจสอบเนื้อหาความใหม่ของสิทธิบัตรได้ครั้งเดียวทั่วโลกในระบบ PCT

การรับจดทะเบียนสิทธิบัตร PCT จะต้องส่งเนื้อหาของสิทธิบัตรไปยื่นจดทะเบียนในประเทศสมาชิกอีกครั้ง และเป็นอำนาจอธิปไตยของแต่ละประเทศที่จะอนุมัติรับจดทะเบียนให้ตามขั้นตอนและเงื่อนไขของกฎหมายภายในประเทศนั้นๆ ซึ่งประเทศไทยสมัครเข้าเป็นภาคีสนธิสัญญาความร่วมมือด้านสิทธิบัตร เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2552 ถือเป็นสมาชิกลำดับที่ 142

ข้อดีของการจดสิทธิบัตรระบบ PCT คือนำคำขอไปตรวจสอบความใหม่ในทุกประเทศทั่วโลกจำนวน 157 ประเทศก่อนที่ยื่นลงทะเบียนในประเทศปลายทางอีกครั้ง และประเทศปลายทางเมื่อได้รับรายงานการตรวจสอบที่เรียกว่า (International Searching Report: ISR) ก็เป็นอำนาจอธิปไตยของตนที่จะอนุมัติรับจดทะเบียนให้อีกครั้งแต่แนวโน้มที่จะอนุมัติส่วนใหญ่ก็จะสอดคล้องกับรายงานการตรวจสอบ ซึ่งข้อดีอีกประการคือหลังจากได้รับรายงานการตรวจสอบแล้วก็ยังมีเวลาอีก 12-16 เดือนในการที่จะตัดสินใจในการยื่นลงทะเบียนในประเทศปลายทาง

สอบถามข้อมูลหรือขอคำปรึกษาด้านการจดสิทธิบัตร

ทำไมต้องใช้บริการจดสิทธิบัตรระบบ PCT กับเรา?

  1. เรามีประสบการณ์งานด้านบริการรับจดสิทธิบัตรระบบ PCT มากว่า 25 ปี
  2. เรามีใบอนุญาตเป็นตัวแทนจดสิทธิบัตรระบบ PCT จากกรมทรัพย์สินทางปัญญา
  3. เราให้บริการด้วยความรวดเร็วและเขียนจดสิทธิบัตรระบบ PCT ให้แล้วเสร็จได้ภายใน 7 วัน
  4. บริษัทของเราตั้งอยู่ติดกับกรมทรัพย์สินทางปัญญาซึ่งสามารถยื่นเอกสารได้อย่างรวดเร็ว
  5. เรามีทีมงานที่เป็นนักกฎหมาย นักประดิษฐ์ นักวิทยาศาสตร์ นักฟิสิกส์ นักเคมี และนักวิจัย โดยมีผู้ตรวจสอบสิทธิบัตรที่คอยให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิด ทำให้การจดสิทธิบัตรระบบ PCT ได้รับการอนุมัติรับจดทะเบียนอย่างรวดเร็ว และใช้บังคับตามกฎหมายได้
แอดไลน์ การจดสิทธิบัตรในไทย สิทธิบัตรระบบ PCT สิทธิบัตรทั่วโลก | TGC

การจดสิทธิบัตรในไทย สิทธิบัตรระบบ PCT สิทธิบัตรทั่วโลก

การจดสิทธิบัตรเกิดขึ้นมาจากการที่มนุษย์ได้เรียนรู้สิ่งที่มีอยู่ตามธรรมชาติ และ นำสิ่งเหล่านั้นมาทำให้การดำรงชีวิตนั้นดีขึ้น และ แก้ปัญหาที่เกิดขึ้น เช่นมนุษย์เห็นว่านกบินได้ ก็ได้พัฒนาจนกลายมาเป็นเครื่องบิน มนุษย์เห็นขอนไม้ที่กลิ้งได้ ก็ได้พัฒนามาเป็นเกวียน มนุษย์เห็นควันไฟที่ลอยได้ ก็พัฒนามาเป็นการจุดระเบิดของเครื่องยนต์

การคิดค้นสิ่งเหล่านี้คือ การคิดเพื่อมาแก้ปัญหาที่มีอยู่ สิ่งที่คิดจะอยู่ในรูปของ งานประดิษฐ์ทั้งหมด ต่อมามนุษย์มองว่า การคิดสิ่งเหล่านี้มีความสำคัญจึงได้สร้างกฎหมายขึ้นมา เรียกว่า กฎหมายสิทธิบัตร เพื่อให้สิ่งที่คิดค้นนั้นได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย

หากไม่มี กฎหมายสิทธิบัตร มนุษย์ก็จะไม่มีแรงจูงใจที่จะคิดค้นสิ่งใหม่ๆ เพราะหากคิดค้นมาแล้วคนอื่นก็จะนำไปใช้ได้อย่างเสรี และ การคิดค้นเกิดจากการลองผิดลองถูกเป็น 1000 ครั้งเพื่อให้รู้ว่า 999 ครั้งนั้นผิดและมีแค่ 1 ครั้งที่ถูกซึ่งต้องใช้ทั้งเวลา ต้นทุน

อีกมุมมองก็มองว่าการจดสิทธิบัตร เป็นการผูกขาดธุรกิจและเอารัดเอาเปรียบหรือไม่ ซึ่งความจริงนั้นไม่ใช่เลยกลับเป็นข้อดีด้วย เนื่องจาก บุคลอื่นก็จะได้คิดค้นทางเลือกใหม่ ๆ และการต่อยอดสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ ให้ดีขึ้น เพราะไม่มีสิ่งประดิษฐ์ไหนที่ไม่สามารถพัฒนาต่อยอดได้ แต่มนุษย์นั้นไม่รู้ว่าจะทำยังไงและไม่เชื่อ ยกตัวอย่างเช่น หากเราย้อนกลับไปยุคโบราณ แล้ว มีคนพูดว่าเราจะมี โทรศัพท์ที่โทรหากันได้ ณ วันนั้นก็จะเป็นเรื่องตลกมาก เช่นเดียวกันในวันนี้ หากเราพูดว่าในอนาคตเราจะหายตัวได้ เราจะมีประตูมิติ หรือ เราจะไม่มีวันตายและไปใช้ชีวิตอยู่ในโลกของคอมพิวเตอร์ เราก็อาจจะสงสัยว่าเป็นไปได้หรือไม่

ดังนั้น หากไม่มีกฎหมายสิทธิบัตร ประชากรโลกและประเทศชาติจะไม่มีการพัฒนาเช่นทุกวันนี้ได้อย่างแน่นอน

การจดสิทธิบัตรคืออะไร? มีประโยชน์อย่างไร?

การจดสิทธิบัตร คือ การนำสิ่งประดิษฐ์ที่ไม่เคยปรากฎมาก่อน หรือ การต่อยอดสิ่งประดิษฐ์เดิม ที่สร้างมาเพื่อแก้ปัญหา และ ทำให้ดีขึ้นในการดำรงชีวิตของมนุษย์ สะดวกสบายขึ้น สิ่งเหล่านี้มักจะอยู่ในรูปของ อุปกรณ์ ชิ้นงาน กลไก ฟังชั่น การใช้งาน อาหารการกิน หรือ ยารักษาโรค เคมี เป็นต้น ซึ่งเราต้องการหวงกันสิ่งที่เราคิดค้นมานี้ การหวงกันนี้ก็คือการนำมาจดทะเบียนสิทธิบัตรนั่นเอง

จดสิทธิบัตร คืออะไร มีประโยชน์อย่างไร
จดสิทธิบัตร

ประโยชน์ของการจดสิทธิบัตร

ประโยชน์ของการสิทธิบัตรนั้นมีมากมายไม่ว่าจะเป็นในด้านของเจ้าของสิทธิบัตร ไปจนถึงผู้บริโภค

  1. กฎหมายสิทธิบัตรช่วยให้มนุษย์มีแรงจูงใจที่จะคิดค้นสิ่งใหม่ๆ เพื่อไม่ให้การคิดค้นนั้น ถูกคนอื่นก็จะนำไปใช้ได้อย่างเสรี และ สิ่งที่คิดค้นก็ได้ช่วยเหลือบุคคลอื่นได้ด้วย เช่น รถยนต์เราสามารถซื้อได้ในราคา 8 แสน แต่ถ้าเราต้องมาสร้างเองทุกอย่างเพื่อใช้งาน เราอาจจะต้องใช้เงินมากกว่า 10 ล้าน เป็นต้น เช่น ต้องซื้อเครื่องจักร เครื่องทดสอบ สร้างโรงผลิต เป็นต้น
  2. ช่วยชีวิตมนุษย์ เช่น การคิดค้น ยารักษาโรค ซึ่งช่วยป้องกันโรคระบาด เป็นต้น เช่น โรคโควิด สิ่งเหล่านี้เกิดจากองค์ความรู้หลายแขนงซึ่งเป็นการนำความรู้ที่สะสมมาจาก แรงจูงใจที่จะคิดค้นสิ่งใหม่ๆ แบบเดิม เพื่อให้สามารถคิดค้นแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นใหม่ได้ง่าย
  3. ช่วยทำให้ชีวิตของมนุษย์สะดวก สบายขึ้น จากเครื่องมือที่สร้างขึ้น และ เครื่องมือเหล่านั้นก็เป็นผลมาจากแรงจูงใจที่จะคิดค้นสิ่งใหม่ๆ
  4. สิทธิบัตรนั้นสามารถหวงกันสิทธิได้และการหวงกันสิทธินั้น ก็สามารถนำมาสร้างมูลค่าที่เป็นตัวเงินได้
  5. สิทธิบัตรของบุคคลอื่นก็เป็นแนวทางหรือฐานความรู้ให้เราสามารถคิดค้นสิ่งใหม่ๆ ได้ เนื่องจากสิทธิบัตรจะอยู่ในรูปของเอกสารและสามารถค้นหานำมาศึกษาได้

การจดสิทธิบัตรระบบ PCT และสิทธิบัตรทั่วโลกคืออะไร?

การจดสิทธิบัตรระบบ PCT และสิทธิบัตรทั่วโลก คือเดิม หากเราต้องการคุ้มครองสิทธิบัตรที่ประเทศไหน เราต้องยื่นเอกสารสิทธิบัตรให้ประเทศนั้นตรวจสอบ ซึ่งแต่ละประเทศก็จะมีวิธีการและแนวทางการตรวจสอบของตน เอง ซึ่งทำให้สิทธิบัตรที่เป็นเรื่องเดียวกัน อาจจะผ่านในบางประเทศและไม่ผ่านในบางประเทศ เนื้อหาก็จะถูกแก้ไขไม่เหมือนกันในแต่ละประเทศทำให้เกิดความ สะเปะสะปะ ในเนื้อหา และแต่ละประเทศการตรวจสอบจะไม่ทราบผลของกันและกัน ลักษณะต่างคนต่างตรวจ

เช่น เรายื่นจดทะเบียนในประเทศไทย ประเทศไทยก็จะมีอำนาจอิสระในการตรวจสอบสิทธิบัตรของตนเอง เรียกว่าการจดแบบตรงแค่ในประเทศไทย

ต่อมาเกิดแนวคิดที่จะสร้างระบบใหม่เรียกว่า ระบบ pct คือสิทธิบัตรแบบระบบสนธิสัญญาความร่วมมือด้านสิทธิบัตร (PCT) ก็คือ ทุกประเทศสมาชิกมารวมกัน และ สร้างองค์กรมา 1 องค์กรร่วม โดยการยื่นจดทะเบียนสิทธิบัตรเราจะยื่นไปที่องค์กรนี้เลย ซึ่งทุกประเทศจะให้ความร่วมมือโดยส่งฐานข้อมูลสิทธิบัตรของตนมาที่องค์กรนี้เพื่อทำการตรวจสอบแบบรวมศูนย์ ผลการตรวจสอบจะออกมาในรูปของเอกสารรายงานการตรวจสอบ

โดยเราจะนำรายงานการตรวจสอบนั้นไปใช้เป็นผลในการนำไปส่งยังประเทศปลายทางเพื่อทำการพิจารณาสิทธิบัตรต่อไป ซึ่ง หากเราต้องการคุ้มครองสิทธิบัตรที่ประเทศไหน เราต้องยื่นเอกสารสิทธิบัตรให้ประเทศนั้นตรวจสอบ แต่การตรวจสอบนั้นจะมีรายงานการตรวจสอบขององค์กรกลางประกอบ ซึ่งทำให้ประเทศปลายทางมีแนวการพิจารณาที่ใกล้เคียงกัน เราเลยเรียกกันว่า การจดสิทธิบัตรระบบ PCT หรือสิทธิบัตรทั่วโลกนั่นเอง

ขั้นตอนการจดสิทธิบัตรระบบ PCT และสิทธิบัตรทั่วโลก

Step 1 ยื่นจดทะเบียนสิทธิบัตรแบบระบบสนธิสัญญาความร่วมมือด้านสิทธิบัตร (PCT) สํานักงานสิทธิบัตรในประเทศไทย (International Phase)

Step 2 สํานักงานสิทธิบัตรในประเทศไทย ส่งสิทธิบัตรไปตรวจสอบยัง องค์กรตรวจค้นระหว่างประเทศ (ISA) โดยองค์กรตรวจค้นระหว่างประเทศ (ISA) จะจัดทํารายงานผลการตรวจค้น ภายใน 16-18 เดือน (International Phase)

ค่าตรวจสอบ บุคคลธรรมดาประมาณ 25,000 บาท นิติบุคคลประมาณ 75,000 บาท

โดยผลรายงานผลการตรวจค้น จะขึ้นว่าผ่าน หรือไม่ผ่าน

Step 3 หากผลผ่าน ยื่นจดทะเบียนสิทธิบัตรแบบระบบสนธิสัญญาความร่วมมือด้านสิทธิบัตร (PCT) ในสํานักงานสิทธิบัตรในประเทศปลายทาง เช่น ประเทศอเมริกา (Nation Phase) ประเทศกัมพูชา ประเทศแคนาดา เป็นต้น (คำขอในประเทศไทยจะยื่นก่อน Step 1 แล้ว)

ค่าธรรมเนียมดำเนินการรวมค่าบริการตัวแทนในประเทศปลายทางประมาณ 50,000-100,000 บาท (ต่อประเทศ โดยประมาณ) สำหรับโซนเอเซีย  แต่หากเป็น โซนนอกเอเซียจะอยู่ที่ 100,000-200,000 บาท (ต่อประเทศ โดยประมาณ)

ขั้นตอนการพิจารณาของสํานักงานสิทธิบัตรระบบ PCT ในประเทศปลายทาง (Nation Phase)

  1. ยื่นจดทะเบียน
  2. ประกาศโฆษณา
  3. ร้องขอให้ตรวจสอบการประดิษฐ์
  4. อนุมัติรับจดทะเบียน (คุ้มครอง 20 ปี)

โดยใช้ระยะเวลาพิจารณา 2-4 ปี

สิ่งที่สามารถจดสิทธิบัตรในไทย สิทธิบัตรระบบ PCT และสิทธิบัตรทั่วโลกได้

ตาม พระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 สิ่งเหล่านี้สามารถนำมาจดสิทธิบัตรในไทย สิทธิบัตรระบบ PCT และสิทธิบัตรทั่วโลกได้

  1. การประดิษฐ์ การคิดค้นหรือคิดทำขึ้น อันเป็นผลให้ ได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์หรือกรรมวิธีใดขึ้นใหม่ หรือการกระทำใด ๆ ที่ทำให้ดีขึ้นซึ่งผลิตภัณฑ์หรือกรรมวิธี
  2. กรรมวิธี หมายความว่า วิธีการ กระบวนการ หรือกรรมวิธีในการผลิต หรือการเก็บรักษาให้คงสภาพหรือให้มีคุณภาพดีขึ้นหรือการปรับสภาพให้ดีขึ้นซึ่งผลิตภัณฑ์ และรวมถึงการใช้กรรมวิธีนั้น ๆ ด้วย
  3. แบบผลิตภัณฑ์ หมายความว่า รูปร่างของผลิตภัณฑ์ หรือองค์ประกอบ ของลวดลาย หรือสีของผลิตภัณฑ์ อันมีลักษณะพิเศษสำหรับผลิตภัณฑ์ซึ่งสามารถใช้เป็นแบบสำหรับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมรวมทั้งหัตถกรรมได้

สิ่งที่ไม่สามารถจดสิทธิบัตรในไทย สิทธิบัตรระบบ PCT และสิทธิบัตรทั่วโลกได้

ในขณะเดียวกันก็มีอีกหลายสิ่งที่เราไม่สามารถจดสิทธิบัตรในไทย สิทธิบัตรรระบบ PCT และสิทธิบัตรทั่วโลกได้ โดยตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 ประกอบไปด้วย

  1. การประดิษฐ์ที่เป็นงานที่ปรากฏอยู่แล้ว งานที่ปรากฏอยู่แล้ว ให้หมายความถึงการประดิษฐ์ ดังต่อไปนี้ด้วย
    • การประดิษฐ์ที่มีหรือใช้แพร่หลายอยู่แล้วในราชอาณาจักรก่อนวันขอรับสิทธิบัตร
    • การประดิษฐ์ที่ได้มีการเปิดเผยสาระสำคัญหรือรายละเอียดในเอกสาร หรือสิ่งพิมพ์ที่ได้เผยแพร่อยู่แล้วไม่ว่าในหรือนอกราชอาณาจักรก่อนวันขอรับสิทธิบัตร และ ไม่ว่าการเปิดเผยนั้นจะกระทำโดยเอกสาร สิ่งพิมพ์ การนำออกแสดง หรือการเปิดเผยต่อสาธารณชนด้วยประการใด ๆ
    • การประดิษฐ์ที่ได้รับสิทธิบัตรหรืออนุสิทธิบัตรแล้วไม่ว่าในหรือนอกราชอาณาจักรก่อนวันขอรับสิทธิบัตร
  2. การประดิษฐ์ดังต่อไปนี้ไม่ได้รับความคุ้มครอง
    • จุลชีพและส่วนประกอบส่วนใดส่วนหนึ่งของจุลชีพที่มีอยู่ตาม ธรรมชาติ สัตว์ พืช หรือสารสกัดจากสัตว์หรือพืช
    • กฎเกณฑ์และทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
    • ระบบข้อมูลสำหรับการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์
    • วิธีการวินิจฉัย บำบัด หรือรักษาโรคมนุษย์ หรือสัตว์
    • การประดิษฐ์ที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดี อนามัยหรือสวัสดิภาพของประชาชน

ควรเริ่มวางแผนการจดสิทธิบัตรในไทย สิทธิบัตรระบบ PCT และสิทธิบัตรทั่วโลกตอนไหน

ห้ามคิดค้นและพัฒนางานประดิษฐ์จนกว่าเราจะได้ทำการตรวจสอบภูเขาน้ำแข็งใต้น้ำทั้งหมด เพราะการคิดค้นนั้นอาจจะไปทำซ้ำกับงานของคนอื่นที่ทำอยู่แล้ว ทำให้เสียเวลา ค่าใช้จ่ายมหาศาล

สิ่งที่ดีที่สุดคือการ ไปตรวจสอบงานของสิทธิบัตรของคนอื่นที่ทำอยู่แล้ว และ นำมาพัฒนาต่อยอดเรียกว่าการ copy and development หรือ การยืนอยู่บนไหล่ของยักษ์จะทำให้เรามองเห็นได้ไกล

หลังจากตรวจสอบทั้งหมดแล้วเราก็เริ่มมาพัฒนาต่อยอดให้ดีขึ้น และ นำมายื่นจดทะเบียนสิทธิบัตรของเราเอง

อีกประการหนึ่งคือ การเขียนสิทธิบัตรนั้นต้องเขียนให้ดีและคลอบคลุมงานประดิษฐ์ให้ได้ เช่น สิ่งประดิษฐ์เราอยู่ในระดับ 5 การเขียนงานเอกสารสิทธิบัตรต้องให้คุ้มครองได้ถึงระดับ 7-10 หากไปเขียนเนื้อหาที่ไม่คลอบคลุมและใช้บังคับตามกฎหมายไม่ได้เช่นไป เขียนให้คุ้มครองแค่ใน ระดับ 3 ก็จะทำให้งานประดิษฐ์สูญเสียคุณค่าลงไปทันที เพราะการใช้บังคับทางกฎหมายเราใช้บังคับในด้านเอกสารสิทธิบัตร ไม่ได้ใช้งานประดิษฐ์จริงมาเปรียบเทียบ ดังนั้นการเลือกใช้ตัวแทนมืออาชีพในการเขียนงานนั้นก็มีความสำคัญ

ประเภทของสิทธิบัตรในไทย สิทธิบัตรระบบ PCT และสิทธิบัตรทั่วโลก และข้อแตกต่างที่ควรรู้

กลุ่มสิทธิบัตรการประดิษฐ์

กลุ่มสิทธิบัตรการประดิษฐ์ คือ งานดังนี้

  1. การประดิษฐ์ การคิดค้นหรือคิดทำขึ้น อันเป็นผลให้ ได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์หรือกรรมวิธีใดขึ้นใหม่ หรือการกระทำใด ๆ ที่ทำให้ดีขึ้นซึ่งผลิตภัณฑ์หรือกรรมวิธี
  2. กรรมวิธี หมายความว่า วิธีการ กระบวนการ หรือกรรมวิธีในการผลิต หรือการเก็บรักษาให้คงสภาพหรือให้มีคุณภาพดีขึ้นหรือการปรับสภาพให้ดีขึ้นซึ่งผลิตภัณฑ์ และรวมถึงการใช้กรรมวิธีนั้น ๆ ด้วย

กลุ่มสิทธิบัตรการออกแบบ

กลุ่มสิทธิบัตรการออกแบบ คือ งานดังนี้

  1. แบบผลิตภัณฑ์ หมายความว่า รูปร่างของผลิตภัณฑ์ หรือองค์ประกอบ ของลวดลาย หรือสีของผลิตภัณฑ์ อันมีลักษณะพิเศษสำหรับผลิตภัณฑ์ซึ่งสามารถใช้เป็นแบบสำหรับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมรวมทั้งหัตถกรรมได้

ความแตกต่างระหว่างสิทธิบัตรการประดิษฐ์ กับ สิทธิบัตรการออกแบบ

สิทธิบัตรการประดิษฐ์

สิทธิบัตรการประดิษฐ์ แบ่งออกเป็น

  • อนุสิทธิบัตร คุ้มครอง 10 ปี (งานประดิษฐ์ขั้นไม่สูง)
  • สิทธิบัตร คุ้มครอง 20 ปี (งานประดิษฐ์ขั้นสูง)

อนุสิทธิบัตร/สิทธิบัตร คุ้มครอง กลไกการทำงาน โครงสร้างการทำงาน ฟังชั่นการทำงาน ในเชิงเทคนิค มีผลทางเทคนิค ไม่สนใจภาพนอกที่มองเห็นด้วยตา

สิทธิบัตรการออกแบบ

สิทธิบัตรการออกแบบ คุ้มครอง 10 ปี

คุ้มครอง ภาพที่มองเห็นจากภาพนอกด้วยตา คุ้มครองรูปร่าง รูปทรงเชิงมิติ เท่านั้น ไม่สนใจว่าข้างในทำงานยังไง

หากมีหลายขนาด เช่น size S M L ถือว่ามีเพียง 1 แบบและการจดทะเบียนจดได้เพียง 1 แบบเท่านั้นคุ้มครองทุกขนาด

การจดสิทธิบัตรต้องจดกับหน่วยงานอะไร วิธีการเตรียมเอกสาร ตัวอย่างแบบฟอร์ม และ ใช้เวลานานไหม

การจดทะเบียนสิทธิบัตรต้องจดทะเบียนที่ กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ หรือ สามารถยื่นเอกสารที่พาณิชย์จังหวัดได้ โดยเป็นลักษณะของการอำนวยความสะดวก ซึ่งพาณิชย์จังหวัด ก็จะส่งเอกสารมาที่ กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ และ กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ ก็จะส่งเอกสารไปหาผู้ขอจดทะเบียน โดยตรง

ขั้นตอนการจดสิทธิบัตรแต่ละประเภทและระยะเวลาการดำเนินการ

ขั้นตอนการจดอนุสิทธิบัตร การประดิษฐ์

จะตรวจสอบความใหม่เฉพาะในประเทศไทย โดยใช้ระยะเวลาพิจารณา อนุสิทธิบัตรประมาณ 1-2 ปี มีขั้นตอนการตรวจสอบของผู้ตรวจสอบประมาณ 6-8 เดือน หากมีการแก้ไขจะใช้เวลาต่อไปอีก 3-6 เดือน  หากไม่มีการแก้ไขจะได้รับการอนุมัติ คุ้มครอง 10 ปี

สิทธิบัตร การประดิษฐ์

จะตรวจสอบความใหม่ในประเทศไทย และ ในต่างประเทศ โดยใช้ระยะเวลาพิจารณา สิทธิบัตรประมาณ 2-4 ปี

มีขั้นตอนการตรวจสอบของผู้ตรวจสอบในประเทศไทย ประมาณ 10-15 เดือน หากมีการแก้ไขจะใช้เวลาต่อไปอีก 6-8 เดือน หลังจากนั้นจะได้รับการประกาศโฆษณาอีก 2 เดือน หากไม่มีใครมาคัดค้าน ขั้นตอนต่อไปจะต้องร้องขอให้มีการตรวจสอบการประดิษฐ์ในต่างประเทศ

มีขั้นตอนการตรวจสอบของผู้ตรวจสอบในต่างประเทศ ประมาณ 2-3 ปี หากไม่มีการแก้ไขและไม่ซ้ำกับงานที่ปรากฎอยู่แล้วจะได้รับการอนุมัติ คุ้มครอง 20 ปี

สิทธิบัตร การออกแบบ

ตรวจสอบความใหม่ในประเทศไทย และ ในต่างประเทศ โดยใช้ระยะเวลาพิจารณา สิทธิบัตรประมาณ 2-4 ปี

มีขั้นตอนการตรวจสอบของผู้ตรวจสอบในประเทศไทย ประมาณ 6-8 เดือน หากมีการแก้ไขจะใช้เวลาต่อไปอีก 3-6 เดือน หลังจากนั้นจะได้รับการประกาศโฆษณาอีก 2 เดือน หากไม่มีใครมาคัดค้าน ขั้นตอนต่อไปทำการตรวจสอบความใหม่ในต่างประเทศ

มีขั้นตอนการตรวจสอบของผู้ตรวจสอบในต่างประเทศ ประมาณ 2-3 ปี หากไม่มีการแก้ไขและไม่ซ้ำกับงานที่ปรากฎอยู่แล้วจะได้รับการอนุมัติ คุ้มครอง 10 ปี

เอกสารการมอบอำนาจในการยื่นเรื่องดำเนินการจดทะเบียนสิทธิบัตร

การเขียนสิทธิบัตรนั้นต้องเขียนให้ดีและคลอบคลุมงานประดิษฐ์ให้ได้ และใช้บังคับตามกฎหมายไม่ได้ เพราะการใช้บังคับทางกฎหมายเราจะนำเอกสารสิทธิบัตรมาอ้างอิง ไม่ได้ใช้งานประดิษฐ์จริงมาเปรียบเทียบ ดังนั้นการเลือกใช้ตัวแทนมืออาชีพในการเขียนงานนั้นก็มีความสำคัญ

การมอบอำนาจก็มอบอำนาจให้ตัวแทนที่มีประสบการณ์และมีใบอนุญาตเท่านั้น

เอกสารที่ใช้ จะเป็นเอกสารพื้นฐานส่วน ตัวเช่น สำเนาบัตรประชาชน สำเนาหนังสือรับรองบริษัท เอกสารมอบอำนาจ เป็นต้น ส่วนแบบฟอร์มก็เป็นหน้าที่ของตัวแทนผู้รับมอบอำนาจในการดำเนินการ ซึ่งเป็นการกรอกเอกสารข้อมูลทั่วไปของสิ่งประดิษฐ์

กรณีบริษัทเป็นผู้ขอจดทะเบียนจะต้องมีสัญญาโอนสิทธิจากผู้ประดิษฐ์ที่เป็นบุคคลและโอนสิทธิให้บริษัท เนื่องจากบริษัทตามกฎหมายเป็นบุคคลที่สมมุติขึ้น ไม่สามารถประดิษฐ์งานได้ ดังนั้นจึงต้องมี การโอนสิทธิในงานประดิษฐ์ของบุคคลให้กับบริษัท

ค่าธรรมเนียมรายปีของสิทธิบัตรแต่ละประเภท

ค่าธรรมเนียมรายปีสิทธิบัตรการประดิษฐ์

  • ปีที่ 1-5 ไม่เสีย
  • ปีที่ 5 1,000 บาท
  • ปีที่ 6 1,200 บาท
  • ปีที่ 7 1,600 บาท
  • ปีที่ 8 2,200 บาท
  • ปีที่ 9 3,000 บาท
  • ปีที่ 10 4,000 บาท
  • ปีที่ 11 5,200 บาท
  • ปีที่ 12 6,600 บาท
  • ปีที่ 13 8,200 บาท
  • ปีที่ 14 10,000 บาท
  • ปีที่ 15 12,000 บาท
  • ปีที่ 16 14,200 บาท
  • ปีที่ 17 16,600 บาท
  • ปีที่ 18 19,200 บาท
  • ปีที่ 19 22,000 บาท
  • ปีที่ 20 25,000 บาท
  • หรือชำระทั้งหมดในการชำระค่าธรรมเนียมรายปีครั้งแรก 140 ,000 บาท

ค่าธรรมเนียมรายปี อนุสิทธิบัตรการประดิษฐ์

  • ปีที่ 1-5 ไม่เสีย
  • ปีที่ 5 750 บาท
  • ปีที่ 6 1,500 บาท
  • หรือชำระทั้งหมดในการชำระค่าธรรมเนียมรายปีครั้งแรก 2,000 บาท

ค่าธรรมเนียมการต่ออายุอนุสิทธิบัตร

  • ครั้งที่ 1 6,000 บาท (ปีที่ 7-8)
  • ครั้งที่ 2 9,000 บาท (ปีที่ 9-10)
  • รวมอนุสิทธิบัตรคุ้มครอง 10 ปี

ค่าธรรมเนียมรายปีสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์

  • ปีที่ 1-5 ไม่เสีย
  • ปีที่ 5 500 บาท
  • ปีที่ 6 650 บาท
  • ปีที่ 7 950 บาท
  • ปีที่ 8 1,400 บาท
  • ปีที่ 9 2,000 บาท
  • ปีที่ 10 2,750 บาท
  • หรือชำระทั้งหมดในการชำระค่าธรรมเนียมรายปีครั้งแรก 7,500 บาท

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการจดสิทธิบัตร

ซึ่งการเสียภาษีในแต่ละประเทศนั้นขึ้นอยู่กับการมีรายได้ที่สิทธิบัตรระบบ PCT นั้นทำให้เกิดขึ้นจึงจะต้องมีภาระการเสียภาษีในประเทศปลายทาง สิทธิบัตรระบบ PCT ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ไม่ต้องยื่นเสียภาษี จนกระทั่งมีการนำสิทธิบัตรระบบ PCT ไปประกอบธุรกิจจนกระทั่งมีรายได้ถึงจะเป็นภาระหน้าที่สำหรับการยื่นเสียภาษี

  • ความซับซ้อนของตัวงาน และ ความยากในการคิดค้น
  • สิทธิบัตรนั้นมีคุณสมบัติที่เป็นลดภาระค่าใช้จ่ายได้สูง เข่น ค่าไฟฟ้า
  • อายุของสิทธิบัตรที่เหลือน้อย มูลค่ายิ่งต่ำลง เพราะถ้าสิทธิบัตรหมดอายุก็จะเป็นสาธารณะทันที
  • สิทธิบัตรนั้นไม่ได้เปิดเผย เทคนิค คือต้องมีตัวคนไปเปิดเผยเทคนิคด้วยถึงจะทำได้ สิทธิบัตรก็จะมีมูลค่ารวมตัวคน
  • จำนวนการจดทะเบียนในต่างประเทศ หรือ ประเทศที่ให้ความสำคัญกับสิทธิบัตร มูลค่าก็จะสูงขึ้น

สิทธิบัตรระบบ PCT จะใช้เวลาตรวจสอบเนื้อหาสิทธิบัตรที่ได้ยื่นจดทะเบียนไว้แล้วทั่วโลกจำนวน 157 ประเทศทำให้ต้องใช้เวลาในการตรวจสอบความใหม่นาน แต่กฎหมายจะกำหนดระยะเวลาไว้ไม่เกิน 18 เดือนนับจากวันที่่ยื่นขอตรวจสอบความใหม่ในทุกประเทศทั่วโลก และจะได้รายงานการตรวจสอบที่เรียกว่า (International Searching Report: ISR) เพื่อนำรายงานการตรวจสอบไปยื่นลงทะเบียนในประเทศปลายทางอีกครั้ง และเป็นอำนาจอธิปไตยของแต่ละประเทศที่จะอนุมัติรับจดทะเบียนให้ตามขั้นตอนและเงื่อนไขของกฎหมายภายในประเทศนั้น ๆ

การจดสิทธิบัตรระบบ PCT (Patent Cooperation Treaty) คือความตกลงระหว่างประเทศสำหรับการขอรับความคุ้มครองการประดิษฐ์ในประเทศที่เป็นสมาชิกโดยสามารถตรวจสอบเนื้อหาความใหม่ของสิทธิบัตรได้ครั้งเดียวทั่วโลกในระบบ PCT

การรับจดทะเบียนสิทธิบัตร PCT จะต้องส่งเนื้อหาของสิทธิบัตรไปยื่นจดทะเบียนในประเทศสมาชิกอีกครั้ง และเป็นอำนาจอธิปไตยของแต่ละประเทศที่จะอนุมัติรับจดทะเบียนให้ตามขั้นตอนและเงื่อนไขของกฎหมายภายในประเทศนั้นๆ ซึ่งประเทศไทยสมัครเข้าเป็นภาคีสนธิสัญญาความร่วมมือด้านสิทธิบัตร เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2552 ถือเป็นสมาชิกลำดับที่ 142

ข้อดีของการจดสิทธิบัตรระบบ PCT คือนำคำขอไปตรวจสอบความใหม่ในทุกประเทศทั่วโลกจำนวน 157 ประเทศก่อนที่ยื่นลงทะเบียนในประเทศปลายทางอีกครั้ง และประเทศปลายทางเมื่อได้รับรายงานการตรวจสอบที่เรียกว่า (International Searching Report: ISR) ก็เป็นอำนาจอธิปไตยของตนที่จะอนุมัติรับจดทะเบียนให้อีกครั้งแต่แนวโน้มที่จะอนุมัติส่วนใหญ่ก็จะสอดคล้องกับรายงานการตรวจสอบ ซึ่งข้อดีอีกประการคือหลังจากได้รับรายงานการตรวจสอบแล้วก็ยังมีเวลาอีก 12-16 เดือนในการที่จะตัดสินใจในการยื่นลงทะเบียนในประเทศปลายทาง

สอบถามข้อมูลหรือขอคำปรึกษาด้านการจดสิทธิบัตร

ทำไมต้องใช้บริการจดสิทธิบัตรระบบ PCT กับเรา?

  1. เรามีประสบการณ์งานด้านบริการรับจดสิทธิบัตรระบบ PCT มากว่า 25 ปี
  2. เรามีใบอนุญาตเป็นตัวแทนจดสิทธิบัตรระบบ PCT จากกรมทรัพย์สินทางปัญญา
  3. เราให้บริการด้วยความรวดเร็วและเขียนจดสิทธิบัตรระบบ PCT ให้แล้วเสร็จได้ภายใน 7 วัน
  4. บริษัทของเราตั้งอยู่ติดกับกรมทรัพย์สินทางปัญญาซึ่งสามารถยื่นเอกสารได้อย่างรวดเร็ว
  5. เรามีทีมงานที่เป็นนักกฎหมาย นักประดิษฐ์ นักวิทยาศาสตร์ นักฟิสิกส์ นักเคมี และนักวิจัย โดยมีผู้ตรวจสอบสิทธิบัตรที่คอยให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิด ทำให้การจดสิทธิบัตรระบบ PCT ได้รับการอนุมัติรับจดทะเบียนอย่างรวดเร็ว และใช้บังคับตามกฎหมายได้
แอดไลน์