การสั่งเพิกถอนสิทธิบัตรเพราะการอนุญาตให้ใช้สิทธิตามสิทธิบัตรและการโอนสิทธิบัตรไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
พระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. ๒๕๒๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ. สิทธิบัตร (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๒ ระบุว่า
มาตรา ๔๑ การอนุญาตให้ใช้สิทธิตามสิทธิบัตรและการโอนสิทธิบัตรตามมาตรา ๓๘ ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและ เงื่อนไขที่กำหนดโดยกฎกระทรวง..
มาตรา ๕๕ อธิบดีอาจขอให้คณะกรรมการสั่งเพิกถอนสิทธิบัตรได้ ในกรณีดังต่อไปนี้
(๒) ผู้ทรงสิทธิบัตรได้อนุญาตให้บุคคลอื่นใช้สิทธิตามสิทธิบัตรโดย ฝ่าฝืนมาตรา ๔๑
ก่อนการขอให้คณะกรรมการสั่งเพิกถอนสิทธิบัตร ให้อธิบดีมีคำสั่งให้ทำการสอบสวนข้อเท็จจริง และแจ้งคำสั่งให้ผู้ทรงสิทธิบัตรหรือผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิตาม สิทธิบัตรทราบเพื่อยื่นคำแถลงแสดงเหตุผลของตน การยื่น
คำแถลงดังกล่าวต้องยื่นภายใน หกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง อธิบดีจะเรียกให้บุคคลใดมาให้ถ้อยคำชี้แจงหรือให้ส่งเอกสารหรือสิ่งใดเพิ่มเติมก็ได้
เมื่ออธิบดีได้ทำการสอบสวนข้อเท็จจริงแล้วเห็นว่ามีเหตุผลสมควรให้เพิกถอนสิทธิบัตร ให้อธิบดีทำรายงานการสอบสวนเสนอต่อคณะกรรมการเพื่อสั่งเพิกถอน สิทธิบัตร
กล่าวโดยสรุป ดังนี้
1.การอนุญาตให้ใช้สิทธิตามสิทธิบัตรและการโอนสิทธิบัตร ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
2.หากฝ่าฝืนอธิบดีอาจขอให้คณะกรรมการสั่งเพิกถอนสิทธิบัตรได้
ปัจจุบันก็ยังไม่มีกรณีการสั่งเพิกถอนสิทธิบัตรเพราะการที่การอนุญาตให้ใช้สิทธิตามสิทธิบัตรและการโอนสิทธิบัตร ไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
ปัญหาคือ
1.การอนุญาตให้ใช้สิทธิตามสิทธิบัตร หากไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ สัญญามีผลใช้บังคับได้หรือไม่ โดยความเห็นของผู้เขียน กฎหมายพระราชบัญญัติสิทธิบัตร ฯ ไม่ได้ระบุว่าหากฝ่าฝืนสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ สัญญาจะเป็นโฆฆะ แสดงว่าสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิยังสามารถใช้บังคับได้ระหว่างคู่สัญญาแต่อธิบดีอาจขอให้คณะกรรมการสั่งเพิกถอนสิทธิบัตรได้ ซึ่งไม่รวมถึงการเพิกถอนสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ