งานอันมีลิขสิทธิ์ประเภทงานศิลปประยุกต์และระยะเวลาการคุ้มครองงานศิลปประยุกต์

การจดแจ้งงานอันมีลิขสิทธิ์ส่วนใหญ่จะเป็นงานประเภทงานศิลปประยุกต์ ที่มีการนำงาน “ศิลปกรรม” ไปใช้ประโยชน์อย่างอื่น นอกเหนือจากการชื่นชมในคุณค่าของตัวงาน เช่น นำไปใช้สอย นำไปตกแต่งวัสดุหรือสิ่งของอันเป็นเครื่องใช้ หรือนำไปใช้เพื่อประโยชน์ทางการค้า เช่น สินค้าประเภท ร่ม เคสโทรศัพท์มือถือ กระเป๋า เป็นต้น จะนำงาน “ศิลปกรรม” ไปตกแต่งวัสดุหรือสิ่งของอันเป็นเครื่องใช้ หรือ นำไปใช้เพื่อประโยชน์ทางการค้า ซึ่งระยะเวลาการคุ้มครองจะมีความแตกต่างกัน ดังนี้
งานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ให้มีอยู่ตลอดอายุของผู้สร้างสรรค์ และมีอยู่ต่อไปอีกเป็นเวลา ห้าสิบปี นับแต่ผู้สร้างสรรค์ถึงแก่ความตายในกรณีที่มีผู้สร้างสรรค์ร่วม ลิขสิทธิ์ในงานดังกล่าวให้มีอยู่ตลอดอายุของผู้สร้างสรรค์ร่วม และมีอยู่ ต่อไปอีกเป็นเวลาห้าสิบปีนับแต่ผู้สร้างสรรค์ร่วมคนสุดท้ายถึงแก่ความตาย
ข้อยกเว้น
1. ในกรณีที่ผู้สร้างสรรค์เป็นนิติบุคคล ให้ลิขสิทธิ์มีอายุห้าสิบปี (50ปี) นับแต่ผู้สร้างสรรค์ได้สร้างสรรค์ขึ้น แต่ถ้าได้มีการโฆษณางานนั้น ในระหว่างระยะเวลาดังกล่าว ให้ลิขสิทธิ์มีอายุห้าสิบปีนับแต่ได้มีการโฆษณาเป็นครั้งแรก
2. ลิขสิทธิ์ในงานภาพถ่าย โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ สิ่งบันทึกเสียงหรืองาน แพร่เสียงแพร่ภาพให้มีอายุห้าสิบปี(50ปี) นับแต่ได้ สร้างสรรค์งานนั้นขึ้น แต่ถ้าได้มีการโฆษณางานนั้นในระหว่างระยะเวลาดังกล่าวให้ลิขสิทธิ์มีอายุห้าสิบปีนับแต่ได้มีการโฆษณาเป็น ครั้งแรก
3. ลิขสิทธิ์ในงานศิลปประยุกต์ให้มี อายุยี่สิบห้าปี (25 ปี) นับแต่ได้สร้างสรรค์งานนั้นขึ้นแต่ถ้าได้มีการโฆษณางานนั้นในระหว่าง ระยะเวลาดังกล่าวให้ลิขสิทธิ์มีอายุยี่สิบ ห้าปีนับแต่ได้มีการโฆษณาเป็นครั้งแรก

แอดไลน์