ลิขสิทธิ์เป็นสิ่งที่ผู้สร้างสรรค์ผลงานรวมทั้งนิติบุคคลควรรู้ เพื่อทำการลดลิขสิทธิ์เพื่ออ้างสิทธิ์ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ และปกป้องสิทธิ์ของตนหากได้รับความเสียหายจากการถูกละเมิดลิขสิทธิ์ ในขณะเดียวกันก็ควรทำความเข้าใจเพื่อป้องกันไม่ให้เข้าข่ายการละเมิดลิขสิทธิ์ในการสร้างสรรค์ผลงานของตนเองด้วย
ในบทความนี้เราจะพูดถึงความหมายของลิขสิทธิ์ เรียนรู้เพิ่มเติมว่าใครคือเจ้าของลิขสิทธิ์ สามารถจดแจ้งลิขสิทธิ์เป็นประเภทใดได้บ้าง รวมไปถึงข้อกำหนดเกี่ยวกับการจดลิขสิทธิ์
ลิขสิทธิ์หมายถึงอะไร
ลิขสิทธิ์ หมายถึง สิทธิแต่เพียงผู้เดียวที่จะกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ริเริ่มโดยการใช้สติปัญญาความรู้ ความสามารถ และความวิริยะอุตสาหะของตนเองในการสร้างสรรค์ โดยไม่ลอกเลียนงานของผู้อื่น โดยงานที่สร้างสรรค์ต้องเป็นงานตามประเภทที่กฎหมายลิขสิทธิ์ให้คุ้มครอง โดยผู้สร้างสรรค์จะได้รับความคุ้มครองทันทีที่สร้างสรรค์โดยไม่ต้องจดทะเบียน
การแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญา มิได้ เป็นการรับรองสิทธิ์ของเจ้าของลิขสิทธิ์แต่อย่างใด แต่เป็นเพียงการแจ้งต่อหน่วยงานราชการว่าตนเองเป็นเจ้าของสิทธิ์ในผลงานลิขสิทธิ์ที่แจ้งไว้เท่านั้น โดยผู้แจ้งต้องรับรองตนเองว่าเป็นเจ้าของผลงานที่นำมาแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์และหนังสือรับรองที่กรมทรัพย์สินทางปัญญาออกให้ ก็มิได้รับรองว่าผู้แจ้งเป็นเจ้าของงานลิขสิทธิ์แต่อย่างใด หากมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ ผู้แจ้งจำเป็นต้องพิสูจน์ความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ นั้นเอง
ใครคือเจ้าของลิขสิทธิ์
เจ้าของลิขสิทธิ์คือผู้สร้างสรรค์ที่คิดริเริ่มงานด้วยตัวเอง โดยอาจรวมถึงผู้ที่สร้างสรรค์งานร่วมกัน พนักงานผู้จัดทำ หรือผู้จ้างที่จ้างให้ผู้อื่นสร้างสรรค์งาน (ยกเว้นมีการตกลงกันในลักษณะอื่น) ผู้รวบรวมหรือดัดแปลงที่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์แล้ว และผู้รับโอนลิขสิทธิ์ โดยเจ้าของลิขสิทธิ์จะมีสิทธิ์ที่จะทำซ้ำ ดัดแปลง เผยแพร่ ให้เช่า ให้ประโยชน์ หรืออนุญาตให้มีการนำไปใช้ ได้แต่เพียงผู้เดียว
การจดลิขสิทธิ์
การแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญา ไม่ได้ถือว่าเป็นการรับรองสิทธิ์ของเจ้าของลิขสิทธิ์ แต่เป็นแค่การแจ้งต่อหน่วยงานราชการว่าตนเองเป็นเจ้าของสิทธิ์ในผลงานที่แจ้งไว้เท่านั้น โดยผู้แจ้งต้องรับรองตนเองว่าเป็นเจ้าของผลงานที่นำมาแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ นอกจากนั้นหนังสือรับรองที่กรมทรัพย์สินทางปัญญาออกก็ไม่ได้เป็นการรับรองว่าผู้แจ้งเป็นเจ้าของงานลิขสิทธิ์ หากมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์เกิดขึ้น ผู้แจ้งต้องกระทำการพิสูจน์ความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์นั้นเอง
การคุ้มครองลิขสิทธิ์
- บุคคลธรรมดา ลิขสิทธิ์คุ้มครอง 50 ปีนับจากวันที่เสียชีวิต (แนะนำ)
- นิติบุคคล ลิขสิทธิ์คุ้มครอง 50 ปีนับจากวันสร้างสรรค์
เอกสารที่ใช้ประกอบการแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์
1. สำเนาบัตรประชาชน พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง (กรณีเป็นบุคคลธรรมดา)
2. สำเนาหนังสือรับรองนิติบุคคล ที่นายทะเบียนออกให้ไม่เกิน 6 เดือน ของเจ้าของลิขสิทธิ์ (กรณีเป็นนิติบุคคล)
3. ผลงานหรือภาพถ่ายงานลิขสิทธิ์ จำนวน 1 ชุด
4. หนังสือมอบอำนาจติดอากรแสตมป์ 30 บาท พร้อมสำเนาบัตรประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ (รับรองสำเนาถูกต้อง)
5. หน่วยงานหรือองค์กรของรัฐบาลใช้สำเนาหนังสือแต่งตั้งผู้บริหารหน่วยงานหรือองค์กรฯ รวมทั้งสำเนาบัตรประชาชนของผู้ยื่นคำขอ (รับรองสำเนาถูกต้อง)
ประเภทของลิขสิทธิ์มีอะไรบ้าง
- งานวรรณกรรม (เช่น หนังสือ จุลสาร สิ่งพิมพ์ คำปราศรัย โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นต้น)
- งานนาฎกรรม (เช่น ท่ารำ ท่าเต้น เป็นต้น)
- งานศิลปกรรม (เช่น จิตรกรรม ประติมากรรม ภาพพิมพ์ ภาพถ่าย ศิลปประยุกต์ เป็นต้น)
- งานดนตรีกรรม (เช่น ทำนอง , ทำนองและเนื้อร้อง เป็นต้น)
- งานสิ่งบันทึกเสียง (เช่น เทป ซีดี เป็นต้น)
- งานโสตทัศนวัสดุ (เช่น วีซีดีหรือดีวีดีที่มีภาพหรือมีทั้งภาพและเสียง เป็นต้น)
- งานภาพยนตร์
- งานแพร่เสียงแพร่ภาพ (เช่น รายการทีวี เป็นต้น)
- งานอื่นใดในแผนกวรรณคดี วิทยาศาสตร์ หรือศิลปะ (เช่น การเพ้นท์บนร่างกาย เป็นต้น)
ตัวอย่างผลงานที่สามารถนำไปจดลิขสิทธิ์ได้
- ภาพลวดลายกล่องสินค้าที่สร้างสรรค์เว้นแต่เป็นเพียงลวดลายปกติ เช่น แถบสีที่คาดไปมา ซึ่งอาจจะมีความแตกต่าง แต่ไม่นับว่างานสร้างสรรค์ ทำให้จะไม่สามารถตำไปจดแจ้งลิขสิทธิ์ได้
- ภาพการ์ตูน
- งานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้ source code
- งานหนังสือ งานเขียน เนื้อร้องและทำนองเพลงต่าง ๆ
- ภาพงานประติมากรรม เช่น พระพิฆเนศที่สร้างสรรค์ขึ้นมาใหม่
หมายเหตุ: การคุ้มครองลิขสิทธิ์สำหรับบุคคลธรรมดายังนับต่อไปเป็นเวลา 50 ปีจากวันที่เสียชีวิต หากมีการสร้างสรรค์ร่วมกันหลายคน จะนับจากคนสุดท้ายในกลุ่ม ในขณะที่สำหรับนิติบุคคล จะมีการคุ้มครองลิขสิทธิ์เป็นเวลา 50 ปีนับจากวันสร้างสรรค์ขึ้นหรือเมื่อมีการโฆษณาเป็นครั้งแรก โดยเป็นเกณฑ์เดียวกันสำหรับงานลิขสิทธิ์ที่ไม่ปรากฎชื่อหรือใช้นามแฝงและงานภาพถ่ายหรือโสตทัศน์ต่าง ๆ ยกเง้นงานศิลปะประยุกต์ที่ลิขสิทธิ์จะมีอายุเพียง 25 ปีนับจากวันสร้างสรรค์ขึ้นหรือเมื่อมีการโฆษณาเป็นครั้งแรก
อะไรบ้างที่ไม่ถือว่าเป็นงานลิขลิทธิ์?
- กฎหมาย
- ข้อบังคับ ประกาศ หรือคำสั่งของหน่วยงานรัฐ
- คำวินิจฉัย คำพิพากษาของทางราชการ
- ข้อเท็จจริงและข่าวประจำวัน (ยกเว้นที่ถูกนำมาเรียบเรียง เช่น บทความ จะเข้าข่ายในลักษณะงานวรรณกรรม)
- คำแปลและการรวบรวมตามข้อ 1-4 ที่หน่วยงานของรัฐจัดทำขึ้น
- หลักการ แนวความคิด หรือทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์หรือคณิตศาสตร์
การละเมิดลิขสิทธิ์เกิดขึ้นเมื่อใด?
การละเมิดลิขสิทธิ์คือการกระทำที่ส่งผลต่อลิขสิทธิ์ของเจ้าของโดยที่ไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งเป็นการทำซ้ำ ดัดแปลง หรือเผยแพร่ ไม่ว่าจะเป็นการขาย ให้เช่า แจกจ่าย หรือนำเข้า โดยรู้หรือมีเหตุอันควรรู้ว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น ซึ่งเป็นการกระทำเพื่อแสวงหาผลกำไร
ข้อยกเว้นในการละเมิดลิขสิทธิ์จะเกิดขึ้นเมื่อการใช้งานลิขสิทธิ์ไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของเจ้าของลิขสิทธิ์ ไม่กระทบสิทธิของเจ้าของลิขสิทธิ์เกินควร เป็นเพื่อการศึกษาหรือวิจัย เพื่อประโยชน์ของตนเองหรือครอบครัว ซึ่งไม่ใช่เพื่อการหากำไร เป็นเพียงการวิจารณ์ แนะนำ หรือรายงานข่าว หรือหากเป็นการทำซ้ำซื้อดัดแปลงเพื่อนำเสนอต่อศาล เพื่อประโยชน์ด้านการสอนที่ไม่แสวงหาผลกำไร เพื่อประโยชน์ของคนพิการ รวมถึงการคัดลอกหรืออ้างอิงงานเพียงบางส่วนด้วย
หากคุณมีผลงานสร้างสรรค์ไม่ว่าจะเป็นในนามของบุคคลธรรมดาหรือเปิดบริษัทในรูปแบบนิติบุคคล ที่ TGC Thailand เรามีบริการรับจดลิขสิทธิ์ประเภทต่าง ๆ รวมถึงการจดสิทธิบัตรเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับลูกค้า ซึ่งใช้เวลาในการดำเนินการและรออนุมัติประมาณ 2 เดือน
โดยคุณสามารถแจ้งเพียงชื่อ นามสกุล ที่อยู่ เบอร์โทร อีเมลของ ผู้ขอจดแจ้ง ชื่อผลงาน ภาพผลงานและวันที่มีการสร้างสรรค์ขึ้นในเบื้องต้น ส่วนเอกสารที่ต้องใช้จะประกอบไปด้วยหนังสือมอบอำนาจ (ที่ทาง TGC Thailand จะเป็นผู้จัดทำให้) หนังสือรับรองบริษัทฉบับจริงออกไม่เกิน 6 เดือน และสำเนาบัตรกรรมการ พร้อมสำเนา หรือสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนในกรณีของบุคคลธรรมดา หากต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อโดยตรงได้ที่ tgcthailand.com/contact