ตัวอย่างการเขียนคำอุทธรณ์การปฏิเสธการรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า

การระงับหรือหยุดรอการดำเนินการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าชั่วคราว เกิดขึ้นได้ดังนี้

1.โดยกฎหมายบัญญัติไว้
ตามระเบียบกรมทะเบียนการค้า ว่าด้วยการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 ข้อ40 กำหนดว่า “ในกรณีเครื่องหมายการค้าที่ยื่นขอจดทะเบียนเข้ามาเหมือนกับเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่นายทะเบียนได้มีคำสั่งให้ประกาศในหนังสือจดหมายเหตุแสดงรายการเครื่องหมายการค้าไปแล้ว เพื่อใช้สำหรับสินค้าในจำพวกเดียวกันหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าดังกล่าวจนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชน ให้รอการดำเนินการจดทะเบียนคำขอจดทะเบียนนั้นไว้ก่อน และให้นายทะเบียนมีหนังสือแจ้งให้ผู้ขอจดทะเบียนทราบ

2.โดยการฟ้องคดีต่อศาล
ระเบียบกรมทรัพย์สินทางปัญญา ว่าด้วยการระงับการดำเนินการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าชั่วคราว ประกาศใช้เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2545 คือ
2.1 การคัดค้านการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า และคู่กรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้อุทธรณ์คำวินิจฉัยคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าต่อศาลตามมาตรา 38
2.2 การร้องขอเพิกถอนเครื่องหมายการค้าต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าตามมาตรา 61 มาตรา 62 หรือมาตรา 63 และผู้ร้องขอให้เพิกถอน เจ้าของเครื่องหมายการค้า หรือผู้ได้รับอนุญาตได้อุทธรณ์คำสั่งของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าต่อศาลตามมาตรา 65
2.3 การร้องขอเพิกถอนเครื่องหมายการค้าต่อศาลตามมาตรา 66 หรือมาตรา 67
2.4  การอุทธรณ์คำสั่งนายทะเบียนต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าตามมาตรา 16 ซึ่งคณะกรรมการได้มีคำวินิจฉัยยืนตามคำสั่งของนายทะเบียน และผู้ขอจดทะเบียนได้นำคดีสู่ศาล
2.5 การฟ้องคดีต่อศาลเกี่ยวกับคำขอจดทะเบียนที่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของนายทะเบียนรวมทั้งคำขอที่เกี่ยวข้องกัน ซึ่งผลของคำพิพากษาจะมีผลกระทบต่อการสั่งการของนายทะเบียน

3.โดยเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจร้องขอ
การหยุดรอการดำเนินการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าโดยพนักงานผู้มีอำนาจร้องขอนี้ ระเบียบกรมทรัพย์สินทางปัญญา ว่าด้วยการระงับการดำเนินการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าชั่วคราว ประกาศใช้เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2545 ให้นายทะเบียนต้องหยุดรอการเนินการจดทะเบียนในกรณีดังนี้
3.1 ศาลมีคำสั่ง หรือคำพิพากษาให้ยึด หรือ อายัดคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า

ตัวอย่างการเขียนคำอุทธรณ์การปฏิเสธการรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า

อ้างถึง..
เลขที่คำขอ..
วันที่ยื่นคำขอ..
เครื่องหมายการค้า..
ชื่อผู้ขอจดทะเบียน..

จำพวก ..
รายการสินค้า ..

สถานะถูกปฏิเสธการรับจดทะเบียน

เหตุผล
1.เป็นเครื่องหมายที่ไม่มีลักษณะอันพึงรับจดทะเบียนได้ ตามมาตรา 6 เนื่องจากเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายของบุคคลอื่น ที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วตามมาตรา 13 กับ …..

ข้าพเจ้าขอยื่นคำอุทธรณ์ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้

เครื่องหมายการค้าของข้าพเจ้า เครื่องหมายการค้าตามมาตรา 13
-ภาพ-                                      -ภาพ-

1.ความแตกต่างด้านเสียงเรียกขาน

เครื่องหมายการค้าของข้าพเจ้าอ่านได้ว่า YERPALL BUBBLE BLINK
เครื่องหมายการค้าตามมาตรา 13 อ่านได้ว่า บริ๊งค์ ;BLINK
ซึ่งเครื่องหมายการค้าของข้าพเจ้ามีภาคส่วนคำว่า YERPALL BUBBLE เพิ่มเข้ามาประกอบในเครื่องหมายการค้า เพื่อสร้างเสียงเรียกขานที่เปลี่ยนแปลงไป ย่อมสร้างความแตกต่างและไม่ทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดอย่างแน่นอน

2.ความแตกต่างด้านภาพปรากฎ

เครื่องหมายการค้าของข้าพเจ้า เครื่องหมายการค้าตามมาตรา 13
-ภาพ-                                                           -ภาพ-

ถือว่ามีภาพปรากฎที่แตกต่างกัน เครื่องหมายการค้าตามมาตรา 13 มีภาพดาว และ อักษรหนาทึบขนาดใหญ่ มีลักษณะที่โดดเด่น เครื่องหมายการค้าของข้าพเจ้าเขียนติดกัน YERPALL BUBBLE BLINK และมีคำอ่านที่ต่อเนื่องกันมีสาระสำคัญเดียวกัน ดังนั้น เมื่อพิจารณาโดยรวมถือว่า มีความแตกต่างด้านภาพปรากฎ ย่อมสร้างความแตกต่างและไม่ทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดอย่างแน่นอน

3.ความแตกต่างด้านรายการสินค้า

เครื่องหมายการค้าของข้าพเจ้าอ่านได้ว่า YERPALL BUBBLE BLINK
จำพวก 5 วิตามินที่ใช้เป็นอาหารเสริม
เครื่องหมายการค้าตามมาตรา 13 อ่านได้ว่า BLINK
จำพวก 5 อาหารเสริมทำจากพืชและสัตว์ในรูปของเหลวไม่ได้ใช้ในทางการแพทย์
ถือว่า มีความแตกต่างด้านรายการสินค้าซึ่งเป็นภาคส่วนหนึ่งที่ประกอบกับ ความแตกต่างด้านเสียงเรียกขาน และ ความแตกต่างด้านภาพปรากฎ และ เป็นส่วนเสริมที่จะสร้างความแตกต่างและไม่ทำให่สาธารณชนสับสนหลงผิดอย่างแน่นอน

4. blink (บลิงคฺ) คือชื่อสื่อถึงลักษณะและคุณสมบัติของสินค้า ตามกฎหมายจดทะเบียนไม่ผ่าน

Blink (บลิงคฺ) แปลว่า กะพริบตา, หยีตา, เมินเฉย, ส่องแสงเป็นระยะ, ให้สัญญาณไฟกะพริบ -n. การกะพริบตา, การมองแวบเดียว, แสงริบหรี่ -Phr. (on the blinkใช้การไม่ได้ ต้องการซ่อมแซม) เมื่อนำมาใช้กับสินค้า จำพวก 5 อาหารเสริมทำจากพืชและสัตว์ในรูปของเหลวไม่ได้ใช้ในทางการแพทย์ ถือว่า เป็นชื่อที่สื่อถึงลักษณะและคุณสมบัติของสินค้า ตามกฎหมายจดทะเบียนไม่ผ่าน ซึ่งต้องทำการสละสิทธิ ดังนั้น เครื่องหมายการค้าตามมาตรา 13 ไม่ควรผูกขาดการใช้คำว่า Blink ได้แต่เพียงผู้เดียว
อ้างถึง เลขที่คำขอ 210132681
เจ้าของเครื่องหมาย บริษัท เจ พี เอ็น อินเตอร์เทรด จำกัด
ชื่อเครื่องหมาย B ;BLINK BLINK JPN
จำพวก 5
สถานะ 1.เครื่องหมายนี้ยังไม่สามารถรับจดทะเบียนได้ เว้นแต่ จะได้ดำเนินการ ตามมาตรา 17 โดยให้ยื่นแบบ ก.12 ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือฉบับนี้ เพื่อ – แสดงเจตนาว่าไม่ขอถือเป็นสิทธิของตนแต่เพียงผู้เดียวที่จะใช้ BLINK BLINK JPN เพราะเป็นคำบรรยายทั่วไป และJPN ไม่แสดงลักษณะพิเศษ

5.ประวัติการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า BLINK ในฐานข้อมูลของกรมทรัพย์สินทางปัญญา

เครื่องหมายการค้า BLINK ในระบบได้รับการจดทะเบียนแล้วจำนวนมาก และ นำมาผสมกับคำอื่น เช่น HARE ;BLINK ;แฮร์ บริ๊งค์ ก็ได้รับการจดทะเบียนแล้ว หากพิจารณาตามมาตรฐานเดียวกัน YERPALL BUBBLE BLINK ก็น่าจะได้รับการจดทะเบียนเช่นกัน

-ภาพตัวอย่าง-

6. ข้าพเจ้าได้ผลิตและจำหน่ายสินค้าจริง ซึ่งแสดงถึงความสุจริตของข้าพเจ้า ดังนี้

-ภาพตัวอย่างสินค้า-
-ลิ้ง website-
-หลักฐานการจำหน่าย เช่น พวกใบเสร็จการขาย-
-หลักฐานการขอ อย-
-หลักฐานการโฆษณา-
-หลักฐานการสั่งผลิต-
เป็นต้น

ดังนั้น ตามข้อมูลที่ข้าพเจ้ากราบเรียนข้างต้น เครื่องหมายการค้าของข้าพเจ้าไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายของบุคคลอื่นตาม มาตรา 13 ตาม พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534

จึงขอให้คณะกรรมการเครื่องหมายการค้าได้โปรด ดำเนินการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของข้าพเจ้าต่อไปด้วย จักเป็นพระคุณอย่างยิ่ง

แอดไลน์