การจดทะเบียนสิทธิบัตรพันธุ์พืชทำได้หรือไม่ ?

การจดทะเบียนสิทธิบัตรพันธุ์พืชทำได้หรือไม่ ?

มีกฎหมายหลักที่เกี่ยวข้อง คือ

1.พระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542
2.พระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ.2522

เงื่อนไขของการจดทะเบียนสิทธิบัตร
1.เป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่
2.เป็นการประดิษฐ์ที่มีขั้นการประดิษฐ์สูงขึ้น และ
3.เป็นการประดิษฐ์ที่สามารถประยุกต์ในทางอุตสาหกรรม
4.การประดิษฐ์ดังต่อไปนี้ไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติ
4.1 จุลชีพและส่วนประกอบส่วนใดส่วนหนึ่งของจุลชีพที่มีอยู่ตาม ธรรมชาติ สัตว์ พืช หรือสารสกัดจากสัตว์หรือพืช

เงื่อนไขของการขึ้นทะเบียนพันธุ์พืช

1.ความใหม่ เป็นพันธุ์พืชที่ไม่มีการนำส่วนขยายพันธุ์มาใช้ประโยชน์ทั้งในและ
นอกราชอาณาจักรเกินกว่าหนึ่งปีก่อนวันยื่นขอจดทะเบียน
2.เป็นพันธุ์พืชที่แตกต่างจากพันธุ์พืชอื่น
3.มีความสม่ำเสมอ
4.ความคงตัว
5.ตั้งชื่อพันธุ์พืชตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด
6.ข้อตกลงแบ่งปันผลประโยชน์ในกรณีที่มีการใช้พันธุ์พืชพื้นเมืองทั่วไปหรือ
พันธุ์พืชป่าหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของพันธุ์พืชดังกล่าวในการปรับปรุงพันธุ์
สำหรับใช้ประโยชน์ในทางการค้า

สิ่งที่เหมือนกันระหว่างการจดทะเบียนสิทธิบัตรและการขึ้นทะเบียนพันธุ์พืช
1.พันธุ์พืชต้องเป็นพันธุ์พืชใหม่ที่ไม่มีมาก่อน
2.ผู้ทรงสิทธิมีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในการการผลิต ขายหรือจำหน่ายด้วยประการใด นำเข้ามาในราชอาณาจักร ส่งออกนอกราชอาณาจักร หรือมีไว้เพื่อกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดดังกล่าว ซึ่งส่วนขยายพันธุ์ของพันธุ์พืชใหม

สรุปแล้วเราสามารถยื่นจดทะเบียนสิทธิบัตรพันธุ์พืชทำได้หรือไม่ ?

แบ่งดังนี้

1.พันธุ์พืชพื้นเมือง
2.พันธุ์พืชใหม่ (Plant Variety Protection/PVP)
3.พันธุ์พืชใหม่นานาชาติ (UPOV)
4.สิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรม (GMO)

1.พันธุ์พืชพื้นเมือง เป็นสิ่งที่มีอยู่แล้ว และ เป็นจุลชีพและส่วนประกอบส่วนใดส่วนหนึ่งของจุลชีพที่มีอยู่ตาม ธรรมชาติ สัตว์ พืช หรือสารสกัดจากสัตว์หรือพืช ไม่สามารถนำมายื่นจดทะเบียนสิทธิบัตรได้ และ ถือเป็นพันธุ์พืชพื้นเมืองทั่วไป พันธุ์พืชป่าหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของพันธุ์พืชดังกล่าว การนำมาปรับปรุงพันธุ์ ศึกษา ทดลอง หรือวิจัย เพื่อประโยชน์ในทางการค้า จะไม่สามารถยื่นจดทะเบียนได้ เว้นแต่เป็นเรื่องขั้นตอนกรรมวิธีการปรับปรุงพันธุ์ หากมีความพิเศษก็สามารถยื่นจดทะเบียนสิทธิบัตรได้

2.พันธุ์พืชใหม่ (Plant Variety Protection/PVP)
3.พันธุ์พืชใหม่นานาชาติ (UPOV)
4.สิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรม (GMO)

สำหรับทั้ง 3 กรณีข้างต้นถือว่าการคิดค้นพันธุ์พืชใหม่และมีการดัดแปรพันธุกรรมจะเป็นเรื่องของขั้นตอนกรรมวิธีการปรับปรุงพันธุ์ที่มีความพิเศษและสามารถยื่นจดทะเบียนสิทธิบัตรได้ แต่จะได้สิทธิของในส่วนที่เป็นเพียงขั้นตอนกรรมวิธีการปรับปรุงพันธุ์เท่านั้น สำหรับพันธุ์พืชใหม่ จะไม่ได้รับความคุ้มครองเป็นสิทธิบัตร

เนื่องจากแนวทางของกฎหมายไทยยังพิจารณาว่าพันธุ์พืชใหม่จะต้องนำไปขึ้นทะเบียนเป็นพันธุ์พืชใหม่มากกว่าจะนำมาจดทะเบียนสิทธิบัตร

สำหรับความเห็นของผู้เขียนมองว่า พันธุ์พืช ส่วนใหญ่ที่นำมาปรับปรุงพันธุ์จะเป็นการนำมาพัฒนาให้ดีขึ้นมากกว่าเป็นการคิดค้นพันธุ์พืชใหม่ขึ้นมา ดังนั้นส่วนมากแล้วในประเทศไทยเราจะไม่พบเห็นสิทธิบัตรที่เป็นพันธุ์พืชเลย

พันธุ์พืชใหม่ในความหมายของสิทธิบัตรที่จะสามารถยื่นจดทะเบียนได้ต้องเป็นพันธุ์พืชใหม่ที่เราไม่เคยพบเห็นเลย เช่น ขนุนที่มีหนามเหมือนทุเรียนและเนื้อขนุนก็มีขนาดใหญ่เท่ากับพูทุเรียน เป็นต้น ไม่ใช่เพียงยังคงเป็นขนุนแต่มีผลขนาดใหญ่ ต้นเตี้ย มีลูกดก เหลืองสวยแบบนี้ถือว่าเป็นการปรับปรุงพันธ์

กล่าวโดยสรุปคือ  สามารถจดทะเบียนสิทธิบัตรพันธุ์พืชได้แต่จะได้สิทธิเพียงขั้นตอนกรรมวิธีการปรับปรุงพันธุ์มากกว่าเป็นตัวพันธุ์พืช

หากมีการนำพันธุ์พืชใหม่ไปขยายพันธุ์จะไม่มีความผิดตาม ความผิดตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ.2522 เพราะเราไม่ได้ละเมิดเรื่องขั้นตอนกรรมวิธีการปรับปรุงพันธุ์ แต่อาจจะมีความผิดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542

แอดไลน์