04
May2023

การจดสิทธิบัตร (patent)  เป็นเครื่องมือหนึ่งในการสร้างความได้เปรียบทางการค้า หมายความว่าหากเรามี “สิทธิบัตร” คู่แข่งจะไม่สามารถผลิตสินค้าในลักษณะที่เหมือนเราได้ และ ไม่สามารถเข้ามาในพื้นที่ทางการแข่งขันให้กับธุรกิจได้

ยกตัวอย่างเช่น Moderna ฟ้อง Pfizer  โดยกล่าวหาว่าบริษัทละเมิดสิทธิ์ในสิทธิบัตร 3 ฉบับที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมที่ Moderna ในเมืองเคมบริดจ์ รัฐแมสซาชูเซตส์กล่าวว่าเป็นผู้บุกเบิกก่อนการระบาดของ COVID-19  ในคดีฟ้องร้อง บริษัท Moderna ได้เรียกร้องค่าเสียหายที่ไม่เปิดเผยจากวัคซีน COVID-19 ของ Pfizer ที่ขายตั้งแต่เดือนมีนาคม วัคซีนของ Pfizer สร้างรายได้กว่า 26.4 พันล้านดอลลาร์ให้กับบริษัทในนิวยอร์กในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2565 ในขณะที่ Moderna ขายวัคซีนมูลค่ากว่า 13.5 พันล้านดอลลาร์ในช่วงเวลาเดียวกัน ตามเอกสารของบริษัทที่ยื่นต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ของสหรัฐฯ

Pfizer และ BioNTech กล่าวในการยื่นคำร้องว่าพวกเขาพัฒนาวัคซีนของตนเองโดยอิสระ โดยเรียกคดีของ Moderna ว่า “revisionist history” และโต้แย้งสิทธิบัตรของตน

https://www.reuters.com/legal/pfizer-biontech-countersue-moderna-over-covid-19-vaccine-patents-2022-12-05/

ทั้งหมดเกี่ยวข้องอย่างโดยตรงสิ่งกับที่เรียกว่า “สิทธิบัตร” อยู่เบื้องหลังทั้งสิ้น และเป็นเครื่องมือที่ทำให้ธุรกิจ สามารถแสวงหากำไร และ ปกป้องการละเมิดจากบุคคลอื่นได้อย่างเต็มที่ในช่วงเวลาที่สิทธิบัตรยังมีอายุการคุ้มครอง

ดังนั้นหากคุณเป็นนักประดิษฐ์ นักพัฒนาสินค้า จะต้องทำการเรียนรู้เกี่ยวกับสิทธิบัตร และก้าวเข้าสู่การเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิบัตร ที่สามารถดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายและ เขียนสิทธิบัตร ได้อย่างถูกต้อง เพื่อสร้างความได้เปรียบให้กับธุรกิจของคุณ และที่สำคัญคือ  จะช่วยลดต้นทุนด้านการทำสิทธิบัตร จากการจ้างทีมที่ปรึกษาอีกด้วย  หลังจากนี้ทางเราจะให้ข้อมูลวิธีการจดสิทธิบัตรด้วยต้นเอง ตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงได้รับอนุมัติ และ ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการบังคับใช้ทางกฎหมาย

วันนี้ TGC Thailand เลยอยากจะมาแชร์ข้อมูลว่า สิทธิบัตรมีวิธีการจดทะเบียนอย่างไร? มีทั้งหมดกี่แบบ? และแต่ละแบบคืออะไรบ้าง?

Patent Value – ยิ่งใช้นานมูลค่ายิ่งลดลงเพราะหมดอายุได้

“จดสิทธิบัตร ฟ้องร้องและบังคับใช้ได้ คือ ทองคำ”

“จดสิทธิบัตร ฟ้องร้องและบังคับใช้ไม่ได้ คือ กระดาษเปล่า”

การจดสิทธิบัตร (patent) ประเทศไทย แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ

ก.สิทธิบัตรการประดิษฐ์
ข.อนุสิทธิบัตร
ค.และสิทธิบัตรออกแบบผลิตภัณฑ์
สิทธิบัตรไม่ได้คุ้มครองงานที่เกิดจากความคิด แต่ต้องนำความคิดมาทำให้เกิดเป็นสิ่งที่จับต้องได้ที่เรียกว่าเป็นสิ่งประดิษฐ์ ตัวอย่างเช่น  อุปกรณ์ เครื่องยนต์ เครื่องจักร สูตรผสม กรรมวิธีการผลิต ระบบการทำงาน โครงสร้างทางเคมี การตัดต่อพันธุกรรม หรืองานออกแบบอุตสาหกรรม เป็นต้น

สิทธิบัตร ถือป็นทรัพย์สินทางปัญญาประเภทหนึ่ง ประเทศสินทรัพย์ที่จัดต้องไม่ได้ สินทรัพย์ไม่มีตัวตน (Intangible Assets)  โดยสิทธิบัตร คือ หนังสือสำคัญที่รัฐออกให้เพื่อคุ้มครองงานประดิษฐ์ กรรมวิธี กระบวนการผลิต สิ่งประดิษฐ์หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ โดยมอบสิทธิให้ภายในระยะเวลาที่จำกัด เนื่องจากการคุ้มครองที่ยาวนานเป็นการปิดกั้นในการแสวงหาประโยชน์ในงานสิทธิบัตรมากเกินไป และส่งผลต่อการพัฒนาประเทศ โดยแลกกับการเปิดเผยรายละเอียดการประดิษฐ์ต่อสาธารณะ

สิทธิบัตร แบ่งกลุ่มความคุ้มครอง ออกเป็นลักษณะใหญ่ๆ ด้วยกัน 2 ลักษณะ คือ การคุ้มครองการประดิษฐ์ และการคุ้มครองการออกแบบ ดังแสดงตามตัวอย่างต่อไปนี้

 

คุ้มครองสิ่งประดิษฐ์ สูตร กรรมวิธี และงานระบบโปรแกรม                  คุ้มครองงานออกแบบ ลวดลาย รูปทรง

1. สิทธิบัตรการประดิษฐ์                                                               1. สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์

2. อนุสิทธิบัตร

1.1 สิทธิบัตรการประดิษฐ์

สิทธิบัตรการประดิษฐ์นั้นคุ้มครองสิ่งประดิษฐ์ที่เป็นองค์ประกอบทางวิศวะกรรม สูตรส่วนผสม กรรมวิธีและขั้นตอนการผลิต หรือระบบการทำงานของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ทำงานร่วมกับ hard ware และ ขั้นตอนการทำงาน ซึ่งจะต้องเป็นงานประดิษฐ์ที่เป็นเทคโนโลยีใหม่ มีการพัฒนาที่แตกต่างจากเดิมอย่างเด่นชัด (Breakthrough technology) โดยสิทธิบัตรการประดิษฐ์ในประเทศไทย มีระยะเวลาคุ้มครองสูงสุด 20 ปี

 

รถยนต์คันแรกของโลก “รถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์แก๊ส”

รู้หรือไม่?  รถยนต์คันแรก คือของใคร ?
เมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2429 คาร์ล เบนซ์ยื่นขอสิทธิบัตรสำหรับ “รถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์แก๊ส” สิทธิบัตร – หมายเลข 37435 – อาจถือเป็นสูติบัตรของรถยนต์ ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2429 หนังสือพิมพ์ได้รายงานถึงการเปิดตัว Benz Patent Motor Car แบบสามล้อต่อสาธารณชนเป็นครั้งแรก หมายเลขรุ่น 1.

เครื่องยนต์เบนซินแบบอยู่กับที่เครื่องแรกที่พัฒนาโดยคาร์ล เบนซ์ เป็นเครื่องสองจังหวะ 1 สูบ ซึ่งออกวิ่งเป็นครั้งแรกในวันส่งท้ายปีเก่า พ.ศ. 2422 เบนซ์ประสบความสำเร็จทางการค้าอย่างมากกับเครื่องยนต์นี้ ทำให้เขาสามารถอุทิศเวลาให้กับความฝันได้มากขึ้น ในการสร้างรถยนต์น้ำหนักเบาที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์เบนซิน ซึ่งแชสซีและเครื่องยนต์รวมเป็นหนึ่งเดียว

หลักพิจารณาสิทธิบัตรการประดิษฐ์

ในการพิจารณาความเป็นสิทธิบัตรการประดิษฐ์ (invention patent)  จะมี องค์ประกอบ 3 ส่วน ดังนี้

  • ความใหม่ (Novelty) สิ่งประดิษฐ์ต้องมีความใหม่ โดยต้องไม่เหมือนกับงานประดิษฐ์ที่เปิดเผยสาระสำคัญอยู่แล้ว หรือไม่มีในฐานข้อมูลสิทธิบัตร อีกทั้งไม่มีการเปิดเผยสาระสำคัญของงานในสื่อสิ่งพิมพ์ วารสาร หรืองานแสดงทางวิชาการ เป็นต้น ซึ่งผู้ที่จะยื่นจดสิทธิบัตรควรทำการสืบค้นทั้งในตลาดว่ามีการเปิดเผยงานไว้แล้วหรือไม่และทำการสืบค้นในระบบฐานข้อมูลสิทธิบัตรว่ามีการจดทะเบียนไว้แล้วหรือไม่
  • ขั้นการประดิษฐ์ที่สูงขั้น (Invention Step) ต้องเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่มีการพัฒนาต่อยอดให้แตกต่างจากเดิมอย่างเห็นได้ชัด  ในลักษณะที่มีขั้นประดิษฐ์ คือเป็นบรรไดขั้นที่ 2 ขึ้นไป ถ้ายังอยู่ขั้นเดิมแต่ออกข้างถือเป็นงานใหม่ แต่ไม่มีขั้นประดิษฐ์  ความใหม่ต้องเป็นในเชิงฟังก์ชั่นหรือผลลัพธ์ของงานประดิษฐ์ดังกล่าวสร้างผลที่ดีขึ้น
  • การประยุกต์ใช้ในเชิงอุตสาหกรรม (Industrial Applicable) งานประดิษฐ์ต้องสามารถนำมาใช้ได้จริง ไม่ว่าจะด้วยการผลิตในเชิงอุตสาหกรรมหรืองานฝีมือ และก่อให้เกิดประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมและสังคมในทางใดทางหนึ่ง

1.2 อนุสิทธิบัตร

 

อนุสิทธิบัตร คุ้มครองงานประดิษฐ์ในเชิงฟังชั่น กลไก สูตรหรือกรรมวิธีการผลิต ที่เป็นงานประดิษฐ์ที่เป็นการต่อยอดเทคโนโลยีเดิม และ มีขั้นประดิษฐ์ ซึ่งอนุสิทธิบัตร มีอายุความคุ้มครองสูงสุด 10 ปี

คนไทย จดอนุสิทธิบัตร มากกว่าสิทธิบัตรการประดิษฐ์

หลักการพิจารณาอนุสิทธิบัตร

อนุสิทธิบัตร (petty patent) คุ้มครอง 10 ปี จะได้รับการรับจดทะเบียนง่ายกว่าสิทธิบัตรการประดิษฐ์ ที่คุ้มครอง 20 ปี ดังนี้

  • ใหม่ (Novelty) ผู้ตรวจสอบจะตรวจค้นความใหม่เบื้องต้นแค่ในประเทศไทย กล่าวคือ ถ้าในฐานข้อมูลสิทธิบัตรไทย ไม่มีงานที่มีลักษณะเดียวกัน ก็สามารถได้รับจดเป็นอนุสิทธิบัตรได้ แต่อย่างไรก็ดี งานประดิษฐ์ควรจะต้องเป็นงานที่มีความใหม่ในระดับสากล ซึ่งหากมีการร้องขอให้ตรวจสอบการประดิษฐ์ในระดับสากลไม่ว่าโดยตนเองหรือบุคคลที่มีส่วนได้เสียก็อาจจะทำให้ไม่มีความใหม่ได้
  • สามารถประยุกต์ใช้ในเชิงอุตสาหกรรม (Industrial Applicable) สิ่งประดิษฐ์ต้องสามารถนำมาใช้งานได้จริงและแก้ปัญหาได้ ไม่ว่าจะด้วยการผลิตในเชิงอุตสาหกรรมหรืองานฝีมือ และก่อให้เกิดประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมและสังคมในทางใดทางหนึ่ง

กล่าวคือ อนุสิทธิบัตร จะไม่พิจารณาขั้นการประดิษฐ์ที่สูงขึ้น และ มักจะเป็นงานประดิษฐ์ที่เป็นการต่อยอดเทคโนโลยีที่ไม่สููง หรือ เป็นเทคโนโลยีที่สูงแต่เลือกที่จะขอความคุ้มครองเป็น อนุสิทธิบัตร  เช่น การนำสิ่งประดิษฐ์สองอย่างที่มีอยู่แล้วมาเชื่อมต่อกันและเกิดการทำงานใหม่ที่ดีขึ้น ก่อให้เกิดฟังก์ชั่นการใช้งานที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น ก็สามารถจดเป็นอนุสิทธิบัตรได้

1.3 สิทธิบัตรออกแบบผลิตภัณฑ์

 

สิทธิบัตรออกแบบผลิตภัณฑ์ (design patent) จะแตกต่างจากสิทธิบัตร สองประเภทแรก ตรงที่สิทธิบัตรออกแบบผลิตภัณฑ์จะคุ้มครองงานออกแบบที่เป็นภาพที่มองเห็นด้วยสายตา คือ รูปร่าง รูปทรง เชิงมิติ ลวดลาย ของผลิตภัณฑ์ ตัวอย่างเช่น รูปทรงแก้ว รูปทรงขวด  เป็นต้น เน้นความสวยงาม หรือ การประยุกต์ใช้งานได้ดีกว่าเดิม โดยสิทธิบัตรออกแบบ มีระยะเวลาคุ้มครองสูงสุด 10 ปี

พระราชบัญญัติสิทธิบัตรฉบับแรกจะประกาศใช้ในปี พ.ศ. 2333 แต่หลังจากนั้นประมาณ 52 ปี กฎหมายสิทธิบัตรของสหรัฐอเมริกาก็ได้รับการแก้ไขเพื่อให้สามารถจดสิทธิบัตรการออกแบบไม้ประดับได้ ในปี พ.ศ. 2385

พระราชบัญญัติสิทธิบัตรฉบับแรกจะประกาศใช้ในปี พ.ศ. 2333 แต่หลังจากนั้นประมาณ 52 ปี กฎหมายสิทธิบัตรของสหรัฐอเมริกาก็ได้รับการแก้ไขเพื่อให้สามารถจดสิทธิบัตรการออกแบบไม้ประดับได้ ในปี พ.ศ. 2385 มีการออกกฎหมายเพื่อให้การอนุญาตสิทธิบัตรสำหรับสิ่งใหม่และดั้งเดิม: (1) การออกแบบสำหรับการผลิต; (2) การออกแบบพิมพ์บนผ้า (3) หน้าอกหรือรูปปั้น (4) ความประทับใจในผลิตภัณฑ์ที่ผลิต; หรือ (5) รูปร่างหรือโครงแบบของสิ่งผลิตใดๆ ต่อจากนั้น ในปี 1902 กฎหมายสิทธิบัตรการออกแบบได้รับการแก้ไขเพื่อกำหนดหัวข้อที่อนุญาตง่ายๆ ว่า “การออกแบบใหม่ ดั้งเดิม และประดับสำหรับผลิตภัณฑ์ที่ผลิต” ภาษานี้เลียนแบบการแก้ไขพระราชบัญญัติสิทธิบัตรในปี 1887 ที่เกี่ยวข้องกับการละเมิด และยังคงแสดงถึงกฎหมายในปัจจุบันเกี่ยวกับการจดสิทธิบัตรการออกแบบ

สิทธิบัตรการออกแบบฉบับแรกที่ออกในสหรัฐอเมริกาออกให้แก่จอร์จ บรูซเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2385 มีการออกสิทธิบัตรการออกแบบเพียง 13 ฉบับในปีแรกของการมีสิทธิ์

หลักการพิจารณาสิทธิบัตรออกแบบผลิตภัณฑ์

  • เป็นสิ่งใหม่ (Novelty) งานออกแบบต้องมีความใหม่ในระดับสากล โดยต้องไม่เหมือนกับงานออกแบบที่มีอยู่แล้วก่อนหน้า หรือไม่มีงานออกแบบดังกล่าวในฐานข้อมูลสิทธิบัตร อีกทั้งไม่มีการเปิดเผยสาระของงานในสื่อสิ่งพิมพ์ วารสาร หรืองานแสดงทางวิชาการ เป็นต้น โดยการพิจารณาความเหมือนคล้ายของสิทธิบัตรออกแบบ จะตรวจสอบแค่รูปทรงเชิงมิติภายนอกที่มองเห็นด้วยตา ไม่วิเคราะห์ไปถึงฟังก์ชั่นของงานประดิษฐ์ กล่าวคือ งานประดิษฐ์ที่มีฟังก์ชั่นเหมือนกัน แต่คนละดีไซน์ ก็สามารถจดสิทธิบัตรออกแบบได้เช่นกัน
  • ประยุกต์ใช้ในเชิงอุตสาหกรรม (Industrial Applicable) สิ่งประดิษฐ์ต้องสามารถนำมาใช้งานได้จริง ไม่ว่าจะด้วยการผลิตในเชิงอุตสาหกรรมหรืองานฝีมือ และก่อให้เกิดประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมและสังคมในทางใดทางหนึ่ง

ตัวอย่างสิทธิบัตรออกแบบผลิตภัณฑ์

สรุปรวมความแตกต่างของสิทธิบัตรแต่ละประเภท เพื่อให้สามารถเลือกความคุ้มครองได้อย่างถูกต้อง ตรงกับสิ่งที่ต้องการคุ้มครอง

2. ทำไมต้องจดสิทธิบัตร

สิทธิบัตร คือ การเปลี่ยนความคิดเป็น ชิ้นงานที่จับต้องได้ และ ชิ้นงานที่จับต้องได้ เป็นสิทธิบัตรที่มีมูลค่าที่เป็นทรัพย์สินที่ไม่มีตัวตน (Intangible asset) และ นำไปสู่สิทธิที่ผูดขาดได้ของผู้ยื่นจดทะเบียน ในระยะเวลาหนึ่ง

ผู้ประกอบการหรือ SME มักจะใช้สิทธิบัตรมาเป็นเครื่องมือในการทำธุรกิจ และ สร้างความได้เปรียบเหนือคู่แข่งจากการทำซ้ำ ได้อย่างถูกกฏหมาย

ข้อดีของการจดสิทธิบัตร ได้แก่

  1. สิทธิบัตรเป็นเครื่องมือที่สร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน  สิทธิบัตรให้สิทธิแต่เพียงผู้เดียวแก่เจ้าของ ในการ ผลิต ขาย มีไว้เพื่อขาย หรือนำเข้าผลิตภัณฑ์ กรรมวิธี สูตร ตามสิทธิบัตร และนั่นคือ การผูกขาดสิ่งที่จะทำให้เราได้เปรียบเหนือคู่แข่งไว้แต่เพียงผู้เดียว
  2. สิทธิบัตรเป็นเครื่องมือในการปกป้องข้อมูลและงานวิจัย ก่อนทำสิทธิบัตรจะต้องผ่านกระบวนการคิด การวิจัย การทดลอง การจดทะเบียนสิทธิบัตรก็ถือว่าเป็นการคุ้มครอง ปกป้องข้อมูลและงานวิจัย ไปในตัว  
  3. สิทธิบัตรมีมูลค่าแลกเป็นเงินได้  กล่าวคือ ข้อมูลและงานวิจัย และ ชิ้นงาน มีมูลค่าเป็นสินทรัพย์ไม่มีตัวตน (Intangible Assets) และสินทรัพย์มีตัวตน (tangible Assets).  ซึ่งทำการแลกเปลี่ยนเป็นเงินได้
  4. สิทธิบัตรเพิ่มมูลค่าในสินค้าได้ สินค้าที่มีสิทธิบัตรมักจะมีมูลค่าสูงกว่าสินค้าที่ไม่มีสิทธิบัตร เช่น สินค้ามีมูลค่า 100 บาทแต่เมื่อมีสิทธิบัตรสินค้านั้นจะต้องถูกบวกราคาเป็น 150 บาท เพราะในส่วน 50 บาทคือเป็นค่าของสิทธิบัตร
  5. สิทธิบัตรเป็นเครื่องมือในการร่วมทุนได้  เช่น  นาย ก. มีเทคโนโลยีแต่ไม่มีทุน นาย ข.มีทุนแต่ไม่มีเทคโนโลยี ซึ่งนาย ก. กับ นาย ข. สามารถเข้าร่วมทุนและแบ่งปันผลกำไรกันได้
  6. สิทธิบัตรเป็นสัญลักษณ์ในการภาพลักษณ์    เนื่องจากสิทธิบัตรเป็นสัญลักษณ์ในการรับรองว่าเป็นบริษัทด้านนวัตกรรม และ ผู้ประดิษฐ์ก็จะถูกบันทึกไว้ว่าเป็นผู้คิดค้น ซึ่งสร้างความมีชื่อเสียงด้วย  เป็นต้น
  7. สิทธิบัตรเป็นเครื่องมือในการพัฒนาประเทศและของโลก เนื่องจากสิทธิบัตรที่มีประโยชน์และช่วยคนได้ถือเป็นการเปลี่ยนโลก เช่น ยาต้านโควิด 19 ก็ช่วยประชากรโลกไม่ให้เสียชีวิต

3. จดสิทธิบัตรด้วยตัวเองยากหรือไม่

นักประดิษฐ์ นักวิจัย สามารถยื่นจดทะเบียนด้วยตนเองได้ โดยทำตามรูปแบบที่กฎหมายกำหนด แต่จะมีส่วนที่สำคัญคือการเขียนข้อถือสิทธิ ที่ต้องระบุให้สามารถฟ้องร้องและใช้บังคับได้ โดยมีข้อพิจารณา ดังนี้
  1.  คำขอรับสิทธิบัตรต้องเขียนให้คุ้มครองแบบกว้าง เพื่อให้สามารถใช้บังคับแบบกว้างได้ และ ป้องกันการแทรกตัวเข้ามาของคู่แข่งที่พยาบามเลียนแบบ
  2. คำขอรับสิทธิบัตรต้องเขียนเนื้อหาข้อถือสิทธิให้ชัดเจนเพื่อให้สืบค้นเจอได้ง่าย และ จะทำให้บุคคลอื่นอ่านแล้วเข้าใจเพื่อป้องกันการลอกเลียนแบบ และ หยุดการเริ่มต้นของการละเมิดได้
  3.  คำขอสิทธิบัตรต้องเขียนให้เข้าใจได้ และ ความเข้าใจนั้นจะนำไปสู่การฟ้องร้องและการบังคับใช้ได้ รวมถึงการซื้อขายก็จะตัดสินใจได้ง่ายด้วย
  4. คำขอสิทธิบัตร ต้องปฎิบัติตามคำสั่งและกำหนดเวลาของกรมทรัพย์สินทางปัญญา หากไม่ทำ หรือ ทำเกินกำหนด คำขอนั้นจะถูกละทิ้ง

4. หัวใจสำคัญของการจดสิทธิบัตร

 สิ่งสำคัญที่สุด คำตอบก็คือ “ข้อถือสิทธิที่ต้องการคุ้มครอง”

การเขียนเนื้อหาดีแค่ไหน จะมาตกม้าตายตอนเขียนข้อถือสิทธิไม่ได้  ซึ่งสิทธิบัตร มีข้อถือสิทธิได้มากกว่า 10 ข้อ / อนุสิทธิบัตร มีข้อถือสิทธิได้สูงสุด 10 ข้อ / และ สิทธิบัตรออกแบบผลิตภัณฑ์ มีข้อถือสิทธิได้ 1 ข้อ  และในจำนวนข้อเหล่านั้น ก็จะแบ่งแยกย่อยเป็นข้อถือสิทธิหลัก และข้อถือสิทธิรอง

ข้อถือสิทธิหลัก เช่น  1.โต๊ะที่มีขา

ข้อถือสิทธิรอง เช่น  2.โต๊ะที่มีขา 4 ขา

ข้อถือสิทธิรอง เช่น  3.โต๊ะที่มีขา 4 ขาที่เชื่อมต่อไว้ทั้ง 4 มุม

ข้อถือสิทธิรอง เช่น  4.โต๊ะที่มีขา 4 ขาพับเข้าหาโต๊ะได้

(1) ส่วนทั่วไป ที่เป็นพื้นฐาน

(2) ส่วนเชื่อมต่อ

(3) ส่วนข้อถือสิทธิ ที่ต้องการป้องกันไม่ให้บุคคลอื่นมาทำตาม

5. หลักในการพิจารณาความใหม่

หลักกฎหมายที่สำคัญต้องไม่ซ้ำกับงานที่ปรากฎอยู่แล้ว คือเป็นสิ่งใหม่  โดยมีหลักการดังนี้
  1. ต้องไม่เหมือนหรือคล้ายกับงานประดิษฐ์ที่มีอยู่ก่อนหน้า และ ในเอกสารฐานข้อมูลสิทธิบัตร ดูได้จากการสืบค้นข้อมูลสิทธิบัตร
  2. ต้องไม่เป็นงานประดิษฐ์ที่ใช้กันแพร่หลายและเปิดเผยสาระสำคัญแล้วในราชอาณาจักร
  3. ต้องไม่มีการเปิดเผยสาระสำคัญก่อนวันที่ยื่นจดสิทธิบัตร ไม่ว่าจะเป็น วาระสาร สื่อ สิ่งพิมพ์ หรืองานแสดง ยกเว้นจะเป็นงานแสดงที่ทางราชการสามารถออกจดหมายรับรองให้ได้

อย่างไรก็ตาม การเปิดเผยที่จะทำให้สูญเสียความใหม่ ต้องเป็นการเปิดเผยสาระสำคัญของงานด้วย ไม่ใช้เพียงแค่มีอยู่  เช่น รถที่บินได้ และ ไม่ทราบว่ามีกลไกการบินอย่างไร แบบนี้ไม่ถือว่ามีการเปิดเผย

6. สิ่งที่ไม่สามารถขอรับสิทธิบัตร ได้

มาตรา 9 การประดิษฐ์ดังต่อไปนี้ไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติ

(1) จุลชีพและส่วนประกอบส่วนใดส่วนหนึ่งของจุลชีพที่มีอยู่ตามธรรมชาดิ สัตว์ พืชหรือสารสกัดจาก

สัตว์หรือพืช

(2) กฎเกณฑ์และทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์

(3) ระบบข้อมูลสำหรับการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์

(4) วิธีการวินิจฉัย บำบัด หรือรักษาโรคมนุษย์ หรือสัตว์

(5) การประดิษฐ์ที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดี อนามัยหรือสวัสดิภาพของประชาชน

จุลชีพและส่วนประกอบส่วนใดส่วนหนึ่งของจุลชีพที่มีอยู่ตามธรรมชาดิ สัตว์ พืชหรือสารสกัดจากสัตว์หรือพืช เพราะเป็นสิ่งที่มีอยู่แล้วตามธรรมชาติไม่สมควรให้บุคคลใดได้สิทธิไป และ การที่เราสกัดออกมานั้น ไม่ได้หมายความว่าเราเป็นเจ้าของสิ่งนั้น

กรรมวิธีการสกัดหรือวิธีการอื่นๆ ที่ทำให้ได้มาซึ่งส่วนประกอบของสิ่งมีชีวิตนั้นสามารถขอรับความคุ้มครองได้  

 
(2) กฎเกณฑ์และทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ เพราะเป็นสิ่งที่มีอยู่แล้วตามธรรมชาติไม่สมควรให้บุคคลใดได้สิทธิไป มนุษย์เป็นเพียงผู้ค้นพบเท่านั้น ดังนั้นเราจึงไม่สามารถถือสิทธิ์ในสิ่งเหล่านี้ได้

 ในระบบปฏิบัตการโดยใช้ กฎเกณฑ์และทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ มาแก้ปัญหาสามารถขอรับความคุ้มครองได้  

(3) ระบบข้อมูลสำหรับการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ โปรแกรมคอมพิวเตอร์จัดเป็นงานวรรณกรรมประเภทหนึ่ง ไม่สมควรให้บุคคลใดได้สิทธิไป

โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้ควบคุม Hardware และ เกิดการทำงานใหม่มีผลเชิงเทคนิค สามารถจดเป็นสิทธิบัตร

(4) วิธีการวินิจฉัย บำบัด หรือรักษาโรคมนุษย์ หรือสัตว์  การตรวจหรือรักษาโรคของคนและสัตว์ ไม่สามารถขอรับความคุ้มครองได้ เนื่องจากจะเป็นการจำกัดสิทธิการเข้าถึงการรักษาของมนุษย์ เช่น หากเรามีวิธีการรักษาโรคเอดส์  ถือว่าเป็นการใช้สิทธิเกินส่วนที่ไม่เป็นผลดีต่อสังคม

สูตรยา  สามารถจดเป็นสิทธิบัตรได้

(5) การประดิษฐ์ที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดี อนามัยหรือสวัสดิภาพของประชาชน  เช่น งานที่มีลักษณะโป๊ เปลือย

7.1 ขั้นตอนการจดสิทธิบัตร

 7.1 แบ่งเป็น 4 ช่วงใหญ่ๆ ดังนี้
  1. ขั้นตอนการยื่นคำขอ ซึ่งเจ้าหน้าที่กรมทรัพย์สินทางปัญญาจะใช้เวลา ตรวจสอบเอกสารเบื้องต้น ว่าครบถ้วนหรือไม่ และ ทำการตรวจสอบความใหม่ว่าไปเหมือนคล้ายกับงานที่ปรากฎอยู่ก่อนแล้วหรือไม่ โดยจะใช้เวลาประมาณ 10-15 เดือน
  2. ข้ันตอนการประกาศโฆษณา เมื่อตรวจสอบความใหม่แล้วว่าเหมือนคล้ายกับงานที่ปรากฎอยู่ก่อนแล้ว ตามข้อ 1 กรมทรัพย์สินทางปัญญาก็จะทำการประกาศโฆษณา  เพื่อให้ผู้มีส่วนได้เสียยื่นคัดค้านงานประดิษฐ์เราได้ภายใน 90 วันหลังประกาศโฆษณา ถ้าพ้น 90 วันไปแล้วไม่มีคนคัดค้าน ก็จะเข้าสู้ขั้นตอนการตรวจค้นการประดิษฐ์ทั่วโลก
  3. ขั้นตอนการตรวจค้น เมื่อผ่านการตรวจค้นการประดิษฐ์ทั่วโลกและซึ่งจะใช้เวลานานถึง 2-4 ปี หากตรวจสอบความใหม่แล้วว่าไม่เหมือนคล้ายกับงานที่ปรากฎอยู่ก่อนแล้วทั่วโลก ก็จะมีคำสั่งให้รับจดทะเบียน
  4. ขั้นตอนการรับจดทะเบียน เมื่อมีคำสั่งรับจดทะเบียน นั่นแปลว่าคำขอของเราได้รับจดเป็นที่เรียบร้อย มีสิทธิความคุ้มครองเต็ม 100% สามารถแจ้งเอาผิดผู้ละเมิด โดยมีระยะเวลาคุ้มครอง 20 ปี

 

7.2 ขั้นตอนการจดอนุสิทธิบัตร

 7.2 แบ่งเป็น 3 ช่วงใหญ่ๆ ดังนี้
  1. ขั้นตอนการยื่นคำขอ ซึ่งเจ้าหน้าที่กรมทรัพย์สินทางปัญญาจะใช้เวลา ตรวจสอบเอกสารเบื้องต้น ว่าครบถ้วนหรือไม่ และ ทำการตรวจสอบความใหม่ว่าไปเหมือนคล้ายกับงานที่ปรากฎอยู่ก่อนแล้วหรือไม่ โดยจะใช้เวลาประมาณ 10-15 เดือน
  2. ข้ันตอนการประกาศโฆษณา เมื่อตรวจสอบความใหม่แล้วว่าเหมือนคล้ายกับงานที่ปรากฎอยู่ก่อนแล้ว ตามข้อ 1 กรมทรัพย์สินทางปัญญาก็จะทำการประกาศโฆษณา  และ รับจดทะเบียน
  3. ขั้นตอนการรับจดทะเบียน เมื่อมีคำสั่งรับจดทะเบียน นั่นแปลว่าคำขอของเราได้รับจดเป็นที่เรียบร้อย มีสิทธิความคุ้มครองเต็ม 100% สามารถแจ้งเอาผิดผู้ละเมิดได้ โดยมีระยะเวลาคุ้มครอง 20 ปี
  4. ขั้นตอนการตรวจสอบการประดิษฐ์ ภายใน 1 ปีนับจากวันรับจดทะเบียน ตนเอง หรือ ผู้มีส่วนได้เสียสามารถร้องขอให้ตรวจค้นการประดิษฐ์ทั่วโลกได้ หากปรากฎว่าเหมือนคล้ายกับงานที่ปรากฎอยู่ก่อนแล้ว ก็จะมีคำสั่งเพิกถอนการรับจดทะเบียน

8. สิทธิบัตร จ้างทำได้หรือไม่?

“ได้ครับ” เพราะ TGC เป็นบริษัทที่ปรึกษา และ มีความเชี่ยวชาญด้านการจดสิทธิบัตรเช่นกัน แต่คำถามที่สำคัญคือ เราจะได้อะไรจากการจ้าง ?

การจ้างจดสิทธิบัตร ข้อดีก็คือ เรื่องของความรวดเร็ว ถูกต้อง และ สามารถนำสิทธิบัตรไปฟ้องร้องและบังคับใช้ได้ สะดวก ไม่ต้องตามเอกสารในเรื่องของ คำสั่งแก้ไข คำสั่งต่ออายุ เป็นต้น

ทำไมถึงต้องจ้างบริษัทที่ปรึกษาในการจดสิทธิบัตร?

  1. ให้คำแนะนำว่า เขียนเอกสารอย่างไรถึงจะยื่นจดทะเบียนผ่าน
  2. ให้คำแนะนำว่า เขียนเอกสารอย่างไรถึงจะสามารถต่อยอดเทคโนโลยีของคู่แข่งได้และยื่นจดทะเบียนผ่าน
  3. ลดความเสี่ยงในการยื่นจดทะเบียนแล้วไม่ผ่าน เช่น การยื่นจดในต่างประเทศ ซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูง ถ้าพลาดไม่ได้รับจดมาเท่ากับเสียเงินไปฟรี หรือ อาจเกิดการละเมิดหรือถูกฟ้องร้องได้
  4. ลดเวลา และ งบประมาณที่บานปลาย โดยผลักภาระให้บริษัทที่ปรึกษาทำแทน

9. ถ้าอยากจ้างทำอย่างไร?

บริษัทที่ปรึกษาด้านทรัพย์สินทางปัญญาในประเทศไทย มีจำนวนไม่มากที่มีความเชี่ยวชาญและความเข้าใจในตัวงาน โดยพิจารณา ดังนี้
  1. ต้องมีประสบการณ์งานสิทธิบัตร และ สามารถเชื่อมโยงงานหลายประเภทเข้าด้วยกันได้
  2. ต้องมีพื้นฐานทางกฎหมาย หรือ เป็นนักกฎหมาย เพราะการจดสิทธิบัตรได้แล้วต้องแจ้งเตือนการละเมิด ทำการฟ้องร้องได้ด้วย ไปขึ้นศาลได้
  3. ต้องส่งข้อมูลโดยละเอียดเพื่อให้สามารถทำการเขียนสิทธิบัตรเพื่อขอรับความคุ้มครองได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

สรุป

สิทธิบัตร คือเอกสารสิทธิ์ที่รัฐออกให้เพื่อเป็นหลักฐานในความเป็นเจ้าของให้กับผู้ประดิษฐ์ เพื่อให้การคุ้มครอง ในระยะเวลาที่กำหนด    มุ่งเน้นคุ้มครองสิ่งประดิษฐ์ ฟั่งชั่นการทำงาน กลไกการทำงาน  กระบวนการผลิต สูตรผสม และงานออกแบบเชิงอุตสาหกรรม

สิทธิบัตรยังมีประโยชน์โดยการใช้เป็นเครื่องมือในการ สร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน เพิ่มให้กับธุรกิจได้

การจดสิทธิบัตรสำคัญต้องจดทะเบียนให้ผ่านและสามารถฟ้องร้องบังคับใช้ได้ด้วย ดังนั้นการจ้างที่ปรึกษานั้นถือว่าสำคัญมาก

 

เพิ่มเติม

 

ทั้งนี้หากใครมีความสงสัยเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ เครื่องหมายการค้า หรือทรัพย์สินทางปัญญาอื่นๆ หรือต้องการขอคำปรึกษาเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา สามารถติดต่อสอบถามเข้ามาได้ ทั้งทางช่องทางไลน์และโทรศัพท์กับเรา TGC Thailand ได้ ซึ่งเป็นช่องทางที่ทั้งง่ายและสะดวก

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

แอดไลน์