สิทธิบัตรต้องการความใหม่ การวิเคราะห์ความใหม่ของสิทธิบัตรทำอย่างไร?
ทำไมสิทธิบัตรต้องการความใหม่
หลักการพื้นฐานง่าย ๆ คือ จดสิทธิบัตร แล้วคนอื่นมาทำตามเราไม่ได้ ถ้าทำตามเราได้ก็ไม่จำเป็นต้องจดทะเบียนเลย ดังนั้นความใหม่คือ ต้องตรวจสอบก่อนว่ามีใครจดทะเบียนก่อนที่เราจะยื่นจดสิทธิบัตรหรือไม่
หลักการของความใหม่ เนื่องจากเหตุผล ดังนี้
1. สิทธิบัตรคือ รางวัลตอบแทนกับผู้ประดิษฐ์ ผู้คิดค้น ที่ทุ่มเทแรงกาย สติปัญญา ทรัพยากรต่างๆ ในการคิดค้นและประดิษฐ์ขึ้น
2. กระตุ้นให้เกิดการพัฒนางานประดิษฐ์อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดการต่อยอดเทคโนโลยีใหม่ๆ จากการที่่ไม่สามารถนำงานประดิษฐ์ก่อนหน้ามาใช้ได้
3. สิ่งที่แพร่หลายอยู่แล้ว ถือได้ว่าไม่ใหม่ บุคคลใดจะเอามาอ้างสิทธิแต่เพียงผู้เดียวไม่ได้
กฎหมายกำหนด ความใหม่ คือไม่เคยเปิดเผยมาก่อน ไว้ดังนี้
งานเปิดเผยมาก่อน คือ
(1) งานประดิษฐ์ดังกล่าวเป็นงานที่ใช้อย่างแพร่หลายแล้ว ในราชอาณาจักรก่อนวันยื่นจดทะเบียน
มีมาก่อนแล้วและแพร่หลายแล้ว ความแพร่หลายไม่มีข้อยกเว้นใดใดๆ แม้แต่ผู้ประดิษฐ์งานนั้นเอง เป็นคนนำการประดิษฐ์ดังกล่าวมาทำให้แพร่หลายแล้ว ก็ถือว่าไม่ใหม่ได้เช่นกัน
(2) งานของคุณได้เปิดเผยสาระสำคัญหรือรายละเอียดสู่สาธารณะแล้ว
การเปิดเผยนี้ไม่จำกัดว่าต้องเกิดในช่องทางใดที่เฉพาะเท่านั้น ไม่ว่าการเปิดเผยนั้นจะเป็นเอกสาร สิ่งพิมพ์ การาจัดแสดง หรือแม้แต่การโพสลงยูทูป ก็ถือเป็นการเปิดเผยทั้งสิ้น
(3) การประดิษฐ์ที่ได้รับสิทธิบัตรไว้แล้ว ก่อนวันขอรับสิทธิบัตร
งานที่ได้รับสิทธิบัตรแล้ว หรือประกาศโฆษณาแล้ว แสดงว่ามีคนอื่นได้ยื่นจดทะเบียนไปก่อนหน้าแล้ว ถือว่าไม่ใหม่แล้ว
ข้อยกเว้นความใหม่
(1) การเปิดเผยที่มิชอบด้วยกฎหมาย
เช่น โดนขโมยออกไปเผยแพร่สู่สาธารณะ หรือการโดนหลอกลวงให้เปิดเผย
(2) เปิดเผยในงานแสดงสินค้า หรือในงานแสดงของทางราชการ
การเปิดเผยดังกล่าว ผู้ประดิษฐ์ต้องเป็นผู้เปิดเผยเองและต้องยื่นขอรับสิทธิบัตรภายใน 12 เดือน นับแต่วันที่ได้มีการเปิดเผย
การตรวจสอบความใหม่ ทำอย่างไร
การสืบค้นสิทธิบัตร ข้อมูลสิทธิบัตรเป็นหลัก ฐานข้อมูลงานวิจัย หรือฐานข้อมูลภายนอก (non-patent)
ตัวอย่างฐานข้อมูลสิทธิบัตร เช่น
ฐานข้อมูลสิทธิบัตรประเทศไทย
https://www.ipthailand.go.th/th/patent-001.html
ฐานข้อมูลสิทธิบัตรประเทศสหรัฐอเมริกา
https://www.uspto.gov/patents/search
ฐานข้อมูลสิทธิบัตรยุโรป
https://www.epo.org/en/searching-for-patents
Google patent
https://patents.google.com/
Paten Lens
https://www.lens.org/lens/search/patent/structured
Patentscope
https://patentscope.wipo.int/search/en/search.jsf
สรุป
งานที่ถือว่าไม่มีความใหม่ เช่น งานประดิษฐ์ดังกล่าวเป็นงานที่ใช้อย่างแพร่หลาย เปิดเผยสาระสำคัญหรือรายละเอียดสู่สาธารณะแล้ว หรือการประดิษฐ์ที่ได้รับสิทธิบัตรไว้แล้ว ซึ่งทำให้งานของเราไม่ใหม่และไม่สามารถจดทะเบียนได้
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่