13
May2023

จดลิขสิทธิ์ ด้วยตัวเอง ขั้นตอน การเตรียมเอกสาร และความรู้เบื้องต้น

นักสร้างสรรค์ผลงาน เช่น งานศิลปะ ดนตรี ภาพยนตร์ หรือเขียนหนังสือ การมีหลักฐานการจดลิขสิทธิ์ที่แสดงถึงเจ้าของผลงาน เป็นสิ่งที่สำคัญ

เรามักจะได้ยินคนพูดว่า จดลิขสิทธิ์หรือยัง ซึ่งทรัพย์สินทางปัญญาทุกอย่างไม่ใช่ลิขสิทธิ์ทั้งหมด ลิขสิทธิ์เป็นเพียงทรัพย์สินทางปัญญาประเภทหนึ่งเท่านั้น

ลิขสิทธิ์ คืออะไร

ลิขสิทธิ์จัดเป็นทรัพย์สินทางปัญญาประเภทหนึ่ง ซึ่งผู้สร้างสรรค์ได้ริเริ่มจากความรู้ อุตสาหะ จิตนาการ และ สติปัญญา ความสามารถและความพยายามของตนเอง

ลิขสิทธิ์คือ งานสร้างสรรค์ ที่เกี่ยวข้องกับความสวยงาม ความบันเทิง เช่น นาฏกรรม ศิลปกรรม ศิลปะประยุกต์ ดนตรีกรรม งานภาพยนตร์และสิ่งบันทึกเสียง งานอื่นใดในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ

จดลิขสิทธิ์ และ จดแจ้งลิขสิทธิ์ ต่างกันอย่างไร?

ตามกฎหมายจริงๆ คือ ต้องใช้คำว่า จดแจ้งลิขสิทธิ์ เพราะการจดแจ้งลิขสิทธิ์ไม่มีระบบตรวจสอบ เป็นการแจ้งให้จด แจ้งอะไรไปก็ต้องจดแจ้งให้ตามนั้น เพราะลิขสิทธิ์จะได้รับความคุ้มครองอัตโนมัตินับจากวันที่เราได้สร้างสรรค์ขึ้น โดยไม่จำเป็นต้องจดทะเบียน เพียงแค่เรามีหลักฐานชัดเจน ว่าเราเป็นผู้สร้างสรรค์งานลิขสิทธิ์นี้ขึ้นก็เพียงพอ

แล้วทีนี้เราจะไปจดลิขสิทธิ์กันทำไม? คำตอบก็คือ การจดแจ้งจึงเป็นเพียงหลักฐานการแสดงความเป็นเจ้าของเท่านั้น ต่อหน่วยงานราชการเท่านั้น ว่าตนเองเป็นผู้สร้างสรรค์ และ สุดท้ายการพิสูจน์ความเป็นเจ้าของที่แท้จริงต้องแสดงหลักฐานอย่างอื่นด้วย

หลักเกณฑ์การพิจารณางานลิขสิทธิ์

งานสร้างสรรค์ คือการแสดงออกถึงความคิด (expression of idea) ที่ผสมผสานจิตนาการเข้าไป และ ออกมาอยู่ในรูปของผลงาน เช่น ภาพวาด และ งานนั้นต้องไม่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรมอันดีของประชาชน

ขั้นตอนการจดแจ้งลิขสิทธิ์

กรอกแบบฟอร์ม ลข.01 ซึ่งสามารถดาวน์โหลดได้ที่เว็บไซต์ของกรมทรัพย์สินทางปัญญา โดยกรอกรายละเอียดดังนี้

ชื่อเจ้าของสิทธิ์ คือ เจ้าของงานนี้ บุคคล บริษัท ราชการ หรือผู้ว่าจ้างก็ได้
ชื่อตัวแทน กรณีเจ้าของสิทธิไม่สะดวกมายื่นเอกสารเอง สามารถมอบอำนาจให้ตัวแทนดำเนินการได้ โดยระบุข้อมูลตัวแทนในช่องนี้
ชื่อผู้สร้างสรรค์หรือนามแฝง บุคคลผู้สร้างสรรค์งาน ซึ่งจะเป็น เจ้าของสิทธิ์ หรือ ผู้โอนก็ได้
ชื่อผลงาน ชื่องานสร้างสรรค์ ไม่มีข้อจำกัด
ประเภทผลงาน ระบุตามประเภทของกฎหมาย เช่น นาฏกรรม ศิลปกรรม ศิลปะประยุกต์ ดนตรีกรรม งานภาพยนตร์และสิ่งบันทึกเสียง เป็นต้น
ภาพผลงาน แนบภาพผลงานลงไป เช่น ภาพวาด หนังสือ
ความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ ระบุว่าได้งานอันมีลิขสิทธิ์นี้มาด้วยวิธีใด เช่น ว่าจ้าง สร้างสรรค์เองหรือรับโอนมา เป็นต้น
รายละเอียดการสร้างสรรค์ผลงานโดยย่อ/ แรงบันดาลใจ อธิบายแรงบรรดาลใจการสร้างสรรค์ผลงาน
สถานที่สร้างสรรค์ และปีที่สร้างสรรค์ ระบุย้อยหลังตามจริงได้
การโฆษณาหรือยัง ต้องระบุว่า วันที่นำมายื่นจดแจ้งได้ทำ การโฆษณาเผยแพร่แล้วหรือยัง เพราะมีผลกับวันคุ้มครอง

เอกสารประกอบการจดแจ้งลิขสิทธิ์

1. สำเนาบัตรประชาชนพร้อมรับรองสำเนา
2. คำขอแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ แบบ ลข.01
3. ผลงานหรือภาพถ่ายงานลิขสิทธิ์
4. หนังสือรับรองความเป็นเจ้าของงานลิขสิทธิ์
5. แบบแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับการสร้างสรรค์ผลงานโดยย่อ

จดลิขสิทธิ์ที่ไหน

ต่างจังหวัด สามารถจดลิขสิทธิ์ได้ที่ พาณิชย์จังหวัด หรือ สามารถจดทะเบียนได้ที่ชั้น 3 กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ สนามบินน้ำ

อะไรบ้างที่จดลิขสิทธิ์ไม่ได้

งานสร้างสรรค์บางกรณีไม่สามารถจดแจ้งลิขสิทธิ์ได้ เนื่องจากกฎหมายกำหนดต้องห้ามไว้ ต่อไปเป็นตัวอย่างสิ่งที่จดไม่ได้ หรือไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ ได้แก่

ภายใต้บังคับบทบัญญัติในวรรคหนึ่ง การกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ตามวรรคหนึ่ง มิให้ถือว่า เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าได้กระทำดังต่อไปนี้

(๑) วิจัยหรือศึกษางานนั้น อันมิใช่การกระทำเพื่อหากำไร

(๒) ใช้เพื่อประโยชน์ของตนเอง หรือเพื่อประโยชน์ของตนเอง และบุคคลอื่นในครอบครัว หรือญาติสนิท

(๓) ติชม วิจารณ์ หรือแนะนำผลงาน โดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานนั้น

(๔) เสนอรายงานข่าวทางสื่อสารมวลชน โดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานนั้น

(๕) ทำซ้ำ ดัดแปลง นำออกแสดง หรือทำให้ปรากฏ เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาของศาลหรือเจ้าพนักงานซึ่งมีอำนาจตามกฎหมาย หรือในการรายงานผลการพิจารณาดังกล่าว

(๖) ทำซ้ำ ดัดแปลง นำออกแสดง หรือทำให้ปรากฏโดยผู้สอน เพื่อประโยชน์ในการสอนของตน อันมิใช่การกระทำเพื่อหากำไร

(๗) ทำซ้ำ ดัดแปลงบางส่วนของงาน หรือตัดทอน หรือทำบทสรุป โดยผู้สอนหรือสถาบันศึกษา เพื่อแจกจ่ายหรือจำหน่ายแก่ผู้เรียนในชั้นเรียนหรือในสถาบันศึกษา ทั้งนี้ ต้องไม่เป็นการกระทำเพื่อหากำไร

(๘) นำงานนั้นมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการถามและตอบในการสอบ

ขั้นตอน กรรมวิธี ระบบ วิธีใช้หรือวิธีทำงาน ไม่จัดเป็นงานลิขสิทธิ์ เพราะสร้างขึ้นเพื่อแก้ไขปัยหาที่เกิดขึ้น ถือว่าเป็นทรัพย์สินทางปัญญาประเภทสิทธิบัตร

อายุแห่งการคุ้มครองลิขสิทธิ์

มาตรา ๑๙ ลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้มีอยู่ตลอดอายุของผู้สร้างสรรค์ และมีอยู่ต่อไปอีกเป็นเวลาห้าสิบปี นับแต่ผู้สร้างสรรค์ถึงแก่ความตาย

ในกรณีที่มีผู้สร้างสรรค์ร่วม ลิขสิทธิ์ในงานดังกล่าวให้มีอยู่ตลอดอายุของผู้สร้างสรรค์ร่วม และมีอยู่ต่อไปอีกเป็นเวลาห้าสิบปีนับแต่ผู้สร้างสรรค์ร่วมคนสุดท้ายถึงแก่ความตาย

ถ้าผู้สร้างสรรค์หรือผู้สร้างสรรค์ร่วมทุกคนถึงแก่ความตายก่อนที่ได้มีการโฆษณางานนั้น ให้ลิขสิทธิ์ดังกล่าวมีอายุห้าสิบปีนับแต่ได้มีการโฆษณาเป็นครั้งแรก

ในกรณีที่ผู้สร้างสรรค์เป็นนิติบุคคล ให้ลิขสิทธิ์มีอายุห้าสิบปีนับแต่ผู้สร้างสรรค์ได้สร้างสรรค์ขึ้น แต่ถ้าได้มีการโฆษณางานนั้นในระหว่างระยะเวลาดังกล่าว ให้ลิขสิทธิ์มีอายุห้าสิบปีนับแต่ได้มีการโฆษณาเป็นครั้งแรก

มาตรา ๒๐ งานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ที่ได้สร้างสรรค์ขึ้นโดยผู้สร้างสรรค์ใช้นามแฝงหรือไม่ปรากฏชื่อผู้สร้างสรรค์ ให้ลิขสิทธิ์มีอายุห้าสิบปีนับแต่ได้สร้างสรรค์งานนั้นขึ้น แต่ถ้าได้มีการโฆษณางานนั้นในระหว่างระยะเวลาดังกล่าว ให้ลิขสิทธิ์มีอายุห้าสิบปีนับแต่ได้มีการโฆษณาเป็นครั้งแรก

การละเมิดลิขสิทธิ์

มาตรา ๒๗ การกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ โดยไม่ได้รับอนุญาตตามมาตรา ๑๕ (๕) ให้ถือว่า เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าได้กระทำดังต่อไปนี้

(๑) ทำซ้ำหรือดัดแปลง

(๒) เผยแพร่ต่อสาธารณชน

และ ที่สำคัญการกระทำนั้นต้องกระทำในเชิงพาณิชย์ด้วย ไม่ใช้ทำซ้ำหรือดัดแปลงเพื่อใช้ส่วนตัว

บทกำหนดโทษ

มาตรา ๖๙ ผู้ใดกระทำการละเมิดลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดงตามมาตรา ๒๗ มาตรา ๒๘ มาตรา ๒๙ มาตรา ๓๐ หรือมาตรา ๕๒ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท

ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทำเพื่อการค้า ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสี่ปี หรือปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงแปดแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

สรุป

ลิขสิทธิ์จะได้รับความคุ้มครองอัตโนมัติ นับจากวันที่สร้างสรรค์ การจดลิขสิทธิ์เป็นเพียงหลักฐานทางราชการเพื่ออ้างสิทธิเท่านั้น และ งานสร้างสรรค์ คืองานประเภทสวยงาม ให้ความบันเทิง และ นำไปทำการค้าได้ โดยสามารถจดลิขสิทธิ์ได้ที่กรมทรัพย์สินทางปัญญา โดยใช้แบบพิมพ์ ลข.01 พร้อมหลักฐานงานลิขสิทธิ์

ทั้งนี้หากใครมีความสงสัยเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ เครื่องหมายการค้า หรือทรัพย์สินทางปัญญาอื่นๆ หรือต้องการขอคำปรึกษาเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา สามารถติดต่อสอบถามเข้ามาได้ ทั้งทางช่องทางไลน์และโทรศัพท์กับเรา TGC Thailand ได้ ซึ่งเป็นช่องทางที่ทั้งง่ายและสะดวก

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

แอดไลน์ จดลิขสิทธิ์ ด้วยตัวเอง ขั้นตอน การเตรียมเอกสาร และความรู้เบื้องต้น
13
May2023

จดลิขสิทธิ์ ด้วยตัวเอง ขั้นตอน การเตรียมเอกสาร และความรู้เบื้องต้น

นักสร้างสรรค์ผลงาน เช่น งานศิลปะ ดนตรี ภาพยนตร์ หรือเขียนหนังสือ การมีหลักฐานการจดลิขสิทธิ์ที่แสดงถึงเจ้าของผลงาน เป็นสิ่งที่สำคัญ

เรามักจะได้ยินคนพูดว่า จดลิขสิทธิ์หรือยัง ซึ่งทรัพย์สินทางปัญญาทุกอย่างไม่ใช่ลิขสิทธิ์ทั้งหมด ลิขสิทธิ์เป็นเพียงทรัพย์สินทางปัญญาประเภทหนึ่งเท่านั้น

ลิขสิทธิ์ คืออะไร

ลิขสิทธิ์จัดเป็นทรัพย์สินทางปัญญาประเภทหนึ่ง ซึ่งผู้สร้างสรรค์ได้ริเริ่มจากความรู้ อุตสาหะ จิตนาการ และ สติปัญญา ความสามารถและความพยายามของตนเอง

ลิขสิทธิ์คือ งานสร้างสรรค์ ที่เกี่ยวข้องกับความสวยงาม ความบันเทิง เช่น นาฏกรรม ศิลปกรรม ศิลปะประยุกต์ ดนตรีกรรม งานภาพยนตร์และสิ่งบันทึกเสียง งานอื่นใดในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ

จดลิขสิทธิ์ และ จดแจ้งลิขสิทธิ์ ต่างกันอย่างไร?

ตามกฎหมายจริงๆ คือ ต้องใช้คำว่า จดแจ้งลิขสิทธิ์ เพราะการจดแจ้งลิขสิทธิ์ไม่มีระบบตรวจสอบ เป็นการแจ้งให้จด แจ้งอะไรไปก็ต้องจดแจ้งให้ตามนั้น เพราะลิขสิทธิ์จะได้รับความคุ้มครองอัตโนมัตินับจากวันที่เราได้สร้างสรรค์ขึ้น โดยไม่จำเป็นต้องจดทะเบียน เพียงแค่เรามีหลักฐานชัดเจน ว่าเราเป็นผู้สร้างสรรค์งานลิขสิทธิ์นี้ขึ้นก็เพียงพอ

แล้วทีนี้เราจะไปจดลิขสิทธิ์กันทำไม? คำตอบก็คือ การจดแจ้งจึงเป็นเพียงหลักฐานการแสดงความเป็นเจ้าของเท่านั้น ต่อหน่วยงานราชการเท่านั้น ว่าตนเองเป็นผู้สร้างสรรค์ และ สุดท้ายการพิสูจน์ความเป็นเจ้าของที่แท้จริงต้องแสดงหลักฐานอย่างอื่นด้วย

หลักเกณฑ์การพิจารณางานลิขสิทธิ์

งานสร้างสรรค์ คือการแสดงออกถึงความคิด (expression of idea) ที่ผสมผสานจิตนาการเข้าไป และ ออกมาอยู่ในรูปของผลงาน เช่น ภาพวาด และ งานนั้นต้องไม่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรมอันดีของประชาชน

ขั้นตอนการจดแจ้งลิขสิทธิ์

กรอกแบบฟอร์ม ลข.01 ซึ่งสามารถดาวน์โหลดได้ที่เว็บไซต์ของกรมทรัพย์สินทางปัญญา โดยกรอกรายละเอียดดังนี้

ชื่อเจ้าของสิทธิ์ คือ เจ้าของงานนี้ บุคคล บริษัท ราชการ หรือผู้ว่าจ้างก็ได้
ชื่อตัวแทน กรณีเจ้าของสิทธิไม่สะดวกมายื่นเอกสารเอง สามารถมอบอำนาจให้ตัวแทนดำเนินการได้ โดยระบุข้อมูลตัวแทนในช่องนี้
ชื่อผู้สร้างสรรค์หรือนามแฝง บุคคลผู้สร้างสรรค์งาน ซึ่งจะเป็น เจ้าของสิทธิ์ หรือ ผู้โอนก็ได้
ชื่อผลงาน ชื่องานสร้างสรรค์ ไม่มีข้อจำกัด
ประเภทผลงาน ระบุตามประเภทของกฎหมาย เช่น นาฏกรรม ศิลปกรรม ศิลปะประยุกต์ ดนตรีกรรม งานภาพยนตร์และสิ่งบันทึกเสียง เป็นต้น
ภาพผลงาน แนบภาพผลงานลงไป เช่น ภาพวาด หนังสือ
ความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ ระบุว่าได้งานอันมีลิขสิทธิ์นี้มาด้วยวิธีใด เช่น ว่าจ้าง สร้างสรรค์เองหรือรับโอนมา เป็นต้น
รายละเอียดการสร้างสรรค์ผลงานโดยย่อ/ แรงบันดาลใจ อธิบายแรงบรรดาลใจการสร้างสรรค์ผลงาน
สถานที่สร้างสรรค์ และปีที่สร้างสรรค์ ระบุย้อยหลังตามจริงได้
การโฆษณาหรือยัง ต้องระบุว่า วันที่นำมายื่นจดแจ้งได้ทำ การโฆษณาเผยแพร่แล้วหรือยัง เพราะมีผลกับวันคุ้มครอง

เอกสารประกอบการจดแจ้งลิขสิทธิ์

1. สำเนาบัตรประชาชนพร้อมรับรองสำเนา
2. คำขอแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ แบบ ลข.01
3. ผลงานหรือภาพถ่ายงานลิขสิทธิ์
4. หนังสือรับรองความเป็นเจ้าของงานลิขสิทธิ์
5. แบบแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับการสร้างสรรค์ผลงานโดยย่อ

จดลิขสิทธิ์ที่ไหน

ต่างจังหวัด สามารถจดลิขสิทธิ์ได้ที่ พาณิชย์จังหวัด หรือ สามารถจดทะเบียนได้ที่ชั้น 3 กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ สนามบินน้ำ

อะไรบ้างที่จดลิขสิทธิ์ไม่ได้

งานสร้างสรรค์บางกรณีไม่สามารถจดแจ้งลิขสิทธิ์ได้ เนื่องจากกฎหมายกำหนดต้องห้ามไว้ ต่อไปเป็นตัวอย่างสิ่งที่จดไม่ได้ หรือไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ ได้แก่

ภายใต้บังคับบทบัญญัติในวรรคหนึ่ง การกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ตามวรรคหนึ่ง มิให้ถือว่า เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าได้กระทำดังต่อไปนี้

(๑) วิจัยหรือศึกษางานนั้น อันมิใช่การกระทำเพื่อหากำไร

(๒) ใช้เพื่อประโยชน์ของตนเอง หรือเพื่อประโยชน์ของตนเอง และบุคคลอื่นในครอบครัว หรือญาติสนิท

(๓) ติชม วิจารณ์ หรือแนะนำผลงาน โดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานนั้น

(๔) เสนอรายงานข่าวทางสื่อสารมวลชน โดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานนั้น

(๕) ทำซ้ำ ดัดแปลง นำออกแสดง หรือทำให้ปรากฏ เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาของศาลหรือเจ้าพนักงานซึ่งมีอำนาจตามกฎหมาย หรือในการรายงานผลการพิจารณาดังกล่าว

(๖) ทำซ้ำ ดัดแปลง นำออกแสดง หรือทำให้ปรากฏโดยผู้สอน เพื่อประโยชน์ในการสอนของตน อันมิใช่การกระทำเพื่อหากำไร

(๗) ทำซ้ำ ดัดแปลงบางส่วนของงาน หรือตัดทอน หรือทำบทสรุป โดยผู้สอนหรือสถาบันศึกษา เพื่อแจกจ่ายหรือจำหน่ายแก่ผู้เรียนในชั้นเรียนหรือในสถาบันศึกษา ทั้งนี้ ต้องไม่เป็นการกระทำเพื่อหากำไร

(๘) นำงานนั้นมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการถามและตอบในการสอบ

ขั้นตอน กรรมวิธี ระบบ วิธีใช้หรือวิธีทำงาน ไม่จัดเป็นงานลิขสิทธิ์ เพราะสร้างขึ้นเพื่อแก้ไขปัยหาที่เกิดขึ้น ถือว่าเป็นทรัพย์สินทางปัญญาประเภทสิทธิบัตร

อายุแห่งการคุ้มครองลิขสิทธิ์

มาตรา ๑๙ ลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้มีอยู่ตลอดอายุของผู้สร้างสรรค์ และมีอยู่ต่อไปอีกเป็นเวลาห้าสิบปี นับแต่ผู้สร้างสรรค์ถึงแก่ความตาย

ในกรณีที่มีผู้สร้างสรรค์ร่วม ลิขสิทธิ์ในงานดังกล่าวให้มีอยู่ตลอดอายุของผู้สร้างสรรค์ร่วม และมีอยู่ต่อไปอีกเป็นเวลาห้าสิบปีนับแต่ผู้สร้างสรรค์ร่วมคนสุดท้ายถึงแก่ความตาย

ถ้าผู้สร้างสรรค์หรือผู้สร้างสรรค์ร่วมทุกคนถึงแก่ความตายก่อนที่ได้มีการโฆษณางานนั้น ให้ลิขสิทธิ์ดังกล่าวมีอายุห้าสิบปีนับแต่ได้มีการโฆษณาเป็นครั้งแรก

ในกรณีที่ผู้สร้างสรรค์เป็นนิติบุคคล ให้ลิขสิทธิ์มีอายุห้าสิบปีนับแต่ผู้สร้างสรรค์ได้สร้างสรรค์ขึ้น แต่ถ้าได้มีการโฆษณางานนั้นในระหว่างระยะเวลาดังกล่าว ให้ลิขสิทธิ์มีอายุห้าสิบปีนับแต่ได้มีการโฆษณาเป็นครั้งแรก

มาตรา ๒๐ งานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ที่ได้สร้างสรรค์ขึ้นโดยผู้สร้างสรรค์ใช้นามแฝงหรือไม่ปรากฏชื่อผู้สร้างสรรค์ ให้ลิขสิทธิ์มีอายุห้าสิบปีนับแต่ได้สร้างสรรค์งานนั้นขึ้น แต่ถ้าได้มีการโฆษณางานนั้นในระหว่างระยะเวลาดังกล่าว ให้ลิขสิทธิ์มีอายุห้าสิบปีนับแต่ได้มีการโฆษณาเป็นครั้งแรก

การละเมิดลิขสิทธิ์

มาตรา ๒๗ การกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ โดยไม่ได้รับอนุญาตตามมาตรา ๑๕ (๕) ให้ถือว่า เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าได้กระทำดังต่อไปนี้

(๑) ทำซ้ำหรือดัดแปลง

(๒) เผยแพร่ต่อสาธารณชน

และ ที่สำคัญการกระทำนั้นต้องกระทำในเชิงพาณิชย์ด้วย ไม่ใช้ทำซ้ำหรือดัดแปลงเพื่อใช้ส่วนตัว

บทกำหนดโทษ

มาตรา ๖๙ ผู้ใดกระทำการละเมิดลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดงตามมาตรา ๒๗ มาตรา ๒๘ มาตรา ๒๙ มาตรา ๓๐ หรือมาตรา ๕๒ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท

ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทำเพื่อการค้า ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสี่ปี หรือปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงแปดแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

สรุป

ลิขสิทธิ์จะได้รับความคุ้มครองอัตโนมัติ นับจากวันที่สร้างสรรค์ การจดลิขสิทธิ์เป็นเพียงหลักฐานทางราชการเพื่ออ้างสิทธิเท่านั้น และ งานสร้างสรรค์ คืองานประเภทสวยงาม ให้ความบันเทิง และ นำไปทำการค้าได้ โดยสามารถจดลิขสิทธิ์ได้ที่กรมทรัพย์สินทางปัญญา โดยใช้แบบพิมพ์ ลข.01 พร้อมหลักฐานงานลิขสิทธิ์

ทั้งนี้หากใครมีความสงสัยเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ เครื่องหมายการค้า หรือทรัพย์สินทางปัญญาอื่นๆ หรือต้องการขอคำปรึกษาเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา สามารถติดต่อสอบถามเข้ามาได้ ทั้งทางช่องทางไลน์และโทรศัพท์กับเรา TGC Thailand ได้ ซึ่งเป็นช่องทางที่ทั้งง่ายและสะดวก

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

แอดไลน์