เครื่องหมายการค้านั้นได้กลายเป็นสิ่งที่ใช้กันสามัญในการค้าขาย
มาตรา 66 ผู้มีส่วนได้เสียหรือนายทะเบียนอาจร้องขอต่อศาลให้สั่งเพิกถอนการจดทะเบียน เครื่องหมายการค้าใดได้ หากแสดงได้ว่าในขณะที่ร้องขอนั้นเครื่องหมายการค้านั้นได้กลายเป็นสิ่งที่ใช้กันสามัญในการค้าขายสำหรับสินค้าบางอย่างหรือบางจำพวก จนกระทั่งในวงการค้าหรือในสายตาของสาธารณชน เครื่องหมายการค้านั้นได้สูญเสียความหมายของการเป็นเครื่องหมายการค้า ไปแล้ว
ประกาศนายทะเบียนเครื่องหมายการค้า ที่ 1/2559 เรื่อง การกำหนดสิ่งที่ใช้กันสามัญในการค้าขาย
จำพวก 3
สบู่ เครื่องหอม หัวน้ำมันหอมระเหย เครื่องสำอาง น้ำมันใส่ผม แชมพูสระผม ยาสีฟัน แป้งหอม
สิ่งที่ใช้กันสามัญในการค้าขาย คือ ผู้หญิง เด็ก ดอกไม้ ชื่อดอกไม้ ดาว มงกุฎ
จำพวก 5 ยารักษาโรคมนุษย์
สิ่งที่ใช้กันสามัญในการค้าขาย คือ ฤาษี เด็ก นางพยาบาล งู พญานาค หนุมาน การวางแบบตัวอักษรหรือตัวเลขตัด
กันเป็นรูปกากบาท
จำพวก 7 เครื่องจักร เครื่องมือกล
สิ่งที่ใช้กันสามัญในการค้าขาย เฟือง
จำพวก 24 ผ้าเป็นผืน ผ้าเป็นพับ ผ้าฝ้าย ผ้าแพร ผ้าเทียม
สิ่งที่ใช้กันสามัญในการค้าขาย คำว่า Print ให้ถือว่าเป็นผ้าพิมพ์ลาย
จำพวก 29 นม แป้งนม
สิ่งที่ใช้กันสามัญในการค้าขาย เด็ก นางพยาบาล วัว
จำพวก 29 กะปิ
สิ่งที่ใช้กันสามัญในการค้าขาย กุ้ง
จำพวก 30 น้ำปลา
สิ่งที่ใช้กันสามัญในการค้าขาย กุ้ง ปลา
จำพวก 33 สุรา
สิ่งที่ใช้กันสามัญในการค้าขาย ค่าง
จำพวก 34 ยาสูบ
สิ่งที่ใช้กันสามัญในการค้าขาย ไก่ สัตว์คู่เกาะโล่ สัตว์คู่เกาะโลก
จำพวก 1-45 สินค้าหรือบริการทุกอย่างในแต่ละจำพวก
สิ่งที่ใช้กันสามัญในการค้าขาย เสียงที่ใช้กันแล้วทั่วไปโดยสุจริตสำหรับสินค้า การประกอบการค้า หรือการบริการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4528/2553
คำว่า “กุ้ง” ไม่เป็นคำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าน้ำปลาโดยตรง ทั้งเมื่อกล่าวถึงคำว่า “กุ้ง” ก็ไม่ทำให้สาธารณชนนึกถึงสินค้าน้ำปลา
ประกาศนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่ 1/2546 เรื่อง กำหนดสิ่งที่ใช้กันสามัญในการค้าขาย กำหนดในทำนองเดียวกับประกาศนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่ 1/2535 เรื่อง กำหนดสิ่งที่ใช้กันสามัญในการค้าขาย คือ กำหนดสิ่งที่ใช้กันสามัญในการค้าขายสำหรับรายการสินค้า “น้ำปลาและกะปิ” คือ “กุ้ง” และกำหนดสิ่งที่ใช้กันสามัญในการค้าขายสำหรับรายการสินค้า “น้ำปลา” คือ “ปลา” ดังนั้น การที่จะอ้างประกาศนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวเพื่อแสดงว่า “กุ้ง” เป็นสิ่งที่ใช้กันสามัญในการค้าขายสำหรับรายการสินค้า “น้ำปลา” จึงไม่ถูกต้อง และไม่อาจนำมาใช้พิจารณาเกี่ยวกับลักษณะบ่งเฉพาะของเครื่องหมายได้เพราะเป็นคนละกรณีกัน