การจดสิทธิบัตรเกิดขึ้นมาจากการที่มนุษย์ได้เรียนรู้สิ่งที่มีอยู่ตามธรรมชาติ และ นำสิ่งเหล่านั้นมาทำให้การดำรงชีวิตนั้นดีขึ้น และ แก้ปัญหาที่เกิดขึ้น เช่นมนุษย์เห็นว่านกบินได้ ก็ได้พัฒนาจนกลายมาเป็นเครื่องบิน มนุษย์เห็นขอนไม้ที่กลิ้งได้ ก็ได้พัฒนามาเป็นเกวียน มนุษย์เห็นควันไฟที่ลอยได้ ก็พัฒนามาเป็นการจุดระเบิดของเครื่องยนต์
การคิดค้นสิ่งเหล่านี้คือ การคิดเพื่อมาแก้ปัญหาที่มีอยู่ สิ่งที่คิดจะอยู่ในรูปของ งานประดิษฐ์ทั้งหมด ต่อมามนุษย์มองว่า การคิดสิ่งเหล่านี้มีความสำคัญจึงได้สร้างกฎหมายขึ้นมา เรียกว่า กฎหมายสิทธิบัตร เพื่อให้สิ่งที่คิดค้นนั้นได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย
หากไม่มี กฎหมายสิทธิบัตร มนุษย์ก็จะไม่มีแรงจูงใจที่จะคิดค้นสิ่งใหม่ๆ เพราะหากคิดค้นมาแล้วคนอื่นก็จะนำไปใช้ได้อย่างเสรี และ การคิดค้นเกิดจากการลองผิดลองถูกเป็น 1000 ครั้งเพื่อให้รู้ว่า 999 ครั้งนั้นผิดและมีแค่ 1 ครั้งที่ถูกซึ่งต้องใช้ทั้งเวลา ต้นทุน
อีกมุมมองก็มองว่าการจดสิทธิบัตร เป็นการผูกขาดธุรกิจและเอารัดเอาเปรียบหรือไม่ ซึ่งความจริงนั้นไม่ใช่เลยกลับเป็นข้อดีด้วย เนื่องจาก บุคลอื่นก็จะได้คิดค้นทางเลือกใหม่ ๆ และการต่อยอดสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ ให้ดีขึ้น เพราะไม่มีสิ่งประดิษฐ์ไหนที่ไม่สามารถพัฒนาต่อยอดได้ แต่มนุษย์นั้นไม่รู้ว่าจะทำยังไงและไม่เชื่อ ยกตัวอย่างเช่น หากเราย้อนกลับไปยุคโบราณ แล้ว มีคนพูดว่าเราจะมี โทรศัพท์ที่โทรหากันได้ ณ วันนั้นก็จะเป็นเรื่องตลกมาก เช่นเดียวกันในวันนี้ หากเราพูดว่าในอนาคตเราจะหายตัวได้ เราจะมีประตูมิติ หรือ เราจะไม่มีวันตายและไปใช้ชีวิตอยู่ในโลกของคอมพิวเตอร์ เราก็อาจจะสงสัยว่าเป็นไปได้หรือไม่
ดังนั้น หากไม่มีกฎหมายสิทธิบัตร ประชากรโลกและประเทศชาติจะไม่มีการพัฒนาเช่นทุกวันนี้ได้อย่างแน่นอน
การจดสิทธิบัตรคืออะไร? มีประโยชน์อย่างไร?
การจดสิทธิบัตร คือ การนำสิ่งประดิษฐ์ที่ไม่เคยปรากฎมาก่อน หรือ การต่อยอดสิ่งประดิษฐ์เดิม ที่สร้างมาเพื่อแก้ปัญหา และ ทำให้ดีขึ้นในการดำรงชีวิตของมนุษย์ สะดวกสบายขึ้น สิ่งเหล่านี้มักจะอยู่ในรูปของ อุปกรณ์ ชิ้นงาน กลไก ฟังชั่น การใช้งาน อาหารการกิน หรือ ยารักษาโรค เคมี เป็นต้น ซึ่งเราต้องการหวงกันสิ่งที่เราคิดค้นมานี้ การหวงกันนี้ก็คือการนำมาจดทะเบียนสิทธิบัตรนั่นเอง
ประโยชน์ของการจดสิทธิบัตร
ประโยชน์ของการสิทธิบัตรนั้นมีมากมายไม่ว่าจะเป็นในด้านของเจ้าของสิทธิบัตร ไปจนถึงผู้บริโภค
- กฎหมายสิทธิบัตรช่วยให้มนุษย์มีแรงจูงใจที่จะคิดค้นสิ่งใหม่ๆ เพื่อไม่ให้การคิดค้นนั้น ถูกคนอื่นก็จะนำไปใช้ได้อย่างเสรี และ สิ่งที่คิดค้นก็ได้ช่วยเหลือบุคคลอื่นได้ด้วย เช่น รถยนต์เราสามารถซื้อได้ในราคา 8 แสน แต่ถ้าเราต้องมาสร้างเองทุกอย่างเพื่อใช้งาน เราอาจจะต้องใช้เงินมากกว่า 10 ล้าน เป็นต้น เช่น ต้องซื้อเครื่องจักร เครื่องทดสอบ สร้างโรงผลิต เป็นต้น
- ช่วยชีวิตมนุษย์ เช่น การคิดค้น ยารักษาโรค ซึ่งช่วยป้องกันโรคระบาด เป็นต้น เช่น โรคโควิด สิ่งเหล่านี้เกิดจากองค์ความรู้หลายแขนงซึ่งเป็นการนำความรู้ที่สะสมมาจาก แรงจูงใจที่จะคิดค้นสิ่งใหม่ๆ แบบเดิม เพื่อให้สามารถคิดค้นแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นใหม่ได้ง่าย
- ช่วยทำให้ชีวิตของมนุษย์สะดวก สบายขึ้น จากเครื่องมือที่สร้างขึ้น และ เครื่องมือเหล่านั้นก็เป็นผลมาจากแรงจูงใจที่จะคิดค้นสิ่งใหม่ๆ
- สิทธิบัตรนั้นสามารถหวงกันสิทธิได้และการหวงกันสิทธินั้น ก็สามารถนำมาสร้างมูลค่าที่เป็นตัวเงินได้
- สิทธิบัตรของบุคคลอื่นก็เป็นแนวทางหรือฐานความรู้ให้เราสามารถคิดค้นสิ่งใหม่ๆ ได้ เนื่องจากสิทธิบัตรจะอยู่ในรูปของเอกสารและสามารถค้นหานำมาศึกษาได้
การจดสิทธิบัตรระบบ PCT และสิทธิบัตรทั่วโลกคืออะไร?
การจดสิทธิบัตรระบบ PCT และสิทธิบัตรทั่วโลก คือเดิม หากเราต้องการคุ้มครองสิทธิบัตรที่ประเทศไหน เราต้องยื่นเอกสารสิทธิบัตรให้ประเทศนั้นตรวจสอบ ซึ่งแต่ละประเทศก็จะมีวิธีการและแนวทางการตรวจสอบของตน เอง ซึ่งทำให้สิทธิบัตรที่เป็นเรื่องเดียวกัน อาจจะผ่านในบางประเทศและไม่ผ่านในบางประเทศ เนื้อหาก็จะถูกแก้ไขไม่เหมือนกันในแต่ละประเทศทำให้เกิดความ สะเปะสะปะ ในเนื้อหา และแต่ละประเทศการตรวจสอบจะไม่ทราบผลของกันและกัน ลักษณะต่างคนต่างตรวจ
เช่น เรายื่นจดทะเบียนในประเทศไทย ประเทศไทยก็จะมีอำนาจอิสระในการตรวจสอบสิทธิบัตรของตนเอง เรียกว่าการจดแบบตรงแค่ในประเทศไทย
ต่อมาเกิดแนวคิดที่จะสร้างระบบใหม่เรียกว่า ระบบ pct คือสิทธิบัตรแบบระบบสนธิสัญญาความร่วมมือด้านสิทธิบัตร (PCT) ก็คือ ทุกประเทศสมาชิกมารวมกัน และ สร้างองค์กรมา 1 องค์กรร่วม โดยการยื่นจดทะเบียนสิทธิบัตรเราจะยื่นไปที่องค์กรนี้เลย ซึ่งทุกประเทศจะให้ความร่วมมือโดยส่งฐานข้อมูลสิทธิบัตรของตนมาที่องค์กรนี้เพื่อทำการตรวจสอบแบบรวมศูนย์ ผลการตรวจสอบจะออกมาในรูปของเอกสารรายงานการตรวจสอบ
โดยเราจะนำรายงานการตรวจสอบนั้นไปใช้เป็นผลในการนำไปส่งยังประเทศปลายทางเพื่อทำการพิจารณาสิทธิบัตรต่อไป ซึ่ง หากเราต้องการคุ้มครองสิทธิบัตรที่ประเทศไหน เราต้องยื่นเอกสารสิทธิบัตรให้ประเทศนั้นตรวจสอบ แต่การตรวจสอบนั้นจะมีรายงานการตรวจสอบขององค์กรกลางประกอบ ซึ่งทำให้ประเทศปลายทางมีแนวการพิจารณาที่ใกล้เคียงกัน เราเลยเรียกกันว่า การจดสิทธิบัตรระบบ PCT หรือสิทธิบัตรทั่วโลกนั่นเอง
ขั้นตอนการจดสิทธิบัตรระบบ PCT และสิทธิบัตรทั่วโลก
Step 1 ยื่นจดทะเบียนสิทธิบัตรแบบระบบสนธิสัญญาความร่วมมือด้านสิทธิบัตร (PCT) สํานักงานสิทธิบัตรในประเทศไทย (International Phase)
Step 2 สํานักงานสิทธิบัตรในประเทศไทย ส่งสิทธิบัตรไปตรวจสอบยัง องค์กรตรวจค้นระหว่างประเทศ (ISA) โดยองค์กรตรวจค้นระหว่างประเทศ (ISA) จะจัดทํารายงานผลการตรวจค้น ภายใน 16-18 เดือน (International Phase)
ค่าตรวจสอบ บุคคลธรรมดาประมาณ 25,000 บาท นิติบุคคลประมาณ 75,000 บาท
โดยผลรายงานผลการตรวจค้น จะขึ้นว่าผ่าน หรือไม่ผ่าน
Step 3 หากผลผ่าน ยื่นจดทะเบียนสิทธิบัตรแบบระบบสนธิสัญญาความร่วมมือด้านสิทธิบัตร (PCT) ในสํานักงานสิทธิบัตรในประเทศปลายทาง เช่น ประเทศอเมริกา (Nation Phase) ประเทศกัมพูชา ประเทศแคนาดา เป็นต้น (คำขอในประเทศไทยจะยื่นก่อน Step 1 แล้ว)
ค่าธรรมเนียมดำเนินการรวมค่าบริการตัวแทนในประเทศปลายทางประมาณ 50,000-100,000 บาท (ต่อประเทศ โดยประมาณ) สำหรับโซนเอเซีย แต่หากเป็น โซนนอกเอเซียจะอยู่ที่ 100,000-200,000 บาท (ต่อประเทศ โดยประมาณ)
ขั้นตอนการพิจารณาของสํานักงานสิทธิบัตรระบบ PCT ในประเทศปลายทาง (Nation Phase)
- ยื่นจดทะเบียน
- ประกาศโฆษณา
- ร้องขอให้ตรวจสอบการประดิษฐ์
- อนุมัติรับจดทะเบียน (คุ้มครอง 20 ปี)
โดยใช้ระยะเวลาพิจารณา 2-4 ปี
สิ่งที่สามารถจดสิทธิบัตรในไทย สิทธิบัตรระบบ PCT และสิทธิบัตรทั่วโลกได้
ตาม พระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 สิ่งเหล่านี้สามารถนำมาจดสิทธิบัตรในไทย สิทธิบัตรระบบ PCT และสิทธิบัตรทั่วโลกได้
- การประดิษฐ์ การคิดค้นหรือคิดทำขึ้น อันเป็นผลให้ ได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์หรือกรรมวิธีใดขึ้นใหม่ หรือการกระทำใด ๆ ที่ทำให้ดีขึ้นซึ่งผลิตภัณฑ์หรือกรรมวิธี
- กรรมวิธี หมายความว่า วิธีการ กระบวนการ หรือกรรมวิธีในการผลิต หรือการเก็บรักษาให้คงสภาพหรือให้มีคุณภาพดีขึ้นหรือการปรับสภาพให้ดีขึ้นซึ่งผลิตภัณฑ์ และรวมถึงการใช้กรรมวิธีนั้น ๆ ด้วย
- แบบผลิตภัณฑ์ หมายความว่า รูปร่างของผลิตภัณฑ์ หรือองค์ประกอบ ของลวดลาย หรือสีของผลิตภัณฑ์ อันมีลักษณะพิเศษสำหรับผลิตภัณฑ์ซึ่งสามารถใช้เป็นแบบสำหรับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมรวมทั้งหัตถกรรมได้
สิ่งที่ไม่สามารถจดสิทธิบัตรในไทย สิทธิบัตรระบบ PCT และสิทธิบัตรทั่วโลกได้
ในขณะเดียวกันก็มีอีกหลายสิ่งที่เราไม่สามารถจดสิทธิบัตรในไทย สิทธิบัตรรระบบ PCT และสิทธิบัตรทั่วโลกได้ โดยตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 ประกอบไปด้วย
- การประดิษฐ์ที่เป็นงานที่ปรากฏอยู่แล้ว งานที่ปรากฏอยู่แล้ว ให้หมายความถึงการประดิษฐ์ ดังต่อไปนี้ด้วย
- การประดิษฐ์ที่มีหรือใช้แพร่หลายอยู่แล้วในราชอาณาจักรก่อนวันขอรับสิทธิบัตร
- การประดิษฐ์ที่ได้มีการเปิดเผยสาระสำคัญหรือรายละเอียดในเอกสาร หรือสิ่งพิมพ์ที่ได้เผยแพร่อยู่แล้วไม่ว่าในหรือนอกราชอาณาจักรก่อนวันขอรับสิทธิบัตร และ ไม่ว่าการเปิดเผยนั้นจะกระทำโดยเอกสาร สิ่งพิมพ์ การนำออกแสดง หรือการเปิดเผยต่อสาธารณชนด้วยประการใด ๆ
- การประดิษฐ์ที่ได้รับสิทธิบัตรหรืออนุสิทธิบัตรแล้วไม่ว่าในหรือนอกราชอาณาจักรก่อนวันขอรับสิทธิบัตร
- การประดิษฐ์ดังต่อไปนี้ไม่ได้รับความคุ้มครอง
- จุลชีพและส่วนประกอบส่วนใดส่วนหนึ่งของจุลชีพที่มีอยู่ตาม ธรรมชาติ สัตว์ พืช หรือสารสกัดจากสัตว์หรือพืช
- กฎเกณฑ์และทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
- ระบบข้อมูลสำหรับการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์
- วิธีการวินิจฉัย บำบัด หรือรักษาโรคมนุษย์ หรือสัตว์
- การประดิษฐ์ที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดี อนามัยหรือสวัสดิภาพของประชาชน
ควรเริ่มวางแผนการจดสิทธิบัตรในไทย สิทธิบัตรระบบ PCT และสิทธิบัตรทั่วโลกตอนไหน
ห้ามคิดค้นและพัฒนางานประดิษฐ์จนกว่าเราจะได้ทำการตรวจสอบภูเขาน้ำแข็งใต้น้ำทั้งหมด เพราะการคิดค้นนั้นอาจจะไปทำซ้ำกับงานของคนอื่นที่ทำอยู่แล้ว ทำให้เสียเวลา ค่าใช้จ่ายมหาศาล
สิ่งที่ดีที่สุดคือการ ไปตรวจสอบงานของสิทธิบัตรของคนอื่นที่ทำอยู่แล้ว และ นำมาพัฒนาต่อยอดเรียกว่าการ copy and development หรือ การยืนอยู่บนไหล่ของยักษ์จะทำให้เรามองเห็นได้ไกล
หลังจากตรวจสอบทั้งหมดแล้วเราก็เริ่มมาพัฒนาต่อยอดให้ดีขึ้น และ นำมายื่นจดทะเบียนสิทธิบัตรของเราเอง
อีกประการหนึ่งคือ การเขียนสิทธิบัตรนั้นต้องเขียนให้ดีและคลอบคลุมงานประดิษฐ์ให้ได้ เช่น สิ่งประดิษฐ์เราอยู่ในระดับ 5 การเขียนงานเอกสารสิทธิบัตรต้องให้คุ้มครองได้ถึงระดับ 7-10 หากไปเขียนเนื้อหาที่ไม่คลอบคลุมและใช้บังคับตามกฎหมายไม่ได้เช่นไป เขียนให้คุ้มครองแค่ใน ระดับ 3 ก็จะทำให้งานประดิษฐ์สูญเสียคุณค่าลงไปทันที เพราะการใช้บังคับทางกฎหมายเราใช้บังคับในด้านเอกสารสิทธิบัตร ไม่ได้ใช้งานประดิษฐ์จริงมาเปรียบเทียบ ดังนั้นการเลือกใช้ตัวแทนมืออาชีพในการเขียนงานนั้นก็มีความสำคัญ
ประเภทของสิทธิบัตรในไทย สิทธิบัตรระบบ PCT และสิทธิบัตรทั่วโลก และข้อแตกต่างที่ควรรู้
กลุ่มสิทธิบัตรการประดิษฐ์
กลุ่มสิทธิบัตรการประดิษฐ์ คือ งานดังนี้
- การประดิษฐ์ การคิดค้นหรือคิดทำขึ้น อันเป็นผลให้ ได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์หรือกรรมวิธีใดขึ้นใหม่ หรือการกระทำใด ๆ ที่ทำให้ดีขึ้นซึ่งผลิตภัณฑ์หรือกรรมวิธี
- กรรมวิธี หมายความว่า วิธีการ กระบวนการ หรือกรรมวิธีในการผลิต หรือการเก็บรักษาให้คงสภาพหรือให้มีคุณภาพดีขึ้นหรือการปรับสภาพให้ดีขึ้นซึ่งผลิตภัณฑ์ และรวมถึงการใช้กรรมวิธีนั้น ๆ ด้วย
กลุ่มสิทธิบัตรการออกแบบ
กลุ่มสิทธิบัตรการออกแบบ คือ งานดังนี้
- แบบผลิตภัณฑ์ หมายความว่า รูปร่างของผลิตภัณฑ์ หรือองค์ประกอบ ของลวดลาย หรือสีของผลิตภัณฑ์ อันมีลักษณะพิเศษสำหรับผลิตภัณฑ์ซึ่งสามารถใช้เป็นแบบสำหรับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมรวมทั้งหัตถกรรมได้
ความแตกต่างระหว่างสิทธิบัตรการประดิษฐ์ กับ สิทธิบัตรการออกแบบ
สิทธิบัตรการประดิษฐ์
สิทธิบัตรการประดิษฐ์ แบ่งออกเป็น
- อนุสิทธิบัตร คุ้มครอง 10 ปี (งานประดิษฐ์ขั้นไม่สูง)
- สิทธิบัตร คุ้มครอง 20 ปี (งานประดิษฐ์ขั้นสูง)
อนุสิทธิบัตร/สิทธิบัตร คุ้มครอง กลไกการทำงาน โครงสร้างการทำงาน ฟังชั่นการทำงาน ในเชิงเทคนิค มีผลทางเทคนิค ไม่สนใจภาพนอกที่มองเห็นด้วยตา
สิทธิบัตรการออกแบบ
สิทธิบัตรการออกแบบ คุ้มครอง 10 ปี
คุ้มครอง ภาพที่มองเห็นจากภาพนอกด้วยตา คุ้มครองรูปร่าง รูปทรงเชิงมิติ เท่านั้น ไม่สนใจว่าข้างในทำงานยังไง
หากมีหลายขนาด เช่น size S M L ถือว่ามีเพียง 1 แบบและการจดทะเบียนจดได้เพียง 1 แบบเท่านั้นคุ้มครองทุกขนาด
การจดสิทธิบัตรต้องจดกับหน่วยงานอะไร วิธีการเตรียมเอกสาร ตัวอย่างแบบฟอร์ม และ ใช้เวลานานไหม
การจดทะเบียนสิทธิบัตรต้องจดทะเบียนที่ กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ หรือ สามารถยื่นเอกสารที่พาณิชย์จังหวัดได้ โดยเป็นลักษณะของการอำนวยความสะดวก ซึ่งพาณิชย์จังหวัด ก็จะส่งเอกสารมาที่ กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ และ กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ ก็จะส่งเอกสารไปหาผู้ขอจดทะเบียน โดยตรง
ขั้นตอนการจดสิทธิบัตรแต่ละประเภทและระยะเวลาการดำเนินการ
ขั้นตอนการจดอนุสิทธิบัตร การประดิษฐ์
จะตรวจสอบความใหม่เฉพาะในประเทศไทย โดยใช้ระยะเวลาพิจารณา อนุสิทธิบัตรประมาณ 1-2 ปี มีขั้นตอนการตรวจสอบของผู้ตรวจสอบประมาณ 6-8 เดือน หากมีการแก้ไขจะใช้เวลาต่อไปอีก 3-6 เดือน หากไม่มีการแก้ไขจะได้รับการอนุมัติ คุ้มครอง 10 ปี
สิทธิบัตร การประดิษฐ์
จะตรวจสอบความใหม่ในประเทศไทย และ ในต่างประเทศ โดยใช้ระยะเวลาพิจารณา สิทธิบัตรประมาณ 2-4 ปี
มีขั้นตอนการตรวจสอบของผู้ตรวจสอบในประเทศไทย ประมาณ 10-15 เดือน หากมีการแก้ไขจะใช้เวลาต่อไปอีก 6-8 เดือน หลังจากนั้นจะได้รับการประกาศโฆษณาอีก 2 เดือน หากไม่มีใครมาคัดค้าน ขั้นตอนต่อไปจะต้องร้องขอให้มีการตรวจสอบการประดิษฐ์ในต่างประเทศ
มีขั้นตอนการตรวจสอบของผู้ตรวจสอบในต่างประเทศ ประมาณ 2-3 ปี หากไม่มีการแก้ไขและไม่ซ้ำกับงานที่ปรากฎอยู่แล้วจะได้รับการอนุมัติ คุ้มครอง 20 ปี
สิทธิบัตร การออกแบบ
ตรวจสอบความใหม่ในประเทศไทย และ ในต่างประเทศ โดยใช้ระยะเวลาพิจารณา สิทธิบัตรประมาณ 2-4 ปี
มีขั้นตอนการตรวจสอบของผู้ตรวจสอบในประเทศไทย ประมาณ 6-8 เดือน หากมีการแก้ไขจะใช้เวลาต่อไปอีก 3-6 เดือน หลังจากนั้นจะได้รับการประกาศโฆษณาอีก 2 เดือน หากไม่มีใครมาคัดค้าน ขั้นตอนต่อไปทำการตรวจสอบความใหม่ในต่างประเทศ
มีขั้นตอนการตรวจสอบของผู้ตรวจสอบในต่างประเทศ ประมาณ 2-3 ปี หากไม่มีการแก้ไขและไม่ซ้ำกับงานที่ปรากฎอยู่แล้วจะได้รับการอนุมัติ คุ้มครอง 10 ปี
เอกสารการมอบอำนาจในการยื่นเรื่องดำเนินการจดทะเบียนสิทธิบัตร
การเขียนสิทธิบัตรนั้นต้องเขียนให้ดีและคลอบคลุมงานประดิษฐ์ให้ได้ และใช้บังคับตามกฎหมายไม่ได้ เพราะการใช้บังคับทางกฎหมายเราจะนำเอกสารสิทธิบัตรมาอ้างอิง ไม่ได้ใช้งานประดิษฐ์จริงมาเปรียบเทียบ ดังนั้นการเลือกใช้ตัวแทนมืออาชีพในการเขียนงานนั้นก็มีความสำคัญ
การมอบอำนาจก็มอบอำนาจให้ตัวแทนที่มีประสบการณ์และมีใบอนุญาตเท่านั้น
เอกสารที่ใช้ จะเป็นเอกสารพื้นฐานส่วน ตัวเช่น สำเนาบัตรประชาชน สำเนาหนังสือรับรองบริษัท เอกสารมอบอำนาจ เป็นต้น ส่วนแบบฟอร์มก็เป็นหน้าที่ของตัวแทนผู้รับมอบอำนาจในการดำเนินการ ซึ่งเป็นการกรอกเอกสารข้อมูลทั่วไปของสิ่งประดิษฐ์
กรณีบริษัทเป็นผู้ขอจดทะเบียนจะต้องมีสัญญาโอนสิทธิจากผู้ประดิษฐ์ที่เป็นบุคคลและโอนสิทธิให้บริษัท เนื่องจากบริษัทตามกฎหมายเป็นบุคคลที่สมมุติขึ้น ไม่สามารถประดิษฐ์งานได้ ดังนั้นจึงต้องมี การโอนสิทธิในงานประดิษฐ์ของบุคคลให้กับบริษัท
ค่าธรรมเนียมรายปีของสิทธิบัตรแต่ละประเภท
ค่าธรรมเนียมรายปีสิทธิบัตรการประดิษฐ์
- ปีที่ 1-5 ไม่เสีย
- ปีที่ 5 1,000 บาท
- ปีที่ 6 1,200 บาท
- ปีที่ 7 1,600 บาท
- ปีที่ 8 2,200 บาท
- ปีที่ 9 3,000 บาท
- ปีที่ 10 4,000 บาท
- ปีที่ 11 5,200 บาท
- ปีที่ 12 6,600 บาท
- ปีที่ 13 8,200 บาท
- ปีที่ 14 10,000 บาท
- ปีที่ 15 12,000 บาท
- ปีที่ 16 14,200 บาท
- ปีที่ 17 16,600 บาท
- ปีที่ 18 19,200 บาท
- ปีที่ 19 22,000 บาท
- ปีที่ 20 25,000 บาท
- หรือชำระทั้งหมดในการชำระค่าธรรมเนียมรายปีครั้งแรก 140 ,000 บาท
ค่าธรรมเนียมรายปี อนุสิทธิบัตรการประดิษฐ์
- ปีที่ 1-5 ไม่เสีย
- ปีที่ 5 750 บาท
- ปีที่ 6 1,500 บาท
- หรือชำระทั้งหมดในการชำระค่าธรรมเนียมรายปีครั้งแรก 2,000 บาท
ค่าธรรมเนียมการต่ออายุอนุสิทธิบัตร
- ครั้งที่ 1 6,000 บาท (ปีที่ 7-8)
- ครั้งที่ 2 9,000 บาท (ปีที่ 9-10)
- รวมอนุสิทธิบัตรคุ้มครอง 10 ปี
ค่าธรรมเนียมรายปีสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์
- ปีที่ 1-5 ไม่เสีย
- ปีที่ 5 500 บาท
- ปีที่ 6 650 บาท
- ปีที่ 7 950 บาท
- ปีที่ 8 1,400 บาท
- ปีที่ 9 2,000 บาท
- ปีที่ 10 2,750 บาท
- หรือชำระทั้งหมดในการชำระค่าธรรมเนียมรายปีครั้งแรก 7,500 บาท
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการจดสิทธิบัตร
ซึ่งการเสียภาษีในแต่ละประเทศนั้นขึ้นอยู่กับการมีรายได้ที่สิทธิบัตรระบบ PCT นั้นทำให้เกิดขึ้นจึงจะต้องมีภาระการเสียภาษีในประเทศปลายทาง สิทธิบัตรระบบ PCT ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ไม่ต้องยื่นเสียภาษี จนกระทั่งมีการนำสิทธิบัตรระบบ PCT ไปประกอบธุรกิจจนกระทั่งมีรายได้ถึงจะเป็นภาระหน้าที่สำหรับการยื่นเสียภาษี
- ความซับซ้อนของตัวงาน และ ความยากในการคิดค้น
- สิทธิบัตรนั้นมีคุณสมบัติที่เป็นลดภาระค่าใช้จ่ายได้สูง เข่น ค่าไฟฟ้า
- อายุของสิทธิบัตรที่เหลือน้อย มูลค่ายิ่งต่ำลง เพราะถ้าสิทธิบัตรหมดอายุก็จะเป็นสาธารณะทันที
- สิทธิบัตรนั้นไม่ได้เปิดเผย เทคนิค คือต้องมีตัวคนไปเปิดเผยเทคนิคด้วยถึงจะทำได้ สิทธิบัตรก็จะมีมูลค่ารวมตัวคน
- จำนวนการจดทะเบียนในต่างประเทศ หรือ ประเทศที่ให้ความสำคัญกับสิทธิบัตร มูลค่าก็จะสูงขึ้น
สิทธิบัตรระบบ PCT จะใช้เวลาตรวจสอบเนื้อหาสิทธิบัตรที่ได้ยื่นจดทะเบียนไว้แล้วทั่วโลกจำนวน 157 ประเทศทำให้ต้องใช้เวลาในการตรวจสอบความใหม่นาน แต่กฎหมายจะกำหนดระยะเวลาไว้ไม่เกิน 18 เดือนนับจากวันที่่ยื่นขอตรวจสอบความใหม่ในทุกประเทศทั่วโลก และจะได้รายงานการตรวจสอบที่เรียกว่า (International Searching Report: ISR) เพื่อนำรายงานการตรวจสอบไปยื่นลงทะเบียนในประเทศปลายทางอีกครั้ง และเป็นอำนาจอธิปไตยของแต่ละประเทศที่จะอนุมัติรับจดทะเบียนให้ตามขั้นตอนและเงื่อนไขของกฎหมายภายในประเทศนั้น ๆ
การจดสิทธิบัตรระบบ PCT (Patent Cooperation Treaty) คือความตกลงระหว่างประเทศสำหรับการขอรับความคุ้มครองการประดิษฐ์ในประเทศที่เป็นสมาชิกโดยสามารถตรวจสอบเนื้อหาความใหม่ของสิทธิบัตรได้ครั้งเดียวทั่วโลกในระบบ PCT
การรับจดทะเบียนสิทธิบัตร PCT จะต้องส่งเนื้อหาของสิทธิบัตรไปยื่นจดทะเบียนในประเทศสมาชิกอีกครั้ง และเป็นอำนาจอธิปไตยของแต่ละประเทศที่จะอนุมัติรับจดทะเบียนให้ตามขั้นตอนและเงื่อนไขของกฎหมายภายในประเทศนั้นๆ ซึ่งประเทศไทยสมัครเข้าเป็นภาคีสนธิสัญญาความร่วมมือด้านสิทธิบัตร เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2552 ถือเป็นสมาชิกลำดับที่ 142
ข้อดีของการจดสิทธิบัตรระบบ PCT คือนำคำขอไปตรวจสอบความใหม่ในทุกประเทศทั่วโลกจำนวน 157 ประเทศก่อนที่ยื่นลงทะเบียนในประเทศปลายทางอีกครั้ง และประเทศปลายทางเมื่อได้รับรายงานการตรวจสอบที่เรียกว่า (International Searching Report: ISR) ก็เป็นอำนาจอธิปไตยของตนที่จะอนุมัติรับจดทะเบียนให้อีกครั้งแต่แนวโน้มที่จะอนุมัติส่วนใหญ่ก็จะสอดคล้องกับรายงานการตรวจสอบ ซึ่งข้อดีอีกประการคือหลังจากได้รับรายงานการตรวจสอบแล้วก็ยังมีเวลาอีก 12-16 เดือนในการที่จะตัดสินใจในการยื่นลงทะเบียนในประเทศปลายทาง
สอบถามข้อมูลหรือขอคำปรึกษาด้านการจดสิทธิบัตร
ทำไมต้องใช้บริการจดสิทธิบัตรระบบ PCT กับเรา?
- เรามีประสบการณ์งานด้านบริการรับจดสิทธิบัตรระบบ PCT มากว่า 25 ปี
- เรามีใบอนุญาตเป็นตัวแทนจดสิทธิบัตรระบบ PCT จากกรมทรัพย์สินทางปัญญา
- เราให้บริการด้วยความรวดเร็วและเขียนจดสิทธิบัตรระบบ PCT ให้แล้วเสร็จได้ภายใน 7 วัน
- บริษัทของเราตั้งอยู่ติดกับกรมทรัพย์สินทางปัญญาซึ่งสามารถยื่นเอกสารได้อย่างรวดเร็ว
- เรามีทีมงานที่เป็นนักกฎหมาย นักประดิษฐ์ นักวิทยาศาสตร์ นักฟิสิกส์ นักเคมี และนักวิจัย โดยมีผู้ตรวจสอบสิทธิบัตรที่คอยให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิด ทำให้การจดสิทธิบัตรระบบ PCT ได้รับการอนุมัติรับจดทะเบียนอย่างรวดเร็ว และใช้บังคับตามกฎหมายได้