สูตรส่วนผสมต่อยอดสิทธิบัตรได้ไม่ผิด / โครงสร้างกลไกเชิงวิศวกรรมต่อยอดสิทธิบัตรได้แต่มีความผิด คืออะไร

สูตรส่วนผสมต่อยอดสิทธิบัตรได้ไม่ผิด / โครงสร้างกลไกเชิงวิศวกรรมต่อยอดสิทธิบัตรได้แต่มีความผิด คืออะไร

การจดสิทธิบัตรสูตรส่วนผสม มักเป็นเรื่องงานคหกรรม หรือ การซื้อสารเคมีที่มีอยู่แล้วในตลาดมาผสมผสานกัน กฎหมายมองว่าเป็นเรื่องการนำมาใช้ (new use) และ ถือว่ามีอรรถประโยชน์ การจดทะเบียนสูตรส่วนผสม จะได้สิทธิในส่วนที่เป็นสูตรนั้น

เช่น นาย ก. จดทะเบียนสูตร โดยนำสาร หรือ ส่วนประกอบ 1+2+3+4 มาผสมกันจะได้เป็นงานอรรถประโยชน์ใหม่ที่สามารถนำมายื่นจดทะเบียนสิทธิบัตรเป็นฉบับที่ 1 ได้

ต่อมา นาย ข. มีการต่อยอด โดยนำสาร หรือ ส่วนประกอบ 1+2+3+4+5 มาผสมกันจะได้เป็นงานอรรถประโยชน์ใหม่ขึ้นมาอีก ถ้า สาร หรือ ส่วนประกอบ 5 เกิดผลที่ดีขึ้นในทางเทคนิคดีกว่าสิทธิบัตรเป็นฉบับที่ 1 ก็สามารถนำมายื่นจดทะเบียนสิทธิบัตรฉบับที่ 2 ได้

ดังนั้นนาย ข.จะไม่ถือว่าละเมิดงานของนาย ก. ที่เป็น 1+2+3+4

สำหรับ โครงสร้างกลไกเชิงวิศวกรรมต่อยอดสิทธิบัตรได้แต่มีความผิด มักเป็นเรื่องงานคิดค้นประดิษฐ์ที่ต้องใช้ความวิริยะ อุตสาหะในการคิดค้นและค้นพบ (invention) ใช้เงินทุน และ เวลามากมาย แตกต่างกับการหยิบของที่มีอยู่แล้วในตลาดมาผสมกัน

เช่น นาย ก. การจดทะเบียนตึก 4 ชั้นคือชั้นที่ 1+2+3+4 และเป็นงานอรรถประโยชน์ใหม่ที่สามารถนำมายื่นจดทะเบียนสิทธิบัตรเป็นฉบับที่ 1 ได้

ต่อมา นาย ข. มีการต่อยอด โดยสร้างตึก 5 ชั้น 1+2+3+4+5  และ ส่วนชั้่นที่ 5 เกิดผลที่ดีขึ้นในทางเทคนิคดีกว่าสิทธิบัตรเป็นฉบับที่ 1 ก็สามารถนำมายื่นจดทะเบียนสิทธิบัตรฉบับที่ 2 ได้

แต่นาย ข. ละเมิดงานของนาย ก. ที่เป็น 1+2+3+4 เพราะจะมีชั้น 5 ได้ต้องมีชั้นที่ 1+2+3+4 ก่อน ดังนั้นถือว่างานประดิษฐ์ของนาย ข.ได้นำงานของนาย ก. มาใช้ด้วย ถือว่าละเมิดงานของนาย ก.

แอดไลน์