รับจดทะเบียนและขอใบอนุญาต อย.

รับจดทะเบียนและขอใบอนุญาต อย. (อาหารและยา)
อย่างถูกต้องทุกขั้นตอน

บริการรับจดทะเบียนและขอใบอนุญาต อย.(อาหารและยา) นั้นต้องทำให้ถูกต้องในทุกขั้นตอน ซึ่งปกติจะค่อนข้างมีความยุ่งยากในเรื่องของเอกสาร ตัวสินค้า และสถานที่ผลิต หากทำไม่ถูกต้องทางเจ้าหน้าที่ อย. จะออกไปตรวจสอบยังสถานที่แหล่งจำหน่ายว่า มีการใช้เลข อย.ถูกต้องหรือไม่ มีการแจ้งสลากที่ถูกต้องหรือไม่ มีการใช้ภาพเครื่องหมายการค้าที่ถูกต้องหรือไม่ หากใช้ไม่ถูกต้องทาง เจ้าหน้าที่ อย. จะมีการตรวจสอบยึดและสั่งปรับเพื่อให้ปฏิบัติตามได้ถูกต้อง ซึ่งมักพบว่าเจ้าหน้าที่ อย. จะไม่ได้มีความเคร่งครัดในเรื่องของการอนุมัติในการใช้สลากในครั้งแรก และมักพบปัญหาที่ผู้ประกอบการไม่เข้าใจ จนเกิดการกระทำความผิดโดยไม่ได้ตั้งใจ

อย. คืออะไร?

อย. ย่อมาจาก สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (Food and Drug Administration – FDA) มีหน้าที่ปกป้องสุขภาพของประชาชนโดยการรับรองความปลอดภัย ประสิทธิภาพ และความมั่นคงของยาสำหรับมนุษย์และยารักษาสัตว์ ผลิตภัณฑ์ชีวภาพ และ อุปกรณ์ทางการแพทย์ การรับรองความปลอดภัยของอาหาร เครื่องสำอาง และ ผลิตภัณฑ์สารเคมี และ ที่ปล่อยรังสี และ รับผิดชอบในการพัฒนาด้านสาธารณสุขที่จำเป็นสำหรับการใช้ผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์และอาหาร การต่อต้านการก่อการร้ายของประเทศในด้านอาหารและยา

วัตถุประสงค์ของการจดทะเบียนหรือขอใบอนุญาต อย. (FDA)

  1. เพื่อปฏิบัติตามกฎหมาย กรณีที่สินค้าบางประเภทบังคับให้ต้องจด อย. ถ้าไม่มีถือว่าผิดกฎหมาย
  2. เพื่อต้องการรับรองความปลอดภัย ประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ และเกิดการรับรองมาตราฐานสินค้า
  3. เพื่อระบุตัวตนของตัวผลิตภัณฑ์ สถานที่ผลิต และเจ้าของผลิตภัณฑ์ได้
  4. เพื่อส่งเสริมการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ความน่าเชื่อถือ และการเข้าถึงแหล่งจำหน่ายที่บังคับให้ต้องจด อย.
  5. เพื่อการนำเข้า-ส่งออก กรณีที่สินค้าบางประเภทบังคับให้ต้องจด อย. ถ้าไม่มีไม่สามารถนำเข้า-ส่งออก ได้ ดังนั้นท่านต้องดำเนินการปฎิบัติให้ถูกต้องตามหลักการรับจด อย.อย่างครัดใน หากท่านมีข้อสงสัยสามารถตรวจสอบได้ที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือติดต่อมาที่เราได้ทันที เรามีเจ้าหน้าที่ให้คำปรึกษารับจด อย และให้ความช่วยเหลือท่านได้ทุกกรณี

การจดทะเบียนหรือขอใบอนุญาต อย. (FDA) กับ TGC

ขั้นตอนการจดทะเบียนหรือขอใบอนุญาต อย.

ก.ส่วนที่เป็นสถานที่ สถานที่ผลิตต้องมีหลักเกณฑ์วิธีการผลิตที่ดี (GMP: Good Manufacturing Practice) เช่นต้องเริ่มตั้งแต่ต้นจนจบ เช่น ห้องเก็บวัตถุดิบ ห้องผลิต ห้องผสม ห้องล้าง ห้องเก็บสินค้า มีป้ายบ่งชี้ เรื่องเสียง เรื่องกลิ่น เรื่องระบบบำบัด เป็นต้น

สถานที่บางกรณีไม่สามารถขอจด อย. ได้ เช่น บ้านจัดสรรเพื่อการพักอาศัย อาคารชุดพักอาศัย และบ้านแถวเพื่อการพักอาศัย เนื่องจากเป็นที่พักอาศัย และจะไปรบกวนประชาชน ทั้งเรื่องเสียง กลิ่น เป็นต้น

กรณีการนำเข้าส่ง-ออก บางกรณีสามารถนำบ้านจัดสรรเพื่อการพักอาศัย และบ้านแถวเพื่อการพักอาศัยเป็นที่กักเก็บสินค้าได้

ข.ส่วนที่เป็นสินค้า/ผลิตภัณฑ์ สินค้า/ผลิตภัณฑ์ ต้องสามารถบ่งชี้ได้ว่าวัตถุดิบที่นำมาใช้มีคุณภาพหรือได้รับใบรับรอง อย.มาก่อนแล้วหรือไม่ และต้องผลิตตามวิธีการผลิตที่ดี (GMP: Good Manufacturing Practice) ส่วนที่เป็นสินค้า/ผลิตภัณฑ์ ต้องผ่านกฎเกณฑ์เรื่องความสะอาด ความปลอดภัยและไม่มีการปนเปื้อน ทั้งในส่วนของเครื่องจักร เครื่องใช้ต่างๆ

ประการสำคัญการตรวจสอบอนุมัติ โดยทางเจ้าหน้าที่จะตรวจสอบเอกสารรับจด อย.ว่าถูกต้องหรือไม่ และเข้ามาตรวจสอบสถานที่ตามข้อ ก.และส่วนที่เป็นสินค้า/ผลิตภัณฑ์ ตามข้อ ข.หากทั้งสองส่วนผ่านก็จะอนุมัติเลขสารบบ “13 หลัก” (เลข อย.) ขั้นตอนนี้ใช้เวลาประมาณ 3-6 เดือน

โดยเลข อย. 13 หลัก ประกอบด้วย

  • เลขจังหวัดของสถานที่ผลิต
  • เลขที่สถานที่ผลิตหรือนำเข้า
  • เลขหน่วยงานที่ออกเลขสารบบอาหาร
  • เลขสถานะของสถานที่ผลิต หรือนำเข้าและหน่วยงานที่อนุญาต
  • เลขที่สถานที่ผลิตหรือนำเข้า
  • เลขลำดับที่ของอาหารตามสถานที่อนุญาต

เอกสารสำคัญที่ใช้ในการขอจด อย.

  1. แบบฟอร์มขอจด อย.
    1.1 คำขอตรวจประเมินสถานที่ผลิตและเก็บอาหาร
    1.2 แบบฟอร์มรายงานผลการตรวจประเมินสถานที่ผลิต
    1.3 คำขออนุญาตตั้งโรงงานผลิตอาหาร (แบบ อ.1) ​
    1.4 คำขอต่ออายุใบอนุญาตผลิตอาหาร (แบบ อ.3)
    1.5 คำขอใบแทนใบอนุญาตผลิตอาหาร (แบบ อ.4)
    1.6 คำขออนุญาตย้ายสถานที่ผลิตหรือสถานที่เก็บอาหาร (แบบ อ.5)
    1.7 คำขออนุญาตนำหรือสั่งอาหารเข้ามาในราชอาณาจักร (แบบ อ.6)
    1.8 คำรับรองประกอบการขออนุญาตนำหรือสั่งอาหารเข้ามาในราชอาณาจักร
  2. เอกสารพื้นฐานของบริษัท เช่น หนังสือรับรอง บัตรประชาชนกรรมการ ทะเบียนบ้าน ใบอนุญาติประกอบกิจการโรงงาน เช่น (ร.ง. 2) (ร.ง. 4) เอกสาร ISO
  3. แปลนสถานที่ ตามหลักการเขียนแบบและมีการกำหนดระยะ กว้าง ยาว
  4. ภาพถ่ายสถานที่จริง แผนที่โรงงาน
  5. ลิสต์รายการและรายละเอียด เครื่องจักร/อุปกรณ์เครื่องกลการทำงาน จำนวนแรงม้า
  6. รายละเอียดสินค้าโดยละเอียด ส่วนประกอบ สัดส่วน กรรมวิธีการทำ กรณีนำเข้าสินค้า รายละเอียดสินค้าโดยละเอียด และเลขรับจด อย. ในต่างประเทศ เอกสารการนำเข้า
  7. โฉนดที่ดิน/สัญญาเช่า หนังสือยินยอมให้ใช้สถานที่จากเจ้าของที่ดิน และเอกสารอื่นๆ ตามที่กำหนด

ค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนหรือขอใบอนุญาต อย. (FDA)

1. ค่าธรรมเนียมการขออนุญาตในหมวดยา ในการจด อย.ด้วยตนเอง หรือว่าจ้างให้รับจด อย.ให้กฎกระทรวงฉบับที่ 26 ( พ.ศ. 2537 )ออกตามความในพระราชบัญญัติยา พ.ศ. ๒๕๑๐
ข้อ 1 ให้ยกเลิกกฎกระทรวงฉบับที่ 13 ( พ.ศ. 2522 ) ออกตามความในพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510
ข้อ 2 ให้กำหนดค่าธรรมเนียม ดังต่อไปนี้
( ก ) การจด อย. ประเภทยาแผนปัจจุบัน
( 1 ) ใบอนุญาตผลิตยาแผนปัจจุบันฉบับละ 8,000 บาท
( 2 ) ใบอนุญาตขายยาแผนปัจจุบันฉบับละ 2,000 บาท
( 3 ) ใบอนุญาตขายส่งยาแผนปัจจุบันฉบับละ 1,500 บาท
( 4 ) ใบอนุญาตขายยาแผนปัจจุบันเฉพาะยาที่บรรจุเสร็จที่ไม่ใช่ยาอันตรายหรือยาควบคุมพิเศษฉบับละ 1,000 บาท
( 5 ) ใบอนุญาตขายยาแผนปัจจุบันเฉพาะยาบรรจุเสร็จสำหรับสัตว์ฉบับละ 1,000 บาท
( 6 ) ใบอนุญาตนำหรือสั่งยาแผนปัจจุบันเข้ามาในราชอาณาจักรฉบับละ 10,000 บาท
( 7 ) การพิสูจน์หรือวิเคราะห์ยาตามตำรับยาที่ขอขึ้นทะเบียนครั้งละ 1,000 บาท
( 8 ) ใบสำคัญการขึ้นทะเบียนตำรับยาแผนปัจจุบันฉบับละ 2,000 บาท
( 9 ) ใบแทนใบอนุญาตฉบับละ 100 บาท
( 10 ) ใบแทนใบสำคัญการขึ้นทะเบียนตำรับยาแผนปัจจุบันฉบับละ 100 บาท
( ข) การจด อย. ประเภทยาแผนโบราณ
( 1 ) ใบอนุญาตผลิตยาแผนโบราณฉบับละ 1,000 บาท
( 2 ) ใบอนุญาตขายยาแผนโบราณฉบับละ 300 บาท
( 3 ) ใบอนุญาตนำหรือสั่งยาแผนโบราณเข้ามาในราชอาณาจักรฉบับละ 5,000 บาท
( 4 ) การพิสูจน์หรือวิเคราะห์ยาตามตำรับยาที่ขอขึ้นทะเบียนครั้งละ 500 บาท
( 5 ) ใบสำคัญการขึ้นทะเบียนตำรับยาแผนโบราณฉบับละ 500 บาท
( 6 ) ใบแทนใบอนุญาตฉบับละ 100 บาท
( 7 ) ใบแทนใบสำคัญการขึ้นทะเบียนตำรับยาแผนโบราณฉบับละ 100 บาท

2.ค่าธรรมเนียมการขออนุญาตในหมวดอาหาร ในการจด อย.ด้วยตนเอง หรือว่าจ้างให้รับจด อย.ให้กฎกระทรวงฉบับที่ 5 (พ.ศ.2522)ออกตามความในพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522 ให้กำหนดค่าธรรมเนียม ดังต่อไปนี้
(1) ใบอนุญาตผลิตอาหารสําหรับโรงงานที่ประกอบกิจการโดยใช้คนงานตั้งแต่ฉบับละ 3,000 บาท
(2) ใบอนุญาตผลิตอาหารสําหรับโรงงานที่ประกอบกิจการโดยใช้คนงานตั้งแต่ฉบับละ 5,000 บาท
(3) ใบอนุญาตผลิตอาหารสําหรับโรงงานที่ประกอบกิจการโดยใช้เครื่องจักรตั้งแต่ฉบับละ 6,000 บาท
(4) ใบอนุญาตผลิตอาหารสําหรับโรงงานที่ประกอบกิจการโดยใช้เครื่องจักรที่มีฉบับละ 7,000 บาท
(5) ใบอนุญาตผลิตอาหารสําหรับโรงงานที่ประกอบกิจการโดยใช้เครื่องจักรที่มีฉบับละ 8,000 บาท
(6) ใบอนุญาตผลิตอาหารสําหรับโรงงานที่ประกอบกิจการโดยใช้เครื่องจักรที่มีฉบับละ 10,000 บาท
(7) ใบอนุญาตนำหรือสั่งอาหารเข้ามาในราชอาณาจักรฉบับละ 15,000 บาท
(8) ใบอนุญาตผลิตอาหารเป็นการเฉพาะคราวฉบับละ 2,000 บาท
(9) ใบอนุญาตนำหรือสั่งอาหารเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการเฉพาะคราวฉบับละ 2,000 บาท
(10) ใบสำคัญการขึ้นทะเบียนตำรับอาหารฉบับละ 5,000 บาท
(11) ใบแทนใบอนุญาตฉบับละ 500 บาท
(12) ใบแทนใบสําคัญการขึ้นทะเบียนตํารับอาหารฉบับละ 500 บาท
(13) การต่ออายุใบอนุญาตครั้งละเท่ากับค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประเภทนั้น ๆแต่ละฉบับ

3.ค่าธรรมเนียมการขออนุญาตในหมวดเครื่องสำอางในการจด อย.ด้วยตนเอง หรือว่าจ้างให้รับจด อย.ให้กฎกระทรวงออกตามความในพระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ.2535 ให้กำหนดค่าธรรมเนียม ดังนี้
(1) ใบสำคัญการขึ้นทะเบียน อย. ฉบับละ 1,000 บาท
(2) ใบแทนใบสำคัญการขึ้นทะเบียน อย. ฉบับละ 500 บาท
(3) ค่าธรรมเนียมการผลิตเพื่อขายปีละ 1,000 บาท
(4) ค่าธรรมเนียมการนำเข้าเพื่อขายปีละ 2,000 บาท

4.ค่าธรรมเนียมการขออนุญาตในหมวดเครื่องมือแพทย์ในการจด อย.ด้วยตนเอง หรือว่าจ้างให้รับจด อย.ให้กฎกระทรวงกําหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับเครื่องมือแพทย์พ.ศ. 2552 ให้กําหนดค่าธรรมเนียม ดังต่อไปนี้

(1) ใบจดทะเบียนสถานประกอบการฉบับละ 1,000 บาท
(2) ใบอนุญาตผลิตเครื่องมือแพทย์ฉบับละ 10,000 บาท
(3) ใบอนุญาตนําเข้าเครื่องมือแพทย์ฉบับละ 20,000 บาท
(4) ใบอนุญาตขายเครื่องมือแพทย์ฉบับละ 1,000 บาท
(5) ใบอนุญาตโฆษณาเครื่องมือแพทย์

(ก) การโฆษณาบนสิ่งของที่แจก (Gimmick) ฉบับละ 200 บาท
(ข) การโฆษณาอื่นๆ ฉบับละ 1,000 บาท

(6) ใบรับแจ้งรายการละเอียดผลิตเครื่องมือแพทย์ฉบับละ 5,000 บาท
(7) ใบรับแจ้งรายการละเอียดนําเข้าเครื่องมือแพทย์ฉบับละ 10,000 บาท
(8) หนังสือรับรอง

(ก) หนังสือรับรองประกอบการนําเข้าเครื่องมือแพทย์

(1) ไม่เกินสิบรายการฉบับละ 1,000 บาท
(2) เกินสิบรายการฉบับละ 2,000 บาท

(ข) หนังสือรับรองระบบคุณภาพการผลิตการนําเข้าและฉบับละ 1,000 บาท
(ค) หนังสือรับรองการส่งออก หนังสือรับรองผู้ผลิตฉบับละ 500 บาท
(ง) หนังสือรับรองฉลากหรือเอกสารกํากับเครื่องมือแพทย์ฉบับละ 1,000 บาท
(จ) หนังสือรับรองการผลิตเครื่องมือแพทย์เพื่อการส่งออกฉบับละ 1,000 บาท

(9) ใบรับรองการประเมินเครื่องมือแพทย์ตามมาตรา 22ฉบับละ1,000 บาท
(10) ใบแทนใบจดทะเบียนสถานประกอบการใบแทนใบอนุญาตฉบับละ 200 บาท
(11) คําขอจดทะเบียนสถานประกอบการฉบับละ 100 บาท
(12) คําขออนุญาตฉบับละ 100 บาท
(13) คําขอแจ้งรายการละเอียดฉบับละ 100 บาท
(14) คําขอย้ายหรือเปลี่ยนแปลงสถานที่ผลิตนําเข้า ขายหรือฉบับละ 100 บาท
(15) คําขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการใบจดทะเบียนสถานประกอบการฉบับละ 100 บาท
(16) คําขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการในใบอนุญาต หรือรายการอื่น ๆฉบับละ 100 บาท
(17) คําขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการในใบรับแจ้งรายการละเอียดหรือฉบับละ 100 บาท
(18) การต่ออายุใบจดทะเบียนสถานประกอบการเท่ากับค่าธรรมเนียมใบจดทะเบียนสถานประกอบการประเภทนั้น ๆ แต่ละฉบับ
(19) การต่ออายุใบอนุญาตเท่ากับค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประเภทนั้น ๆ แต่ละฉบับ
(20) การต่ออายุใบรับแจ้งรายการละเอียดเท่ากับค่าธรรมเนียมใบรับแจ้งรายการละเอียดประเภทนั้น ๆ แต่ละฉบับ
(21) คําขออื่นๆ ฉบับละ 100 บาท

5.ค่าธรรมเนียมการขออนุญาตในหมวดวัตถุอันตราย ในการจด อย.ด้วยตนเอง หรือว่าจ้างให้รับจด อย.ให้กฎกระทรวงกําหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับวัตถุอันตรายพ.ศ. 2552

ข้อ 1 ให้ยกเลิกกฎกระทรวงฉบับที่3(พ.ศ.2536)ออกตามความในพระราชบัญญัติวัตถุอันตรายพ.ศ. 2535
ข้อ 2 ให้กําหนดค่าธรรมเนียม ดังต่อไปนี้

(1) ใบสําคัญการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตรายฉบับละ 2,000 บาท

(2) ใบอนุญาตผลิตวัตถุอันตรายคิดตามกําลังการผลิตต่อปีดังต่อไปนี้

(ก) ไม่ถึงสิบเมตริกตันฉบับละ 500 บาท
(ข) ตั้งแต่สิบเมตริกตันขึ้นไป แต่ไม่ถึงห้าสิบเมตริกตันฉบับละ 1,000 บาท
(ค) ตั้งแต่ห้าสิบเมตริกตันขึ้นไป แต่ไม่ถึงหนึ่งร้อยเมตริกตันฉบับละ 1,500 บาท
(ง) ตั้งแต่หนึ่งร้อยเมตริกตันขึ้นไปฉบับละ 3,000 บาท

(3) ใบอนุญาตนําเข้าวัตถุอันตรายคิดตามปริมาณการนําเข้าต่อปี ดังต่อไปนี้

(ก) ไม่ถึงสิบเมตริกตันฉบับละ 500 บาท
(ข) ตั้งแต่สิบเมตริกตันขึ้นไป แต่ไม่ถึงห้าสิบเมตริกตันฉบับละ 1,000 บาท
(ค) ตั้งแต่ห้าสิบเมตริกตันขึ้นไป แต่ไม่ถึงหนึ่งร้อยเมตริกตันฉบับละ 1,500 บาท
(ง) ตั้งแต่หนึ่งร้อยเมตริกตันขึ้นไปฉบับละ 3,000 บาท

(4) ใบอนุญาตส่งออกวัตถุอันตรายคิดตามปริมาณส่งออกต่อปีดังต่อไปนี้

(ก) ไม่ถึงสิบเมตริกตันฉบับละ 500 บาท
(ข) ตั้งแต่สิบเมตริกตันขึ้นไป แต่ไม่ถึงห้าสิบเมตริกตันฉบับละ 1,000 บาท
(ค) ตั้งแต่ห้าสิบเมตริกตันขึ้นไป แต่ไม่ถึงหนึ่งร้อยเมตริกตันฉบับละ 1,500 บาท
(ง) ตั้งแต่หนึ่งร้อยเมตริกตันขึ้นไปฉบับละ 3,000 บาท

(5) ใบอนุญาตมีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตราย

(ก) ไม่ถึงสิบเมตริกตันต่อปี
(1) ใช้พื้นที่เฉพาะเพื่อการเก็บรักษาไม่ถึงห้าร้อยตารางเมตรฉบับละ 500 บาท
(2) ใช้พื้นที่เฉพาะเพื่อการเก็บรักษาตั้งแต่ห้าร้อยตารางเมตรฉบับละ 1,000 บาท
(3) ใช้พื้นที่เฉพาะเพื่อการเก็บรักษาตั้งแต่หนึ่งพันตารางเมตรฉบับละ 1,500 บาท
(4) ใช้พื้นที่เฉพาะเพื่อการเก็บรักษาตั้งแต่สองพันตารางเมตรฉบับละ 3,000 บาท
(ข) ตั้งแต่สิบเมตริกตันขึ้นไปต่อปีแต่ไม่ถึงห้าสิบเมตริกตันต่อปี
(1) ใช้พื้นที่เฉพาะเพื่อการเก็บรักษาไม่ถึงหนึ่งพันตารางเมตรฉบับละ 1,000 บาท
(2) ใช้พื้นที่เฉพาะเพื่อการเก็บรักษาตั้งแต่หนึ่งพันตารางเมตรฉบับละ 1,500 บาท
(3) ใช้พื้นที่เฉพาะเพื่อการเก็บรักษาตั้งแต่สองพันตารางเมตรขึ้นไปฉบับละ 3,000 บาท
(ค) ตั้งแต่ห้าสิบเมตริกตันขึ้นไปต่อปีแต่ไม่ถึงหนึ่งร้อยเมตริกตันต่อปี
(1) ใช้พื้นที่เฉพาะเพื่อการเก็บรักษาไม่ถึงสองพันตารางเมตรฉบับละ 1,500 บาท
(2) ใช้พื้นที่เฉพาะเพื่อการเก็บรักษาตั้งแต่สองพันตารางเมตรขึ้นไปฉบับละ 3,000 บาท
(ง) ตั้งแต่หนึ่งร้อยเมตริกตันขึ้นไปต่อปีฉบับละ 3,000 บาท

(6) ใบอนุญาตผลิตตัวอย่างวัตถุอันตรายฉบับละ300 บาท

(7) ใบอนุญาตนําเข้าตัวอย่างวัตถุอันตรายฉบับละ 300 บาท

(8) ใบแทนใบสําคัญการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตรายฉบับละ 1,000 บาท

(9) ใบแทนใบอนุญาตตาม (2) (3) (4)และ (5)ฉบับละ 500 บาท

(10) ใบแทนใบอนุญาตตาม (6) และ (7)ฉบับละ 200 บาท

(11) การต่ออายุใบสําคัญการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตรายครั้งละเท่ากับค่าธรรมเนียมสําหรับใบสําคัญการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตราย

(12) การต่ออายุใบอนุญาตครั้งละเท่ากับค่าธรรมเนียมสําหรับใบอนุญาตแต่ละประเภท

ทำไมต้องใช้บริการจดทะเบียนอย.กับเรา?

  1. เรามีทีมงานอย่างน้อย 3-4 ท่านที่มีประสบการณ์และทำงานด้านบริการรับจด อย.โดยเฉพาะ และมีความสัมพันธ์ที่ดีกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา โดยสามารถจัดเตรียมเอกสารก่อนการดำเนินการได้ครบถ้วน
  2. เรามีประสบการณ์ในการจด อย.และได้รับอนุมัติมาแล้วจำนวนมาก
  3. เรามีความเชี่ยวชาญงานจดเครื่องหมายการค้า จดลิขสิทธิ์ และจดสิทธิบัตรโดยเฉพาะ และต่อมาได้มีการขยายงานออกมาเป็นการรับจด อย. ซึ่งเป็นการอ้างอิงพื้นฐานในความเข้าใจตัวงานที่เป็นผลิตภัณฑ์ได้เป็นอย่างดี
  4. เรามีเจ้าหน้าที่รับจด อย. และมีสถานที่ทำผลทดสอบ และหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง โดยจะประสานงานให้กับท่านเพื่อประกอบในเอกสารการจด อย.
  5. เรามีทีมงานที่ท่านสามารถโทรสอบถามและติดตามได้ตลาดเวลา มีการแจ้งความคืบหน้าและขอเอกสารเพิ่มเติมเพื่อให้งานจด อย.ได้รับอนุมัติ และมีทนายความให้ความช่วยเหลือเมื่อเกิดข้อพิพาท
  6. บริษัทอยู่ใกล้กับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา สะดวก รวดเร็ว ฉับไว และทันท่วงที ทำให้ท่านลดค่าใช้จ่ายในการยื่นคำขอ เอกสารครบถ้วนถูกต้อง ประหยัดเวลา ลดความยุ่งยากในการดำเนินการ
แอดไลน์