รับจดทะเบียนและขอใบอนุญาต มอก. สมอ. สคบ.
อย่างถูกต้องทุกขั้นตอน
การจดทะเบียนและขอใบอนุญาต มอก. สมอ. สคบ. ต้องทำให้ถูกต้องทุกขั้นตอน โดยเฉพาะการขอนำเข้าหรือกรณีที่เป็นผู้ผลิต เพราะเป็นมาตรฐานบังคับตามกฎหมาย หากไม่ดำเนินการให้ถูกต้องจะมีความผิด เพราะถือว่ามีผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สิน นอกจากนั้นยังต้องมีมาตรการในการรักษามาตราฐานการผลิตอย่างต่อเนื่อง ซึ่งผู้ประกอบการหลายท่านไม่เข้าใจ และเลขจดทะเบียนมอก. สมอ. สคบ. ยังมีการแบ่งจำพวกและประเภทสินค้าจำนวนมาก บางครั้งเกิดความผิดพลาดว่าสินค้าใดบ้างต้องทำการจดมอก. สมอ. สคบ.
มอก. คืออะไร?
มอก. เป็นคำย่อมาจากมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หมายถึงข้อกำหนดทางวิชาการที่สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ได้กำหนดขึ้นเพื่อเป็นแนวทางแก่ผู้ผลิตในการผลิตสินค้าให้มีคุณภาพในระดับที่เหมาะสมกับการใช้งานมากที่สุด โดยการอนุญาตให้แสดงเครื่องหมายมาตรฐานจำนวน 2 แบบ คือ เครื่องหมายมาตรฐานทั่วไปและเครื่องหมายมาตรฐานบังคับ
ซึ่งคณะกรรมการมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก) ได้กำหนดหลักเกณฑ์การตรวจสอบเพื่อการรับจดมอก. มีหลักการ 2 ประการ คือ ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพเป็นไปตามที่มาตรฐานกำหนด และผู้ผลิตมีระบบการควบคุมคุณภาพเพียงพอที่จะรักษาคุณภาพผลิตภัณฑ์ให้เป็นไปตามมาตรฐานได้อย่างสม่ำเสมอ หากมีองค์ประกอบครบถ้วนก็สามารถยื่นจด มอก. ได้
เครื่องหมายมอก. หลักๆที่พบเห็นได้ทั่วไป
มอก.เป็นคำย่อมาจาก มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หมายถึงข้อกำหนดทางวิชาการที่ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม(สมอ.)ได้กำหนดขึ้นเพื่อเป็นแนวทางแก่ผู้ผลิตในการผลิตสินค้าให้มีคุณภาพในระดับที่เหมาะสมกับการใช้งานมากที่สุด
โดยการอนุญาตให้แสดงเครื่องหมายมาตรฐานมอก.จำนวน 2 แบบ คือ
1. เครื่องหมายมอก. แบบมาตรฐานทั่วไป
เครื่องหมายมอก.มาตรฐานทั่วไป เป็นเครื่องหมายรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ที่สมอ. กำหนดมาตรฐานของผลิตภัณฑ์นั้นไว้ ซึ่งผู้ผลิตจะยื่นขอการรับรองคุณภาพ (มาตรฐานทั่วไป) หรือไม่ยื่นขอการรับรองคุณภาพ (มาตรฐานทั่วไป) ก็ได้ กฎหมายไม่ได้บังคับให้ต้องจด มอก.เนื่องจากไม่มีผลกระทบถึงความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ดังนั้นการอนุมัติรับจด มอก.เป็นภาคสมัครใจ ไม่ใช่ภาคบังคับ สำหรับตัวอย่างสินค้าเครื่องหมายมอก.มาตรฐานทั่วไป เช่น ผลิตภัณฑ์อาหาร น้ำปลา ซอสปรุงรส กระเบื้องซีเมนต์ใยหินแผ่นเรียบ กรดซัลฟิวริกสำหรับแบตเตอรี่ชนิดตะกั่ว-กรดทปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ เป็นต้น
2. เครื่องหมายมอก. แบบมาตรฐานบังคับ
เครื่องหมายมอก.แบบมาตรฐานบังคับ เป็นเครื่องหมายรับรองผลิตภัณฑ์ที่กฎหมายกำหนดให้ต้องเป็นไปตามมาตรฐานบังคับ ไม่จดมอก.ไม่ได้เพราะผิดกฎหมาย ดังนั้นการอนุมัติรับจด มอก.จึงเป็นภาคบังคับ ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภคและป้องกันความเสียหายที่เกิดขึ้นกับชีวิตและทรัพย์สิน อันมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมโดยส่วนรวม และต้องมีเครื่องหมายมาตรฐานบังคับ แสดงไว้ที่สินค้าด้วย สำหรับตัวอย่างสินค้าเครื่องหมายมอก.มาตรฐานบังคับ เช่น หลอดไฟฟ้า สายไฟฟ้าหุ้มฉนวนพอลิไวนิลคลอไรด์ ท่อพีวีซีแข็งสำหรับใช้เป็นท่อน้ำดื่ม เหล็กเส้นเสริมคอนกรีต เหล็กเส้นกลมบัลลาสต์สำหรับหลอดฟลูออเรสเซนซ์ เหล็กข้ออ้อย เป็นต้น
ประโยชน์ของการจดทะเบียนหรือขอใบอนุญาต มอก.
ประโยชน์ต่อผู้ผลิต
ผู้ผลิตที่ได้รับการจดมอก.แล้ว จะต้องปฎิบัติตามหลักเกณฑ์เครื่องหมายรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ผลิต ดังนี้
- ยกระดับมาตราฐานการผลิตสินค้าตามมาตราฐานการรับจดมอก.
- ยกระดับมาตรฐานสินค้าทำให้เพิ่มโอกาสทางการค้ามากขึ้นทั้งภาคเอกชน และภาครัฐทั้งในและต่างประเทศ
- ยกระดับความปลอดภัยในการผลิตสินค้าตามมาตรฐานการผลิตที่ดีตามมาตราฐานการรับจดมอก.
- ยกระดับมาตรฐานการผลิตที่ดีตามมาตราฐานการรับจดมอก. ส่งผลให้มีต้นทุนการผลิตที่ต่ำ และลดขั้นตอนการทำงานที่ซ้ำซ้อนทําให้สินค้ามีคุณภาพดีขึ้น และมีราคาถูกลง
- ยกระดับมาตรฐานการผลิตที่ดีและสม่ำเสมอตามมาตราฐานการรับจดมอก. ที่ต้องมีมาตราการการผลิตที่ดีและสม่ำเสมอ
ประโยชน์ต่อผู้บริโภค
- ได้รับความคุ้มครองจากภาครัฐในการควบคุมดูแลมาตรฐานของผลิตภัณฑ์และมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
- มาตรฐานของผลิตภัณฑ์ถือเป็นการรับรองคุณภาพสินค้าอย่างหนึ่งที่ช่วยในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าที่ได้ทำการจดมอก.แล้ว
- มาตรฐานของผลิตภัณฑ์ถือเป็นคู่มืออย่างหนึ่งที่แสดงถึงคุณสมบัติและประโยชน์ใช้สอยของสินค้าที่เหมือนกันและใช้ทดแทนกันได้
- มาตรฐานของผลิตภัณฑ์ถือเป็นการรับรองคุณภาพสินค้าที่ดีและมีการกำหนดราคาที่เป็นธรรม
- มาตรฐานของผลิตภัณฑ์ถือเป็นการอ้างอิงคุณภาพสินค้าที่จะนำใช้ในต่างประเทศสำหรับการนำเข้า-ส่งออกได้ หรือเพื่อการส่งออกสินค้าและยื่นขออนุมัติรับจดมอก. ในต่างประเทศเพื่อการจำหน่ายสินค้าต่อไป
ประโยชน์ต่อเศรษฐกิจส่วนรวมหรือประโยชน์ร่วมกัน
- มาตรฐานของผลิตภัณฑ์ถือเป็นมาตราฐานในระดับสากลที่ใช้อ้างอิงได้ทั่วโลกเพื่อการนำเข้า ส่งออกสินค้าไปจำหน่ายในต่างประเทศได้ หรือนำไปยื่นจดมอก. ในต่างประเทศได้ หรือนำเข้ามาเพื่อยื่นขอรับจด มอก.ในประเทศไทย
- มาตรฐานของผลิตภัณฑ์ถือเป็นการป้องกันสินค้าคุณภาพไม่ได้มาตรฐานและลักลอบนำเข้ามาจําหน่ายในประเทศ
- มาตรฐานของผลิตภัณฑ์ถือเป็นการป้องกันชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในภาคสาธารณสุขหรืออุตสาหกรรม
- มาตรฐานของผลิตภัณฑ์ถือเป็นการสร้างความเข้าใจร่วมกันในมาตราฐานของสินค้าก่อให้เกิดความเข้าใจตรงกันในการใช้งาน
- มาตรฐานของผลิตภัณฑ์ถือเป็นการยกระดับการใช้ทรัพยากร ทําให้มีการใช้ทรัพยากรอย่างเกิดประโยชน์สูงสุด สร้างโอกาสทางการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการไทย สร้างความเข้มแข็งให้กับอุตสาหกรรมและเศรษฐกกิจของประเทศ
หลักเกณฑ์การตรวจสอบเพื่อขออนุญาตจด มอก.
คณะกรรมการมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก) ได้กำหนดหลักเกณฑ์การตรวจสอบเพื่อการอนุญาต ของ สมอ. มีหลักการ 2 ประการ คือ
- ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพเป็นไปตามที่มาตรฐานมอก. กำหนด
- ผู้ผลิตมีระบบการควบคุมคุณภาพเพียงพอที่จะรักษาคุณภาพผลิตภัณฑ์ให้เป็นไปตามมาตรฐานมอก. ได้อย่างสม่ำเสมอ
หลักเกณฑ์การตรวจสอบเพื่อการอนุญาตจด มอก.ประกอบด้วย
- การดำเนินงานการตรวจสอบเพื่อพิจารณาออกใบอนุญาตจด มอก.
- การตรวจติดตามภายหลังการออกใบอนุญาตจด มอก.
ประเภทของการขอรับใบอนุญาตจด มอก.
- การขอรับใบอนุญาตมอก.ผลิตภายในประเทศเพื่อจัดจำหน่าย
- การขอรับใบอนุญาตมอก.นำเข้าผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเพื่อจัดจำหน่าย
- การขอรับใบอนุญาตมอก.นำเข้าเฉพาะครั้ง ขอได้เฉพาะบางผลิตภัณฑ์ตามที่หลักเกณฑ์เฉพาะกำหนดไว้เท่านั้น
เงื่อนไขหลักเกณฑ์เฉพาะในการตรวจสอบเพื่อการอนุญาตจด มอก.ต้องพิจาณาหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
- การขึ้นทะเบียนโรงงาน
- โครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพ
- การตรวจรับวัตถุดิบ
- การจัดเก็บวัตถุดิบ
- ขั้นตอนการผลิต
- การควบคุมการผลิต
- การตรวจคุณภาพในขบวนการผลิต
- การตรวจคุณภาพก่อนการส่งมอบ
- การบรรจุภัณฑ์
- การอบรมบุคลากร
- การควบคุมเครื่องมือวัดและทดสอบที่ใช้ในขบวนการผลิต
- โรงงานผลิตที่ปฏิบัติตามมาตรฐาน ISO 9000
ผู้ผลิต หรือ ผู้นำเข้า (Importer) ที่ต้องการใช้ตรา มอก. สามารถดูได้จากเว็บไซต์ของสำนักงานมาตรฐานกระทรวงอุตสาหกรรม www.tisi.go.th และ หนังสือมาตรฐาน มอก.
ขั้นตอนการดำเนินงานขอจด มอก.สำหรับผู้ผลิตในประเทศ
- ขออนุญาตผลิตจากกระทรวงอุตสาหกรรม
- จัดเตรียมตัวอย่างเพื่อการทดสอบ (สมอ. จะกำหนด ห้อง Lab. ที่ใช้ทดสอบ)
- จัดเตรียมการตรวจโรงงานครั้งแรก
- ออกใบอนุญาตให้ทำการผลิตและใช้ตรา มอก. บนผลิตภัณฑ์
- โดยผู้ผลิตต้องรับผิดชอบใน ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น เช่น การทดสอบ ใบอนุญาตการผลิต ค่าเดินทาง ค่าตรวจโรงงานผลิตครั้งแรก ค่าตรวจติดตามผลโรงงานผลิตในปีถัดไป
อายุของใบอนุญาตจด มอก.
ใบอนุญาตการผลิตจะมีผลตลอดไป จนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงในเนื้อหามาตรฐานนั้นๆ และเจ้าหน้าที่ สมอ. จะแจ้งให้ผู้ผลิตทราบล่วงหน้า
การตรวจติดตามผล
เจ้าหน้าที่ สมอ. จะมีการตรวจติดตามผลโรงงานผลิต เริ่มจากปีถัดไป ปีละครั้ง โดยผู้ผลิตต้องรับผิดชอบใน ค่าตรวจติดตามผลโรงงานผลิตในปีถัดไป
ค่าธรรมเนียมการขอจดทะเบียนหรือขอใบอนุญาต มอก.
ค่าธรรมเนียมและรายการจดทะเบียนมอก.
ค่าใช้จ่ายระหว่างดำเนินการในการรับจด มอก.
ก.ค่าตรวจสอบการทำผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เป็นไปตามอัตราที่สมอ.หรือหน่วยตรวจกำหนด
ข.ค่าตรวจสอบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เป็นไปตามอัตราที่ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมกำหนด
อัตราค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายต่างๆในการจด มอก.
1.ใบอนุญาตแสดงเครื่องหมาย มาตรฐาน (มาตรา 16) ราคา 3,000 บาท
2.ใบอนุญาตทำผลิตภัณฑ์ (มาตรา 20) ราคา 3,000 บาท
3.ใบอนุญาตนำเข้าผลิตภัณฑ์ (มาตรา 21) ราคา 3,000 บาท
4.ใบอนุญาตย้าย (มาตรา 24) ราคา 1,500 บาท
5.ใบอนุญาตโอน (มาตรา 25) ราคา 1,500 บาท
6.ใบแทนใบอนุญาต ราคา 300 บาท
ทำไมต้องใช้บริการจดทะเบียนมอก.กับเรา?
- เรามีทีมงานอย่างน้อย 3-4 ท่านที่มีประสบการณ์และทำงานด้านบริการรับจด มอก.โดยเฉพาะ และมีความสัมพันธ์ที่ดีกับสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม โดยสามารถจัดเตรียมเอกสารก่อนการดำเนินการได้ครบถ้วน
- เรามีประสบการณ์ในการจด มอก.และได้รับอนุมัติมาแล้วจำนวนมาก
- เรามีความเชี่ยวชาญงานจดเครื่องหมายการค้า จดลิขสิทธิ์ และจดสิทธิบัตรโดยเฉพาะ และต่อมาได้มีการขยายงานออกมาเป็นการรับจด มอก. ซึ่งเป็นการอ้างอิงพื้นฐานในความเข้าใจตัวงานที่เป็นผลิตภัณฑ์ได้เป็นอย่างดี
- เรามีเจ้าหน้าที่รับจด มอก. และมีสถานที่ทำผลทดสอบ และหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง โดยจะประสานงานให้กับท่านเพื่อประกอบในเอกสารการจด มอก.
- เรามีทีมงานที่ท่านสามารถโทรสอบถามและติดตามได้ตลาดเวลา มีการแจ้งความคืบหน้าและขอเอกสารเพิ่มเติมเพื่อให้งานจด มอก.ได้รับอนุมัติ และมีทนายความให้ความช่วยเหลือเมื่อเกิดข้อพิพาท