รับจดสิทธิบัตร อนุสิทธิบัตร

ปกป้องงานประดิษฐ์และงานออกแบบผลิตภัณฑ์
ด้วยการจดสิทธิบัตรอย่างถูกต้องทุกขั้นตอน

บริษัทของเราให้บริการด้านการจดสิทธิบัตร โดยได้ดำเนินการตรวจสอบงานประดิษฐ์และสินค้าของลูกค้าจนนำไปสู่การอนุมัติรับจดสิทธิบัตรจำนวนมากกว่า 4,000 ฉบับ เราพบเห็นสิทธิบัตรจำนวนมากที่ได้รับการจดทะเบียนแต่ไม่สามารถใช้บังคับทางกฎหมายได้ เนื่องจากไม่สามารถเขียนเนื้อหาได้ดีเพียงพอที่จะคุ้มครองงานประดิษฐ์และสินค้าของลูกค้าได้ บริษัทของเรามีประสบการณ์กว่า 25 ปี ได้รับการอบรมจากกรมทรัพย์สินทางปัญญา และมีผู้ตรวจสอบสิทธิบัตรที่คอยให้คำแนะนำและช่วยเหลือจนมีความเชี่ยวชาญที่จะสามารถทราบถึงเทคนิคการเขียน การจัดทำภาพเขียน (drawings) จนนำไปสู่่การตรวจสอบอนุมัติรับจดสิทธิบัตรด้วยความรวดเร็ว ถูกต้องตามกฎหมาย

ร่างสิทธิบัตรภายใน 7 วัน

สิทธิบัตรคืออะไร?

สิทธิบัตร (Patent) คืองานที่เป็นการประดิษฐ์ การคิดค้นหรือคิดทำขึ้น อันเป็นผลให้ได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์หรือกรรมวิธีใดขึ้นใหม่ หรือการกระทำใดๆ ที่ทำให้ดีขึ้นซึ่งผลิตภัณฑ์หรือกรรมวิธี กรรมวิธี หมายความว่า วิธีการ กระบวนการ หรือกรรมวิธีในการผลิต หรือการเก็บรักษาให้คงสภาพหรือให้มีคุณภาพดีขึ้นหรือการปรับสภาพให้ดีขึ้นซึ่งผลิตภัณฑ์ และรวมถึงการใช้กรรมวิธีนั้น ๆ ด้วย การจดสิทธิบัตรในประเทศไทย แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ

สิทธิบัตรการประดิษฐ์ คือ งานที่คิดขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาและทำให้ดีขึ้น ซึ่งจะอยู่ในรูปของชิ้นงาน อุปกรณ์ กรรมวิธี และสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่กฎหมายอนุญาตให้นำมาจดทะเบียนสิทธิบัตรได้ และได้รับความคุ้มครองป้องกันคนอื่นมาทำสิ่งเดียวกันนี้ซ้ำ

อนุสิทธิบัตร คือหนังสือสำคัญที่ออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์ตามกฎหมายในระยะเวลาที่กำหนด 10 ปี แลกกับการเปิดเผยรายละเอียดการประดิษฐ์ที่สามารถทำให้คนอื่นเข้าใจรายละเอียดได้ โดยอนุสิทธิบัตรนั้นเกี่ยวข้องกับ “การประดิษฐ์” ที่เป็นการคิดค้นหรือคิดทำขึ้น อันเป็นผลให้ได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์หรือกรรมวิธีใดขึ้นใหม่ และนำไปแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นหรือทำให้ดีขึ้น และหมายความรวมถึง “กรรมวิธี” ที่เป็นวิธีการ กระบวนการ หรือกรรมวิธีในการผลิตหรือการเก็บรักษาให้คงสภาพหรือให้มีคุณภาพดีขึ้นหรือการปรับสภาพให้ดีขึ้นซึ่งผลิตภัณฑ์ และรวมถึงการใช้กรรมวิธีนั้น ๆ ด้วย

สิทธิบัตรการออกแบบ คือ งานออกแบบผลิตภัณฑ์ หมายความว่า รูปร่างของผลิตภัณฑ์หรือองค์ประกอบของลวดลาย หรือสีของผลิตภัณฑ์ อันมีลักษณะพิเศษสำหรับผลิตภัณฑ์ซึ่งสามารถใช้เป็นแบบสำหรับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมรวมทั้งหัตถกรรมได้ คุ้มครองรูปร่าง รูปทรงภายนอกเชิงมิติ งานสิทธิบัตรการออกแบบ ไม่ได้มีขั้นประดิษฐ์ที่สูงขึ้น และไม่ได้คิดขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาหรือทำให้ดีขึ้น แต่จะออกแบบมาเพื่อความสวยงาม และกฎหมายอนุญาตให้นำมาจดทะเบียนสิทธิบัตรการออกแบบได้ และได้รับความคุ้มครองป้องกันคนอื่นมาทำสิ่งเดียวกันนี้ซ้ำ

 

ประเภทงานบริการที่เกี่ยวกับการรับจดสิทธิบัตร

  • รับจดทะเบียนสิทธิบัตร อนุสิทธิบัตร และ สิทธิบัตรการออกแบบ
  • การค้นหาและตรวจค้นข้อมูลสิทธิบัตร อนุสิทธิบัตร และ สิทธิบัตรการออกแบบ
  • การชำระค่าธรรมเนียมรายปีสำหรับสิทธิบัตร อนุสิทธิบัตร และ สิทธิบัตรการออกแบบ
  • จดทะเบียนโอนสิทธิบัตร อนุสิทธิบัตร และ สิทธิบัตรการออกแบบ
  • ข้อตกลงอนุญาตให้ใช้สิทธิบัตร อนุสิทธิบัตร และ สิทธิบัตรการออกแบบ
  • จัดทำสัญญา Licensing
  • การจัดทำรูปเขียนประกอบสิทธิบัตร อนุสิทธิบัตร และ การออกแบบ
  • ให้คำปรึกษาการพัฒนาปรับปรุงสิ่งประดิษฐ์

 

การจดทะเบียนสิทธิบัตรการประดิษฐ์ในประเทศไทย

ขั้นตอนจดทะเบียนสิทธิบัตรการประดิษฐ์

1.สืบค้น สิทธิบัตรที่ได้เปิดเผยไว้แล้วระยะเวลาประมาณ 5-10 วัน
2.ร่างเนื้อหาและจัดทำรูปเขียนประมาณ 5-10 วัน
3.ยื่นจดทะเบียนและรอการพิจารณาอนุมัติ
3.1 อนุสิทธิบัตรใช้ระยะเวลารวม 1-2 ปี
– ตรวจสอบความใหม่ในประเทศ และ ประกาศโฆษณาพร้อมรับจดทะเบียน 1-2 ปี
3.2 สิทธิบัตรใช้ระยะเวลารวม 2-4 ปี
– ตรวจสอบความใหม่ในประเทศและประกาศโฆษณา 2-3 ปี
– ตรวจสอบความใหม่ในต่างประเทศเพื่อรับจดทะเบียน 1-2 ปี

ข้อมูลที่ใช้จดทะเบียนสิทธิบัตรการประดิษฐ์

1. ชื่อ นามสกุล ที่อยู่ เบอร์ อีเมล ผู้ขอจดทะเบียน
2. ชื่อ นามสกุล ที่อยู่ ผู้ประดิษฐ์
3. ข้อมูลคำอธิบายที่เกี่ยวข้องกับสิ่งประดิษฐ์
3.1 ที่ประกอบด้วยอะไรบ้าง
3.2 แต่ละส่วนทำหน้าที่อย่างไร
3.3 ขั้นตอนการทำงาน
3.4 ส่วนประกอบ สัดส่วน พอสังเขป
4. รูปเขียนแสดงส่วนประกอบ (หากมี)

เอกสารจดทะเบียนสิทธิบัตรการประดิษฐ์

1.หนังสือมอบอำนาจ (ทางเราจัดทำให้)
2.กรณีบริษัท : สำเนาหนังสือรับรองบริษัทออกไม่เกิน 6 เดือน / สำเนาบัตร กรรมการและผู้ประดิษฐ์
3.กรณีบุคคลธรรมดา : รับรองสำเนาบัตร ปชช

 

หลักการพิจารณาสิทธิบัตรการประดิษฐ์

“สิทธิบัตร” หมายความว่า หนังสือสำคัญที่ออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์ตามกฎหมายในระยะเวลาที่กำหนด 20 ปี แลกกับการเปิดเผยรายละเอียดการประดิษฐ์ที่สามารถทำให้คนอื่นเข้าใจรายละเอียดได้ โดยสิทธิบัตรนั้นเกี่ยวข้องกับ “การประดิษฐ์” ที่เป็นการคิดค้นหรือคิดทำขึ้น อันเป็นผลให้ได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์หรือกรรมวิธีใดขึ้นใหม่ และนำไปแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นหรือทำให้ดีขึ้น และหมายความรวมถึง “กรรมวิธี” ที่เป็น วิธีการ กระบวนการ หรือกรรมวิธีในการผลิตหรือการเก็บรักษาให้คงสภาพหรือให้มีคุณภาพดีขึ้นหรือการปรับสภาพให้ดีขึ้นซึ่งผลิตภัณฑ์และรวมถึงการใช้กรรมวิธีนั้น ๆ ด้วย

“สิทธิบัตร” ต้องประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 ข้อถึงจะทำให้สามารถยื่นจดสิทธิบัตรได้
(1) เป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่ หมายถึงไม่เหมือนหรือคล้ายกับงานก่อนหน้าทั้งในระบบฐานข้อมูลของกรมทรัพย์สินทางปัญญาหรือในเอกสารทางวิชาการ หรือมีใช้แพร่หลายมาก่อนแล้วทั้งในและต่างประเทศ
(2) เป็นการประดิษฐ์ที่มีขั้นการประดิษฐ์สูงขึ้น หมายถึงเป็นการประดิษฐ์ที่ไม่เป็นที่ประจักษ์โดยง่ายแก่บุคคลที่มีความชำนาญในระดับสามัญสำหรับงานประเภทนั้น
(3) เป็นการประดิษฐ์ที่สามารถประยุกต์ในทางอุตสาหกรรม คือต้องทำซ้ำและนำมาใช้ประโยชน์ได้จริงในทางการค้า

ดังนั้นตามที่กล่าวมาข้างต้น “อนุสิทธิบัตร” เป็นการประดิษฐ์ธรรมดา และ “สิทธิบัตร” เป็นการประดิษฐ์ที่มีขั้นการประดิษฐ์สูงขึ้น ซึ่งข้อแตกต่างนี้เป็นเงื่อนไขในการรับจดสิทธิบัตรได้ทั้งสองกรณี

ความแตกต่างระหว่างการจดอนุสิทธิบัตรและสิทธิบัตร

การจดอนุสิทธิบัตร การประดิษฐ์

  • มีความซับซ้อนไม่มาก
  • ตรวจสอบเฉพาะในเมืองไทย
  • ระยะเวลาพิจารณา อนุสิทธิบัตร 1-2 ปี
  • อนุสิทธิบัตร คุ้มครอง 10 ปี ค่าธรรมเนียมรายปีรวม 10 ปี รวมชำระประมาณ 17,000 บาท แบ่งชำระตั้งแต่ปีที่ 5 เป็นต้นไป (ปีไหนไม่ชำระก็สิ้นผล)

การจดสิทธิบัตร การประดิษฐ์

  • มีความซับซ้อนมากกว่า
  • ตรวจสอบในเมืองไทยและในต่างประเทศ
  • ระยะเวลาพิจารณา สิทธิบัตร 2-4 ปี
  • สิทธิบัตร คุ้มครอง 20 ปี ค่าธรรมเนียมรายปีรวม 20 ปี รวมชำระประมาณ 140,000 บาท แบ่งชำระตั้งแต่ปีที่ 5 เป็นต้นไป (ปีไหนไม่ชำระก็สิ้นผล)

 

การจดทะเบียนสิทธิบัตรการออกแบบในประเทศไทย

ขั้นตอนจดทะเบียนสิทธิบัตรการออกแบบ

1.สืบค้น สิทธิบัตรที่ได้เปิดเผยไว้แล้วระยะเวลาประมาณ 7 วัน
2.ร่างเนื้อหาและจัดทำเอกสารประมาณ 7 วัน
3.ยื่นจดทะเบียนและรอการพิจารณาอนุมัติ (รวมประมาณ 2-4 ปี) แบ่งดังนี้
– ตรวจสอบความใหม่ในประเทศและประกาศโฆษณา  1-2  ปี
– ตรวจสอบความใหม่ในต่างประเทศ 1-2 ปี

สิทธิบัตรการออกแบบ คุ้มครอง 10 ปี  นับจากวันยื่นจดทะเบียน
ค่าธรรมเนียมรายปีรวม 10 ปี รวมชำระประมาณ 8,000 บาท แบ่งชำระตั้งแต่ปีที่ 5 เป็นต้นไป  (ปีไหนไม่ชำระก็สิ้นผล)

ข้อมูลที่ใช้จดทะเบียนสิทธิบัตรการออกแบบ

  • ชื่อ นามสกุล ที่อยู่ ผู้ขอจดทะเบียน
  • ชื่อ นามสกุล ที่อยู่ ผู้ประดิษฐ์
  • ภาพถ่าย หรือ ภาพเขียน 7 มุมมอง บน ล่าง ซ้าย ขวา หน้า หลัง perspective

เอกสารจดทะเบียนสิทธิบัตรการออกแบบ

  • หนังสือมอบอำนาจ (ทางเราจัดทำให้)
  • กรณีบริษัท : สำเนาหนังสือรับรองบริษัทออกไม่เกิน 6 เดือน / สำเนาบัตร กรรมการและผู้ประดิษฐ์
  • กรณีบุคคลธรรมดา : รับรองสำเนาบัตร ปชช

หลักการพิจารณาสิทธิบัตรออกแบบผลิตภัณฑ์

“สิทธิบัตรออกแบบผลิตภัณฑ์” หมายความว่า หนังสือสำคัญที่ออกให้เพื่อคุ้มครองการออกแบบผลิตภัณฑ์ในระยะเวลาที่กำหนด 10 ปี และสิทธิบัตรออกแบบผลิตภัณฑ์ นั้นเกี่ยวข้องกับ รูปร่าง รูปทรงเชิงมิติ ที่มองเห็นได้จากภายนอกเท่านั้น

“สิทธิบัตรออกแบบผลิตภัณฑ์” ต้องประกอบด้วยองค์ประกอบ 2 ข้อถึงจะทำให้สามารถยื่นจดสิทธิบัตรได้
(1) เป็นการออกแบบสิทธิบัตรออกแบบผลิตภัณฑ์ขึ้นใหม่ หมายถึงไม่เหมือนหรือคล้ายกับงานก่อนหน้าทั้งในระบบฐานข้อมูลของกรมทรัพย์สินทางปัญญาหรือในเอกสารทางวิชาการ หรือมีใช้แพร่หลายมาก่อนแล้วทั้งในและต่างประเทศ
(2) เป็นการประดิษฐ์ที่สามารถประยุกต์ในทางอุตสาหกรรม คือต้องทำซ้ำและนำมาใช้ประโยชน์ได้จริงในทางการค้า

สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ หมายถึง
(1) แบบผลิตภัณฑ์ที่มีหรือใช้แพร่หลายอยู่แล้วในราชอาณาจักรก่อนวันขอรับสิทธิบัตร
(2) แบบผลิตภัณฑ์ที่ได้มีการเปิดเผยภาพ สาระสำคัญ หรือรายละเอียดในเอกสารหรือสิ่งพิมพ์ที่ได้เผยแพร่อยู่แล้วไม่ว่าในหรือนอกราชอาณาจักรก่อนวันขอรับสิทธิบัตร

ดังนั้นตามที่กล่าวมาข้างต้น “สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่” ที่ใหม่จะเป็นหัวใจสำคัญของการ รับจดสิทธิบัตร

ความแตกต่างระหว่างการจดสิทธิบัตรการประดิษฐ์กับสิทธิบัตรการออกแบบ

A.สิทธิบัตรการประดิษฐ์ แบ่งออกเป็น

  • อนุสิทธิบัตร คุ้มครอง 10 ปี (งานประดิษฐ์ขั้นไม่สูง)
  • สิทธิบัตร คุ้มครอง 20 ปี (งานประดิษฐ์ขั้นสูง)
  • อนุสิทธิบัตร/สิทธิบัตร คุ้มครอง กลไกการทำงาน โครงสร้างการทำงาน ฟังชั่นการทำงาน ในเชิงเทคนิค มีผลทางเทคนิค ไม่สนใจภาพนอกที่มองเห็นด้วยตา

B.สิทธิบัตรการออกแบบ

  • สิทธิบัตรการออกแบบ คุ้มครอง 10 ปี
  • คุ้มครอง ภาพที่มองเห็นจากภาพนอกด้วยตา คุ้มครองรูปร่าง รูปทรงเชิงมิติ เท่านั้น ไม่สนใจว่าข้างในทำงานยังไง
  • หากมีหลายขนาด เช่น size S M L ถือว่ามีเพียง 1 แบบและการจดทะเบียนจดได้เพียง 1 แบบเท่านั้นคุ้มครองทุกขนาด

การจดอนุสิทธิบัตรในประเทศไทย

ขั้นตอนการจดอนุสิทธิบัตร

ขั้นตอนที่หนึ่ง ก่อนอื่นเลยสำคัญเลยบุคคลใดจะขอรับทั้งอนุสิทธิบัตรและสิทธิบัตรสำหรับการประดิษฐ์อย่างเดียวกันไม่ได้แต่ก็สามารถขอเปลี่ยนแปลงประเภทของสิทธิที่จะขอรับจากอนุสิทธิบัตรเป็นสิทธิบัตร หรือจากสิทธิบัตรเป็นอนุสิทธิบัตรได้ก่อนการจดทะเบียนการประดิษฐ์และออกอนุสิทธิบัตร หรือก่อนการประกาศโฆษณาคำขอรับสิทธิบัตร

ขั้นตอนที่สอง พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบคำขอรับอนุสิทธิบัตรว่า
(1) เป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่
(2) เป็นการประดิษฐ์ที่สามารถประยุกต์ในทางอุตสาหกรรม หรือไม่
ถ้าพิจารณาเห็นว่า คำขอรับอนุสิทธิบัตรไม่ถูกต้องก็สั่งยกคำขอรับอนุสิทธิบัตรนั้นและให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีหนังสือแจ้งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไปยังผู้ขอรับอนุสิทธิบัตร ถ้าพิจารณาเห็นว่า คำขอรับอนุสิทธิบัตรถูกต้องให้อธิบดีมีคำสั่งรับจดสิทธิบัตรและรับจดอนุสิทธิบัตร โดยการตรวจสอบจะทำการตรวจสอบเฉพาะภายในประเทศไทย

ขั้นตอนที่สาม ภายในหนึ่งปีนับจากวันประกาศโฆษณาการจดทะเบียนการประดิษฐ์และออกอนุสิทธิบัตร บุคคลผู้มีส่วนได้เสียอาจขอให้ตรวจสอบว่าการประดิษฐ์ในต่างประเทศว่าอนุสิทธิบัตรมีลักษณะ
(1) เป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่
(2) เป็นการประดิษฐ์ที่สามารถประยุกต์ในทางอุตสาหกรรม หรือไม่

ขั้นตอนที่สี่ อนุสิทธิบัตรให้มีอายุหกปีนับแต่วันขอรับอนุสิทธิบัตรในราชอาณาจักร และต่ออายุอนุสิทธิบัตรได้สองคราวมีกำหนดคราวละสองปี รวมทั้งหมด 10 ปี

ขั้นตอนที่ห้า ผู้ทรงอนุสิทธิบัตรมีสิทธิใช้คำว่า “อนุสิทธิบัตรไทย” หรืออักษร อสบท. หรืออักษรต่างประเทศที่มีความหมายเช่นเดียวกันให้ปรากฏที่ผลิตภัณฑ์ภาชนะบรรจุ หรือหีบห่อของผลิตภัณฑ์ หรือในการโฆษณาการประดิษฐ์ตามอนุสิทธิบัตร การใช้คำหรืออักษรตามวรรคหนึ่งต้องระบุหมายเลขอนุสิทธิบัตรไว้ด้วย

ข้อมูลที่ใช้จดอนุสิทธิบัตร

การขอจดอนุสิทธิบัตรต้องทำให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กฎหมายกำหนด โดยการจดอนุสิทธิบัตรต้องประกอบด้วยข้อมูลดังต่อไปนี้
(1) ชื่อที่แสดงถึงการประดิษฐ์
(2) ลักษณะและความมุ่งหมายของการประดิษฐ์
(3) รายละเอียดการประดิษฐ์ที่มีข้อความสมบูรณ์รัดกุมและชัดแจ้ง อันจะทำให้ผู้มีความชำนาญในระดับสามัญในศิลปะหรือวิทยาการที่เกี่ยวข้องสามารถทำและปฏิบัติการตามการประดิษฐ์นั้นได้ และต้องระบุวิธีการในการประดิษฐ์ที่ดีที่สุดที่ผู้ประดิษฐ์จะพึงทราบได้
(4) ข้อนี้ถือสิทธิโดยชัดแจ้ง
(5) บทสรุปการประดิษฐ์

หากมีข้อมูลครบถ้วนดังกล่าวข้างต้นก็เพียงพอที่จะยื่นจดสิทธิบัตร และหากเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กฎหมายกำหนดก็จะได้รับการจดสิทธิบัตรในลำดับต่อไป

เอกสารจดอนุสิทธิบัตร

ก่อนมาดูเรื่องเอกสารต้องพิจารณาเรื่องคุณสมบัติดังต่อไปนี้ ว่าสามารถจดสิทธิบัตรได้หรือไม่
(1) มีสัญชาติไทย หรือเป็นนิติบุคคลที่มีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในประเทศไทย เอกสารที่ใช้ก็ใช้แบบฟอร์มคำขอ แบบฟอร์มคำรับรองการประดิษฐ์ สัญญาโอนสิทธิบัตร (กรณีนิติบุคล) สำเนาบัตรประชาชน และหนังสือมอบอำนาจหากไม่ได้มาดำเนินการด้วยตนเอง
(2) ไม่มีสัญชาติไทย หรือไม่ใช่นิติบุคคลที่มีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในประเทศไทย เอกสารที่ใช้ก็ใช้แบบฟอร์มคำขอ แบบฟอร์มคำรับรองการประดิษฐ์ สัญญาโอนสิทธิบัตร (กรณีนิติบุคคล) สำเนาบัตรประชาชน และหนังสือมอบอำนาจหากไม่ได้มาดำเนินการด้วยตนเอง โดยมีเอกสารที่ต้องทำโนตารี คือ แบบฟอร์มคำรับรองการประดิษฐ์ สัญญาโอนสิทธิบัตร (กรณีนิติบุคคล) และหนังสือมอบอำนาจหากไม่ได้มาดำเนินการด้วยตนเอง

การรับจดสิทธิบัตร ไม่ว่าจะยื่นในนามบุคคล นิติบุคคล สัญชาติไทย หรือต่างชาติ ก็มีขั้นตอนและการพิจารณารับจดสิทธิบัตรหรืออนุสิทธิบัตรเหมือนกัน

หลักการพิจารณาอนุสิทธิบัตร

“อนุสิทธิบัตร” ต้องประกอบด้วยองค์ประกอบ 2 ข้อถึงจะทำให้สามารถยื่นจดอนุสิทธิบัตรได้
(1) เป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่ หมายถึงไม่เหมือนหรือคล้ายกับงานก่อนหน้าทั้งในระบบฐานข้อมูลของกรมทรัพย์สินทางปัญญาหรือในเอกสารทางวิชาการ หรือ มีใช้แพร่หลายมาก่อนแล้วทั้งในและต่างประเทศ
(2) เป็นการประดิษฐ์ที่สามารถประยุกต์ในทางอุตสาหกรรม คือ ต้องทำซ้ำและนำมาใช้ประโยชน์ได้จริงในทางการค้า

อนุสิทธิบัตรที่มีการประดิษฐ์ขึ้นใหม่ หมายถึงการประดิษฐ์ที่ไม่เป็นงานที่ปรากฏอยู่แล้ว ดังต่อไปนี้
(1) การประดิษฐ์ที่มีหรือใช้แพร่หลายอยู่แล้วในราชอาณาจักรก่อนวันขอรับสิทธิบัตร
(2) การประดิษฐ์ที่ได้มีการเปิดเผยสาระสำคัญหรือรายละเอียดในเอกสารหรือสิ่งพิมพ์ที่ได้เผยแพร่อยู่แล้วไม่ว่าในหรือนอกราชอาณาจักรก่อนวันขอรับสิทธิบัตร และไม่ว่าการเปิดเผยนั้นจะกระทำโดยเอกสาร สิ่งพิมพ์ การนำออกแสดง หรือการเปิดเผยต่อสาธารณชนด้วยประการใด ๆ
(3) การประดิษฐ์ที่ได้รับสิทธิบัตรหรืออนุสิทธิบัตรแล้วไม่ว่าในหรือนอกราชอาณาจักรก่อนวันขอรับสิทธิบัตร
(4) การประดิษฐ์ที่มีผู้ขอรับสิทธิบัตรหรืออนุสิทธิบัตรไว้แล้วนอกราชอาณาจักรเป็นเวลาเกินสิบแปดเดือนก่อนวันขอรับสิทธิบัตรแต่ยังมิได้มีการออกสิทธิบัตรหรืออนุสิทธิบัตรให้
(5) การประดิษฐ์ที่มีผู้ขอรับสิทธิบัตรหรืออนุสิทธิบัตรไว้แล้วไม่ว่าในหรือนอกราชอาณาจักร และได้ประกาศโฆษณาแล้วก่อนวันขอรับสิทธิบัตรในราชอาณาจักร

การเปิดเผยสาระสำคัญหรือรายละเอียดที่เกิดขึ้นหรือเป็นผลมาจากการกระทำอันมิชอบด้วยกฎหมาย หรือการเปิดเผยสาระสำคัญหรือรายละเอียดโดยผู้ประดิษฐ์ รวมทั้งการแสดงผลงานของผู้ประดิษฐ์ในงานแสดงสินค้าระหว่างประเทศ หรือในงานแสดงต่อสาธารณชนของทางราชการ และการเปิดเผยสาระสำคัญหรือรายละเอียดดังกล่าวได้กระทำภายในสิบสองเดือนก่อนที่จะมีการขอรับสิทธิบัตร มิให้ถือว่าเป็นการเปิดเผยสาระสำคัญหรือรายละเอียดตาม (2)

ผู้ที่เหมาะสำหรับการจดสิทธิบัตร

1. นักประดิษฐ์ เพื่อให้ได้รับความคุ้มครอง ไอเดีย และความคิดสร้างสรรค์ที่ออกมาในรูปผลิตภัณฑ์
2. ผู้ประกอบการ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการปกป้องบุคคลอื่น หรือคู่แข่งจากการผลิต การใช้ การจำหน่าย สินค้าประเภทเดียวกัน ทำให้กระทบกระเทือนถึงการทำธุรกิจ
3. มหาลัย เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการทำให้เป็นสาธารณะ และปกป้องบุคคลอื่นในการผูกขาดการสิทธิและเกิดผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมโดยรวม
4. นักลงทุน เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการแลกเปลี่ยนเป็นเงินเพื่อใช้ร่วมลงทุน หรือแสวงหาโอกาสทางธุรกิจ
5. นักเรียน นักศึกษา เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในสร้างภาพลักษณ์ และแสวงหาโอกาสทางการศึกษาต่อ หรือการทำธุรกิจ

ดังนั้นการได้มาซึ่งสิ่งเหล่านี้จะต้องแลกมาด้วยการยื่นจดสิทธิบัตร โดยจะทำการเขียนเองหรือจ้างบริษัทเขียนให้ก็ได้เพื่อให้ได้รับการจดสิทธิบัตรได้ง่าย

ผลที่จะได้รับจากการจดสิทธิบัตร

ข้อดีสำหรับการจดสิทธิบัตรมีมากมาย ดังนี้
1. จดสิทธิบัตรก่อนมีสิทธิดีกว่า เพื่อการรักษาสิทธิในความคิดและไอเดียใหม่ๆ ของตนเอง
2. เพื่อคุ้มครองเงินลงทุนการวิจัย พัฒนา ความพยายาม คามวิริยะอุตสาหะ และเวลาที่ทุ่มเทลงไป
3. สร้างภาพลักษณ์ในการเป็นบุคคลหรือองค์กรด้านนวัตกรรม เพิ่มความน่าเชื่อถือและมูลค่าของธุรกิจ
4. ช่วยทำให้ประเทศพัฒนาและส่งเสริมเศรษฐกิจและสังคมโดยรวม
5. สามารถใช้การจดสิทธิบัตรแลกเปลี่ยนเป็นเงินและการลงทุนที่ได้ค่าตอบแทนได้

เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วการจดสิทธิบัตรให้ผ่านเป็นเรื่องที่สำคัญ และหากจ้างบริษัทรับจดสิทธิบัตรทำให้ก็จะสะดวกกว่าการมายื่นจดทะเบียนด้วยตนเอง

เหตุผลในการให้ความคุ้มครองสิทธิบัตร

ความคิด ไอเดีย การสร้างสรรค์ผลงาน ต้องใช้ทั้งเวลา เงินลงทุน ความเพียรพยายาม การทดลอง การลองผิดลองถูกหลายอย่างกว่าจะคิดค้นงานประดิษฐ์ขึ้นมาได้สัก 1 ชิ้น และงานประดิษฐ์นั้นก็ยังเป็นผลดีต่อมนุษย์และการพัฒนาประเทศ ดังนั้นกฎหมายจึงได้ประสงค์ที่จะให้ความคุ้มครองสิทธิบัตรไว้ ดังนี้

1. เพื่อส่งเสริมให้มีการประดิษฐ์และเพื่อความเป็นธรรมแก่ผู้คิดค้น
2. เพื่อให้เกิดแรงกระตุ้นในการพัฒนางานประดิษฐ์ใหม่ๆ จากข้อมูลการประดิษฐ์เดิม
3. เพื่อให้เกิดการนำงานประดิษฐ์เดิมมาใช้อย่างอิสระเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
4. เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในภาคส่วนอื่นที่จะทำให้เกิดความสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย
5. เพื่อให้เกิดความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคมแบบยั่งยืน

ดังนั้น 5 เหตุผลในการให้ความคุ้มครองสิทธิบัตร จึงมีความสำคัญมาก หากท่านเป็นบุคคลหนึ่งที่มีคามคิดหรือ ไอเดียใหม่ ๆ แนะนำให้ทำการยื่นจดสิทธิบัตรไว้ก่อนจะดีกว่า หรือสามารถว่าจ้างบริษัทรับจดสิทธิบัตรก็ได้

ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสิทธิบัตร อนุสิทธิบัตร และ ค่าธรรมเนียมรายปี

1 ยื่นคำขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ 500 บาท
2 ยื่นคำขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ 250 บาท
3 ยื่นคำขอรับอนุสิทธิบัตรการประดิษฐ์ 250 บาท
4 คำขอแก้ไขเพิ่มเติม 50 บาท
5 การประกาศโฆษณาคำขอรับสิทธิบัตร 250 บาท
6 รับจดทะเบียนและประกาศโฆษณาอนุสิทธิบัตร 500 บาท
7 คำขอให้ตรวจสอบการประดิษฐ์(กรณีการประดิษฐ์) 250 บาท
8 รับจดทะเบียนและออกสิทธิบัตร 500 บาท
9 คำคัดค้าน 250 บาท
10 คำอุทธรณ์ 500 บาท
11 คำขอเปลี่ยนแปลงประเภทของสิทธิ 100 บาท
ยื่นขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ คำขอละ 250 บาท
คำขอรับสิทธิบัตรสำหรับแบบผลิตภัณฑ์อย่างเดียวกัน ยื้นขอในคราวเดียวกันตั้งแต่ 10 คำขอขึ้นไป 2,250 บาท
ขอแก้ไขเพิ่มเติมครั้งละ 50 บาท
ขอให้ประกาศโฆษณา 250 บาท
ขอให้ออกสิทธิบัตร 500 บาท
ปีที่1-5 ไม่เสีย
1 ปีที่5 1,000 บาท
2 ปีที่6 1,200 บาท
3 ปีที่7 1,600 บาท
4 ปีที่8 2,200 บาท
5 ปีที่9 3,000 บาท
6 ปีที่10 4,000 บาท
7 ปีที่11 5,200 บาท
8 ปีที่12 6,600 บาท
9 ปีที่13 8,200 บาท
10 ปีที่14 10,000 บาท
11 ปีที่15 12,000 บาท
12 ปีที่16 14,200 บาท
13 ปีที่17 16,600 บาท
14 ปีที่18 19,200 บาท
15 ปีที่19 22,000 บาท
16 ปีที่20 25,000 บาท
หรือชำระทั้งหมดในการชำระค่าธรรมเนียมรายปีครั้งแรก 140 ,000 บาท
ปีที่1-5 ไม่เสีย
ปีที่5 750 บาท
ปีที่6 1,500 บาท
หรือชำระทั้งหมดในการชำระค่าธรรมเนียมรายปีครั้งแรก 2,000 บาท
ครั้งที่1 6,000 บาท (ปีที่ 7-8)
ครั้งที่2 9,000 บาท (ปีที่ 9-10)
รวมอนุสิทธิบัตรคุ้มครอง 10 ปี
ปีที่1-5 ไม่เสีย
ปีที่5 500 บาท
ปีที่6 650 บาท
ปีที่7 950 บาท
ปีที่8 1,400 บาท
ปีที่9 2,000 บาท
ปีที่10 2,750 บาท
หรือชำระทั้งหมดในการชำระค่าธรรมเนียมรายปีครั้งแรก 7,500 บาท

สอบถามข้อมูลหรือต้องการขอคำปรึกษาด้านการจดสิทธิบัตร

 

ผลงานของเรา

https://tgcthailand.com/our-works/

ทำไมต้องใช้บริการจดสิทธิบัตรกับเรา?

1.เรามีประสบการณ์งานด้านการจดสิทธิบัตรมากว่า 25 ปี
2.เรามีใบอนุญาตเป็นตัวแทนรับจดสิทธิบัตรจากกรมทรัพย์สินทางปัญญา
3.เราบริการด้วยความรวดเร็วและเขียนสิทธิบัตรให้แล้วเสร็จได้ภายใน 7 วัน
4.บริษัทของเราตั้งอยู่ติดกับกรมทรัพย์สินทางปัญญาซึ่งสามารถยื่นเอกสารได้อย่างรวดเร็ว
5.เรามีทีมงานที่เป็นนักกฎหมาย นักประดิษฐ์ นักวิทยาศาสตร์ นักฟิสิกส์ นักเคมี และนักวิจัย โดยมีผู้ตรวจสอบสิทธิบัตรที่คอยให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิด ทำให้สิทธิบัตรได้รับการอนุมัติรับจดทะเบียนอย่างรวดเร็ว และใช้บังคับตามกฎหมายได้

แอดไลน์