การจดลิขสิทธิ์คืออะไร ทำไมต้องจด มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง

การจดลิขสิทธิ์ ภาษาอังกฤษ คือ Copyright มาจาก Copy (คอพ’พี) แปลว่า N. สำเนา, คัดลอก, ลอกแบบ, เลียนแบบ, เอาอย่าง และ Right (Adj) แปลว่า ถูกต้อง, ขวา, ปกติ, เรียบร้อย, เหมาะสม, ชอบธรรม, แท้จริง โดย Copyright แปลได้ว่า การทำการคัดลอกที่ถูกต้อง

แนวคิดเรื่องลิขสิทธิ์ที่พัฒนาขึ้นหลังจากมีการใช้งานแท่นพิมพ์ในยุโรปในศตวรรษที่ 15 และ 16 แท่นพิมพ์ทำให้การผลิตงานพิมพ์มีราคาถูกลงมาก แต่เนื่องจากในตอนแรกไม่มีกฎหมายลิขสิทธิ์ ใครๆ ก็สามารถซื้อหรือเช่าแท่นพิมพ์และพิมพ์ข้อความใดก็ได้ งานใหม่ถูกทำซ้ำโดยคู่แข่ง

การพิมพ์ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างลึกซึ้ง การเพิ่มขึ้นของการรู้หนังสือทั่วยุโรปทำให้ความต้องการเรื่องการอ่านเพิ่มขึ้นอย่างมาก ราคาพิมพ์ซ้ำมีราคาถูก คนจนสามารถซื้อสิ่งพิมพ์ได้ สร้างผู้ชมจำนวนมาก ในตลาดภาษาเยอรมันก่อนการถือกำเนิดของลิขสิทธิ์ เนื้อหาทางเทคนิค เช่น นิยายยอดนิยม มีราคาไม่แพงและหาได้ทั่วไป

ต่อมามีข้อเสนอแนะว่าสิ่งนี้มีส่วนสนับสนุนความสำเร็จด้านอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจของเยอรมนี ต่อมาจึงได้กฎหมายลิขสิทธิ์ก่อตั้งขึ้น (ในปี 1710 ในอังกฤษและสกอตแลนด์ และในปี 1840 ในพื้นที่ที่ใช้ภาษาเยอรมัน) ตลาดทำซ้ำก็ได้หายไป

จึงเป็นที่มาของ Copyright แปลได้ว่า การทำการคัดลอกที่ถูกต้อง

นอกจากงานการพิมพ์แล้วกฎหมายก็มองไปถึงงานที่มีลักษณะที่ควรได้รับความคุ้มครองลิขสิทธิ์ เช่น งานสร้างสรรค์ประเภทวรรณกรรม นาฏกรรมศิลปกรรม ดนตรีกรรม โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ สิ่งบันทึกเสียง งานแพร่เสียงแพร่ภาพ หรือ งานอื่นใดใน แผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะของผู้สร้างสรรค์ ไม่ว่างานดังกล่าวจะแสดงออกโดยวิธี หรือรูปแบบอย่างใด

อย่างไรก็ตามงานพิมพ์บางอย่างที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะชนก็ควรให้ทำซ้ำได้ เช่น ความคิด หรือขั้นตอน กรรมวิธี หรือระบบ หรือวิธีใช้หรือ ทำงาน หรือแนวความคิด หลักการ การค้นพบ หรือทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ หรือคณิตศาสตร์ ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสารอันมิใช่งานในแผนกวรรณคดี
แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ เป็นต้น

หลักเกณฑ์ในการพิจารณางานลิขสิทธิ์

หลักเกณฑ์ในการพิจารณาการจดลิขสิทธิ์

เป็นงานที่แสดงออกถึงความคิด (expression of idea) และ จิตนาการ เพื่อให้ความรู้ ความบันเทิง ความสวยงาม และ ส่งผลต่ออารมณ์ของบุคคลได้

เป็นงานที่ริเริ่มสร้างสรรค์ด้วยตนเอง (originality) งานสร้างสรรค์คหมายถึงงานที่ต้อง ใช้จิตนาการ ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ ความวิริยะอุตสาหะในการสร้างสรรค์ (sweat & labour and judement) และ งานที่สร้างสรรค์จะต้องมีคุณค่ากับบุคคลทั่วไปด้วย

การจดลิขสิทธิ์คืออะไร ทำไมต้องจดลิขสิทธิ์

ลิขสิทธิ์ คือ งานสร้างสรรค์ จะสังเกตุได้ว่า งาน ลิขสิทธิ์ สร้างมาเพื่อ ความรู้ ความบันเทิง ความสวยงาม และ ชื่นชมในคุณค่าของตัวงาน ดังนั้นทำไมต้องจดลิขสิทธิ์ เพราะเพื่อต้องการคุ้มครองงานสร้างสรรค์ของตนเองให้ซึ่งถือว่ามีส่วนสนับสนุนความสำเร็จด้านอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจ และ ป้องกันการทำซ้ำหรือดัดแปลงงานไปใช้ โดยที่ทำให้กระทบกระเทือนสิทธิของผู้สร้างสรรค์เกินควร

ลิขสิทธิ์ที่กฎหมายให้ความคุ้มครอง มีดังนี้

วรรณกรรม งานนิพนธ์ที่ทำขึ้นทุกชนิด เช่น หนังสือ จุลสาร สิ่งเขียน สิ่งพิมพ์ ปาฐกถา เทศนา คำปราศรัย สุนทรพจน์ และให้หมายความรวมถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ด้วย

นาฏกรรม หมายความว่า งานเกี่ยวกับการรำ การเต้น การทำท่า หรือการแสดงที่ประกอบขึ้นเป็นเรื่องราว และให้หมายความรวมถึงการแสดงโดยวิธีใบ้ด้วย

“ศิลปกรรม” หมายความว่า

  • (๑) งานจิตรกรรม ได้แก่ งานสร้างสรรค์รูปทรงที่ประกอบด้วย เส้น แสง สี หรือสิ่งอื่นอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกันลงบนวัสดุอย่างเดียวหรือหลายอย่าง
  • (๒) งานประติมากรรม ได้แก่ งานสร้างสรรค์รูปทรงที่เกี่ยวกับปริมาตรที่สัมผัสและจับต้องได้
  • (๓) งานภาพพิมพ์ ได้แก่ งานสร้างสรรค์ภาพด้วยกรรมวิธีทางการพิมพ์และหมายความรวมถึงแม่พิมพ์หรือแบบพิมพ์ที่ใช้ในการพิมพ์ด้วย
  • (๔) งานสถาปัตยกรรม ได้แก่ งานออกแบบอาคารหรือสิ่งปลูกสร้าง งานออกแบบตกแต่งภายใน หรือภายนอก ตลอดจนบริเวณของอาคารหรือสิ่งปลูกสร้าง หรือการสร้างสรรค์หุ่นจำลองของอาคารหรือสิ่งปลูกสร้าง
  • (๕) งานภาพถ่าย ได้แก่ งานสร้างสรรค์ภาพที่เกิดจากการใช้เครื่องมือบันทึกภาพโดยให้แสงผ่านเลนส์ไปยังฟิล์มหรือกระจก และล้างด้วยน้ำยาซึ่งมีสูตรเฉพาะ หรือด้วยกรรมวิธีใด ๆ อันทำให้เกิดภาพขึ้น หรือการบันทึกภาพโดยเครื่องมือหรือ วิธีการอย่างอื่น
  • (๖) งานภาพประกอบ แผนที่ โครงสร้าง ภาพร่างหรืองานสร้างสรรค์ รูปทรงสามมิติอันเกี่ยวกับภูมิศาสตร์ ภูมิประเทศ หรือวิทยาศาสตร์
  • (๗) งานศิลปประยุกต์ ได้แก่ งานที่นำเอางานตาม (๑) ถึง (๖) อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกันไปใช้ประโยชน์อย่างอื่น นอกเหนือจากการชื่นชมในคุณค่าของตัวงาน ดังกล่าวนั้น เช่น นำไปใช้สอย นำ ไปตกแต่งวัสดุหรือสิ่งของอันเป็นเครื่องใช้ หรือนำไปใช้เพื่อประโยชน์ ทางการค้า ทั้งนี้ ไม่ว่างานตาม (๑) ถึง (๗) จะมีคุณค่าทางศิลปะหรือไม่ และให้หมายความรวมถึงภาพถ่ายและแผนผังของงานดังกล่าวด้วย

“ดนตรีกรรม” หมายความว่า งานเกี่ยวกับเพลงที่แต่งขึ้นเพื่อบรรเลง หรือขับร้องไม่ว่า จะมีทำนองและคำร้องหรือมีทำนองอย่างเดียว และให้หมายความรวมถึงโน้ตเพลง หรือแผนภูมิเพลงที่ได้แยกและเรียบเรียงเสียงประสานแล้ว

“โสตทัศนวัสดุ” หมายความว่า งานอันประกอบด้วยลำดับของภาพโดยบันทึกลงในวัสดุไม่ว่าจะมีลักษณะอย่างใด อันสามารถที่จะนำมาเล่นซ้ำได้อีก โดยใช้เครื่องมือที่จำเป็นสำหรับการใช้วัสดุนั้น และให้หมายความรวมถึงเสียงประกอบงานนั้นด้วย ถ้ามี

“ภาพยนตร์” หมายความว่า โสตทัศนวัสดุอันประกอบด้วยลำดับของภาพ ซึ่งสามารถนำออกฉายต่อเนื่องได้อย่างภาพยนตร์หรือสามารถบันทึกลงบนวัสดุอื่น เพื่อนำออกฉายต่อเนื่อง ได้อย่างภาพยนตร์ และให้หมายความรวมถึงเสียงประกอบภาพยนตร์ นั้นด้วย ถ้ามี

“สิ่งบันทึกเสียง” หมายความว่า งานอันประกอบด้วยลำดับของดนตรี เสียง การแสดงหรือเสียงอื่นใด โดยบันทึกลงในวัสดุไม่ว่าจะมีลักษณะใด ๆ อันสามารถที่จะนำมาเล่นซ้ำได้อีกโดยใช้เครื่องมือที่จำเป็นสำหรับการใช้วัสดุนั้น แต่ทั้งนี้มิให้หมายความรวมถึงเสียงประกอบภาพยนตร์ หรือเสียงประกอบโสตทัศนวัสดุอย่างอื่น

เมื่อจดลิขสิทธิ์แล้วจะได้รับการคุ้มครองในด้านใดบ้าง

ป้องกันการ “ทำซ้ำ” หมายความรวมถึง คัดลอกไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ เลียนแบบ ทำสำเนา ทำ แม่พิมพ์ บันทึกเสียง บันทึกภาพ หรือบันทึกเสียงและภาพ จากต้นฉบับ จากสำเนาหรือจากการโฆษณา ในส่วนอันเป็น สาระสำคัญ ทั้งนี้ ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน สำหรับในส่วนที่เกี่ยวกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ให้หมายความถึง คัดลอกหรือทำสำเนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์จากสื่อบันทึกใด ไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ ในส่วน อันเป็นสาระสำคัญ โดยไม่มีลักษณะเป็นการจัดทำงานขึ้นใหม่ ทั้งนี้ ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน

ป้องกันการ “ดัดแปลง” หมายความว่า ทำซ้ำโดยเปลี่ยนรูปใหม่ ปรับปรุงแก้ไข เพิ่มเติม หรือ จำลองงานต้นฉบับในส่วนอันเป็นสาระสำคัญโดยไม่มีลักษณะเป็นการจัดทำงานขึ้นใหม่ ทั้งนี้ ไม่ว่า ทั้งหมดหรือบางส่วน

มีสิทธิได้ค่าตอบแทนจาก การทำซ้ำ และ ดัดแปลงงานลิขสิทธิ์ และ อนุญาตให้ นำสำเนาจำลองของงานไม่ว่าในรูปหรือ ลักษณะ อย่างใดที่ทำขึ้นโดยความยินยอมของผู้สร้างสรรค์ออกจำหน่าย

เมื่อไหร่ที่ควรเริ่มพิจารณาการจดลิขสิทธิ์

หากงานที่สร้างสรรค์ เข้าเงื่อนไข ที่เป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ ก็สามารถนำงานดังกล่าวมายื่นจดแจ้งความเป็นเจ้าของที่กรมทรัพย์สินทางปัญญา โดยการจดแจ้งควรพิจารณาว่า

จดลิขสิทธิ์ เมื่อไหร่

 

  1. เป็นงานสร้างสรรค์
  2. สามารถนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ได้

หากครบองค์ประกอบ 2 ข้อก็สามารถนำมายื่น จดแจ้งความเป็นเจ้าของที่กรมทรัพย์สินทางปัญญาได้

ข้อมูลการจดลิขสิทธิ์

การยื่นจดแจ้งลิขสิทธิ์ หลังจากยื่นแล้วนายทะเบียนจะพิจารณาอนุมัติ ประมาณ 1 เดือน โดยมีข้อมูลต้องเตรียมดังนี้

  1. ชื่อ นามสกุล ที่อยู่ เบอร์ อีเมล ผู้ขอจดแจ้ง
  2. ชื่อผลงาน เช่น โดเรมอน
  3. รายละเอียดผลงาน
    • วรรณกรรม เช่น หนังสือ ใช้หน้าปก สารบัญ 5 หน้าแรก และ 5 หน้าสุดท้าย บทสรุปผลงานทั้งหมดประมาณครึ่งหน้า
    • นาฏกรรม เช่นหนังสือเกี่ยวกับ การรำ ใช้หน้าปก สารบัญ 5 หน้าแรก และ 5 หน้าสุดท้าย บทสรุปผลงานทั้งหมดประมาณครึ่งหน้า
    • ศิลปกรรม
    • งานจิตรกรรม ใช้ภาพวาด เน้นความสวยงามของภาพ เช่น การ์ตูน ภาพทิวทิศน์
    • งานประติมากรรม ได้แก่ งานสร้างสรรค์รูปทรงที่เกี่ยวกับปริมาตรที่สัมผัสและจับต้องได้ ใช้ภาพ 7 มุม หน้า หลัง ซ้าย ขวา บน ล่าง
    • งานภาพพิมพ์ ใช้ภาพพิมพ์ เน้น รูปแบบภาพ เช่น ลวดลายซอง ลวดลายกล่องสินค้า ภาพหน้าปกหนังสือ
    • งานสถาปัตยกรรม ได้แก่ งานออกแบบอาคารหรือสิ่งปลูกสร้าง ใช้เอกสารแบบแปลน พิมพ์เขียว
    • งานภาพถ่าย ใช้ภาพถ่าย เช่น ภาพถ่ายวัด ภาพถ่ายสินค้า แนวๆ ภาพที่จำหน่ายใน shutter stock
    • งานภาพประกอบ แผนที่ โครงสร้าง ภาพร่างหรืองานสร้างสรรค์ รูปทรงสามมิติอันเกี่ยวกับ ภูมิศาสตร์ ภูมิประเทศ หรือวิทยาศาสตร์ ใช้เอกสารพิมพ์เขียว
    • งานศิลปประยุกต์ ได้แก่ งานที่นำเอางานตาม (๑) ถึง (๖) อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกันไปใช้ประโยชน์อย่างอื่น นอกเหนือจากการชื่นชมในคุณค่าของตัวงาน ภาพ 1-6 ที่ปรากฏที่สินค้า เข่น ภาพกล่องขนมที่ปรากฏภาพถ่ายวัดพระแก้ว เป็นต้น
    • ดนตรีกรรม หมายความว่า ใช้ เนื้อร้อง ทำนอง รวมกัน หรือ แยกกันจดแจ้งได้
    • โสตทัศนวัสดุ หมายความว่า งานอันประกอบด้วยลำดับของภาพโดยบันทึกลงในวัสดุไม่ว่าจะมีลักษณะอย่างใด ใช้การบันทึกลงในวัสดุประกอบลำดับภาพ (ไม่ค่อยนิยมนำมายื่น)
    • ภาพยนตร์” หมายความว่า ใช้การบันทึกลงในวัสดุประกอบการเคลื่อนไหวทั้งภาพและเสียง
    • สิ่งบันทึกเสียง” หมายความว่า งานอันประกอบด้วยลำดับของดนตรี เสียง การแสดงหรือเสียงอื่นใด ใช้การบันทึกลงในวัสดุบันทึกเสียง เช่น เสียงโฆษณา เป็นต้น

เอกสารการจดลิขสิทธิ์

  1. หนังสือมอบอำนาจ และ แบบฟอร์มการรับรองการสร้างสรรค์
  2. กรณีบริษัท : รับรองสำเนาหนังสือรับรองบริษัทฉบับจริงออกไม่เกิน 6 เดือน และ สำเนาบัตรกรรมการ
  3. กรณีบุคคลธรรมดา : รับรองสำเนาบัตร ประชาชน

จดแจ้งงานอันมีลิขสิทธิ์แก่งานสร้างสรรค์ 9 ประเภทตามที่พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 กำหนด ได้แก่

  1. งานวรรณกรรม (หนังสือ จุลสาร สิ่งพิมพ์ คำปราศรัย โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ฯลฯ)
  2. งานนาฎกรรม (ท่ารำ ท่าเต้น ฯลฯ)
  3. งานศิลปกรรม (จิตรกรรม ประติมากรรม ภาพพิมพ์ ภาพถ่าย ศิลปประยุกต์ ฯลฯ)
  4. งานดนตรีกรรม (ทำนอง , ทำนองและเนื้อร้อง ฯลฯ)
  5. งานสิ่งบันทึกเสียง (เทป ซีดี )
  6. งานโสตทัศนวัสดุ (วีซีดี ดีวีดี ที่มีภาพหรือมีทั้งภาพและเสียง)
  7. งานภาพยนตร์
  8. งานแพร่เสียงแพร่ภาพ
  9. งานอื่นใดในแผนกวรรณคดี วิทยาศาสตร์ หรือศิลปะ

อายุการคุ้มครองการจดลิขสิทธิ์

บุคคลธรรมดา

ลิขสิทธิ์คุ้มครอง 50 ปีนับจากวันที่เสียชีวิต และมีอยู่ ต่อไปอีกเป็นเวลาห้าสิบปีนับแต่ผู้สร้างสรรค์ร่วมคนสุดท้ายถึงแก่ความตาย

ถ้าผู้สร้างสรรค์หรือผู้สร้างสรรค์ร่วมทุกคนถึงแก่ความตายก่อนที่ได้มีการโฆษณางานนั้น ให้ลิขสิทธิ์ดังกล่าวมีอายุห้าสิบปี นับแต่ได้มีการโฆษณาเป็นครั้งแรก

นิติบุคคล

ลิขสิทธิ์คุ้มครอง 50 ปีนับจากวันสร้างสรรค์

ในกรณีที่ผู้สร้างสรรค์เป็นนิติบุคคล ให้ลิขสิทธิ์มีอายุห้าสิบปีนับแต่ผู้สร้างสรรค์ได้สร้างสรรค์ขึ้น แต่ถ้าได้มีการโฆษณางานนั้น ในระหว่างระยะเวลาดังกล่าว ให้ลิขสิทธิ์มีอายุห้าสิบปีนับแต่ได้มีการโฆษณาเป็นครั้งแรก

ลิขสิทธิ์ในงานภาพถ่าย โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ สิ่งบันทึกเสียงหรืองาน แพร่เสียงแพร่ภาพให้มีอายุห้าสิบปีนับแต่ได้ สร้างสรรค์งานนั้นขึ้น แต่ถ้าได้มีการโฆษณางานนั้นในระหว่างระยะเวลาดังกล่าวให้ลิขสิทธิ์มีอายุห้าสิบปีนับแต่ได้มีการโฆษณาเป็น ครั้งแรก

ลิขสิทธิ์ในงานศิลปประยุกต์ให้มีอายุยี่สิบห้าปีนับแต่ได้สร้างสรรค์งานนั้นขึ้นแต่ถ้าได้มีการโฆษณางานนั้นในระหว่าง ระยะเวลาดังกล่าวให้ลิขสิทธิ์มีอายุยี่สิบห้าปีนับแต่ได้มีการโฆษณาเป็นครั้งแรก

จดแจ้งลิขสิทธิ์ กับ จดทะเบียนลิขสิทธิ์ แตกต่างกันอย่างไร

จดแจ้งลิขสิทธิ์ ไม่มีการตรวจสอบความเหมือน คล้าย ของข้อมูลก่อนหน้า คือ แจ้งอะไรไปนายทะเบียนรับจดแจ้งหมด ซึ่งนายทะเบียนจะออกเอกสารแสดงการจดแจ้งไว้เท่านั้น ซึ่งเอกสารดังกล่าวไม่ได้รับรองความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์แต่อย่างใด ดังนั้นการนำไปฟ้องร้องจะต้อง เก็บรวบรวมหลักฐานการสร้างสรรค์ไว้ประกอบสำนวนด้วย

จดทะเบียนลิขสิทธิ์ ไม่มี มีแต่ จดทะเบียนสิทธิบัตร และ จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า คือการจดทะเบียนจะมีการตรวจสอบความเหมือน คล้าย ของข้อมูลก่อนหน้า ถ้าไม่ซ้ำกับบุคคลก่อนหน้า ก็จะได้รับการจดทะเบียน

จดลิขสิทธิ์ ออนไลน์ ได้ที่ไหน และ ขั้นตอนโดยละเอียด

จดแจ้งได้ที่กรมทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งสามารถทำแบบออนไลน์ได้ เป็นระบบยืนยันตัวตนแบบรวมศูนย์ ไว้ใช้สำหรับการ จดลิขสิทธิ์ ออนไลน์ โดยทำตามขั้นตอน ดังนี้

  1. ขั้นตอนที่ 1 เข้าสู่เว็บไซต์ http://www.ipthailand.go.th/th/
  2. ขั้นตอนที่ 2 ทำการเข้าสู่ระบบ Single Sign-on กดเลือกประเภทการจดทะเบียน/แจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ จะเปิดหน้าเว็บไซต์ https://copyright.ipthailand.go.th/
  3. ขั้นตอนที่ 3 เลือกประเภทการแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ แบบฟอร์ม ลข. 01
  4. ขั้นตอนที่ 4 ให้ประชาชนดำเนินการกรอกข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับคำขอแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์
    • (1) ชื่อเจ้าของสิทธิ์
    • (2) ชื่อตัวแทน
    • (3) สถานที่ติดต่อในประเทศไทย
    • (4) ชื่อผู้สร้างสรรค์หรือนามแฝง
    • (5) ชื่อผลงาน ให้ระบุชื่อผลงานที่สะกดถูกต้อง เพื่อประโยชน์ในการระบุในหนังสือรับรองการแจ้งข้อมูล
    • (6) ประเภทผลงาน ให้ระบุประเภทของงานและลักษณะงานที่ประสงค์จะยื่นแจ้งข้อมูล
    • (7) ความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ ให้ระบุว่าเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์โดยวิธีใด เช่น เป็นผู้สร้างสรรค์ ผู้ว่าจ้าง ผู้รับจ้าง นายจ้าง หรือผู้รับโอนสิทธิ์ ฯลฯ เป็นต้น
    • (8) ลักษณะการสร้างสรรค์ ให้ระบุว่า เป็นผู้สร้างสรรค์ขึ้นเองทั้งหมด สร้างสรรค์บางส่วน โดยระบุว่ามีส่วนใดบ้าง หรือเป็นกรณีอื่นๆ เช่น เป็นผู้รวบรวมผลงาน หรือผู้ดัดแปลงผลงาน ฯลฯ
    • (9) สถานที่สร้างสรรค์ ให้ระบุว่า การสร้างสรรค์ผลงานกระทำในประเทศใด
    • (10) ปีที่สร้างสรรค์ ให้ระบุปีที่ทำการสร้างสรรค์ผลงาน
    • (11) การโฆษณา ให้ระบุ วัน เดือน ปี และประเทศที่มีการโฆษณาครั้งแรก กรณียังไม่มีการโฆษณางานให้ระบุโดยทำเครื่องหมายในช่องยังไม่ได้โฆษณา
    • (12) การอนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์/ โอนลิขสิทธิ์ ให้ระบุเครื่องหมายลงในช่องว่าเคยอนุญาต/โอนลิขสิทธิ์หรือไม่ เช่น หากไม่เคยอนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์/โอนลิขสิทธิ์ ให้ทำเครื่องหมายในช่องไม่เคยอนุญาตให้ผู้อื่นใช้ลิขสิทธิ์หรือโอนลิขสิทธิ์ในงานของตน หากเคยอนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์/โอนลิขสิทธิ์ ให้ระบุว่าอนุญาตให้ใช้หรือโอนลิขสิทธิ์แก่ใคร เมื่อใด เป็นการอนุญาตโอนลิขสิทธิ์โดยให้สิทธิ์ทั้งหมดหรือบางส่วน และมีระยะเวลาในการอนุญาต/โอนลิขสิทธิ์เท่าใด
    • (13) การเผยแพร่ข้อมูลลิขสิทธิ์ ให้ระบุว่าอนุญาตให้คนอื่นตรวจดูเอกสารในแฟ้มคำขอแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์และผลงานหรือไม่
    • (14) แบบแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับการสร้างสรรค์ผลงานโดยย่อ ให้ระบุวิธีแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์
    • (15) การลงนามในคำขอให้เจ้าของลิขสิทธิ์หรือเป็นตัวแทนผู้ลงนาม
  5. ขั้นตอนที่ 5 ตรวจสอบหลักฐานและดาวน์โหลดหนังสือรับรองความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์จากระบบฯและให้เจ้าของลิขสิทธิ์เป็นผู้ลงนาม
  6. ขั้นตอนที่ 6 อัพโหลดไฟล์หลักฐานประกอบการแจ้งลิขสิทธิ์ โดยกดปุ่มอัพโหลดที่รายการหลักฐานประกอบการแจ้งลิขสิทธิ์
  7. ขั้นตอนที่ 7 เลือกวิธีการยืนยันตน กดเลือก ยืนยันตนผ่านระบบยืนยันตนแบบรวมศูนย์กลาง กรณีที่ประชาชนมีบัญชีผู้ใช้งาน DIP CA กดปุ่ม ขั้นตอนถัดไป
  8. ขั้นตอนที่ 8 กดยอมรับเงื่อนไขการรับรองคำขอแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ และส่งคำขอขอแจ้งลิขสิทธิ์

สิ่งที่ยื่นแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ไม่ได้

สิ่งต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้

  • (๑)ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสารอันมิใช่งานในแผนกวรรณคดีแผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
  • (๒)รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย
  • (๓)ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือตอบโต้ของ กระทรวง ทบวง กรมหรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น
  • (๔)คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
  • (๕)คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่าง ๆ ตาม (๑) ถึง (๔) ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่นจัดทำขึ้น

สามารถดำเนินการจดลิขสิทธิ์ด้วยตัวเองได้หรือไม่

ได้ครับ สามารถทำตามขั้นตอน ดังนี้

  1. สมัครระบบยืนยันตัวตนที่กรมทรัพย์สินทางปัญญา โดยสมัคร username และ password
  2. กรอกข้อมูล เพื่อสมัครในเว็บไซต์ของกรมทรัพย์สินทางปัญญา ตามลิ้งการกรอกข้อมูลและระบุรายละเอียดต่างๆ เข้าสู่เว็บไซต์ http://www.ipthailand.go.th/th/ ทำการเข้าสู่ระบบ Single Sign-on กดเลือกประเภทการจดทะเบียน/แจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ จะเปิดหน้าเว็บไซต์ https://copyright.ipthailand.go.th/
  3. ส่งเอกสารยืนยันตัวตนผ่านทาง อีเมล
  4. ยืนยันตัวตนผ่าน VDO call
  5. ส่งเอกสารฉบับจริงทางไปรษณีย์

หากต้องการให้ TGC Thailand ช่วยดำเนินการจดลิขสิทธิ์ ต้องเตรียมข้อมูลและเอกสารอะไรบ้าง

ขอข้อมูล

  1. ชื่อ นามสกุล ที่อยู่ เบอร์ อีเมล ผู้ขอจดแจ้ง
  2. ชื่อผลงาน
  3. ภาพผลงาน เนื้อหาผลงาน
  4. วัน เดือน ปีที่สร้างสรรค์

เอกสาร

  1. หนังสือมอบอำนาจ แบบฟอร์ม ลข.01 (ทางเราจัดทำให้)
  2. กรณีบริษัท : รับรองสำเนาหนังสือรับรองบริษัทฉบับจริงออกไม่เกิน 6 เดือน และ สำเนาบัตรกรรมการ
  3. กรณีบุคคลธรรมดา : รับรองสำเนาบัตร ประชาชน

ขั้นตอน

  1. ยื่นจดแจ้งและรอการพิจารณาอนุมัติ ประมาณ 1 เดือน โดยทางบริษัท จะดำเนินการให้ทุกขั้นตอน

ค่าใช้จ่ายในการจดลิขสิทธิ์

ปกติกรมทรัพย์สินทางปัญญาจะไม่มีค่าธรรมเนียมในการดำเนินการยื่นจดแจ้งลิขสิทธิ์ เนื่องจากต้องการส่งเสริมให้ประชาชนได้มีความคิดริเริ่มและงานลิขสิทธิ์เป็นงานอันมีคุณค่าทางจิตใจมากกว่านำไปหาประโยชน์เชิงพาณิชย์ นอกจากนั้นยังเป็นส่วนเสริมให้กับอุตสากรรมต่างๆ และ เศรษฐกิจด้วย

ระยะเวลาในจดลิขสิทธิ์ตั้งแต่เริ่มจนจบ

ใช้เวลาดำเนินการประมาณ 1 เดือนรวมถึงขั้นตอนการส่งเอกสารและยื่นจดแจ้ง โดยจะได้รับหนังสือฉบับจริงด้วย

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการจดลิขสิทธิ์

1. ลิขสิทธิ์ เครื่องหมายการค้า และ สิทธิบัตร แตกต่างกันอย่างไร

ลิขสิทธิ์ สร้างสรรค์ เพื่อความสวยงาม ความรู้ ความบันเทิง เครื่องหมายการค้า คิดขึ้นเพื่อ ระบุตัวตนของสินค้าที่สื่อไปถึงเจ้าของสินค้า

สิทธิบัตร ประดิษฐ์ขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหา ส่วนใหญ่อยู่ในรูปของ Hard Ware อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับการจดสิทธิบัตร

2. เอกสารนี้มิได้รับรองความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ หมายความว่าอย่างไร

ลิขสิทธิ์ ใช้ระบบจดแจ้งแสดงความเป็นเจ้าของ คือไม่ต้องมีการตรวจสอบความใหม่ ความเป็นเจ้าของทันทีที่สร้างสรรค์ผลงาน การนำมาจดแจ้งเพื่อเป็นหลักฐานเท่านั้น

ดังนั้นจึงมีข้อความว่า เอกสารนี้มิได้รับรองความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ ในเอกสารจดแจ้งทุกครั้ง ซึ่ง การบังคับใช้ทางกฎหมายและแสดงความเป็นเจ้าของแสดงหลักฐานแสดงความเป็นเจ้าของอย่างอื่นมาประกอบในการดำเนินคดี เช่น หลักฐานการว่าจ้างสำนักพิมพ์ หลักฐานการลงในเอกสารทางวิชาการ หลักฐานการลงใน youtube เป็นต้น

ระบบตรวจสอบคือ ต้องมีการตรวจสอบความใหม่ ก่อนถึงจะได้ความเป็นเจ้าของ ระบบนี้ใช้กับเครื่องหมายการค้า สิทธิบัตร

3.จดแจ้งลิขสิทธิ์ คุ้มครองคำอ่านหรือไม่

ลิขสิทธิ์ คุ้มครองแค่ภาพที่มองเห็นได้ด้วยสายตาเท่านั้น อะไรที่อ่านได้ด้วยปาก เช่น อ่านได้ว่า โดเรมอน ข้อความบรรยายต่างๆ จะนำมายื่นจดแจ้งไม่ได้เลย ต้องลบออกทั้งหมด ไม่ว่าข้อความนั้นจะมีการออกแบบและประดิษฐ์อักษรแล้วก็ตาม ข้อความที่อ่านได้จะต้องอยู่ในรูปของ หนังสือ งานวรรณกรรมที่เป็นรูปเล่มเท่านั้น ถึงจะยื่นจดแจ้งได้

หากคุณต้องการให้ TGC Thailand ช่วยเหลือในด้านต่างๆ สามารถติดต่อทีมงานได้ตลอด ทางเรามีบริการรับจดสิขสิทธิ์ และ รับจดสิทธิบัตรด้วยเช่นกัน

แอดไลน์