ตอบข้อสงสัย การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าระหว่างประเทศระบบมาดริด (Madrid Protocol)

บทความนี้เราจะมาพูดถึงการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าระบบมาดริด และตอบข้อสงสัยเกี่ยวกับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าทั่วโลกตามพิธีสารมาดริด (Madrid Protocol) กันแบบเข้าใจง่ายๆ

ก่อนอื่นเราขอเริ่มกันที่ข้อเสียของการจดเครื่องหมายการค้าระบบมาดริดกันก่อน

  1. กรณีคำขอในต่างประเทศมีคำสั่งแก้ไข ผู้ขอจดทะเบียนจะต้องทำการตั้งตัวแทนให้ดำเนินการซึ่งโอกาสที่คำขอจะมีการแก้ไขมี 30-50 % เช่น การแก้ไขรายการสินค้า ดังนั้นการตั้งตัวแทนจะทำให้มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม ซึ่งราคาโดยรวมสุดท้ายอาจจะมีราคาที่สูงกว่า ระบบเดิม
  2. การเลือกรายการสินค้าทำได้ยาก เนื่องจากรายการสินค้าไทยจะต้องถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษ หากการแปลไม่สามารถ match กันได้ กับรายการของประเทศสมาชิก รายการสินค้านั้นจะไม่สามารถใช้ได้และต้องถูกตัดออก
  3. หากคำขอพื้นฐานในประเทศไทยไม่ผ่าน คำขอในประเทศสมาชิกไม่ผ่านด้วย การคัดค้านคำขอในประเทศไทยจะทำให้คำขอในประเทศสมาชิกหยุดชะงักไปด้วย
  4. มีค่าธรรมเนียมแรกเข้า basic fee ซึ่งต้องทำการจดทะเบียนหลายๆ ประเทศถึงจะคุ้มค่าเมื่อเทียบกับระบบเดิม

อย่างไรก็ตาม โดยรวมของการจดเครื่องหมายการค้าระบบมาดริด (Madrid Protocol) หากมีการยื่นจดทะเบียนหลายประเทศถือว่ามีราคาที่ประหยัดและเป็นระบบทะเบียนเดียว ซึ่งถือว่ามีข้อดีมากกว่าข้อเสียและแนะนำให้ยื่นจดทะเบียนในระบบนี้

ตอบข้อสงสัย: จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าทั่วโลกตามพิธีสารมาดริด (Madrid Protocol) หรือ การจดเครื่องหมายการค้าระบบมาดริด คืออะไร แบบอธิบายง่ายที่สุด

เครื่องหมายการค้าระบบมาดริด

A. แบบรายประเทศ

Step 1

หากเราต้องการจดเครื่องหมายการค้าก็ต้องทำการติดต่อตัวแทนในประเทศปลายทางแยกรายประเทศ เช่น ต้องการยื่นจดทะเบียนในประเทศกัมพูชา ประเทศอเมริกา ประเทศเวียดนาม

ต้องติดต่อตัวแทนที่ ประเทศปลายทางทุกประเทศและทำเอกสารประเทศละ 1 ชุด เพื่อยื่นจดทะเบียน และ หน่วยงานเครื่องหมายการค้าของประเทศปลายทางก็จะทำการตรวจสอบความเหมือนคล้ายในฐานข้อมูลของตนเองและกฎหมายของตนเอง และ อนุมัติรับจดทะเบียน โดยปกติจะใช้เวลา 1 ปี และ อนุมัติคุ้มครอง 10 ปี ต่ออายุทุก 10 ปี

ซึ่งราคาการยื่นจดทะเบียนจะสูงเนื่องจากต้องเสีย (ค่าบริการตัวแทนในประเทศปลายทาง) + (ค่าธรรมเนียมราชการ)

การยื่นจดทะเบียนแบบรายประเทศจะไม่เกี่ยวกับคำขอในประเทศไทย

**************************************************************************************

B. แบบพิธีสารมาดริด (Madrid Protocol)

ปัจจุบันมี 109 สมาชิก รวม 125 ประเทศ (สถานะ September 28, 2021) โดยมีขั้นตอนดังต่อไปนี้

Step 1

ยื่นคำขอพื้นฐาน (basic application) ในประเทศไทย โดยแนะนำให้ยื่นจดทะเบียนให้คุ้มครองรายการสินค้าหลายรายการ

เช่น หากยื่นจดทะเบียน 1 รายการสินค้า เวลายื่นเข้าส่วนกลาง (สำนักงานกรมทรัพย์สินทางปัญญาภายในประเทศไทย) จะส่งคำขอไปยังประเทศปลายทางได้แค่ 1 รายการ

เช่น หากยื่นจดทะเบียน 100 รายการสินค้า เวลายื่นเข้าส่วนกลาง (สำนักงานกรมทรัพย์สินทางปัญญาภายในประเทศไทย) จะส่งคำขอไปยังประเทศปลายทางได้ 100 รายการ หรือ น้อยกว่า 100 รายการได้ แต่ต้องเลือกจาก 100 รายการที่ระบุเลือกไว้เท่านั้น

ขั้นตอนนี้ใช้เวลาเพียง 3-7 วันในการยื่นจดทะเบียนและนายทะเบียนจะพิจารณาอนุมัติประมาณ 10-20 เดือน (ระยะเวลาพิจารณาปกติภายในประเทศไทย ไม่มีอะไรพิเศษ)

Step 2

ผู้ขอนำเอาคำขอพื้นฐาน (basic application) ที่ยื่นจดทะเบียนใน Step 1 เข้าไปจดทะเบียนในส่วนกลาง (สำนักงานกรมทรัพย์สินภายในประเทศไทย)

การยื่นจดทะเบียนใน Step 2 คำขอพื้นฐาน (basic application) ไม่ว่าจะอยู่ระหว่างการพิจารณาตรวจสอบ หรือ อนุมัติรับจดทะเบียนแล้วก็สามารถยื่นจดทะเบียนได้

โดยจะเสียค่าธรรมเนียมแรกเข้า (basic fee) ประมาณ 30,000 บาท

โดยจะต้องเสียค่าธรรมเนียมรายประเทศ ประเทศละประมาณ 5,000-50,000 บาทไม่เท่ากัน (เฉลี่ยแล้วโดยรวมประเทศละประมาณ 8,000 บาท) โดยจะเสียตามประเทศที่เลือก เช่น เลือก 20 ประเทศจะเสียค่าธรรมเนียมรายประเทศ 160,000 บาท เป็นต้น รวม (basic fee) ประมาณ 30,000 บาท  จะเสียไม่เกิน 200,000 บาท ** ราคายกตัวอย่าง ราคาตัวเลขจริงต้องคำนวณ

(A.แบบรายประเทศอาจจะเสียประเทศละประมาณ 20,000  รวม 20 ประเทศ ประมาณ 400,000 บาท ซึ่งแพงกว่า) ** ราคายกตัวอย่าง ราคาตัวเลขจริงต้องคำนวณ

และทำการชำระเงินให้แก่ World Intellectual Property Organization (WIPO)
ขั้นตอนนี้ส่วนกลาง (สำนักงานกรมทรัพย์สินภายในประเทศไทย) ใช้เวลา 2-3 เดือนในการตรวจสอบคำขอและส่งคำขอไปยังหน่วยราชการของประเทศปลายทางทั้งหมดที่เลือก เช่น ส่งไปประเทศปลายทาง 20 ประเทศ (ไม่ผ่านตัวแทน (เอกชน) ของประเทศปลายทางส่วนนี้เองทำให้ราคายื่นจดทะเบียนถูกลง เป็นการส่งผ่านระหว่าง ราชการ-ราชการ)

**ระบบนี้ไม่ใช่คุ้มครองอัตโนมัติทั่วโลก ยังไงผู้ขอต้องเลือกประเทศ ไม่เลือกไม่ได้

Step 3

ประเทศปลายทางเมื่อได้รับคำขอทะเบียนก็จะทำการพิจารณาตรวจสอบความเหมือนคล้าย ตามฐานข้อมูลระบบเครื่องหมายการค้าในประเทศของตนเองตามปกติ ไม่ได้มีอะไรพิเศษ ดังนั้นการยื่นจดทะเบียนผ่านแล้วในประเทศไทย ไม่ได้หมายความว่าจะได้รับการอนุมัติในประเทศปลายทาง

ขั้นตอนนี้ประเทศปลายทางจะใช้เวลาตรวจสอบ 8-24 เดือน แล้วแต่ขั้นตอนในประเทศปลายทางของตนเองตามปกติ ไม่ได้มีอะไรพิเศษ

Step 4.1

หากคำขอตาม Step 3 ผ่านประเทศปลายทางก็จะทำการประกาศโฆษณาและอนุมัติคุ้มครอง 10 ปี (ต่ออายุได้ ทุกๆ 10 ปี)

Step 4.2

หากคำขอตาม Step 3 ไม่ผ่าน เช่นมีการแก้ไขรายการสินค้า การสละสิทธิ ติดเหมือนคล้าย หรือ ติดบ่งเฉพาะ เป็นต้น ทางประเทศปลายทางจะแจ้งไปยัง (WIPO) และ (WIPO) จะแจ้งมายังผู้ขอจดทะเบียนโดยตรง การแจ้งจะแจ้งผ่านอีเมลเท่านั้น

ดังนั้น Step 4.2 หากต้องการยื่นอุทธรณ์ ยื่นโต้แย้ง ผู้ขอต้องทำการตั้งตัวแทน (เอกชน) ในประเทศปลายทาง ซึ่งต้องเสียค่าบริการให้กับตัวแทน (เอกชน) ในประเทศปลายทาง (เพราะผู้ขอไม่มีตัวแทนเนื่องจากคำขอถูกส่งระหว่าง ราชการไทย กับ ราชการประเทศปลายทาง ในครั้งแรก)

เมื่อยื่นอุทธรณ์ ยื่นโต้แย้ง ก็จะเข้าสู่ขั้นตอนการพิจาณาของประเทศปลายทางต่อไป ผลคือ ผ่าน/ไม่ผ่าน ถ้าผ่านกลับไปยัง Step 4.1

*โดยรวม B.แบบพิธีสารมาดริด (Madrid Protocol) ถือว่ามีราคาที่ประหยัดและสะดวก เป็นระบบทะเบียนเดียว ต่ออายุต่อครั้งเดียวได้ทุกประเทศ ซึ่งหากมีการยื่นจดทะเบียนหลายประเทศจะทำให้มีราคาที่ประหยัด แนะนำให้ใช้ระบบนี้

Madrid Member

Madrid Member

1 AE – United Arab Emirates
2 AF – Afghanistan
3 AG – Antigua and Barbuda
4 AL – Albania
5 AM – Armenia
6 AT – Austria
7 AU – Australia
8 AZ – Azerbaijan
9 BA – Bosnia and Herzegovina
10 BG – Bulgaria
11 BH – Bahrain
12 BN – Brunei Darussalam
13 BQ – Bonaire, Sint Eustatius and Saba
14 BR – Brazil
15 BT – Bhutan
16 BW – Botswana
17 BX – Benelux
18 BY – Belarus
19 BZ – Belize
20 CA – Canada
21 CH – Switzerland
22 CL – Chile
23 CN – China
24 CO – Colombia
25 CU – Cuba
26 CV – Cabo Verde
27 CW – Curaçao
28 CY – Cyprus
29 CZ – Czech Republic
30 DE – Germany
31 DK – Denmark
32 DZ – Algeria
33 EE – Estonia
34 EG – Egypt
35 EM – European Union
36 ES – Spain
37 FI – Finland
38 FR – France
39 GB – United Kingdom
40 GE – Georgia
41 GG – Guernsey
42 GH – Ghana
43 GM – Gambia
44 GR – Greece
45 HR – Croatia
46 HU – Hungary
47 ID – Indonesia
48 IE – Ireland
49 IL – Israel
50 IN – India
51 IR – Islamic Republic of Iran
52 IS – Iceland
53 IT – Italy
54 JM – Jamaica
55 JP – Japan
56 KE – Kenya
57 KG – Kyrgyzstan
58 KH – Cambodia
59 KP – Democratic People’s Republic of Korea
60 KR – Republic of Korea
61 KZ – Kazakhstan
62 LA – Lao People’s Democratic Republic
63 LI – Liechtenstein
64 LR – Liberia
65 LS – Lesotho
66 LT – Lithuania
67 LV – Latvia
68 MA – Morocco
69 MC – Monaco
70 MD – Republic of Moldova
71 ME – Montenegro
72 MG – Madagascar
73 MK – The Republic of North Macedonia
74 MN – Mongolia
75 MU – Mauritius
76 MW – Malawi
77 MX – Mexico
78 MY – Malaysia
79 MZ – Mozambique
80 NA – Namibia
81 NO – Norway
82 NZ – New Zealand
83 OA – African Intellectual Property Organization (OAPI)
84 OM – Oman
85 PH – Philippines
86 PK – Pakistan
87 PL – Poland
88 PT – Portugal
89 RO – Romania
90 RS – Serbia
91 RU – Russian Federation
92 RW – Rwanda
93 SD – Sudan
94 SE – Sweden
95 SG – Singapore
96 SI – Slovenia
97 SK – Slovakia
98 SL – Sierra Leone
99 SM – San Marino
100 ST – Sao Tome and Principe
101 SX – Sint Maarten (Dutch part)
102 SY – Syrian Arab Republic
103 SZ – Eswatini
104 TJ – Tajikistan
105 TM – Turkmenistan
106 TN – Tunisia
107 TR – Türkiye
108 TT – Trinidad and Tobago
109 UA – Ukraine
110 US – United States of America
111 UZ – Uzbekistan
112 VN – Viet Nam
113 WS – Samoa
114 ZM – Zambia
115 ZW – Zimbabwe

หากใครที่ยังมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าระบบมาดริด การจดแบรนด์ การจดโลโก้ การจดลิขสิทธิ์ หรือการจดสิทธิบัตรระบบ pct สามารถติดต่อปรึกษาเราได้เลย บริษัทของเรามีทีมผู้เชี่ยวชาญพร้อมให้คำแนะนำ

แอดไลน์ การจด เครื่องหมายการค้าระบบมาดริด ขั้นตอน และข้อเสีย

ตอบข้อสงสัย การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าระหว่างประเทศระบบมาดริด (Madrid Protocol)

บทความนี้เราจะมาพูดถึงการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าระบบมาดริด และตอบข้อสงสัยเกี่ยวกับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าทั่วโลกตามพิธีสารมาดริด (Madrid Protocol) กันแบบเข้าใจง่ายๆ

ก่อนอื่นเราขอเริ่มกันที่ข้อเสียของการจดเครื่องหมายการค้าระบบมาดริดกันก่อน

  1. กรณีคำขอในต่างประเทศมีคำสั่งแก้ไข ผู้ขอจดทะเบียนจะต้องทำการตั้งตัวแทนให้ดำเนินการซึ่งโอกาสที่คำขอจะมีการแก้ไขมี 30-50 % เช่น การแก้ไขรายการสินค้า ดังนั้นการตั้งตัวแทนจะทำให้มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม ซึ่งราคาโดยรวมสุดท้ายอาจจะมีราคาที่สูงกว่า ระบบเดิม
  2. การเลือกรายการสินค้าทำได้ยาก เนื่องจากรายการสินค้าไทยจะต้องถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษ หากการแปลไม่สามารถ match กันได้ กับรายการของประเทศสมาชิก รายการสินค้านั้นจะไม่สามารถใช้ได้และต้องถูกตัดออก
  3. หากคำขอพื้นฐานในประเทศไทยไม่ผ่าน คำขอในประเทศสมาชิกไม่ผ่านด้วย การคัดค้านคำขอในประเทศไทยจะทำให้คำขอในประเทศสมาชิกหยุดชะงักไปด้วย
  4. มีค่าธรรมเนียมแรกเข้า basic fee ซึ่งต้องทำการจดทะเบียนหลายๆ ประเทศถึงจะคุ้มค่าเมื่อเทียบกับระบบเดิม

อย่างไรก็ตาม โดยรวมของการจดเครื่องหมายการค้าระบบมาดริด (Madrid Protocol) หากมีการยื่นจดทะเบียนหลายประเทศถือว่ามีราคาที่ประหยัดและเป็นระบบทะเบียนเดียว ซึ่งถือว่ามีข้อดีมากกว่าข้อเสียและแนะนำให้ยื่นจดทะเบียนในระบบนี้

ตอบข้อสงสัย: จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าทั่วโลกตามพิธีสารมาดริด (Madrid Protocol) หรือ การจดเครื่องหมายการค้าระบบมาดริด คืออะไร แบบอธิบายง่ายที่สุด

เครื่องหมายการค้าระบบมาดริด

A. แบบรายประเทศ

Step 1

หากเราต้องการจดเครื่องหมายการค้าก็ต้องทำการติดต่อตัวแทนในประเทศปลายทางแยกรายประเทศ เช่น ต้องการยื่นจดทะเบียนในประเทศกัมพูชา ประเทศอเมริกา ประเทศเวียดนาม

ต้องติดต่อตัวแทนที่ ประเทศปลายทางทุกประเทศและทำเอกสารประเทศละ 1 ชุด เพื่อยื่นจดทะเบียน และ หน่วยงานเครื่องหมายการค้าของประเทศปลายทางก็จะทำการตรวจสอบความเหมือนคล้ายในฐานข้อมูลของตนเองและกฎหมายของตนเอง และ อนุมัติรับจดทะเบียน โดยปกติจะใช้เวลา 1 ปี และ อนุมัติคุ้มครอง 10 ปี ต่ออายุทุก 10 ปี

ซึ่งราคาการยื่นจดทะเบียนจะสูงเนื่องจากต้องเสีย (ค่าบริการตัวแทนในประเทศปลายทาง) + (ค่าธรรมเนียมราชการ)

การยื่นจดทะเบียนแบบรายประเทศจะไม่เกี่ยวกับคำขอในประเทศไทย

**************************************************************************************

B. แบบพิธีสารมาดริด (Madrid Protocol)

ปัจจุบันมี 109 สมาชิก รวม 125 ประเทศ (สถานะ September 28, 2021) โดยมีขั้นตอนดังต่อไปนี้

Step 1

ยื่นคำขอพื้นฐาน (basic application) ในประเทศไทย โดยแนะนำให้ยื่นจดทะเบียนให้คุ้มครองรายการสินค้าหลายรายการ

เช่น หากยื่นจดทะเบียน 1 รายการสินค้า เวลายื่นเข้าส่วนกลาง (สำนักงานกรมทรัพย์สินทางปัญญาภายในประเทศไทย) จะส่งคำขอไปยังประเทศปลายทางได้แค่ 1 รายการ

เช่น หากยื่นจดทะเบียน 100 รายการสินค้า เวลายื่นเข้าส่วนกลาง (สำนักงานกรมทรัพย์สินทางปัญญาภายในประเทศไทย) จะส่งคำขอไปยังประเทศปลายทางได้ 100 รายการ หรือ น้อยกว่า 100 รายการได้ แต่ต้องเลือกจาก 100 รายการที่ระบุเลือกไว้เท่านั้น

ขั้นตอนนี้ใช้เวลาเพียง 3-7 วันในการยื่นจดทะเบียนและนายทะเบียนจะพิจารณาอนุมัติประมาณ 10-20 เดือน (ระยะเวลาพิจารณาปกติภายในประเทศไทย ไม่มีอะไรพิเศษ)

Step 2

ผู้ขอนำเอาคำขอพื้นฐาน (basic application) ที่ยื่นจดทะเบียนใน Step 1 เข้าไปจดทะเบียนในส่วนกลาง (สำนักงานกรมทรัพย์สินภายในประเทศไทย)

การยื่นจดทะเบียนใน Step 2 คำขอพื้นฐาน (basic application) ไม่ว่าจะอยู่ระหว่างการพิจารณาตรวจสอบ หรือ อนุมัติรับจดทะเบียนแล้วก็สามารถยื่นจดทะเบียนได้

โดยจะเสียค่าธรรมเนียมแรกเข้า (basic fee) ประมาณ 30,000 บาท

โดยจะต้องเสียค่าธรรมเนียมรายประเทศ ประเทศละประมาณ 5,000-50,000 บาทไม่เท่ากัน (เฉลี่ยแล้วโดยรวมประเทศละประมาณ 8,000 บาท) โดยจะเสียตามประเทศที่เลือก เช่น เลือก 20 ประเทศจะเสียค่าธรรมเนียมรายประเทศ 160,000 บาท เป็นต้น รวม (basic fee) ประมาณ 30,000 บาท  จะเสียไม่เกิน 200,000 บาท ** ราคายกตัวอย่าง ราคาตัวเลขจริงต้องคำนวณ

(A.แบบรายประเทศอาจจะเสียประเทศละประมาณ 20,000  รวม 20 ประเทศ ประมาณ 400,000 บาท ซึ่งแพงกว่า) ** ราคายกตัวอย่าง ราคาตัวเลขจริงต้องคำนวณ

และทำการชำระเงินให้แก่ World Intellectual Property Organization (WIPO)
ขั้นตอนนี้ส่วนกลาง (สำนักงานกรมทรัพย์สินภายในประเทศไทย) ใช้เวลา 2-3 เดือนในการตรวจสอบคำขอและส่งคำขอไปยังหน่วยราชการของประเทศปลายทางทั้งหมดที่เลือก เช่น ส่งไปประเทศปลายทาง 20 ประเทศ (ไม่ผ่านตัวแทน (เอกชน) ของประเทศปลายทางส่วนนี้เองทำให้ราคายื่นจดทะเบียนถูกลง เป็นการส่งผ่านระหว่าง ราชการ-ราชการ)

**ระบบนี้ไม่ใช่คุ้มครองอัตโนมัติทั่วโลก ยังไงผู้ขอต้องเลือกประเทศ ไม่เลือกไม่ได้

Step 3

ประเทศปลายทางเมื่อได้รับคำขอทะเบียนก็จะทำการพิจารณาตรวจสอบความเหมือนคล้าย ตามฐานข้อมูลระบบเครื่องหมายการค้าในประเทศของตนเองตามปกติ ไม่ได้มีอะไรพิเศษ ดังนั้นการยื่นจดทะเบียนผ่านแล้วในประเทศไทย ไม่ได้หมายความว่าจะได้รับการอนุมัติในประเทศปลายทาง

ขั้นตอนนี้ประเทศปลายทางจะใช้เวลาตรวจสอบ 8-24 เดือน แล้วแต่ขั้นตอนในประเทศปลายทางของตนเองตามปกติ ไม่ได้มีอะไรพิเศษ

Step 4.1

หากคำขอตาม Step 3 ผ่านประเทศปลายทางก็จะทำการประกาศโฆษณาและอนุมัติคุ้มครอง 10 ปี (ต่ออายุได้ ทุกๆ 10 ปี)

Step 4.2

หากคำขอตาม Step 3 ไม่ผ่าน เช่นมีการแก้ไขรายการสินค้า การสละสิทธิ ติดเหมือนคล้าย หรือ ติดบ่งเฉพาะ เป็นต้น ทางประเทศปลายทางจะแจ้งไปยัง (WIPO) และ (WIPO) จะแจ้งมายังผู้ขอจดทะเบียนโดยตรง การแจ้งจะแจ้งผ่านอีเมลเท่านั้น

ดังนั้น Step 4.2 หากต้องการยื่นอุทธรณ์ ยื่นโต้แย้ง ผู้ขอต้องทำการตั้งตัวแทน (เอกชน) ในประเทศปลายทาง ซึ่งต้องเสียค่าบริการให้กับตัวแทน (เอกชน) ในประเทศปลายทาง (เพราะผู้ขอไม่มีตัวแทนเนื่องจากคำขอถูกส่งระหว่าง ราชการไทย กับ ราชการประเทศปลายทาง ในครั้งแรก)

เมื่อยื่นอุทธรณ์ ยื่นโต้แย้ง ก็จะเข้าสู่ขั้นตอนการพิจาณาของประเทศปลายทางต่อไป ผลคือ ผ่าน/ไม่ผ่าน ถ้าผ่านกลับไปยัง Step 4.1

*โดยรวม B.แบบพิธีสารมาดริด (Madrid Protocol) ถือว่ามีราคาที่ประหยัดและสะดวก เป็นระบบทะเบียนเดียว ต่ออายุต่อครั้งเดียวได้ทุกประเทศ ซึ่งหากมีการยื่นจดทะเบียนหลายประเทศจะทำให้มีราคาที่ประหยัด แนะนำให้ใช้ระบบนี้

Madrid Member

Madrid Member

1 AE – United Arab Emirates
2 AF – Afghanistan
3 AG – Antigua and Barbuda
4 AL – Albania
5 AM – Armenia
6 AT – Austria
7 AU – Australia
8 AZ – Azerbaijan
9 BA – Bosnia and Herzegovina
10 BG – Bulgaria
11 BH – Bahrain
12 BN – Brunei Darussalam
13 BQ – Bonaire, Sint Eustatius and Saba
14 BR – Brazil
15 BT – Bhutan
16 BW – Botswana
17 BX – Benelux
18 BY – Belarus
19 BZ – Belize
20 CA – Canada
21 CH – Switzerland
22 CL – Chile
23 CN – China
24 CO – Colombia
25 CU – Cuba
26 CV – Cabo Verde
27 CW – Curaçao
28 CY – Cyprus
29 CZ – Czech Republic
30 DE – Germany
31 DK – Denmark
32 DZ – Algeria
33 EE – Estonia
34 EG – Egypt
35 EM – European Union
36 ES – Spain
37 FI – Finland
38 FR – France
39 GB – United Kingdom
40 GE – Georgia
41 GG – Guernsey
42 GH – Ghana
43 GM – Gambia
44 GR – Greece
45 HR – Croatia
46 HU – Hungary
47 ID – Indonesia
48 IE – Ireland
49 IL – Israel
50 IN – India
51 IR – Islamic Republic of Iran
52 IS – Iceland
53 IT – Italy
54 JM – Jamaica
55 JP – Japan
56 KE – Kenya
57 KG – Kyrgyzstan
58 KH – Cambodia
59 KP – Democratic People’s Republic of Korea
60 KR – Republic of Korea
61 KZ – Kazakhstan
62 LA – Lao People’s Democratic Republic
63 LI – Liechtenstein
64 LR – Liberia
65 LS – Lesotho
66 LT – Lithuania
67 LV – Latvia
68 MA – Morocco
69 MC – Monaco
70 MD – Republic of Moldova
71 ME – Montenegro
72 MG – Madagascar
73 MK – The Republic of North Macedonia
74 MN – Mongolia
75 MU – Mauritius
76 MW – Malawi
77 MX – Mexico
78 MY – Malaysia
79 MZ – Mozambique
80 NA – Namibia
81 NO – Norway
82 NZ – New Zealand
83 OA – African Intellectual Property Organization (OAPI)
84 OM – Oman
85 PH – Philippines
86 PK – Pakistan
87 PL – Poland
88 PT – Portugal
89 RO – Romania
90 RS – Serbia
91 RU – Russian Federation
92 RW – Rwanda
93 SD – Sudan
94 SE – Sweden
95 SG – Singapore
96 SI – Slovenia
97 SK – Slovakia
98 SL – Sierra Leone
99 SM – San Marino
100 ST – Sao Tome and Principe
101 SX – Sint Maarten (Dutch part)
102 SY – Syrian Arab Republic
103 SZ – Eswatini
104 TJ – Tajikistan
105 TM – Turkmenistan
106 TN – Tunisia
107 TR – Türkiye
108 TT – Trinidad and Tobago
109 UA – Ukraine
110 US – United States of America
111 UZ – Uzbekistan
112 VN – Viet Nam
113 WS – Samoa
114 ZM – Zambia
115 ZW – Zimbabwe

หากใครที่ยังมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าระบบมาดริด การจดแบรนด์ การจดโลโก้ การจดลิขสิทธิ์ หรือการจดสิทธิบัตรระบบ pct สามารถติดต่อปรึกษาเราได้เลย บริษัทของเรามีทีมผู้เชี่ยวชาญพร้อมให้คำแนะนำ

แอดไลน์