ความลับทางการค้า (Trade Secret) คืออะไร และ การกระทำอะไรบ้างที่ถือว่าเป็นการกระทำผิดความลับทางการค้า

ความลับทางการค้าคืออะไร และ การกระทำอะไรบ้างที่ถือว่าเป็นการกระทำผิดความลับทางการค้า

พ.ร.บ.ความลับทางการค้า พ.ศ.2545 มาตรา 3 บัญญัตินิยามของความลับทางการค้าว่า “ข้อมูลการค้าซึ่งยังไม่รู้จักกันโดยทั่วไป หรือยังเข้าถึงไม่ได้ในหมู่บุคคลซึ่งโดยปกติแล้วต้องเกี่ยวข้องกับข้อมูลดังกล่าว โดยเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์ในเชิงพาณิชย์เนื่องจากเป็นความลับ และเป็นข้อมูลที่ผู้ควบคุมความลับทางการค้าได้ใช้มาตรการที่เหมาะสมเพื่อรักษาไว้เป็นความลับ”

ตัวอย่างกรณีการกระทำอะไรบ้างที่ถือว่าเป็นการกระทำผิดความลับทางการค้า ต้องมีองค์ประกอบดังนี้ 

1.ข้อมูลความลับทางการค้า ต้องใช้มาตรการที่เหมาะสมเพื่อรักษาข้อมูลดังกล่าวไว้เป็นความลับ

2.ข้อมูลที่จะเป็นความลับทางการค้า ต้องเป็นข้อมูลการค้า ไม่ใช้ข้อมูลอย่างอื่น

3.ข้อมูลที่จะเป็นความลับทางการค้า ต้องอาศัยข้อมูลเพื่อใช้ในการแข่งขันทางธุรกิจการค้า

4.ข้อมูลที่จะเป็นความลับทางการค้า ต้องมีข้อตกลงในสัญญาห้ามเปิดเผย

5.ข้อมูลที่จะเป็นความลับทางการค้า ต้องเปิดเผยข้อมูลให้เป็นที่ล่วงรู้แก่บุคคลอื่นโดยทั่วไป  ไม่รวมถึงการนำความลับทางการค้าไปใช้เองเพื่อประโยชน์ในทางธุรกิจการค้าของตนเอง 

6.ข้อมูลที่จะเป็นความลับทางการค้า ไม่รวมกรณีบุคคลอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องไปเปิดเผย

 

 

ยกตัวอย่างที่เกิดขึ้นจริงเช่น

1.ข้อมูลเกี่ยวกับรายชื่อ ที่อยู่ และราคาค่าจ้างขนส่งทั้งที่เป็นเอกสารและเป็นข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์โดยไม่ได้ใช้มาตรการที่เหมาะสมเพื่อรักษาข้อมูลดังกล่าวไว้เป็นความลับจึงไม่ใช่ความลับทางการค้า ตาม พ.ร.บ.ความลับทางการค้า พ.ศ.2545 มาตรา 3

2.ข้อมูลที่จะเป็นความลับทางการค้าตาม พ.ร.บ.ความลับทางการค้า พ.ศ.2545 มาตรา 3 ต้องเป็นข้อมูลการค้า ข้อมูลเกี่ยวกับที่ตั้งโรงไฟฟ้า สถานที่ติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้า แผนผังของโรงไฟฟ้าและข้อมูลอื่น ๆ ถ้าไม่ได้เกี่ยวกับการค้า จึงไม่ใช่ความลับทางการค้า ตาม พ.ร.บ.ความลับทางการค้า พ.ศ.2545 มาตรา 3

3.ข้อมูลผลิตเครื่องสำอาง ผลิตสูตรอาหาร ซึ่งในการประกอบกิจการ ถือว่าเป็นความลับทางการค้า ตาม พ.ร.บ.ความลับทางการค้า พ.ศ.2545 มาตรา 3 เพราะต้องอาศัยข้อมูลเพื่อใช้ในการแข่งขันทางธุรกิจการค้า

4. ความลับทางการค้า และ ผู้ควบคุมความลับทางการค้า ในมาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ.ความลับทางการค้า พ.ศ.2545 ข้อมูลการค้าซึ่งเป็นความลับทางการค้าต้องเป็นข้อมูลที่เจ้าของหรือผู้ควบคุมความลับทางการค้าได้ใช้มาตรการที่เหมาะสมเพื่อรักษาไว้เป็นความลับ การที่มีข้อตกลงในสัญญาจ้างแรงงานระหว่าง ห้ามมิให้พนักงานนำข้อมูลความลับของบริษัทไปเปิดเผยแก่บุคคลภายนอกซึ่งหากฝ่าฝืนอาจถูกลงโทษได้นั้น ไม่เพียงพอที่จะถือว่าเป็นมาตรการที่เหมาะสมในการรักษาข้อมูลดังกล่าวไว้เป็นความลับตามเจตนารมณ์ของบทบัญญัติแห่งกฎหมายนี้ จึงไม่ใช่ความลับทางการค้า ตาม พ.ร.บ.ความลับทางการค้า พ.ศ.2545 มาตรา 3

5.การกระทำที่จะเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ความลับทางการค้า พ.ศ.2545 มาตรา 33 ต่อเมื่อมีการเปิดเผยความลับทางการค้าให้เป็นที่ล่วงรู้โดยทั่วไปในประการที่ทำให้ความลับทางการค้าสิ้นสภาพการเป็นความลับทางการค้าตามมาตรา 3 การนำความลับทางการค้าไปใช้เองเพื่อประโยชน์ในทางธุรกิจการค้าของตนเอง ข้อมูลความลับทางการค้าดังกล่าวยังคงอยู่ในความรู้ของตนเองเท่านั้น มิใช่การเปิดเผยข้อมูลให้เป็นที่ล่วงรู้แก่บุคคลอื่นโดยทั่วไป ไม่ถือว่าเป็นการเปิดเผยความลับทางการค้าให้เป็นที่ล่วงรู้โดยทั่วไป ตาม พ.ร.บ.ความลับทางการค้า พ.ศ.2545 มาตรา 3

6.การกระทำของบุคคลใดจะเป็นความผิดและต้องรับโทษตาม พ.ร.บ.ความลับทางการค้าฯ มาตรา 35 นั้น จะต้องมีองค์ประกอบความผิดที่ว่า บุคคลนั้นได้มาหรือล่วงรู้ความลับทางการค้าดังกล่าวเนื่องจากการปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ความลับทางการค้าฯ หรือบุคคลนั้นได้มาหรือล่วงรู้ความลับทางการค้าเนื่องในการปฏิบัติงานหรือเกี่ยวข้องกับนายจ้าง หรือ คู่สัญญา กรณีบุคคลอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องไปเปิดเผย ไม่ถือว่าเป็นการเปิดเผยความลับทางการค้าให้เป็นที่ล่วงรู้โดยทั่วไป ตาม พ.ร.บ.ความลับทางการค้า พ.ศ.2545 มาตรา 3

แอดไลน์ ความลับทางการค้า (Trade Secret) คืออะไร และ การกระทำอะไรบ้างที่ถือว่าเป็นการกระทำผิดความลับทางการค้า

ความลับทางการค้า (Trade Secret) คืออะไร และ การกระทำอะไรบ้างที่ถือว่าเป็นการกระทำผิดความลับทางการค้า

ความลับทางการค้าคืออะไร และ การกระทำอะไรบ้างที่ถือว่าเป็นการกระทำผิดความลับทางการค้า

พ.ร.บ.ความลับทางการค้า พ.ศ.2545 มาตรา 3 บัญญัตินิยามของความลับทางการค้าว่า “ข้อมูลการค้าซึ่งยังไม่รู้จักกันโดยทั่วไป หรือยังเข้าถึงไม่ได้ในหมู่บุคคลซึ่งโดยปกติแล้วต้องเกี่ยวข้องกับข้อมูลดังกล่าว โดยเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์ในเชิงพาณิชย์เนื่องจากเป็นความลับ และเป็นข้อมูลที่ผู้ควบคุมความลับทางการค้าได้ใช้มาตรการที่เหมาะสมเพื่อรักษาไว้เป็นความลับ”

ตัวอย่างกรณีการกระทำอะไรบ้างที่ถือว่าเป็นการกระทำผิดความลับทางการค้า ต้องมีองค์ประกอบดังนี้ 

1.ข้อมูลความลับทางการค้า ต้องใช้มาตรการที่เหมาะสมเพื่อรักษาข้อมูลดังกล่าวไว้เป็นความลับ

2.ข้อมูลที่จะเป็นความลับทางการค้า ต้องเป็นข้อมูลการค้า ไม่ใช้ข้อมูลอย่างอื่น

3.ข้อมูลที่จะเป็นความลับทางการค้า ต้องอาศัยข้อมูลเพื่อใช้ในการแข่งขันทางธุรกิจการค้า

4.ข้อมูลที่จะเป็นความลับทางการค้า ต้องมีข้อตกลงในสัญญาห้ามเปิดเผย

5.ข้อมูลที่จะเป็นความลับทางการค้า ต้องเปิดเผยข้อมูลให้เป็นที่ล่วงรู้แก่บุคคลอื่นโดยทั่วไป  ไม่รวมถึงการนำความลับทางการค้าไปใช้เองเพื่อประโยชน์ในทางธุรกิจการค้าของตนเอง 

6.ข้อมูลที่จะเป็นความลับทางการค้า ไม่รวมกรณีบุคคลอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องไปเปิดเผย

 

 

ยกตัวอย่างที่เกิดขึ้นจริงเช่น

1.ข้อมูลเกี่ยวกับรายชื่อ ที่อยู่ และราคาค่าจ้างขนส่งทั้งที่เป็นเอกสารและเป็นข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์โดยไม่ได้ใช้มาตรการที่เหมาะสมเพื่อรักษาข้อมูลดังกล่าวไว้เป็นความลับจึงไม่ใช่ความลับทางการค้า ตาม พ.ร.บ.ความลับทางการค้า พ.ศ.2545 มาตรา 3

2.ข้อมูลที่จะเป็นความลับทางการค้าตาม พ.ร.บ.ความลับทางการค้า พ.ศ.2545 มาตรา 3 ต้องเป็นข้อมูลการค้า ข้อมูลเกี่ยวกับที่ตั้งโรงไฟฟ้า สถานที่ติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้า แผนผังของโรงไฟฟ้าและข้อมูลอื่น ๆ ถ้าไม่ได้เกี่ยวกับการค้า จึงไม่ใช่ความลับทางการค้า ตาม พ.ร.บ.ความลับทางการค้า พ.ศ.2545 มาตรา 3

3.ข้อมูลผลิตเครื่องสำอาง ผลิตสูตรอาหาร ซึ่งในการประกอบกิจการ ถือว่าเป็นความลับทางการค้า ตาม พ.ร.บ.ความลับทางการค้า พ.ศ.2545 มาตรา 3 เพราะต้องอาศัยข้อมูลเพื่อใช้ในการแข่งขันทางธุรกิจการค้า

4. ความลับทางการค้า และ ผู้ควบคุมความลับทางการค้า ในมาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ.ความลับทางการค้า พ.ศ.2545 ข้อมูลการค้าซึ่งเป็นความลับทางการค้าต้องเป็นข้อมูลที่เจ้าของหรือผู้ควบคุมความลับทางการค้าได้ใช้มาตรการที่เหมาะสมเพื่อรักษาไว้เป็นความลับ การที่มีข้อตกลงในสัญญาจ้างแรงงานระหว่าง ห้ามมิให้พนักงานนำข้อมูลความลับของบริษัทไปเปิดเผยแก่บุคคลภายนอกซึ่งหากฝ่าฝืนอาจถูกลงโทษได้นั้น ไม่เพียงพอที่จะถือว่าเป็นมาตรการที่เหมาะสมในการรักษาข้อมูลดังกล่าวไว้เป็นความลับตามเจตนารมณ์ของบทบัญญัติแห่งกฎหมายนี้ จึงไม่ใช่ความลับทางการค้า ตาม พ.ร.บ.ความลับทางการค้า พ.ศ.2545 มาตรา 3

5.การกระทำที่จะเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ความลับทางการค้า พ.ศ.2545 มาตรา 33 ต่อเมื่อมีการเปิดเผยความลับทางการค้าให้เป็นที่ล่วงรู้โดยทั่วไปในประการที่ทำให้ความลับทางการค้าสิ้นสภาพการเป็นความลับทางการค้าตามมาตรา 3 การนำความลับทางการค้าไปใช้เองเพื่อประโยชน์ในทางธุรกิจการค้าของตนเอง ข้อมูลความลับทางการค้าดังกล่าวยังคงอยู่ในความรู้ของตนเองเท่านั้น มิใช่การเปิดเผยข้อมูลให้เป็นที่ล่วงรู้แก่บุคคลอื่นโดยทั่วไป ไม่ถือว่าเป็นการเปิดเผยความลับทางการค้าให้เป็นที่ล่วงรู้โดยทั่วไป ตาม พ.ร.บ.ความลับทางการค้า พ.ศ.2545 มาตรา 3

6.การกระทำของบุคคลใดจะเป็นความผิดและต้องรับโทษตาม พ.ร.บ.ความลับทางการค้าฯ มาตรา 35 นั้น จะต้องมีองค์ประกอบความผิดที่ว่า บุคคลนั้นได้มาหรือล่วงรู้ความลับทางการค้าดังกล่าวเนื่องจากการปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ความลับทางการค้าฯ หรือบุคคลนั้นได้มาหรือล่วงรู้ความลับทางการค้าเนื่องในการปฏิบัติงานหรือเกี่ยวข้องกับนายจ้าง หรือ คู่สัญญา กรณีบุคคลอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องไปเปิดเผย ไม่ถือว่าเป็นการเปิดเผยความลับทางการค้าให้เป็นที่ล่วงรู้โดยทั่วไป ตาม พ.ร.บ.ความลับทางการค้า พ.ศ.2545 มาตรา 3

แอดไลน์