อ่านหนังสือ หรือ นิทานให้ผู้อื่น หรือ คนตาบอดฟัง โดยทำซ้ำ ดัดแปลงหนังสือให้กลายเป็นรูปแบบเสียงถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิ์หรือไม่

อ่านนิทานให้ผู้อื่นฟัง หรือ คนตาบอด โดยทำซ้ำ ดัดแปลงหนังสือให้กลายเป็นรูปแบบเสียงถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิ์หรือไม่

หนังสือ นิทาน คืองานวรรณกรรม การทำซ้ำ ดัดแปลงหนังสือให้อยู่ในรูปหนังสือถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิ์แน่นอน ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์พ.ศ. ๒๕๓๗ ดังนี้

ตามมาตรา ๖ งานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ ได้แก่ งานสร้างสรรค์ประเภทวรรณกรรม นาฏกรรม
ศิลปกรรม ดนตรีกรรม โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ สิ่งบันทึกเสียง งานแพร่เสียงแพร่ภาพ หรือ งานอื่นใดใน
แผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะของผู้สร้างสรรค์ ไม่ว่างานดังกล่าวจะแสดงออกโดยวิธี
หรือรูปแบบอย่างใดการคุ้มครองลิขสิทธิ์ไม่คลุมถึงความคิด หรือขั้นตอน กรรมวิธี หรือระบบ หรือวิธีใช้หรือ
ทำงาน หรือแนวความคิด หลักการ การค้นพบ หรือทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ หรือคณิตศาสตร์

ตาม มาตรา ๒๗ การกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ โดยไม่ ได้รับอนุญาตตามมาตรา ๑๕ (๕) ให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าได้กระทำดังต่อไปนี้
(๑) ทำซ้ำหรือดัดแปลง
(๒) เผยแพร่ต่อสาธารณชน

อ่านหนังสือ หรือ นิทานให้ผู้อื่นฟัง โดยทำซ้ำ ดัดแปลงหนังสือเป็นรูปแบบเสียงถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิ์หรือไม่ แยกดังนี้

ก.หากเป็นการอ่านหนังสือ หรือ นิทานให้ผู้อื่นฟัง เช่น ลูก หลาน หรือ ในกลุ่มคนไม่มาก เพื่อประโยชน์ของตนเอง หรือเพื่อประโยชน์ของตนเองและบุคคลอื่นในครอบครัวหรือญาติสนิท ไม่ผิดตามข้อยกเว้นมาตรา ๓๒

ข.หากเป็นการอ่านหนังสือ หรือ นิทานให้ผู้อื่นฟัง ในลักษณะผู้ฟังหลายรายทางออนไลน์และมีสมาชิกจำนวนมาก เพื่อประโยชน์ของตนเองในการโฆษณาหาสมาชิก หรือ ผ่านช่องทางยูทูปที่มีผู้ฟังจำนวนมาก ถือว่าละเมิดลิขสิทธิ์
เพราะเป็นการทำซ้ำ ดัดแปลงหนังสือที่เป็นรูปแบบวรรณกรรมให้เป็นรูปแบบเสียง

ค.หากเป็นการอ่านหนังสือ หรือ นิทานให้คนตาบอดฟัง ถือว่าไม่ละเมิดลิขสิทธิ์เพราะเข้าข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ ตามมาตรา ๓๒ (๖) ทำซ้ำ ดัดแปลง นำออกแสดง หรือทำให้ปรากฏ โดยผู้สอนเพื่อประโยชน์ ในการสอนของตน อันมิใช่การกระทำเพื่อหากำไร (๗) ทำซ้ำ ดัดแปลงบางส่วนของงาน หรือตัดทอน หรือทำบทสรุปโดยผู้สอน หรือสถาบันศึกษา เพื่อแจกจ่ายหรือจำหน่ายแก่ผู้เรียนในชั้นเรียนหรือในสถาบันศึกษา ทั้งนี้ ต้องไม่เป็นการกระทำเพื่อหากำไร

ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์

มาตรา ๓๒ การกระทำแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของบุคคลอื่นตามพระราชบัญญัตินี้ หากไม่ขัดต่อการแสวงหาประโยชน์จากงาน อันมีลิขสิทธิ์ตามปกติของเจ้าของลิขสิทธิ์ และไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิอันชอบด้วยกฎหมายของเจ้าของลิขสิทธิ์เกินสมควร มิให้ถือว่า เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ภายใต้บังคับบทบัญญัติในวรรคหนึ่ง การกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ตามวรรคหนึ่ง มิให้ถือว่าเป็น การละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าได้กระทำดังต่อไปนี้
(๑) วิจัยหรือศึกษางานนั้น อันมิใช่การกระทำเพื่อหากำไร
(๒) ใช้เพื่อประโยชน์ของตนเอง หรือเพื่อประโยชน์ของตนเองและบุคคลอื่นในครอบครัวหรือญาติสนิท
(๓) ติชม วิจารณ์ หรือแนะนำผลงานโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานนั้น
(๔) เสนอรายงานข่าวทางสื่อสารมวลชนโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานนั้น
(๕) ทำซ้ำ ดัดแปลง นำออกแสดง หรือทำให้ปรากฏ เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาของศาลหรือเจ้าพนักงาน ซึ่งมีอำนาจตามกฎหมาย หรือในการรายงานผลการพิจารณาดังกล่าว
(๖) ทำซ้ำ ดัดแปลง นำออกแสดง หรือทำให้ปรากฏ โดยผู้สอนเพื่อประโยชน์ ในการสอนของตน อันมิใช่การกระทำเพื่อหากำไร
(๗) ทำซ้ำ ดัดแปลงบางส่วนของงาน หรือตัดทอน หรือทำบทสรุปโดยผู้สอน หรือสถาบันศึกษา เพื่อแจกจ่ายหรือจำหน่ายแก่ผู้เรียนในชั้นเรียนหรือในสถาบันศึกษา ทั้งนี้ ต้องไม่เป็นการกระทำเพื่อหากำไร
(๘) นำงานนั้นมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการถามและตอบในการสอบ

มาตรา ๗ สิ่งต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้
(๑)ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสารอันมิใช่งานในแผนกวรรณคดี
แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
(๒)รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย
(๓)ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือตอบโต้ของ กระทรวง ทบวง กรม
หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น
(๔)คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
(๕)คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่าง ๆ ตาม (๑) ถึง (๔) ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใด
ของรัฐหรือของท้องถิ่นจัดทำขึ้น

กล่าวคือ
1.การทำซ้ำ ดัดแปลง หรือเผยแพร่ต่อสาธารณชนซึ่งงานวรรณกรรมโดยเปลี่ยนจากหนังสือให้มาอยู่ในรูปแบบเสียงเพื่อให้ผู้อื่นฟังถือว่าละเมิดลิขสิทธิ์ หากเป็นการกระทำเพื่อหากำไร

2.การทำซ้ำ ดัดแปลง หรือเผยแพร่ต่อสาธารณชนซึ่งงานวรรณกรรมโดยเปลี่ยนจากหนังสือให้มาอยู่ในรูปแบบเสียงเพื่อให้ผู้อื่นฟังถือว่าไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ หากเป็นการกระทำเพื่อไม่แสวงหากำไร

3.การทำซ้ำ ดัดแปลง หรือเผยแพร่ต่อสาธารณชนซึ่งงานวรรณกรรมโดยเปลี่ยนจากหนังสือให้มาอยู่ในรูปแบบเสียงเพื่อให้คนตาบอดฟังถือว่าไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ หากเป็นการกระทำเพื่อไม่แสวงหากำไร

กำไรอาจจะไม่ได้อยู่ในรูปตัวเงินเสมอไป อาจจะอยู่ในรูปแบบทางอ้อมเช่น มีผู้ติดตามทางออนไลน์ การมีชื่อเสียงทางสังคมออนไลน์ เป็นต้น

แอดไลน์