ความเห็นเรื่อง : กรมทรัพย์ฯ ยันคำว่า “ศรีราชา” สามารถนำมาจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าได้ ย้ำถือสิทธิเพียงผู้เดียวไม่ได้

กรมทรัพย์ฯ ยันคำว่า “ศรีราชา” สามารถนำมาจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าได้ ย้ำถือสิทธิเพียงผู้เดียวไม่ได้

กรมทรัพย์สินทางปัญญาชี้แจงกรณีเกิดความสับสน “เครื่องหมายการค้าซอสพริกศรีราชา” ยันคำว่า “ศรีราชา” สามารถนำมาจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าได้ แต่ถือสิทธิเพียงผู้เดียวไม่ได้ คนอื่นสามารถนำไปใช้ได้ ในไทยมีการนำคำนี้มาจดเครื่องหมายการค้าถึง 16 ราย ระบุเหมือนการนำคำว่าบางกอก สมุย ภูเก็ต หรือปักกิ่ง โตเกียว มาใช้ประกอบการจดเครื่องหมายการค้า ก็สามารถทำได้ แต่ถือสิทธิ์คนเดียวไม่ได้

นายทศพล ทังสุบุตร อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา เปิดเผยถึงกรณีมีคลิปเผยแพร่ในสื่อสังคมออนไลน์เกี่ยวกับซอสพริกศรีราชาของไทยและที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ จนทำให้เกิดความสับสนเกี่ยวกับการใช้ชื่อศรีราชา ว่า คำว่า “ศรีราชา” เป็นชื่ออำเภอในจังหวัดชลบุรี ซึ่งเป็นชื่อทางภูมิศาสตร์ ผู้ประกอบการสามารถใช้คำดังกล่าวมาเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องหมายการค้าได้ เช่น มีภาพ ชื่อ หรือข้อความประกอบกับคำว่าศรีราชา แต่ตามกฎหมายเครื่องหมายการค้าของไทยและต่างประเทศ ไม่สามารถรับจดทะเบียนคำว่าศรีราชา และถือสิทธิ์แต่เพียงผู้เดียวได้

ส่วนคำว่า Sriraja หรือ Sriracha ที่เป็นที่รู้จักทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยเฉพาะในสหรัฐฯ นั้น คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าหมายถึงซอสพริกหรือซอสที่มีรสเผ็ด และในสหรัฐฯ มีผู้ประกอบการผลิตซอสพริกนำคำว่า “Sriracha” พร้อมภาพโลโก้รูปไก่ไปจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้า ซึ่งเครื่องหมายการค้านั้นได้รับความคุ้มครองเพียงโลโก้รูปไก่เท่านั้น ไม่สามารถถือสิทธิ์ใช้คำว่า “Sriracha” แต่เพียงผู้เดียวได้ ผู้ประกอบการรายอื่น ก็สามารถใช้คำๆ นี้ในการขอจดเครื่องหมายการค้าได้ ซึ่งในไทยเอง ก็มีผู้ประกอบการนำคำว่าศรีราชามายื่นจดเครื่องหมายการค้ามากถึง 16 ราย

“ในไทยเอง ก็มีผู้ประกอบการนำคำว่า “ศรีราชา” ไปใช้กับซอสพริกที่ตนเองผลิตหลากหลายยี่ห้อ และขายในราคาที่แตกต่างกัน เช่นเดียวกับในสหรัฐฯ และประเทศอื่นๆ ที่มีผู้ประกอบการนำคำว่า Sriracha ที่ปัจจุบันคนส่วนใหญ่เข้าใจว่าเป็นชื่อสามัญ และมีความหมายว่าชื่อนี้หมายถึงอะไรที่มีรสจัด รสเผ็ด และได้มีการนำไปใช้กับผลิตภัณฑ์หลากหลายประเภท เช่น ซอสปรุงรส ขนมขบเคี้ยว และบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เป็นต้น จึงแสดงให้เห็นว่าไม่มีผู้ใดเป็นเจ้าของคำว่าศรีราชาและใช้ชื่อนี้แต่เพียงผู้เดียวได้”

ทั้งนี้ ยกตัวอย่างเช่น ในไทยมีผู้ประกอบการนำคำว่า Bangkok , ภูเก็ต และสมุย เป็นต้น ซึ่งเป็นชื่อเมือง ชื่อทางภูมิศาสตร์ มายื่นจดเครื่องหมายการค้ากันเป็นจำนวนมาก และได้รับอนุญาตให้จดได้ แต่จะไม่สามารถถือสิทธิ์คำที่มายื่นจดแต่เพียงผู้เดียวได้ และยังมีการนำชื่อเมืองของประเทศต่างๆ มาจดอีก เช่น ปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ โตเกียว เป็นต้น แต่ผู้จดก็ไม่สามารถถือสิทธิ์คำที่มาจดคนเดียวได้ และในทางกลับกัน ชื่อที่เป็นของไทย เช่น ชื่อเมือง ชื่อทางภูมิศาสตร์ ก็อาจจะมีคนจากประเทศอื่นนำไปยื่นประกอบการจดเครื่องหมายการค้า แต่เขาก็ไม่สามารถถือสิทธิ์คำที่นำไปยื่นจดคนเดียวได้เช่นเดียวกัน

อ้างอิง https://www.prachachat.net/economy/news-354151

วิเคราะห์และแสดงความเห็น !!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!! 

พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พุทธศักราช ๒๔๗๔

มาตรา ๔ ท่านว่าสั่งอันกล่าวต่อไปนี้เป็นสารสำคัญต้องมีสิ่งหนึ่งเป็นอย่างน้อยอยู่ในเครื่องหมายการค้าอันพึงรับจด
ทะเบียนได้
(๑) ชื่อบริษัท ชื่อเอกชนหรือชื่อห้าง แสดงโดยลักษณะพิเศษหรือฉะเพาะ
(๒) ลายมือชื่อของผู้ขอจดทะเบียน หรือของผู้อยู่ในตำเเหน่งของผู้นั้นมาก่อนในกิจการค้าขายนั้น
(๓) คำที่ประดิษฐ์ขึ้นคำหนึ่งหรือหลายคำ
(๔) คำเดียวหรือหลายคำอันไม่ได้เล็งถึงลักษณะหรือ คุณสมบัติแห่งสินสำค้าโดยตรง และตามความหมายอันเข้าใจ ก้นโดยธรรมดา ไม่เป็นชื่อในภูมิศาสตร์หรือนามสกุล

ตามกฎหมายดังกล่าวชื่อภูมิศาสตร์ไม่สามารถจดทะเบียนได้ หมายความว่า ไม่ควรมีบุคคลใดบุคคลหนึ่งผูกขาดการใช้คำว่า ศรีราชา ได้ เนื่องจาก  ศรีราชา เป็นชื่อทางภูมิศาสตร์ คือ “ศรีราชา” เป็นชื่ออำเภอในจังหวัดชลบุรี

ดังนั้น ผู้ประกอบการสามารถนำคำว่า “ศรีราชา” ไปใช้กับซอสพริกที่ตนเองผลิตเองได้ แต่ประเด็นคือต้องสุจริต คือการใช้นั้นต้องไม่ทำให้เกิดความสับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของเพราะจะถือว่า เป็นเครื่องหมายที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือ รัฐประศาสโนบาย

เครื่องหมายการค้า

การพิจารณารับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตาม พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พุทธศักราช ๒๔๗๔ มีความเข้มข้นน้อย เนื่องจากปริมาณการขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ามีไม่มาก ดังนั้น

หากพิจารณาตาม พระราชบัญญัติ เครื่องหมายการค้า พ.ศ. ๒๕๓๔  ในปัจจุบันเครื่องหมายการค้า

แต่เนื่องจาก

ซึ่งชื่อเต็มคือ

และการใช้และเรียกคำว่า ซอสศรีราชา  มานานถือว่ากลายเป็นคำสามัญโดยอัตโนมัติ (เช่นคำว่า แฟ๊บ กลายเป็นคำสามัญที่สื่อถึงสินค้าประเภทนั้น) ศรีราชา  เป็นคำสามัญที่สื่อถึงซอสพริกหรือซอสที่มีรสเผ็ด เป็นต้น

กล่าวโดยสรุปคือ

1.ศรีราชาเป็นชื่อภูมิศาสตร์ไม่สามารถจดทะเบียนได้ หมายความว่า ไม่ควรมีบุคคลใดบุคคลหนึ่งผูกขาดการใช้คำว่า ศรีราชา ได้ เนื่องจาก  ศรีราชา เป็นชื่ออำเภอในจังหวัดชลบุรี

2. ผู้ประกอบการสามารถนำคำว่า “ศรีราชา” ไปใช้กับซอสพริกที่ตนเองผลิตเองได้ แต่ประเด็นคือต้องสุจริต คือการใช้นั้นต้องไม่ทำให้เกิดความสับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของเพราะจะถือว่าเป็นเครื่องหมายที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือ รัฐประศาสโนบาย

3. ชื่อเต็มที่จดทะเบียนไว้คือ

4.การใช้และเรียกคำว่า ซอสศรีราชา  มานานถือว่ากลายเป็นคำสามัญโดยอัตโนมัติ (เช่นคำว่า แฟ๊บ กลายเป็นคำสามัญที่สื่อถึงสินค้าประเภทนั้น) โดยศรีราชา เป็นคำสามัญที่สื่อถึงซอสพริกหรือซอสที่มีรสเผ็ด เป็นต้น

 

แอดไลน์