หากเราได้คิดค้นอะไรขึ้นมาได้ ที่เป็นไอเดีย ความคิด และ เราได้ทำให้ไอเดีย ความคิดนั้นกลายมาเป็น งานประดิษฐ์ สูตรส่วนผสม หรือกรรมวิธีการผลิต การจดสิทธิบัตร เป็นสิ่งเดียวที่จะให้สิ่งเหล่านั้นได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายและปกป้องจากการทำซ้ำ
แต่การจดสิทธิบัตรด้วยตัวเองนั้นเป็นเรื่องที่มึความซับซ้อนมาก แต่บทความนี้จะทำให้ท่านสามารถยื่นจดทะเบียนได้ด้วยตนเอง
สิทธิบัตร คือ ทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งคุ้มครองงานประดิษฐ์ ฟังชั่นการทำงาน กลไกของเครื่องจักร อุปกรณ์การทำงาน สูตรและกรรมวิธีการผลิต โดยให้สิทธิในการ ผลิต ใช้ ขาย มีไว้เพื่อขาย ภายในระยะเวลาที่กำหนดให้
การตัดสินใจเลือกรูปแบบการขอรับความคุ้มครอง
1. สิ่งที่คิดค้นขึ้นมานั้นมีการเคลื่อนไหวหรือไม่ และ การเคลื่อนไหวนั้นเป็นประโยชน์ และ แก้ปัญหาได้ ก็สามารถสรุปได้ทันที่ว่าเป็นการประดิษฐ์ซึ่งควรที่จะยื่นขอรับความคุ้มครองสิทธิบัตรการประดิษฐ์ อนุสิทธิบัตรการประดิษฐ์
แต่ถ้าสิ่งนั้นเป็นการคิดค้นขึ้นมาและไม่มีการเคลื่อนไหว คือ อยู่นิ่งๆ แสดว่าสิ่งนั้นเกี่ยวกับรูปร่าง ลักษณะ หรือลวดลาย เพื่อให้เกิดความสวยงาม สามารถสรุปได้ว่าเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ซึ่งควรที่จะยื่นขอรับความคุ้มครองสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์
ในกรณีที่เป็นการประดิษฐ์ที่มีการเคลื่อนไหว ก็ต้องพิจารณาว่าจะขอรับความคุ้มครอง สิทธิบัตรการประดิษฐ์ หรือ อนุสิทธิบัตร โดยพิจารณา ดังนี้
สิทธิบัตรการประดิษฐ์ สิ่งประดิษฐ์นั้นมีเทคนิคที่ซับซ้อน และ มีขั้นประดิษฐ์ที่สูงขึั้น
อนุสิทธิบัตรการประดิษฐ์ เป็นสิ่งประดิษฐ์นั้นมีเทคนิคที่ไม่ซับซ้อน และ มีขั้นประดิษฐ์ธรรมดา
แต่สิทธิบัตรการประดิษฐ์ อนุสิทธิบัตรการประดิษฐ์ สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ จะต้องสามารถประยุกต์ใช้ในทางอุตสาหกรรมได้
2. องค์ประกอบอื่นๆ เช่น ค่าธรรมเนียม อายุการคุ้มครอง ระยะเวลาขั้นตอนการจดทะเบียน เป็นต้น ถือเป็นส่วนสำคัญในการนำมาพิจารณาว่าจะเลือกว่าจะยื่นคำขอแบบใด
วันนี้ TGC Thailand เลยอยากจะมาแชร์ข้อมูลว่า เทคนิคโดยละเอียด
เอกสารสำหรับ การจดสิทธิบัตร อนุสิทธิบัตร และสิทธิบัตรออกแบบผลิตภัณฑ์
1.กรณีเจ้าของสิทธิ์กับผู้ประดิษฐ์เป็นคนเดียวกัน
- ร่างคำขอ หมายถึง จะต้องประกอบด้วยหัวข้อที่กฎหมายกำหนด และ จะมีลักษณะแบบเดียวกันทั่วโลก ที่ประกอบด้วย รายละเอียดการประดิษฐ์ ชื่อที่แสดงถึงการประดิษฐ์ สาขาวิทยาการที่เกี่ยวข้องกับการประดิษฐ์ ภูมิหลังของศิลปะหรือวิทยาการที่เกี่ยวข้อง ลักษณะและความมุ่งหมายของการประดิษฐ์ การเปิดเผยการประดิษฐ์โดยสมบูรณ์ คำอธิบายรูปเขียนโดยย่อ วิธีการในการประดิษฐ์ที่ดีที่สุด ข้อถือสิทธิ บทสรุปการประดิษฐ์
- แบบพิมพ์คำขอ คือแบบฟอร์มสำหรับขอรับสิทธิบัตร โดยต้องระบุรายละเอียดประเภทของสิทธิบัตร รายชื่อผู้ขอรับสิทธิบัตร รายชื่อผู้ประดิษฐ์ ที่อยู่ เป็นต้น
- คำรับรองเกี่ยวกับสิทธิ คือแบบฟอร์มสำหรับรับรองว่าเราเป็นผู้ประดิษฐ์งานนี้ขึ้นมาเอง หรือ บุคคลใดเป็นผู้ประดิษฐ์ก็ต้องลงนามในเอกสารนี้ด้วย
- สำเนาบัตรประชาชนผู้ขอจดทะเบียน และ ผู้ประดิษฐ์
- กรณี ผู้ขอจดทะเบียน และ ผู้ประดิษฐ์ ไม่ใช่คนเดียวกัน ต้องให้ ผู้ประดิษฐ์ โอนสิทธิในการขอจดทะเบียนให้กับ ผู้ขอจดทะเบียน ด้วย
2.กรณีเจ้าของสิทธิ์เป็นนิติบุคคล
- ร่างคำขอ หมายถึง จะต้องประกอบด้วยหัวข้อที่กฎหมายกำหนด และ จะมีลักษณะแบบเดียวกันทั่วโลก ที่ประกอบด้วย รายละเอียดการประดิษฐ์ ชื่อที่แสดงถึงการประดิษฐ์ สาขาวิทยาการที่เกี่ยวข้องกับการประดิษฐ์ ภูมิหลังของศิลปะหรือวิทยาการที่เกี่ยวข้อง ลักษณะและความมุ่งหมายของการประดิษฐ์ การเปิดเผยการประดิษฐ์โดยสมบูรณ์ คำอธิบายรูปเขียนโดยย่อ วิธีการในการประดิษฐ์ที่ดีที่สุด ข้อถือสิทธิ บทสรุปการประดิษฐ์
- แบบพิมพ์คำขอ คือแบบฟอร์มสำหรับขอรับสิทธิบัตร โดยต้องระบุรายละเอียดประเภทของสิทธิบัตร รายชื่อผู้ขอรับสิทธิบัตร รายชื่อผู้ประดิษฐ์ ที่อยู่ เป็นต้น
- หนังสือสัญญาโอนสิทธิการประดิษฐ์ คือ สัญญาที่ระบุรายละเอียดการโอนสิทธิงานประดิษฐ์จากผู้ประดิษฐ์ให้กับบริษัท เนื่องจากบริษัทไม่มีตัวตนเพราะเป็นบุคคลที่สมมุติขึ้น ต้องมีผู้ประดิษฐ์ในการคิดค้นงาน
- สำเนาบัตรประชาชนผู้ประดิษฐ์ ผู้ออกแบบ
- สำเนาบัตรประชาชนกรรมการบริษัทฯ
- หนังสือรับรองบริษัทฯ
ขั้นตอนการยื่นจดทะเบียน
- เตรียมร่างคำขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์
- เตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้อง เช่น แบบพิมพ์คำขอ คำรับรองเกี่ยวกับสิทธิ(ถ้ามี) สำเนาบัตรประชาชน เป็นต้น
- ยื่นคำขอรับสิทธิบัตร ได้ที่ ชั้น 3 กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ ถนนสนามบินน้ำ จังหวัดนนทบุรี หรือ ยื่นจดทะเบียนทางออนไลน์
- ชำระค่าธรรมเนียมการยื่นจดทะเบียน สิทธิบัตรการประดิษฐ์ 500 บาท อนุสิทธิบัตรการประดิษฐ์ 250 บาท
- หลังจากนั้นรอให้ผู้ตรวจสอบส่งเอกสารคำสั่งมาให้ เช่น แก้ไข อนุมัติ ส่งเอกสารเพิ่มเติม เป็นต้น
ตัวอย่างการกรอกเอกสาร
1.ร่างคำขอ
1.1 ร่างคำขอสำหรับ การจดสิทธิบัตร จดอนุสิทธิบัตร
- ชื่อที่แสดงถึงการประดิษฐ์ เป็นชื่องานประดิษฐ์ ซึ่งต้องเป็นชื่อที่เป็นมาตรฐาน และ ชื่อที่เป็นการอวดอ้างสรรพคุณจะระบุไม่ได้ เช่น เสื้อวิเศษ อันนี้ไม่ได้ แนะนำให้ตั้งชื่อให้กระชับ และ ได้ใจความ เพื่อให้สามารถค้นหาได้ง่าย เช่น เสื้อที่มีผ้าสามชั้นป้องกันความชื้นและแห้งเร็ว เป็นต้น
- สาขาวิทยาการที่เกี่ยวข้องกับการประดิษฐ์ จะมีรูปแบบเฉพาะ เช่น งานเราเป็นประเภทไหน ให้เอาคำนั้นเป็นคำนำ วิศวกรรม ให้เขียนว่า “วิศวกรรมในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ “ชื่อการประดิษฐ์” ” แต่ถ้าเป็นงานคอมพิวเตอร์ ให้เขียนว่า “คอมพิวเตอร์ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ “ชื่อการประดิษฐ์” ” เช่น วิศวกรรมที่เกี่ยวข้องกับเสื้อที่มีผ้าสามชั้นป้องกันความชื้นและแห้งเร็ว เป็นต้น
- ภูมิหลังของศิลปะหรือวิทยาการที่เกี่ยวข้อง สำหรับหัวข้อนี้เป็นการอธิบายงานประดิษฐ์ที่มีอยู่ก่อนหน้า โดยอธิบายงานก่อนหน้าว่ามีข้อเสียอย่างไรและงานประดิษฐ์ของเราได้ไปแก้ปัญหาหรือทำให้ดีขึ้นอย่างไร และ แนะนำให้อ้างตามการประดิษฐ์แบบดิมจากที่เคยยยื่นจดสิทธิบัตรไว้ในฐานข้อมูล โดยสามารถสืบค้นได้ในฐานข้อมูลสิทธิบัตรกรมทรัพย์สินทางปัญญา
- ลักษณะและความมุ่งหมายของการประดิษฐ์ เป็นการบอกรายละเอียดโดยย่อ ของงานประดิษฐ์และประโยชน์ใช้สอย โดยการเขียนให้มีความยาวครึ่งหน้ากระดาษ แบ่งเป็น 2 ย่อหน้า ย่อหน้าแรกให้บรรยายลักษณะของการประดิษฐ์และย่อหน้าสองให้บรรยาย ความมุ่งหมายของการประดิษฐ์
- การเปิดเผยการประดิษฐ์โดยสมบูรณ์ โดยเป็นการบรรยายลักษณะของงานประดิษฐ์ให้ละเอียดมากที่สุด แสดงถึงส่วนประกอบต่างๆ ว่าประกอบด้วยอะไรบ้าง แต่ละส่วนมีหน้าที่อย่างไร มีการทำงานอย่างไร โดยการอธิบายต้องอ้างอิงรูปเขียนด้วย และให้ใส่ตัวเลขที่ชี้ไปยังส่วนประกอบนั้นๆ ที่เราเขียนไว้ในรูปเขียน เช่น ฝาปิด (1) ในรูปต้องมีการชี้เลข (1) ด้วย
- คำอธิบายรูปเขียนโดยย่อ เป็นชื่อของรูปเขียน ที่เรามี เช่น ถ้าเรามี 3 รูป เราก็มี 3 บรรทัด โดยเริ่มจากบรรทัดที่ 1 เขียนว่า รูปที่ 1 แสดง “ชื่อรูป”
- วิธีการในการประดิษฐ์ที่ดีที่สุด ให้เขียนว่า เหมือนที่ได้กล่าวไว้แล้วในหัวข้อการเปิดเผยการประดิษฐ์โดยสมบูรณ์
ข้อถือสิทธิหลัก
ข้อนี้สำคัญที่สุดเพราะเป็นข้อที่จะนำไปบังคับใช้และฟ้องร้อง โดยจะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ รายละเอียดทั่วไป และ สิ่งที่มีลักษณะพิเศษที่ต้องการขอรับความคุ้มครอง และ ส่วนที่ขอรับความคุ้มครองต้องมีความใหม่จากงานประดิษฐ์ก่อนหน้า
โดยส่วนที่ขอรับความคุ้มครองต้องอยู่หลังคำว่า “ลักษณะพิเศษคือ” ดังตัวอย่าง
ข้อถือสิทธิรอง
ข้อถือสิทธิรองอาจมีมากกว่า 1 ข้อ อนุสิทธิบัตรระบุได้สูงสุด 10 ข้อ สิทธิบัตรระบุได้มากกว่า 10 ข้อ
บทสรุปการประดิษฐ์
เป็นการกล่าวถึงบทสรุปการประดิษฐ์ให้เข้าใจและเห็นภาพของตัวงานได้ ควรมีข้อความ 1 ส่วน 3 ของหน้ากระดาษ ตัวอย่างเช่น
รูปเขียน
การจดสิทธิบัตร กฎหมายบังคับให้ใช้รูปเขียน ที่เป็นลายเส้นขาว ดำ เส้นเท่ากัน ไม่มีแรงเงา ซึ่งต้องแสดงภาพให้เข้าใจรายละเอียดของงาน
การจดสิทธิบัตรการออกแบบ กฎหมายบังคับให้ใช้รูปเขียน หรือ รูปถ่ายได้ ประกอบด้วย 7 รูป คือด้าน บน ล่าง ซ้าย ขวา หน้าตรง หลังตรง และมุมมอง perspective (เห็น 3 ด้าน บน หน้า ซ้ายหรือขวา) ดังแสดงตามตัวอย่างด้านล่างนี้
ข้อกำหนดแบบร่างคำขอ
- ใช้กระดาษสีขาวเรียบไม่มีเส้น ขนาด A4 โดยใช้หน้าเดียว ตามแนวตั้ง เว้นแต่รูปเขียนอาจใช้แนวนอนได้
- ระบุหมายเลขหน้า และจำนวนหน้าทั้งหมดไว้กลางหน้ากระดาษด้านบนของทุกหน้า ตามลำดับ
- มีหมายเลขกำกับไว้ด้านซ้าย ทุกๆ 5 บรรทัดตามลำดับข้อความในรายละเอียด การประดิษฐ์ ข้อถือสิทธิ และบทสรุปการประดิษฐ์
- ใช้หน่วยการวัดปริมาณ ตามหลักสากล
- ใช้ศัพท์เฉพาะ เครื่องหมาย และสัญลักษณ์ที่ใช้กันทั่วไปในศิลปะหรือวิทยาการนั้นๆ
- ไม่ขูดลบ เปลี่ยนแปลง หรือมีคำหรือข้อความใดๆ ระหว่างบรรทัด
2.แบบพิมพ์คำขอ
กรอกรายละเอียดตามข้อ 1 2 3 4 5 6 ตามความจริง
ข้อ 7 ส่วนใหญ่จะปล่อยว่าง ข้อ 7 คือ เช่น ยื่นสิทธิบัตรฉบับเดียวกันพร้อมกัน 2 เรื่อง นายทะเบียนสั่งให้แยกจาก 1 เรื่องเป็น 2 เรื่อง
ข้อ 8 เป็นเรื่อง คำขอที่ถูกยื่นมากจากต่างประเทศ และ นำคำขอนั้นมายื่นในประเทศไทย
ข้อ 9 เป็นเรื่องสิทธิบัตรที่เปิดเผยโดยได้ออกงานแสดงของรัฐ
ข้อ 10 ส่วนใหญ่จะปล่อยว่าง ถ้าไม่เกี่ยวกับจุลชีพ
ข้อ 11 ข้อผ่อนผันส่งเอกสารภาษาไทย
ข้อ 12 ส่วนใหญ่ปล่อยว่างไว้
ข้อ 13 กรอกจำนวนหน้าเอกสารตามจริง
ข้อ 14 ติ๊กจำนวนเอกสารตามจริง
ข้อ 15 ส่วนใหญ่จะติ๊กว่าไม่เคยยื่นมาก่อน
3.คำรับรองเกี่ยวกับสิทธิ (กรณีเจ้าของสิทธิ์กับผู้ประดิษฐ์เป็นคนเดียวกัน)
(ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม สป/สผ/อสป/001-ก(พ))
กรอกข้อความตามจริง ถ้ามีผู้ประดิษฐ์มากกว่า 3 คนก็ใช้เอกสาร 2 แผ่นได้
4.หนังสือโอนสิทธิ์ (กรณีเจ้าของสิทธิเป็นนิติบุคคล)
ตัวอย่าง
เขียนที่
วันที่
สัญญาระหว่างผู้โอนคือ ที่อยู่
ผู้รับโอนคือ ที่อยู่
โดยสัญญานี้ ผู้โอนซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์ ….. ชื่องาน
ขอโอนสิทธิในการประดิษฐ์ดังกล่าว ซึ่งรวมถึงสิทธิขอรับสิทธิบัตรและสิทธิอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องให้แก่ผู้รับโอน โดยผู้รับโอนได้จ่ายค่าตอบแทนที่เหมาะสมให้แก่ผู้โอน
เพื่อเป็นพยานหลักฐานแห่งการนี้ ผู้โอนและผู้รับโอนได้ลงลายมือชื่อไว้ข้างล่างนี้
ลายมือชื่อผู้โอน (ผู้ประดิษฐ์)______________________________
ลายมือชื่อผู้รับโอน (ผู้ขอรับสิทธิบัตร)_________________________________________
ลายมือชื่อพยาน______________________________
ลายมือชื่อพยาน______________________________
เพิ่มเติม
- ขั้นตอนการจดทะเบียนสิทธิบัตร กรมทรัพย์สินทางปัญญา
สรุป
จดสิทธิบัตร ด้วยตัวเองไม่ยากเลย เพียงแค่เราเตรียมเอกสารให้ถูกต้องและศึกษาวิธีการเขียนสิทธิบัตรให้เป็นไปตามกฎหมาย
ทั้งนี้หากใครมีความสงสัยเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ เครื่องหมายการค้า หรือทรัพย์สินทางปัญญาอื่นๆ หรือต้องการขอคำปรึกษาเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา สามารถติดต่อสอบถามเข้ามาได้ ทั้งทางช่องทางไลน์และโทรศัพท์กับเรา TGC Thailand ได้ ซึ่งเป็นช่องทางที่ทั้งง่ายและสะดวก