บทความนี้เราจะพามาทำความรู้จักเกี่ยวกับกฎหมายสิทธิบัตร โดยก่อนอื่นต้องมาทำความรู้จักกับสิทธิบัตรกันก่อน สิทธิบัตรหมายถึง หนังสือสำคัญที่คุ้มครองการออกแบบหรือประดิษฐ์ผลิตภัณฑ์ ซึ่งการประดิษฐ์นั้นครอบคลุมถึงการคิดค้นหรือทำขึ้นผ่านกรรมวิธีต่าง ๆ โดยการประดิษฐ์ที่สามารถขอรับสิทธิบัตรได้คือต้องเป็นสิ่งที่ประดิษฐ์ขึ้นใหม่ที่ยังไม่มีการใช้อย่างแพร่หลายหรือการตีพิมพ์ การประดิษฐ์ที่มีขั้นสูงขึ้น ซึ่งหมายถึงการประดิษฐ์ที่ไม่ประจักษ์โดยง่ายในความชำนาญระดับสามัญ หรือเป็นการประดิษฐ์ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรม หัตถกรรม เกษตรกรรม หรือพาณิชยกรรมได้
ใครคือผู้ที่มีสิทธิในการขอรับสิทธิบัตร?
ผู้ที่มีสิทธิในการขอรับสิทธิบัตรคือผู้ประดิษฐ์ อย่างไรก็ตามสามารถ่ายโอนหรือมอบเป็นมรดกได้ หากลูกจ้างเป็นผู้ประดิษฐ์ผ่านสัญญาจ้าง สิทธิ์จะตกเป็นของนายจ้าง เว้นแต่ว่าในสัญญามีการตกลงไว้เป็นอย่างอื่น โดยถ้านายจ้างนำการประดิษฐ์นั้นไปใช้ ลูกจ้างก็มีสิทธิที่จะได้รับค่าตอบแทนพิเศษที่นอกเหนือไปจากค่าจ้างปกติ โดยค่าตอบแทนพิเศษนั้นต้องยื่นเรื่องต่ออธิบดีตามหลักเกณฑ์ นอกไปจากนั้นผู้ที่มีสิทธิในการขอรับสิทธิบัตรจะต้องมีคุณสมบัติเพิ่มเติมดังต่อไปนี้
- เป็นบุคคลสัญชาติไทย หรือเป็นนิติบุคคลที่มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในประเทศไทย
- มีสัญชาติของประเทศที่เป็นภาคีแห่งอนุสัญญาเกี่ยวกับการคุมครองสิทธิบัตร
- มีสัญชาติของประเทศที่ยินยอมให้บุคคลสัญชาติไทย หรือสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในประเทศไทย ให้ดำเนินการขอรับสิทธิบัตรในประเทศนั้นได้
- มีภูมิลําเนาหรืออยู่ในระหว่างการประกอบพาณิชยกรรมจริงในประเทศไทย
หมายเหตุ:
- ผู้ขอรับสิทธิบัตรสามารถมีได้มากกว่าหนึ่งคน กรณีที่ทำการประดิษฐ์ร่วมกัน
- หากมีการจดทะเบียนสิทธิบัตรในสิ่งเดียวกัน จะพิจารณาคนที่ทำเรื่องจดสิทธิบัตรก่อน
- การจดสิทธิบัตรต้องทำสำหรับสิ่งประดิษฐ์เพียงอย่างเดียวในฉบับคำขอเดียวกันเท่านั้น
การประดิษฐ์ที่ไม่ได้รับการคุ้มครองสิทธิบัตร
การประดิษฐ์ที่ไม่ได้รับการคุ้มครองในพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 ได้แก่
- จุลชีพตามธรรมชาติ เช่น สัตว์หรือพืช
- ทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
- ระบบการทำงานคอมพิวเตอร์
- การประดิษฐ์ที่ขัดต่อศีลธรรมหรืออนามัย
ข้อมูลและเอกสารที่ต้องใช้ในการขอจดสิทธิบัตร
- ชื่อสิ่งประดิษฐ์
- ลักษณะและจุดมุ่งหมายในการประดิษฐ์
- รายละเอียดการประดิษฐ์อย่างละเอียด
- ข้อถือสิทธิ์โดยชัดแจ้ง
- รายการอื่น ๆ เพิ่มเติมตามข้อกำหนดของกระทรวง
สิทธิบัตรการประดิษฐ์จะมีอายุ 20 ปี นับแต่วันที่มีการขอรับสิทธิบัตร โดยผู้ทรงสิทธิบัตรจะมีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในการผลิต ใช้ ขาย หรือนำเข้าผลิตภัณฑ์หรือกรรมวิธี โดยจะต้องชำระค่าธรรมเนียมรายปีตั้งแต่ปีที่ 5 และต้องชำระภายในระยะเวลา 60 วัน หากไม่ดำเนินการตามนี้จะต้องเสียค่าธรรมเนียมเพิ่มร้อยละ 30 ภายในระยะเวลา 120 วันหลังจากที่ครบกำหนด 60 วันแรก ซึ่งหากยังไม่ดำเนินการอีกก็จะต้องถูกเพิกถอนสิทธิบัตรในที่สุด
สำหรับผู้ประกอบการหรือบุคคลธรรมดาที่กำลังศึกษาเกี่ยวกับการจดสิทธิบัตร สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสิทธิบัตรฉบับเต็ม สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่ ส่วนสำหรับผู้อ่านที่ต้องการจดสิทธิบัตร สามารถให้ TGC Thailand ช่วยดำเนินการได้ ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่เลย
ข้อมูลศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับกฎหมายสิทธิบัตร
- พระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522
- หมวด 1 บททั่วไป
- หมวด 2 สิทธิบัตรการประดิษฐ์
- หมวด 2 สิทธิบัตรการประดิษฐ์ – ส่วนที่ 1 การขอรับสิทธิบัตร
- หมวด 2 สิทธิบัตรการประดิษฐ์ – ส่วนที่ 2 การออกสิทธิ
- หมวด 2 สิทธิบัตรการประดิษฐ์ – ส่วนที่ 3 สิทธิของผู้ทรงสิทธิบัตร
- หมวด 2 สิทธิบัตรการประดิษฐ์ – ส่วนที่ 4 การชำระค่าธรรมเนียมรายปี
- หมวด 2 สิทธิบัตรการประดิษฐ์ – ส่วนที่ 5 การใช้สิทธิตามสิทธิบัตร
- หมวด 3 สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์
- หมวด 3 ทวิ อนุสิทธิบัตร
- หมวด 4 คณะกรรมการสิทธิบัตร
- หมวด 5 เบ็ดเตล็ด
- หมวด 6 ความผิดและกำหนดโทษ
- บัญชีอัตราค่าธรรมเนียม