29
Aug2023

Key Takeaways

  • การจดสิทธิบัตร มีเป้าหมายในการคุ้มครองงานประดิษฐ์ รวมถึงงานออกแบบ ที่ถูกคิดค้นขึ้นมาใหม่ เพื่อคุ้มครองประโยชน์ในด้านการทำผลกำไรและการทำธุรกิจ โดยชิ้นงานที่สามารถนำมาจดสิทธิบัตร จะต้องเป็นสิ่งประดิษฐ์และงานออกแบบทางอุตสาหกรรมเท่านั้น
  • สิทธิบัตร นั้นมีหลายแบบด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น สิทธิบัตรการประดิษฐ์, สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ และอนุสิทธิบัตร ซึ่งสิทธิบัตรแต่ละประเภท จะให้ความคุ้มครองที่แตกต่างกันและมีขั้นตอนการจดสิทธิบัตรที่ไม่เหมือนกันอีกด้วย

 

ใครกำลังมีโปรเจกต์จะคิดค้น ประดิษฐ์ หรือออกแบบ สิ่งใดอยู่ก็ตาม ควรหาความรู้เรื่องการจดสิทธิบัตรเอาไว้เลย เพราะถือเป็นสิ่งสำคัญมาก ๆ สำหรับผู้ประดิษฐ์และผู้ออกแบบ เนื่องจากสิทธิบัตรจะเป็นตัวช่วยที่ใช้คุ้มครองผลงานของเรานั่นเอง วันนี้ TGC Thailand เลยจะมาแชร์ข้อมูลเกี่ยวกับการจดสิทธิบัตรว่าคืออะไร? จะต้องใช้เอกสารหรือมีขั้นตอนการจดสิทธิบัตรยังไงบ้าง

 

 

การจดสิทธิบัตร คืออะไร?

การจดสิทธิบัตร

ภาพ: การจดสิทธิบัตร

 

หลายคนอาจจะยังเข้าใจผิดอยู่ว่า ‘การจดสิทธิบัตร’ เหมือนกับ ‘การจดลิขสิทธิ์’ แต่จริง ๆ แล้ว 2 อย่างนี้มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน เพราะการจดสิทธิบัตรมีเป้าหมายในการคุ้มครองงานประดิษฐ์และงานออกแบบที่ถูกคิดค้นขึ้นมาใหม่ เพื่อคุ้มครองประโยชน์ในด้านการทำผลกำไรและการทำธุรกิจ แต่การจดลิขสิทธิ์จะเน้นคุ้มครองงานสร้างสรรค์ใหม่ที่อาจจะคล้ายกับชิ้นงานอื่น ๆ

โดยชิ้นงานที่สามารถนำมาจดสิทธิบัตรได้จะมีเพียงแค่ สิ่งประดิษฐ์และงานออกแบบทางอุตสาหกรรมเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็น เครื่องจักร กรรมวิธีการผลิต อุปกรณ์ และสูตร รวมถึงงานออกแบบต่าง ๆ อย่างโทรศัพท์หรือบรรจุภัณฑ์ เป็นต้น

 

 

สิทธิบัตร มีทั้งหมดกี่ประเภท?

1. สิทธิบัตรการประดิษฐ์

สิ่งประดิษฐ์

ภาพ: สิ่งประดิษฐ์

 

เป็นการจดสิทธิบัตรสำหรับสิ่งประดิษฐ์ที่สามารถใช้งานได้หรือมีประโยชน์ใช้สอย รวมถึงกระบวนการ กรรมวิธี กลไก องค์ประกอบ และโครงสร้างต่าง ๆ โดยสิทธิบัตรการประดิษฐ์จะมีอายุทั้งสิ้น 20 ปี และจะคุ้มครองเฉพาะในประเทศที่เจ้าของสิ่งประดิษฐ์ยื่นจดเท่านั้น ซึ่งสิ่งประดิษฐ์ที่จะสามารถจดสิทธิบัตรการประดิษฐ์ได้จะต้องเข้าหลักเกณฑ์ตามนี้

  • เป็นสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ที่ไม่เหมือนหรือซ้ำกับสิ่งประดิษฐ์อื่น โดยจะต้องเช็กจากฐานข้อมูลสิทธิบัตรทั้งในและต่างประเทศ และต้องเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่ไม่เคยถูกเผยแพร่สาระสำคัญมาก่อน
  • มีขั้นการประดิษฐ์สูงขึ้น ที่พัฒนาหรือต่อยอดทางเทคนิค เพื่อให้มีความแตกต่างจากสิ่งประดิษฐ์เดิมที่มีอยู่ โดยที่ผู้เชี่ยวชาญคนอื่น ๆ ในวงการนั้นยังไม่รู้หรือยังไม่เข้าใจ
  • ใช้ในอุตสาหกรรมได้ โดยจะต้องเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่มีคุณค่าต่ออุตสาหกรรมในไทย และจะต้องไม่ก่อให้เกิดภัยคุกคามต่อประชากรและประเทศชาติ

 

2. สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์

งานออกแบบ

ภาพ: งานออกแบบ

 

เป็นการจดสิทธิบัตรสำหรับงานออกแบบต่าง ๆ เพื่อคุ้มครองในเรื่องของการดีไซน์ ไม่ว่าจะเป็นสีสัน รูปลักษณ์ หรือลวดลายของผลิตภัณฑ์นั้น ๆ แต่ไม่ได้คุ้มครองในด้านการใช้งานหรือประโยชน์ใช้สอย โดยสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์จะมีอายุทั้งสิ้น 10 ปี และจะคุ้มครองเฉพาะในประเทศที่เจ้าของสิ่งประดิษฐ์ยื่นจดเท่านั้น ซึ่งงานออกแบบที่สามารถจดสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ได้จะต้องเข้าหลักเกณฑ์ตามนี้

  • เป็นงานออกแบบใหม่ ที่ไม่เหมือนหรือซ้ำกับงานออกแบบเดิม โดยจะต้องเช็กจากฐานข้อมูลสิทธิบัตรทั้งในและต่างประเทศ และต้องเป็นงานออกแบบที่ไม่เคยถูกเผยแพร่สาระสำคัญมาก่อน
  • ใช้ในอุตสาหกรรมหรืองานหัตถกรรมได้ โดยจะต้องเป็นงานออกแบบที่ได้รับการยอมรับในอุตสาหกรรมไทย และจะต้องไม่กระทบต่อศาสนา ความเชื่อ และไม่สื่อถึงสิ่งอบายมุขหรือสิ่งที่ลามกอนาจาร

 

3. อนุสิทธิบัตร

สิ่งประดิษฐ์

ภาพ: สิ่งประดิษฐ์

 

เป็นการจดสิทธิบัตรสำหรับสิ่งประดิษฐ์ที่สามารถใช้งานได้หรือมีประโยชน์ใช้สอย รวมถึงกระบวนการ กรรมวิธี กลไก องค์ประกอบ และโครงสร้างต่าง ๆ โดยอนุสิทธิบัตรจะมีอายุทั้งสิ้น 6 ปี แต่สามารถยื่นต่ออายุได้ 2 ครั้ง ครั้งละ 2 ปี หรือทั้งหมดไม่เกิน 10 ปี และจะคุ้มครองเฉพาะในประเทศที่เจ้าของสิ่งประดิษฐ์ยื่นจดเท่านั้น ซึ่งสิ่งประดิษฐ์ที่สามารถจดอนุสิทธิบัตรได้จะต้องเข้าหลักเกณฑ์ตามนี้

  • เป็นสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ที่ไม่เหมือนหรือซ้ำกับสิ่งประดิษฐ์อื่น โดยจะต้องเช็กจากฐานข้อมูลสิทธิบัตรทั้งในและต่างประเทศ และต้องเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่ไม่เคยถูกเผยแพร่สาระสำคัญมาก่อน
  • ใช้ในอุตสาหกรรมได้ โดยจะต้องเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่มีคุณค่าต่ออุตสาหกรรมในไทย และจะต้องไม่ก่อให้เกิดภัยคุกคามต่อประชากรและประเทศชาติ

 

 

ขั้นตอนการจดสิทธิบัตรแบบต่าง ๆ

ขั้นตอนการจดสิทธิบัตรการประดิษฐ์

การจดสิทธิบัตร

ภาพ: การจดสิทธิบัตร

  1. ยื่นเอกสารเพื่อขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ พร้อมชำระค่าธรรมเนียม 500 บาท โดยเอกสารที่ต้องใช้มีดังนี้
  • แบบฟอร์มคำขอรับสิทธิบัตร (แบบ สป/สผ/อสป/001-ก)
  • รายละเอียดของงานประดิษฐ์ โดยจะต้องมีดีเทลครบถ้วนตามกฎหมายกำหนด
  • ข้อถือสิทธิ
  • บทสรุปการประดิษฐ์
  • รูปเขียน (ถ้ามี)
  • เอกสารอื่น ๆ (ถ้ามี) ไม่ว่าจะเป็น หนังสือรับรองนิติบุคคล สัญญาการว่าจ้าง หนังสือโอนสิทธิ หรือหนังสือมอบอำนาจ เป็นต้น

2. หลังยื่นคำขอเรียบร้อยแล้ว ในกรณีที่มีอะไรต้องแก้ไข เจ้าหน้าที่จะแจ้งกับคนที่ยื่นคำขอ เพื่อทำการแก้ไขภายใน 90 วัน และจะต้องใช้แบบฟอร์มคำขอแก้ไขเพิ่มเติม (แบบ สป/สผ/อสป/003-ก) พร้อมชำระค่าธรรมเนียมอีกครั้ง

3. เมื่อทุกอย่างเรียบร้อยแล้ว คนยื่นคำขอจะต้องชำระค่าธรรมเนียมสำหรับการประกาศโฆษณาเพิ่มอีก 250 บาท พร้อมจัดส่ง คำขอรับสิทธิบัตรชุดล่าสุด คำแปลข้อถือสิทธิ และบทสรุปการประดิษฐ์ (ภาษาอังกฤษ) ไปด้วยเพิ่มเติม

4. หลังประกาศโฆษณาเรียบร้อยแล้ว เจ้าของสิ่งประดิษฐ์จะต้องยื่นขอให้ตรวจสอบการประดิษฐ์ของตัวเอง พร้อมชำระค่าธรรมเนียมอีก 250 บาท โดยใช้แบบฟอร์มคำขอให้ตรวจสอบการประดิษฐ์ (แบบ สป/อสป/005-ก) ภายในเวลา 5 ปี

5. หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่จะตรวจสอบว่า เคยมีสิ่งประดิษฐ์แบบเดียวกันหรือคล้ายกันหรือไม่ ถ้าไม่ก็จะแจ้งให้เจ้าของสิ่งประดิษฐ์เข้ามาชำระค่าธรรมเนียม 500 บาท และดำเนินการออกสิทธิบัตรต่อไป

 

ขั้นตอนการจดสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์

การจดสิทธิบัตร

ภาพ: การจดสิทธิบัตร

 

  1. ยื่นเอกสารเพื่อขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ พร้อมชำระค่าธรรมเนียม 250 บาท โดยเอกสารที่ต้องใช้มีดังนี้
  • แบบฟอร์มคำขอรับสิทธิบัตร (แบบ สป/สผ/อสป/001-ก)
  • คำพรรณนาแบบผลิตภัณฑ์ (ถ้ามี)
  • ข้อถือสิทธิ
  • รูปเขียน
  • เอกสารอื่น ๆ (ถ้ามี) ไม่ว่าจะเป็น หนังสือรับรองนิติบุคคล สัญญาการว่าจ้าง หนังสือโอนสิทธิ หรือหนังสือมอบอำนาจ เป็นต้น

2. หลังยื่นคำขอเรียบร้อยแล้ว ในกรณีที่มีอะไรต้องแก้ไข เจ้าหน้าที่จะแจ้งกับคนที่ยื่นคำขอ เพื่อทำการแก้ไขภายใน 90 วัน และจะต้องใช้แบบฟอร์มคำขอแก้ไขเพิ่มเติม (แบบ สป/สผ/อสป/003-ก) พร้อมชำระค่าธรรมเนียมอีกครั้ง

3. เมื่อทุกอย่างเรียบร้อยแล้ว คนยื่นคำขอจะต้องชำระค่าธรรมเนียมสำหรับการประกาศโฆษณาเพิ่มอีก 250 บาท พร้อมจัดส่ง คำขอรับสิทธิบัตรชุดล่าสุด ไปด้วยเพิ่มเติม

4. หลังประกาศโฆษณาครบ 90 วันเรียบร้อยแล้ว เจ้าหน้าที่จะตรวจสอบว่า เคยมีแบบผลิตภัณฑ์ที่เหมือนหรือคล้ายกันหรือไม่ ถ้าไม่ก็จะแจ้งให้เจ้าของแบบผลิตภัณฑ์เข้ามาชำระค่าธรรมเนียม 500 บาท และดำเนินการออกสิทธิบัตรต่อไป

 

ขั้นตอนการจดอนุสิทธิบัตร

การจดสิทธิบัตร

ภาพ: การจดสิทธิบัตร

 

  1. ยื่นเอกสารเพื่อขอรับอนุสิทธิบัตร พร้อมชำระค่าธรรมเนียม โดยเอกสารที่ต้องใช้มีดังนี้
  • แบบฟอร์มคำขอรับสิทธิบัตร (แบบ สป/สผ/อสป/001-ก)
  • รายละเอียดของงานประดิษฐ์ โดยจะต้องมีดีเทลครบถ้วนตามกฎหมายกำหนด
  • ข้อถือสิทธิ
  • บทสรุปการประดิษฐ์
  • รูปเขียน (ถ้ามี)
  • เอกสารอื่น ๆ (ถ้ามี) ไม่ว่าจะเป็น หนังสือรับรองนิติบุคคล สัญญาการว่าจ้าง หนังสือโอนสิทธิ หรือหนังสือมอบอำนาจ เป็นต้น

2. หลังยื่นคำขอเรียบร้อยแล้ว ในกรณีที่มีอะไรต้องแก้ไข เจ้าหน้าที่จะแจ้งกับคนที่ยื่นคำขอ เพื่อทำการแก้ไขภายใน 90 วัน และจะต้องใช้แบบฟอร์มคำขอแก้ไขเพิ่มเติม (แบบ สป/สผ/อสป/003-ก) พร้อมชำระค่าธรรมเนียมอีกครั้ง

3. เมื่อทุกอย่างเรียบร้อยแล้ว คนยื่นคำขอจะต้องชำระค่าธรรมเนียมสำหรับการรับจดทะเบียนและออกอนุสิทธิบัตร รวมถึงการประกาศโฆษณาอีก 500 บาท

4. หลังประกาศโฆษณาเรียบร้อยแล้ว บุคคลอื่นที่มีส่วนได้เสียสามารถยื่นขอให้ตรวจสอบการประดิษฐ์ได้ โดยใช้แบบฟอร์มคำขอให้ตรวจสอบการประดิษฐ์ (แบบ สป/อสป/005-ก) ภายในเวลา 1 ปี หลังประกาศโฆษณา

 

 

สถานที่และวิธียื่นขอจดสิทธิบัตร

การขอจดสิทธิบัตร

ภาพ: การขอจดสิทธิบัตร

 

สำหรับเจ้าของสิ่งประดิษฐ์หรืองานออกแบบที่ต้องการจดสิทธิบัตร สามารถยื่นคำขอได้ที่

  • สำนักสิทธิบัตร กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ (ชั้น 3)
  • สำนักงานพาณิชย์ประจำจังหวัดนั้น ๆ

ส่วนวิธีการยื่นขอเพื่อจดสิทธิบัตร สามารถทำได้ 2 วิธีด้วยกัน คือ

  • ยื่นคำขอโดยตรงกับพนักงานเจ้าหน้าที่ พร้อมชำระค่าธรรมเนียม
  • ยื่นคำขอผ่านทางไปรษณีย์ พร้อมชำระค่าธรรมเนียมผ่านทางธนาณัติ โดยสั่งจ่ายในนาม กรมทรัพย์สินทางปัญญา

 

 

 

บริการรับจดสิทธิบัตรและอนุสิทธิบัตร จาก TGC Thailand

 

“ สะดวกสบาย ไม่ยุ่งยาก ”

 

สำหรับผู้ประดิษฐ์หรือผู้ออกแบบคนไหนกำลังต้องการจดสิทธิบัตรหรืออนุสิทธิบัตร แต่ไม่มีเวลาเตรียมเอกสารหรือดำเนินการต่าง ๆ ด้วยตัวเอง สามารถมาใช้บริการกับเรา TGC Thailand ได้

  • เชี่ยวชาญและชำนาญ จึงสามารถดำเนินการทุกขั้นตอนได้อย่างถูกต้อง
  • รวดเร็วและประหยัดเวลา ด้วยประสบการณ์การจดทะเบียนกว่า 20 ปี

 

 

 

ทั้งหมดนี้ คือ ขั้นตอนการจดสิทธิบัตรแบบต่าง ๆ ที่น่าจะทำให้ทุกคนรู้ว่า การจดสิทธิบัตรหรืออนุสิทธิบัตรนั้นต้องทำยังไงและต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง และถ้าเจ้าของสิ่งประดิษฐ์คนไหนไม่มีเวลาแต่ต้องการยื่นคำขอเพื่อจดสิทธิบัตร ก็สามารถมาใช้บริการรับจดสิทธิบัตรและอนุสิทธิบัตรกับเรา TGC Thailand ได้ ซึ่งเป็นช่องทางที่ทั้งง่าย สะดวก แถมยังช่วยประหยัดเวลาได้อีกด้วย

 

TGC Thailand ผู้ให้บริการรับจดสิทธิบัตรและอนุสิทธิบัตร โดยทีมงานผู้เชี่ยวชาญ

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

แอดไลน์ ขั้นตอนการจดสิทธิบัตรต้องทำยังไง? ใช้เอกสารอะไรบ้าง?
29
Aug2023

Key Takeaways

  • การจดสิทธิบัตร มีเป้าหมายในการคุ้มครองงานประดิษฐ์ รวมถึงงานออกแบบ ที่ถูกคิดค้นขึ้นมาใหม่ เพื่อคุ้มครองประโยชน์ในด้านการทำผลกำไรและการทำธุรกิจ โดยชิ้นงานที่สามารถนำมาจดสิทธิบัตร จะต้องเป็นสิ่งประดิษฐ์และงานออกแบบทางอุตสาหกรรมเท่านั้น
  • สิทธิบัตร นั้นมีหลายแบบด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น สิทธิบัตรการประดิษฐ์, สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ และอนุสิทธิบัตร ซึ่งสิทธิบัตรแต่ละประเภท จะให้ความคุ้มครองที่แตกต่างกันและมีขั้นตอนการจดสิทธิบัตรที่ไม่เหมือนกันอีกด้วย

 

ใครกำลังมีโปรเจกต์จะคิดค้น ประดิษฐ์ หรือออกแบบ สิ่งใดอยู่ก็ตาม ควรหาความรู้เรื่องการจดสิทธิบัตรเอาไว้เลย เพราะถือเป็นสิ่งสำคัญมาก ๆ สำหรับผู้ประดิษฐ์และผู้ออกแบบ เนื่องจากสิทธิบัตรจะเป็นตัวช่วยที่ใช้คุ้มครองผลงานของเรานั่นเอง วันนี้ TGC Thailand เลยจะมาแชร์ข้อมูลเกี่ยวกับการจดสิทธิบัตรว่าคืออะไร? จะต้องใช้เอกสารหรือมีขั้นตอนการจดสิทธิบัตรยังไงบ้าง

 

 

การจดสิทธิบัตร คืออะไร?

การจดสิทธิบัตร

ภาพ: การจดสิทธิบัตร

 

หลายคนอาจจะยังเข้าใจผิดอยู่ว่า ‘การจดสิทธิบัตร’ เหมือนกับ ‘การจดลิขสิทธิ์’ แต่จริง ๆ แล้ว 2 อย่างนี้มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน เพราะการจดสิทธิบัตรมีเป้าหมายในการคุ้มครองงานประดิษฐ์และงานออกแบบที่ถูกคิดค้นขึ้นมาใหม่ เพื่อคุ้มครองประโยชน์ในด้านการทำผลกำไรและการทำธุรกิจ แต่การจดลิขสิทธิ์จะเน้นคุ้มครองงานสร้างสรรค์ใหม่ที่อาจจะคล้ายกับชิ้นงานอื่น ๆ

โดยชิ้นงานที่สามารถนำมาจดสิทธิบัตรได้จะมีเพียงแค่ สิ่งประดิษฐ์และงานออกแบบทางอุตสาหกรรมเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็น เครื่องจักร กรรมวิธีการผลิต อุปกรณ์ และสูตร รวมถึงงานออกแบบต่าง ๆ อย่างโทรศัพท์หรือบรรจุภัณฑ์ เป็นต้น

 

 

สิทธิบัตร มีทั้งหมดกี่ประเภท?

1. สิทธิบัตรการประดิษฐ์

สิ่งประดิษฐ์

ภาพ: สิ่งประดิษฐ์

 

เป็นการจดสิทธิบัตรสำหรับสิ่งประดิษฐ์ที่สามารถใช้งานได้หรือมีประโยชน์ใช้สอย รวมถึงกระบวนการ กรรมวิธี กลไก องค์ประกอบ และโครงสร้างต่าง ๆ โดยสิทธิบัตรการประดิษฐ์จะมีอายุทั้งสิ้น 20 ปี และจะคุ้มครองเฉพาะในประเทศที่เจ้าของสิ่งประดิษฐ์ยื่นจดเท่านั้น ซึ่งสิ่งประดิษฐ์ที่จะสามารถจดสิทธิบัตรการประดิษฐ์ได้จะต้องเข้าหลักเกณฑ์ตามนี้

  • เป็นสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ที่ไม่เหมือนหรือซ้ำกับสิ่งประดิษฐ์อื่น โดยจะต้องเช็กจากฐานข้อมูลสิทธิบัตรทั้งในและต่างประเทศ และต้องเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่ไม่เคยถูกเผยแพร่สาระสำคัญมาก่อน
  • มีขั้นการประดิษฐ์สูงขึ้น ที่พัฒนาหรือต่อยอดทางเทคนิค เพื่อให้มีความแตกต่างจากสิ่งประดิษฐ์เดิมที่มีอยู่ โดยที่ผู้เชี่ยวชาญคนอื่น ๆ ในวงการนั้นยังไม่รู้หรือยังไม่เข้าใจ
  • ใช้ในอุตสาหกรรมได้ โดยจะต้องเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่มีคุณค่าต่ออุตสาหกรรมในไทย และจะต้องไม่ก่อให้เกิดภัยคุกคามต่อประชากรและประเทศชาติ

 

2. สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์

งานออกแบบ

ภาพ: งานออกแบบ

 

เป็นการจดสิทธิบัตรสำหรับงานออกแบบต่าง ๆ เพื่อคุ้มครองในเรื่องของการดีไซน์ ไม่ว่าจะเป็นสีสัน รูปลักษณ์ หรือลวดลายของผลิตภัณฑ์นั้น ๆ แต่ไม่ได้คุ้มครองในด้านการใช้งานหรือประโยชน์ใช้สอย โดยสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์จะมีอายุทั้งสิ้น 10 ปี และจะคุ้มครองเฉพาะในประเทศที่เจ้าของสิ่งประดิษฐ์ยื่นจดเท่านั้น ซึ่งงานออกแบบที่สามารถจดสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ได้จะต้องเข้าหลักเกณฑ์ตามนี้

  • เป็นงานออกแบบใหม่ ที่ไม่เหมือนหรือซ้ำกับงานออกแบบเดิม โดยจะต้องเช็กจากฐานข้อมูลสิทธิบัตรทั้งในและต่างประเทศ และต้องเป็นงานออกแบบที่ไม่เคยถูกเผยแพร่สาระสำคัญมาก่อน
  • ใช้ในอุตสาหกรรมหรืองานหัตถกรรมได้ โดยจะต้องเป็นงานออกแบบที่ได้รับการยอมรับในอุตสาหกรรมไทย และจะต้องไม่กระทบต่อศาสนา ความเชื่อ และไม่สื่อถึงสิ่งอบายมุขหรือสิ่งที่ลามกอนาจาร

 

3. อนุสิทธิบัตร

สิ่งประดิษฐ์

ภาพ: สิ่งประดิษฐ์

 

เป็นการจดสิทธิบัตรสำหรับสิ่งประดิษฐ์ที่สามารถใช้งานได้หรือมีประโยชน์ใช้สอย รวมถึงกระบวนการ กรรมวิธี กลไก องค์ประกอบ และโครงสร้างต่าง ๆ โดยอนุสิทธิบัตรจะมีอายุทั้งสิ้น 6 ปี แต่สามารถยื่นต่ออายุได้ 2 ครั้ง ครั้งละ 2 ปี หรือทั้งหมดไม่เกิน 10 ปี และจะคุ้มครองเฉพาะในประเทศที่เจ้าของสิ่งประดิษฐ์ยื่นจดเท่านั้น ซึ่งสิ่งประดิษฐ์ที่สามารถจดอนุสิทธิบัตรได้จะต้องเข้าหลักเกณฑ์ตามนี้

  • เป็นสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ที่ไม่เหมือนหรือซ้ำกับสิ่งประดิษฐ์อื่น โดยจะต้องเช็กจากฐานข้อมูลสิทธิบัตรทั้งในและต่างประเทศ และต้องเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่ไม่เคยถูกเผยแพร่สาระสำคัญมาก่อน
  • ใช้ในอุตสาหกรรมได้ โดยจะต้องเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่มีคุณค่าต่ออุตสาหกรรมในไทย และจะต้องไม่ก่อให้เกิดภัยคุกคามต่อประชากรและประเทศชาติ

 

 

ขั้นตอนการจดสิทธิบัตรแบบต่าง ๆ

ขั้นตอนการจดสิทธิบัตรการประดิษฐ์

การจดสิทธิบัตร

ภาพ: การจดสิทธิบัตร

  1. ยื่นเอกสารเพื่อขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ พร้อมชำระค่าธรรมเนียม 500 บาท โดยเอกสารที่ต้องใช้มีดังนี้
  • แบบฟอร์มคำขอรับสิทธิบัตร (แบบ สป/สผ/อสป/001-ก)
  • รายละเอียดของงานประดิษฐ์ โดยจะต้องมีดีเทลครบถ้วนตามกฎหมายกำหนด
  • ข้อถือสิทธิ
  • บทสรุปการประดิษฐ์
  • รูปเขียน (ถ้ามี)
  • เอกสารอื่น ๆ (ถ้ามี) ไม่ว่าจะเป็น หนังสือรับรองนิติบุคคล สัญญาการว่าจ้าง หนังสือโอนสิทธิ หรือหนังสือมอบอำนาจ เป็นต้น

2. หลังยื่นคำขอเรียบร้อยแล้ว ในกรณีที่มีอะไรต้องแก้ไข เจ้าหน้าที่จะแจ้งกับคนที่ยื่นคำขอ เพื่อทำการแก้ไขภายใน 90 วัน และจะต้องใช้แบบฟอร์มคำขอแก้ไขเพิ่มเติม (แบบ สป/สผ/อสป/003-ก) พร้อมชำระค่าธรรมเนียมอีกครั้ง

3. เมื่อทุกอย่างเรียบร้อยแล้ว คนยื่นคำขอจะต้องชำระค่าธรรมเนียมสำหรับการประกาศโฆษณาเพิ่มอีก 250 บาท พร้อมจัดส่ง คำขอรับสิทธิบัตรชุดล่าสุด คำแปลข้อถือสิทธิ และบทสรุปการประดิษฐ์ (ภาษาอังกฤษ) ไปด้วยเพิ่มเติม

4. หลังประกาศโฆษณาเรียบร้อยแล้ว เจ้าของสิ่งประดิษฐ์จะต้องยื่นขอให้ตรวจสอบการประดิษฐ์ของตัวเอง พร้อมชำระค่าธรรมเนียมอีก 250 บาท โดยใช้แบบฟอร์มคำขอให้ตรวจสอบการประดิษฐ์ (แบบ สป/อสป/005-ก) ภายในเวลา 5 ปี

5. หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่จะตรวจสอบว่า เคยมีสิ่งประดิษฐ์แบบเดียวกันหรือคล้ายกันหรือไม่ ถ้าไม่ก็จะแจ้งให้เจ้าของสิ่งประดิษฐ์เข้ามาชำระค่าธรรมเนียม 500 บาท และดำเนินการออกสิทธิบัตรต่อไป

 

ขั้นตอนการจดสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์

การจดสิทธิบัตร

ภาพ: การจดสิทธิบัตร

 

  1. ยื่นเอกสารเพื่อขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ พร้อมชำระค่าธรรมเนียม 250 บาท โดยเอกสารที่ต้องใช้มีดังนี้
  • แบบฟอร์มคำขอรับสิทธิบัตร (แบบ สป/สผ/อสป/001-ก)
  • คำพรรณนาแบบผลิตภัณฑ์ (ถ้ามี)
  • ข้อถือสิทธิ
  • รูปเขียน
  • เอกสารอื่น ๆ (ถ้ามี) ไม่ว่าจะเป็น หนังสือรับรองนิติบุคคล สัญญาการว่าจ้าง หนังสือโอนสิทธิ หรือหนังสือมอบอำนาจ เป็นต้น

2. หลังยื่นคำขอเรียบร้อยแล้ว ในกรณีที่มีอะไรต้องแก้ไข เจ้าหน้าที่จะแจ้งกับคนที่ยื่นคำขอ เพื่อทำการแก้ไขภายใน 90 วัน และจะต้องใช้แบบฟอร์มคำขอแก้ไขเพิ่มเติม (แบบ สป/สผ/อสป/003-ก) พร้อมชำระค่าธรรมเนียมอีกครั้ง

3. เมื่อทุกอย่างเรียบร้อยแล้ว คนยื่นคำขอจะต้องชำระค่าธรรมเนียมสำหรับการประกาศโฆษณาเพิ่มอีก 250 บาท พร้อมจัดส่ง คำขอรับสิทธิบัตรชุดล่าสุด ไปด้วยเพิ่มเติม

4. หลังประกาศโฆษณาครบ 90 วันเรียบร้อยแล้ว เจ้าหน้าที่จะตรวจสอบว่า เคยมีแบบผลิตภัณฑ์ที่เหมือนหรือคล้ายกันหรือไม่ ถ้าไม่ก็จะแจ้งให้เจ้าของแบบผลิตภัณฑ์เข้ามาชำระค่าธรรมเนียม 500 บาท และดำเนินการออกสิทธิบัตรต่อไป

 

ขั้นตอนการจดอนุสิทธิบัตร

การจดสิทธิบัตร

ภาพ: การจดสิทธิบัตร

 

  1. ยื่นเอกสารเพื่อขอรับอนุสิทธิบัตร พร้อมชำระค่าธรรมเนียม โดยเอกสารที่ต้องใช้มีดังนี้
  • แบบฟอร์มคำขอรับสิทธิบัตร (แบบ สป/สผ/อสป/001-ก)
  • รายละเอียดของงานประดิษฐ์ โดยจะต้องมีดีเทลครบถ้วนตามกฎหมายกำหนด
  • ข้อถือสิทธิ
  • บทสรุปการประดิษฐ์
  • รูปเขียน (ถ้ามี)
  • เอกสารอื่น ๆ (ถ้ามี) ไม่ว่าจะเป็น หนังสือรับรองนิติบุคคล สัญญาการว่าจ้าง หนังสือโอนสิทธิ หรือหนังสือมอบอำนาจ เป็นต้น

2. หลังยื่นคำขอเรียบร้อยแล้ว ในกรณีที่มีอะไรต้องแก้ไข เจ้าหน้าที่จะแจ้งกับคนที่ยื่นคำขอ เพื่อทำการแก้ไขภายใน 90 วัน และจะต้องใช้แบบฟอร์มคำขอแก้ไขเพิ่มเติม (แบบ สป/สผ/อสป/003-ก) พร้อมชำระค่าธรรมเนียมอีกครั้ง

3. เมื่อทุกอย่างเรียบร้อยแล้ว คนยื่นคำขอจะต้องชำระค่าธรรมเนียมสำหรับการรับจดทะเบียนและออกอนุสิทธิบัตร รวมถึงการประกาศโฆษณาอีก 500 บาท

4. หลังประกาศโฆษณาเรียบร้อยแล้ว บุคคลอื่นที่มีส่วนได้เสียสามารถยื่นขอให้ตรวจสอบการประดิษฐ์ได้ โดยใช้แบบฟอร์มคำขอให้ตรวจสอบการประดิษฐ์ (แบบ สป/อสป/005-ก) ภายในเวลา 1 ปี หลังประกาศโฆษณา

 

 

สถานที่และวิธียื่นขอจดสิทธิบัตร

การขอจดสิทธิบัตร

ภาพ: การขอจดสิทธิบัตร

 

สำหรับเจ้าของสิ่งประดิษฐ์หรืองานออกแบบที่ต้องการจดสิทธิบัตร สามารถยื่นคำขอได้ที่

  • สำนักสิทธิบัตร กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ (ชั้น 3)
  • สำนักงานพาณิชย์ประจำจังหวัดนั้น ๆ

ส่วนวิธีการยื่นขอเพื่อจดสิทธิบัตร สามารถทำได้ 2 วิธีด้วยกัน คือ

  • ยื่นคำขอโดยตรงกับพนักงานเจ้าหน้าที่ พร้อมชำระค่าธรรมเนียม
  • ยื่นคำขอผ่านทางไปรษณีย์ พร้อมชำระค่าธรรมเนียมผ่านทางธนาณัติ โดยสั่งจ่ายในนาม กรมทรัพย์สินทางปัญญา

 

 

 

บริการรับจดสิทธิบัตรและอนุสิทธิบัตร จาก TGC Thailand

 

“ สะดวกสบาย ไม่ยุ่งยาก ”

 

สำหรับผู้ประดิษฐ์หรือผู้ออกแบบคนไหนกำลังต้องการจดสิทธิบัตรหรืออนุสิทธิบัตร แต่ไม่มีเวลาเตรียมเอกสารหรือดำเนินการต่าง ๆ ด้วยตัวเอง สามารถมาใช้บริการกับเรา TGC Thailand ได้

  • เชี่ยวชาญและชำนาญ จึงสามารถดำเนินการทุกขั้นตอนได้อย่างถูกต้อง
  • รวดเร็วและประหยัดเวลา ด้วยประสบการณ์การจดทะเบียนกว่า 20 ปี

 

 

 

ทั้งหมดนี้ คือ ขั้นตอนการจดสิทธิบัตรแบบต่าง ๆ ที่น่าจะทำให้ทุกคนรู้ว่า การจดสิทธิบัตรหรืออนุสิทธิบัตรนั้นต้องทำยังไงและต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง และถ้าเจ้าของสิ่งประดิษฐ์คนไหนไม่มีเวลาแต่ต้องการยื่นคำขอเพื่อจดสิทธิบัตร ก็สามารถมาใช้บริการรับจดสิทธิบัตรและอนุสิทธิบัตรกับเรา TGC Thailand ได้ ซึ่งเป็นช่องทางที่ทั้งง่าย สะดวก แถมยังช่วยประหยัดเวลาได้อีกด้วย

 

TGC Thailand ผู้ให้บริการรับจดสิทธิบัตรและอนุสิทธิบัตร โดยทีมงานผู้เชี่ยวชาญ

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

แอดไลน์