21
Oct2023

การขออนุญาตโฆษณาอาหาร เครื่องมือแพทย์ ยา อาหาร เครื่องสำอางและวัตถุอันตราย ข้อมูลล่าสุด 2023

1.การขออนุญาตโฆษณาอาหาร พ.ศ. 2556
การโฆษณาจะต้องไม่ใช้ข้อความที่เป็นการไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค หรือ ใช้ข้อความที่อาจ ก่อให้เกิดผลเสียต่อสังคมเป็นส่วนรวม ทั้งนี้ไม่ว่าข้อความดังกล่าวนั้นจะเป็นข้อความที่ เกี่ยวกับแหล่งกำเนิด สภาพ คุณภาพ หรือลักษณะของสินค้าบริการ ตลอดจนการส่งมอบ การจัดหา หรือ การใช้สินค้าหรือ บริการ ที่อาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสังคมเป็นส่วนรวม

การโฆษณาอาหารที่ไม่แสดงสรรพคุณของสินค้าสามารถยกเว้นการขออนุญาตโฆษณาอาหาร

2.การขออนุญาตโฆษณาเครื่องมือแพทย์ พ.ศ. 2553
การโฆษณาเครื่องมือแพทย์แบ่งเป็น 2 ประเภท
2.1 โฆษณาต่อประชาชน
2.2 โฆษณาต่อผู้ประกอบวิชาชีพ

การโฆษณาเครื่องมือแพทย์จะต้องไม่แสดงคุณประโยชน์ คุณภาพ ปริมาณ มาตรฐาน ส่วนประกอบหรือแหล่งกำเนิดของเครื่องมือแพทย์อันเป็นเท็จหรือเกินความจริง ไม่แสดงการรับรองหรือยกย่องคุณประโยชน์โดยบุคคใดบุคคลหนึ่ง ไม่แสดงสรรพคุณว่าสามารถป้องกัน รักษา บำบัด บรรเทา รักษาโรค

3.การขออนุญาตโฆษณายา พ.ศ. 2510
การโฆษณายาแบ่งเป็น 2 ประเภท
3.1 โฆษณาต่อประชาชน
3.2 โฆษณาต่อผู้ประกอบวิชาชีพ

การโฆษณายาจะต้องไม่แสดงข้อมูลที่โอ้อวดสรรพคุณ หรือวัตถุส่วนประกอบ ไม่แสดงสรรคุณที่เป็นเท็จหรือเกินจริง

การโฆษณาสรรพคุณยาว่าสามารถ บำบัด บรรเทา รักษาโรคที่ประกาศห้ามโฆษณา เช่น โรคมะเร็ง เบาหวาน อัมพาต อัมพฤกษ์ หรือไม่ทำให้เข้าใจว่าเป็นยาทำให้แท้งลูก นั้น ถือเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ไม่เคยอนุญาตให้มีการโฆษณาลักษณะดังกล่าว

4.การขออนุญาตโฆษณาเครื่องสำอาง พ.ศ. 2558
4.1เครื่องสำอาง/ชื่อทางการค้า/ตรา/เครื่องหมายการค้า
ข้อกำหนด ชื่อเครื่องสำอาง/ชื่อทางการค้า/ตรา/เครื่องหมายการค้าต้องตรงตามที่แจ้ง
รายละเอียดต่อสำนักคณะกรรมการอาหารและยาหรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดที่สถานประกอบการตั้งอยู่

4.2 รูปภาพ
-ต้องไม่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับเครื่องสำอาง
-ต้องไม่ขัดกับวัฒนธรรมอันดีงามของไทย

4.3 การกล่าวอ้างชื่อสารว่าเป็นส่วนผสมในเครื่องสำอาง
(๑) ต้องมีสารดังกล่าวเป็นส่วนผสมในเครื่องเครื่องสำอางนั้นจริง (ในเบื้องต้นให้ตรวจ
สอบจากเอกสารสูตร)
(๒) หากมีการกล่าวอ้างสรรพคุณของสารด้วยจะต้องเป็นสรรพคุณที่อยู่
ในขอบข่ายของความเป็นเครื่องเครื่องสำอางและต้องมีสารดังกล่าวเป็นส่วนผสม
ในปริมาณที่เพียงพอแก่การกล่าวอ้างสรรพคุณและจะต้องพิสูจน์ได้ โดยตรวจ
สอบจากเอกสารหลักฐานตามแนวทางในการแสดงหลักฐาน เพื่อพิสูจน์หรือ
สนับสนุนข้อความที่ใช้ในการโฆษณาเครื่องเครื่องสำอางดังนี้
(๒.๑) เอกสารทางวิชาการซึ่งเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปและเชื่อถือได้ เช่น ตำราหรือวารสารทางวิชาการที่ใช้ในการศึกษาและค้นคว้าเกี่ยวกับวิชา
เครื่องสำอางทางการแพทย์ หรือทางเภสัชศาสตร์ หรือ
(๒.๒) หนังสือรับรองจากหน่วยงานของรัฐหรือสถาบันเอกชนที่เชื่อถือได้
ที่รับผิดชอบในเรื่องที่ผู้ประกอบธุรกิจจะต้องนำพิสูจน์ทั้งของไทยหรือ
ต่างประเทศ หรือ
(๒.๓) ผลการทดลองหรือตรวจสอบคุณภาพเครื่องสำอางของทางสถาบัน
ทางราชการทั้งไทย หรือต่างประเทศหรือสถาบันการศึกษาอันมีความเชี่ยวชาญ
ในแขนงวิชาการอันต้องพิสูจน์หรือ
(๒.๔) ผลการทดลองหรือตรวจสอบคุณภาพเครื่องสำอางของสถาบัน
เอกชนทั้งของประเทศไทยหรือต่างประเทศซึ่งสถาบันเหล่านี้จะต้องได้รับ
การรับรองจากหน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบในเรื่องที่ผู้ประกอบธุรกิจจะต้องนำ
พิสูจน์

4.4 สรรพคุณ
(๑) ต้องเป็นข้อความที่สื่อความหมายในขอบข่ายของวัตถุประสงค์ในการใช้
เพื่อความสะอาด ความสวยงามหรือส่งเสริมให้เกิดความสวยงาม โดยไม่มีผล
มุ่งหมายสำหรับให้เกิดผลแก่สุขภาพ โครงสร้างหรือการกระทำหน้าที่ใดๆ
ของร่างกายของมนุษย์ ซึ่งเป็นสรรพคุณทางยา อันจะก่อให้เกิดความเข้าใจผิด
ในสาระสำคัญเกี่ยวกับเครื่องอำนาจ
(๒) ต้องแสดงสรรพคุณตรงตามประเภทเครื่องสำอางที่ปรากฏในใบรับแจ้ง
ผลิต/นำเข้าเครื่องสำอาง หรือตรงตามการพิจารณาให้ความเห็นชอบในการใช้
ฉลากเครื่องสำอางจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือตรงตาม
การพิจารณาให้ความเห็นชอบเกี่ยวกับข้อความสำหรับโฆษณาเครื่องสำอาง
จากคณะกรรมการเครื่องสำอางแล้ว หรือตามกลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง
ในภาคผนวก
(๓) ต้องไม่เป็นเท็จหรือเกินความจริง

4.5 การโฆษณาเปรียบเทียบ
ต้องเป็นการโฆษณาที่เป็นจริงและมีหลักฐานพิสูจน์ได้แต่ต้องไม่ทำให้เกิด
ความแตกแยกหรือเสื่อมเสียความสามัคคีในหมู่ประชาชน

4.6 การโฆษณาที่มีการยืนยันข้อเท็จจริงว่าได้รับรางวัลหรือเครื่องหมายต่างๆ
(๑) ต้องเป็นรางวัลหรือเครื่องหมายที่ได้รับจากหน่วยงานราชการ สมาคมหรือ
สถาบันที่เกี่ยวกับเครื่องสำอาง ซึ่งข้อความนั้นเป็นจริงและมีหลักฐานพิสูจน์ได้
(๒) ต้องแสดงแหล่งประกวด ปีที่ได้รับรางวัลไว้ให้ชัดแจ้งตรงตามที่ได้รับรางวัล
ในข้อความโฆษณา

4.7 การโฆษณาโดยอ้างรายงานทางวิชาการ ผลการวิจัย สถิติ การรับรองของสถาบัน
หรือยืนยันข้อเท็จจริง อย่างใดอย่างหนึ่ง
ต้องสามารถพิสูจน์ได้ว่าข้อความที่ใช้เป็นความจริงตามที่กล่าวอ้าง

4.8 การโฆษณาเครื่องสำอาง ที่ใช้หรืออ้างอิงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสถาบันพระมหา
กษัตริย์ หรือการโฆษณาเครื่องสำอาง ซึ่งรวมอยู่กับ
(๑) ต้องไม่ใช้ข้อความโฆษณาที่อ้างอิงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์
พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ซึ่งได้กระทำไป โดยไม่ได้รับ
พระบรมราชานุญาต พระราชานุญาต หรืออนุญาตแล้วแต่กรณี ทั้งนี้ เว้นแต่
(๑.๑) ข้อความโฆษณาว่าได้รับเหรียญ ใบสำคัญคู่มือ ประกาศนียบัตร
หรือเครื่องหมายอื่นใดที่เป็นรางวัลในการแสดงหรือประกวดสินค้าหรือ บริการ
ที่ได้รับจากพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทน
พระองค์
(๑.๒) ข้อความโฆษณาว่าได้รับพระบรมราชานุญาตในการประกอบ ธุรกิจ
ได้รับพระบรมราชานุญาต ให้ใช้ตราแผ่นดิน หรือได้รับพระราชทานตราตั้ง
(๒) ข้อความโฆษณาซึ่งรวมอยู่กับข้อความที่ถวายพระพร หรือข้อความอย่างอื่น
ที่อ้างอิงเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการ
แทนพระองค์ โดยมิได้แสดงให้เห็นว่าข้อความส่วนที่เป็นการโฆษณานั้น
แยกออกต่างหากจากข้อความที่ถวายพระพรหรือ ข้อความอย่างอื่นดังกล่าว
ข้างต้น

4.9 การโฆษณาที่จัดให้มีการประกวดชิงรางวัลหรือจัดให้มีการให้ของแถมให้สิทธิ์ หรือประโยชน์
โดยให้เปล่า
ต้องระบุรายละเอียดดังต่อไปนี้
(๑) หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข หรือข้อก ำหนดในการประกวดชิงรางวัล
หรือการให้ของแถม ให้สิทธิหรือประโยชน์
(๒) วัน เดือน ปีที่เริ่มและสิ้นสุดของการจัดให้มีการประกวดชิงรางวัล หรือการ
ให้ของแถม ให้สิทธิหรือประโยชน์
(๓) ประเภท ลักษณะและมูลค่าของรางวัล ของแถม สิทธิหรือประโยชน์
แต่ละสิ่ง หรือมูลค่ารวมในแต่ละประเภท
(๔) เขตหรือถิ่นที่มีการจัดให้มีการประกวดชิงรางวัล หรือการให้ของแถม
ให้สิทธิหรือประโยชน์
(๕) วัน เดือน ปี เวลาและสถานที่ซึ่งกำหนดไว้สำหรับการตัดสิน การประกวด
ชิงรางวัล

5.0 การอ้างอิงบุคคลากรทางการแพทย์หรือองค์กรวิชาชีพ
(๑) กรณีการอ้างอิงบุคลากรทางการแพทย์ในการโฆษณาเครื่องสำอางให้ปฏิบัติ
ตามข้อบังคับแพทยสภาว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรมในส่วน
ที่เกี่ยวข้องเช่น
ข้อ ๕ ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมต้องไม่แสดงตนเป็นผู้แสดงการโฆษณา
ผลิตภัณฑ์สุขภาพใดๆ ต่อสาธารณชนในเชิงธุรกิจโดยรับค่าตอบแทนหรือ
ผลประโยชน์ใดๆ จากการแสดงนั้น
ข้อ ๖ ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมผู้ใดเมื่อแสดงความเห็นต่อสาธารณะ
โดยการพูด การเขียน หรือโดยวิธีการอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับคุณสมบัติของ
ผลิตภัณฑ์สุขภาพใด ต้องแสดงโดยเปิดเผยในขณะเดียวกันนั้นด้วยว่าตนมีส่วน
เกี่ยวข้องทางผลประโยชน์กับผู้ประกอบธุรกิจนั้นในสถานะใด เช่น เป็นที่ปรึกษา
เป็นผู้ร่วมทุน เป็นผู้ได้รับทุนไปดูงาน ไปประชุมหรือบรรยายจากผู้ประกอบธุรกิจ
นั้นๆ หรือข้อบังคับขององค์กรวิชาชีพอื่นๆ
(๒) กรณีอ้างอิงองค์กรวิชาชีพต่างๆ เช่น สถาบันการวิจัยฯ ในการโฆษณา
เครื่องสำอางให้แสดงหลักฐานและการรับรองจากหน่วยงานที่กล่าวอ้างนั้น
มาประกอบ

5.1 การอ้างอิงความคิดเห็นโดยบุคคล ผู้มีชื่อเสียงเป็นผู้แสดง (celebrity testimonial)
การใช้บุคคลผู้มีชื่อเสียง (celebrities) เป็นผู้แสดงในการโฆษณาเครื่องสำอาง
อาจกระทำได้ในกรณีดังต่อไปนี้
(๑) เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้แสดงที่ได้รับจากประสบการณ์ ในการใช้
เครื่องสำอางที่อยู่ในขอบข่ายของความเป็นเครื่องสำอางตามกฎหมายจริงๆ มิใช่
เป็นการแสดงที่กระทำไปตามบทบาทที่ได้รับมอบหมายแต่เพียงอย่างเดียว
(๒) ให้ระบุชื่อ นามสกุลของผู้แสดงบนสื่อโฆษณาฯ ทุกครั้งที่โฆษณา
(๓) ต้องมีหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษรที่รับรองโดยผู้แสดง (Testimonial
statement) ว่า สาระสำคัญที่นำเสนอในการโฆษณานั้นเป็นความจริงไว้
อ้างอิงด้วย

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

[/vc_column][/vc_row]

แอดไลน์