หลักเกณฑ์การพิจารณาความเหมือนคล้ายสำหรับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในประเทศจีนที่ไม่เหมือนกับประเทศอื่นโดยสิ้นเชิง
ก.คำสามัญ เช่น cafe, Shop, Beauty, restaurant หากอยู่ในเครื่องหมายการค้า อาจจะมีคำสั่งติดเหมือนคล้ายได้ เช่น คนแรกยื่น MK restaurant คนที่สองยื่น Amezon restaurant แบบนี้ Amezon restaurant อาจจะจดทะเบียนไม่ผ่านเนื่องจากคำว่า restaurant ของ Amezon ไปติดเหมือนคล้ายกับ restaurant ของ MK ต่างกับในประเทศไทย หรือ ประเทศอื่นที่ restaurant ที่เป็นคำทั่วไปสามารถใช้ซ้ำกันได้ แต่ต้องทำการสละสิทธิ
ดูตอบข้อสงสัย : ทำไมการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าจะต้องมีการสละสิทธิ ตามมาตรา 12
https://tgcthailand.com/answer-questions-no-trademark-registration-has-to-be-waiver/
ข.ชื่อประเทศ Thailand, England เป็นต้น จะอยู่ในเครื่องหมายการค้าไม่ได้เลย ถ้ามีติดเป็นคำต้องห้ามทันที และ ทำให้จดทะเบียนไม่ผ่าน ต่างกับในประเทศไทย หรือ ประเทศอื่นที่ Thailand, England ที่เป็นคำทั่วไปสามารถอยู่ในเครื่องหมายการค้าได้ แต่ต้องทำการสละสิทธิ
ดูตอบข้อสงสัย : ทำไมการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าจะต้องมีการสละสิทธิ ตามมาตรา 12
https://tgcthailand.com/answer-questions-no-trademark-registration-has-to-be-waiver/
ค.เรื่องภาพ เช่น ภาพช้าง ภาพดอกไม้ ภาพลายเส้น ต่างๆ การพิจารณาค่อนข้างเข้มข้นมาก ภาพเช่น
ช้างแบบที่ 1 และ ช้างแบบที่ 2 ถ้าเป็นช้างเหมือนกันที่มีการออกแบบที่แตกต่างกันประเทศจีนมักจะมีคำสั่งติดเหมือนคล้าย ต่างกับในประเทศไทย หรือ ประเทศอื่นที่ ช้างแบบที่ 1 และ ช้างแบบที่ 2 ถ้าเป็นช้างเหมือนกันที่มีการออกแบบที่แตกต่างกัน ถือว่าแตกต่างกัน สามารถยื่นจดทะเบียนได้ทั้งคู่ ดังนั้นที่ประเทศจีนการยื่นเครื่องหมายภาพค่อนข้างมีความเสี่ยง และ การตรวจสอบความเหมือนคล้ายเรื่องภาพก่อนยื่นจดทะเบียนจะตรวจสอบยาก เนื่องจากไม่มีการตรวจรหัสภาพเหมือนประเทศอื่น
ง.เรื่องรายการสินค้า ของประเทศจีนจะใช้รายการสินค้าเก่าแบบเดิมและโบราณมากซึ่งบางครั้งไม่สอดคล้องกับ standard description ของประเทศอื่น ต้องพยามหาคำที่ใกล้เคียงที่สุด
link หาจำพวกและรายการสินค้าที่เป็น Standard description
https://tmgns.search.ipaustralia.gov.au/
จ. ประเทศจีนมี sub class เช่น จำพวก 3 เครื่องสำอาง โดยปกติหากเราจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในห้อง 3 เมื่อเข้าไปในห้อง 3 แล้วหยิบรายการสินค้าใดก็ตามในห้องนี้เช่น หยิบครีมบำรุงผิวพรรณ บุคคลอื่นจะจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่เหมือนกันหรือคล้ายกันในห้อง 3 นี้ไม่ได้เลยไม่ว่าจะหยิบรายการสินค้าอื่นที่แตกต่างกับครีมบำรุงผิวพรรณ เช่น ไปหยิบน้ำหอม แบบนี้ก็ไม่ได้
ต่างกับประเทศจีน ที่เมื่อเข้าไปในห้อง 3 แล้ว จะมีห้องย่อยที่เรียกว่า sub class เช่นห้องย่อยที่ 1 ห้องย่อยที่ 2 หากเราจดทะเบียนเครื่องหมายการและเลือกรายการสินค้าในห้องย่อยที่ 1 บุคคลอื่นจะจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่เหมือนกันหรือคล้ายกันในห้อง 3 นี้ได้หากเป็นการจดทะเบียนในห้องย่อยที่ 2 เป็นต้น (บางกรณีก็พิจารณาความเหมือนคล้ายทั้งห้อง 3)
ฉ.ที่ประเทศจีนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า 1 ครั้ง คุ้มครองทุกมณฑล ไม่รวมฮ่องกง และ การพิจารณาจะใช้เวลาสั้นมาเพียง 4-6 เดือน คุ้มครอง 10 ปี และ ต่ออายุได้ทุก 10 ปี