รับจดเครื่องหมายการค้าจีน การค้าต่างประเทศ

รับจดเครื่องหมายการค้าจีน เครื่องหมายการค้าต่างประเทศ ระบบมาดริด ทั่วโลก
อย่างถูกต้องทุกขั้นตอน

ผู้ประกอบการหลายท่านที่เริ่มประกอบธุรกิจจะต้องเริ่มจากการยื่นจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ต่อมาเมื่อธุรกิจเริ่มมีผลประกอบการที่ดีและต้องการส่งสินค้าไปยังจีนหรือต่างประเทศ จะต้องทำการยื่นจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่จีนหรือต่างประเทศด้วย โดยยื่นแบบระบบมาดริดหรือระบบการรับจดเครื่องหมายการค้าต่างประเทศทั่วโลก แต่ขั้นตอนนั้นมีความยุ่งยากและซับซ้อนมาก ทั้งการลงทะเบียน การเลือกรายการสินค้า และข้อกฎหมายที่มีความแตกต่างกันในแต่ละประเทศ ทำให้ผู้ประกอบการมักนิยมหันมายื่นจดทะเบียนผ่านบริษัทฯ กฎหมายที่มีความเชี่ยวชาญ นอกจากนั้นในแต่ละขั้นตอนยังเต็มไปด้วยค่าใช้จ่าย และหากดำเนินการผิดพลาดอาจจะทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมโดยไม่จำเป็น

เครื่องหมายการค้าต่างประเทศ คืออะไร?

เครื่องหมายการค้าต่างประเทศ คือเครื่องหมายการค้าที่เกี่ยวข้องกับอํานาจอธิปไตยของประเทศอื่นที่ไม่ใช่ประเทศไทย และต้องการให้เครื่องหมายการค้าที่ได้ยื่นจดทะเบียนแล้วในประเทศไทย ได้รับความคุ้มครองในต่างประเทศด้วย ตามหลักการที่ว่า “จดทะเบียนประเทศไหนคุ้มครองประเทศนั้น ประเทศที่ไม่ได้ยื่นจดทะเบียนจะไม่ได้รับความคุ้มครอง”

การจดเครื่องหมายการค้าต่างประเทศและทั่วโลก

*** ข้อความนี้มีลิขสิทธิ์ที่ถูกเขียนขึ้นโดย TGC  เท่านั้น

การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในประเทศที่หนึ่งจะไม่มีผลคุ้มครองไปถึงประเทศที่สอง เนื่องจากการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในประเทศใดก็จะอยู่ภายใต้กฎหมายเครื่องหมายการค้าของประเทศนั้น ซึ่งกฎหมายในประเทศที่หนึ่งจะไม่สามารถบังคับใช้ไปถึงประเทศที่สองด้วยตามหลักดินแดน และ อํานาจอธิปไตย

ดังนั้นการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในประเทศไทยจะไม่มีผลคุ้มครองไปถึงต่างประเทศด้วย ซึ่งเมื่อมีการส่งสินค้าไปจำหน่ายในต่างประเทศ ผู้ขอจดทะเบียนจะต้องทำการยื่นจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในประเทศนั้นด้วย

ผู้ขอจดทะเบียนสามารถยื่นจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในต่างประเทศ โดยมีทางเลือก ดังนี้

(1) สามารถยื่นคำจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในทุกประเทศที่ต้องการให้เครื่องหมายการค้าของตนได้รับความคุ้มครอง ซึ่งจะต้องเตรียมคำขอประเทศละ 1 ชุด

(2) สามารถยื่นคำจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในกลุ่มประเทศ
– กลุ่มสหภาพยุโรป European Union (EU) คุ้มครอง 28 ประเทศ
– กลุ่มประเทศสมาชิกองค์การทรัพย์สินทางปัญญาอาฟริกา ( The African Intellectual Property Organization ) หรือ OAPI คุ้มครอง 16 ประเทศ
– กลุ่มประเทศสมาชิกองค์การทรัพย์สินทางปัญญาภูมิภาคอาฟริกา (African Regional Intellectual Property Organization ) หรือ ARIPO คุ้มครอง 16 ประเทศ

(3) การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามระบบมาดริด (Madrid System) มีประเทศสมาชิกตามความตกลงมาดริด และพิธีสารมาดริด ซึ่งประกอบกันเป็นสหภาพมาดริด ปัจจุบันมี 107 สมาชิก รวม 123 ประเทศ (สถานะ 12 ตุลาคม 2563) โดยมีหลักการ คือยื่นคำขอจดทะเบียนในประเทศเดียวแต่สามารถระบุประเทศที่ต้องการได้รับความคุ้มครองได้หลายประเทศในประเทศที่เป็นสมาชิกของระบบมาดริด (Madrid System)

ข้อมูลเพิ่มเติม
http://www.wipo.int/madrid/en/members/

เลือกประเทศ

*************************************************************************************************

 

เครื่องหมายการค้าระบบมาดริด คืออะไร?

เครื่องหมายการค้าระบบมาดริด คือการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าครั้งเดียวและขอรับความคุ้มครองได้รวม 125 ประเทศ เหมือนการซื้อสินค้าแบบเหมา หากเราซื้อเหมาครั้งเดียวจะสามารถซื้อได้ในราคาถูก หากซื้อทีละชิ้นจะได้ราคาแพง ซึ่งเปรียบเสมือนการเลือกที่จะติ๊กชื่อประเทศที่ต้องการขอรับความคุ้มครองในครั้งเดียวและทีเดียว เป็นระบบทะเบียนเดียวต่ออายุครั้งเดียว โดยเป็นการสื่อสารและส่งเอกสารกันระหว่างรัฐกับรัฐ เช่น รัฐไทยรับเอกสารและกระจายเอกสารไปยังประเทศอื่นๆ ตามที่ติ๊กเลือกชื่อประเทศนั้น

อย่างไรก็ตามระบบการตรวจสอบเครื่องหมายการค้าระบบมาดริดในแต่ละประเทศก็จะมีการตรวจสอบในฐานข้อมูลของตนเองและเป็นอำนจอธิปไตยในแต่ละประเทศที่พิจารณารับจดทะเบียนหรือปฏิเสธการรับจดทะเบียน ข้อสำคัญคือประเทศที่เราติ๊กเลือกชื่อประเทศนั้น ทุกประเทศจะเสียค่าใช้จ่ายทั้งหมด เฉลี่ยประเทศละ 1 หมื่นบาท

*** ข้อความนี้มีลิขสิทธิ์ที่ถูกเขียนขึ้นโดย TGC  เท่านั้น

การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าระบบมาดริด ตามพิธีสารมาดริด (Madrid Protocol)

A.เครื่องหมายการค้าระบบมาดริดแบบรายประเทศ

Step 1

หากเราต้องการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าระบบมาดริดก็ต้องทำการติดต่อตัวแทนในประเทศปลายทางแยกรายประเทศ เช่น ต้องการยื่นจดทะเบียนในประเทศกัมพูชา ประเทศอเมริกา ประเทศเวียดนาม

ต้องติดต่อตัวแทนที่ ประเทศปลายทางทุกประเทศและทำเอกสารประเทศละ 1 ชุด เพื่อยื่นจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าระบบมาดริด และหน่วยงานเครื่องหมายการค้าของประเทศปลายทางก็จะทำการตรวจสอบความเหมือนคล้ายในฐานข้อมูลของตนเองและกฎหมายของตนเอง และ อนุมัติรับจดทะเบียน โดยปกติจะใช้เวลา 1 ปี และ อนุมัติคุ้มครอง 10 ปี ต่ออายุทุก 10 ปี

ซึ่งราคาการยื่นจดทะเบียนจะสูงเนื่องจากต้องเสีย (ค่าบริการตัวแทนในประเทศปลายทาง) + (ค่าธรรมเนียมราชการ)

การยื่นจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าระบบมาดริดแบบรายประเทศจะไม่เกี่ยวกับคำขอในประเทศไทย

*************************************************************************************************

B.เครื่องหมายการค้าระบบมาดริดแบบพิธีสารมาดริด (Madrid Protocol)

ปัจจุบันมี 109 สมาชิก รวม 125 ประเทศ (สถานะ September 28, 2021)

ขั้นตอนการจดเครื่องหมายการค้าระบบมาดริด แบบพิธีสารมาดริด

Step 1 ยื่นคำขอพื้นฐาน (basic application) ในประเทศไทย โดยแนะนำให้ยื่นจดทะเบียนให้คุ้มครองรายการสินค้าหลายรายการ

เช่น หากยื่นจดทะเบียน 1 รายการสินค้า เวลายื่นเข้าส่วนกลาง (สำนักงานกรมทรัพย์สินทางปัญญาภายในประเทศไทย) จะส่งคำขอไปยังประเทศปลายทางได้แค่ 1 รายการ

เช่น หากยื่นจดทะเบียน 100 รายการสินค้า เวลายื่นเข้าส่วนกลาง (สำนักงานกรมทรัพย์สินทางปัญญาภายในประเทศไทย) จะส่งคำขอไปยังประเทศปลายทางได้ 100 รายการ หรือ น้อยกว่า 100 รายการได้ แต่ต้องเลือกจาก 100 รายการที่ระบุเลือกไว้เท่านั้น

ขั้นตอนนี้ใช้เวลาเพียง 3-7 วันในการยื่นจดทะเบียนและนายทะเบียนจะพิจารณาอนุมัติประมาณ 10-20 เดือน (ระยะเวลาพิจารณาปกติภายในประเทศไทย ไม่มีอะไรพิเศษ)

Step 2 ผู้ขอนำเอาคำขอพื้นฐาน (basic application) ที่ยื่นจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าระบบมาดริดใน Step 1 เข้าไปจดทะเบียนในส่วนกลาง (สำนักงานกรมทรัพย์สินภายในประเทศไทย)

การยื่นจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าระบบมาดริดใน Step 2 คำขอพื้นฐาน (basic application) ไม่ว่าจะอยู่ระหว่างการพิจารณาตรวจสอบ หรือ อนุมัติรับจดทะเบียนแล้วก็สามารถยื่นจดทะเบียนได้

โดยจะเสียค่าธรรมเนียมแรกเข้า (basic fee) ประมาณ 30,000 บาท

โดยจะต้องเสียค่าธรรมเนียมรายประเทศ ประเทศละประมาณ 5,000-50,000 บาทไม่เท่ากัน (เฉลี่ยแล้วโดยรวมประเทศละประมาณ 8,000 บาท) โดยจะเสียตามประเทศที่เลือก เช่น เลือก 20 ประเทศจะเสียค่าธรรมเนียมรายประเทศ 160,000 บาท เป็นต้น รวม (basic fee) ประมาณ 30,000 บาท  จะเสียไม่เกิน 200,000 บาท ** ยกตัวอย่าง ราคาจริงต้องคำนวณ

(A.แบบรายประเทศอาจจะเสียประเทศละประมาณ 20,000  รวม 20 ประเทศ ประมาณ 400,000 บาท) ** ยกตัวอย่าง ราคาจริงต้องคำนวณ

และทำการชำะเงินให้แก่ World Intellectual Property Organization (WIPO)
ขั้นตอนนี้ส่วนกลาง (สำนักงานกรมทรัพย์สินภายในประเทศไทย) ใช้เวลา 2-3 เดือนในการตรวจสอบคำขอและส่งคำขอไปยังหน่วยราชการของประเทศปลายทางทั้งหมดที่เลือก เช่น ส่งไปประเทศปลายทาง 20 ประเทศ (ไม่ผ่านตัวแทน (เอกชน) ของประเทศปลายทางส่วนนี้เองทำให้ราคายื่นจดทะเบียนถูกลง เป็นการส่งผ่านระหว่าง ราชการ-ราชการ)

**ระบบนี้ไม่ใช่คุ้มครองอัตโนมัติทั่วโลก ยังไงผู้ขอต้องเลือกประเทศ ไม่เลือกไม่ได้

Step 3 ประเทศปลายทางเมื่อได้รับคำขอทะเบียนเครื่องหมายการค้าระบบมาดริดก็จะทำการพิจารณาตรวจสอบความเหมือนคล้าย ตามฐานข้อมูลระบบเครื่องหมายการค้าในประเทศของตนเองตามปกติ ไม่ได้มีอะไรพิเศษ ดังนั้นการยื่นจดทะเบียนผ่านแล้วในประเทศไทย ไม่ได้หมายความว่าจะได้รับการอนุมัติในประเทศปลายทาง

ขั้นตอนนี้ประเทศปลายทางจะใช้เวลาตรวจสอบ 8-24 เดือน แล้วแต่ขั้นตอนในประเทศปลายทางของตนเองตามปกติ ไม่ได้มีอะไรพิเศษ

Step 4.1 หากคำขอตาม Step 3 ผ่านประเทศปลายทางก็จะทำการประกาศโฆษณาและอนุมัติคุ้มครอง 10 ปี (ต่ออายุได้ ทุก 10 ปี)

Step 4.2 หากคำขอตาม Step 3 ไม่ผ่าน เช่นมีการแก้ไขรายการสินค้า การสละสิทธิ ติดเหมือนคล้าย หรือ ติดบ่งเฉพาะ เป็นต้น ทางประเทศปลายทางจะแจ้งไปยัง (WIPO) และ (WIPO) จะแจ้งมายังผู้ขอจดทะเบียนโดยตรง การแจ้งจะแจ้งผ่านอีเมลเท่านั้น

ดังนั้น Step 4.2 หากต้องการยื่นอุทธรณ์ ยื่นโต้แย้ง ผู้ขอต้องทำการตั้งตัวแทน (เอกชน) ในประเทศปลายทาง ซึ่งต้องเสียค่าบริการให้กับตัวแทน (เอกชน) ในประเทศปลายทาง (เพราะผู้ขอไม่มีตัวแทนเนื่องจากคำขอถูกส่งระหว่าง ราชการไทย กับ ราชการประเทศปลายทาง ในครั้งแรก)

เมื่อยื่นอุทธรณ์ ยื่นโต้แย้ง ก็จะเข้าสู่ขั้นตอนการพิจาณาของประเทศปลายทางต่อไป ผลคือ ผ่าน/ไม่ผ่าน ถ้าผ่านกลับไปยัง Step 3

*โดยรวม B.เครื่องหมายการค้าระบบมาดริดแบบพิธีสารมาดริด (Madrid Protocol) ถือว่ามีราคาที่ประหยัดและสะดวก เป็นระบบทะเบียนเดียว ต่ออายุต่อครั้งเดียวได้ทุกประเทศ ซึ่งหากมีการยื่นจดทะเบียนหลายประเทศจะทำให้มีราคาที่ประหยัด แนะนำให้ใช้ระบบนี้

รายชื่อเขตอำนาจศาลที่ได้ลงนามในข้อตกลงระบบมาดริด

(Madrid Member)

  1. AF Afghanistan
  2. African intellectual property organization (oapi)
  3. AG Antigua and Barbuda
  4. AL Albania
  5. AM Armenia
  6. AT Austria
  7. AU Australia
  8. AZ Azerbaijan
  9. BA Bosnia and Herzegovina
  10. BG Bulgaria
  11. BH Bahrain
  12. BN Brunei
  13. BQ Bonaire, Saint Eustatius and Saba
  14. BR Brazil
  15. BT Bhutan
  16. BW Botswana
  17. BX Benelux
  18. BY Belarus
  19. CA Canada
  20. CH Switzerland
  21. CN China
  22. CO Colombia
  23. CU Cuba
  24. CW Curacao
  25. CY Cyprus
  26. CZ Czech Republic
  27. DE Germany
  28. DK Denmark
  29. DZ Algeria
  30. EE Estonia
  31. EG Egypt
  32. EM European Union
  33. ES Spain
  34. FI Finland
  35. FR France
  36. GB United Kingdom
  37. GE Georgia
  38. GH Ghana
  39. GM Gambia
  40. GR Greece
  41. HR Croatia
  42. HU Hungary
  43. ID Indonesia
  44. IE Ireland
  45. IL Israel
  46. IN India
  47. IR Iran
  48. IS Iceland
  49. IT Italy
  50. JP Japan
  51. KE Kenya
  52. KG Kyrgyzstan
  53. KH Cambodia
  54. KP North Korea
  55. KR South Korea
  56. KZ Kazakhstan
  57. LA Laos
  58. LI Liechtenstein
  59. LR Liberia
  60. LS Lesotho
  61. LT Lithuania
  62. LV Latvia
  63. MA Morocco
  64. MC Monaco
  65. MD Moldova
  66. ME Montenegro
  67. MG Madagascar
  68. MK Macedonia
  69. MN Mongolia
  70. MW Malawi
  71. MX Mexico
  72. MY Malaysia
  73. MZ Mozambique
  74. NA Namibia
  75. NO Norway
  76. NZ New Zealand
  77. OA African Intellectual Property Organization (OAPI)
  78. OM Oman
  79. PH Philippines
  80. PK Pakistan
  81. PL Poland
  82. PT Portugal
  83. RO Romania
  84. RS Serbia
  85. RU Russia
  86. RW Rwanda
  87. SD Sudan
  88. SE Sweden
  89. SG Singapore
  90. SI Slovenia
  91. SK Slovakia
  92. SL Sierra Leone
  93. SM San Marino
  94. ST Sao Tome and Principe
  95. SX Sint Maarten
  96. SY Syrian Arab Republic
  97. SZ Swaziland
  98. TJ Tajikistan
  99. TM Turkmenistan
  100. TN Tunisia
  101. TR Turkey
  102. TT Trinidad and Tobago
  103. UA Ukraine
  104. US United States of America
  105. UZ Uzbekistan
  106. VN Vietnam
  107. WS Samoa
  108. ZM Zambia
  109. ZW Zimbabwe

การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในประเทศจีน คืออะไร?

หากไม่ได้ยื่นจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าระบบมาดริด และต้องการขอรับคุ้มครองเครื่องหมายการค้าในประเทศจีน จะต้องทำการจดเครื่องหมายการค้าจีนในประเทศจีนด้วยเพื่อให้ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย ป้องกันการเลียนแบบชื่อเครื่องหมายการค้า

การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในประเทศจีน คือการนำเครื่องหมายการค้าไปขอรับความคุ้มครองภายใต้กฎหมายจีนและมีสิทธิที่จะใช้ ขาย จำหน่ายสินค้า ภายใต้เครื่องหมายการค้านี้ในประเทศจีนได้แต่เพียงผู้เดียว

หลักเกณฑ์การพิจารณาจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในประเทศจีน

หลักเกณฑ์ที่จะอธิบายดังต่อไปนี้ใช้ได้ทั้ง เครื่องหมายการค้าระบบมาดริด และระบบการรับจดเครื่องหมายการค้าจีน

การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในประเทศจีน คือการนำเครื่องหมายการค้าไปขอรับความคุ้มครองภายใต้กฎหมายจีนและมีสิทธิที่จะใช้ ขาย จำหน่ายสินค้า ภายใต้เครื่องหมายการค้านี้ในประเทศจีนได้แต่เพียงผู้เดียว

ก.คำสามัญ เช่น cafe, Shop, Beauty, restaurant หากอยู่ในเครื่องหมายการค้า อาจจะมีคำสั่งติดเหมือนคล้ายได้ เช่น คนแรกยื่น MK restaurant คนที่สองยื่น Amezon restaurant แบบนี้ Amezon restaurant อาจจะจดทะเบียนไม่ผ่านเนื่องจากคำว่า restaurant ของ Amezon ไปติดเหมือนคล้ายกับ restaurant ของ MK ต่างกับในประเทศไทย หรือ ประเทศอื่นที่ restaurant ที่เป็นคำทั่วไปสามารถใช้ซ้ำกันได้ แต่ต้องทำการสละสิทธิ

ดูตอบข้อสงสัย : ทำไมการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าจะต้องมีการสละสิทธิ ตามมาตรา 12
https://tgcthailand.com/blog/answer-questions-no-trademark-registration-has-to-be-waiver/

ข.ชื่อประเทศ Thailand, England เป็นต้น จะอยู่ในเครื่องหมายการค้าไม่ได้เลย ถ้ามีติดเป็นคำต้องห้ามทันที และ ทำให้จดทะเบียนไม่ผ่าน ต่างกับในประเทศไทย หรือ ประเทศอื่นที่ Thailand, England ที่เป็นคำทั่วไปสามารถอยู่ในเครื่องหมายการค้าได้ แต่ต้องทำการสละสิทธิ

ดูตอบข้อสงสัย : ทำไมการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าจะต้องมีการสละสิทธิ ตามมาตรา 12
https://tgcthailand.com/blog/answer-questions-no-trademark-registration-has-to-be-waiver/

ค.เรื่องภาพ เช่น ภาพช้าง ภาพดอกไม้ ภาพลายเส้น ต่างๆ การพิจารณาค่อนข้างเข้มข้นมาก ภาพเช่น ช้างแบบที่ 1 และ ช้างแบบที่ 2 ถ้าเป็นช้างเหมือนกันที่มีการออกแบบที่แตกต่างกันประเทศจีนมักจะมีคำสั่งติดเหมือนคล้าย ต่างกับในประเทศไทย หรือ ประเทศอื่นที่ ช้างแบบที่ 1 และ ช้างแบบที่ 2 ถ้าเป็นช้างเหมือนกันที่มีการออกแบบที่แตกต่างกัน ถือว่าแตกต่างกัน สามารถยื่นจดทะเบียนได้ทั้งคู่ ดังนั้นที่ประเทศจีนการยื่นเครื่องหมายภาพค่อนข้างมีความเสี่ยง และ การตรวจสอบความเหมือนคล้ายเรื่องภาพก่อนยื่นจดทะเบียนจะตรวจสอบยาก เนื่องจากไม่มีการตรวจรหัสภาพเหมือนประเทศอื่น

ง.เรื่องรายการสินค้า ของประเทศจีนจะใช้รายการสินค้าเก่าแบบเดิมและโบราณมากซึ่งบางครั้งไม่สอดคล้องกับ standard description ของประเทศอื่น ต้องพยามหาคำที่ใกล้เคียงที่สุด

link หาจำพวกและรายการสินค้าที่เป็น Standard description
https://tmgns.search.ipaustralia.gov.au/

จ. ประเทศจีนมี sub class เช่น จำพวก 3 เครื่องสำอาง โดยปกติหากเราจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในห้อง 3 เมื่อเข้าไปในห้อง 3 แล้วหยิบรายการสินค้าใดก็ตามในห้องนี้เช่น หยิบครีมบำรุงผิวพรรณ บุคคลอื่นจะจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่เหมือนกันหรือคล้ายกันในห้อง 3 นี้ไม่ได้เลยไม่ว่าจะหยิบรายการสินค้าอื่นที่แตกต่างกับครีมบำรุงผิวพรรณ เช่น ไปหยิบน้ำหอม แบบนี้ก็ไม่ได้ ต่างกับประเทศจีน ที่เมื่อเข้าไปในห้อง 3 แล้ว จะมีห้องย่อยที่เรียกว่า sub class เช่นห้องย่อยที่ 1 ห้องย่อยที่ 2 หากเราจดทะเบียนเครื่องหมายการและเลือกรายการสินค้าในห้องย่อยที่ 1 บุคคลอื่นจะจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่เหมือนกันหรือคล้ายกันในห้อง 3 นี้ได้หากเป็นการจดทะเบียนในห้องย่อยที่ 2 เป็นต้น (บางกรณีก็พิจารณาความเหมือนคล้ายทั้งห้อง 3)

ฉ.ที่ประเทศจีนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า 1 ครั้ง คุ้มครองทุกมณฑล ไม่รวมฮ่องกง และ การพิจารณาจะใช้เวลาสั้นมาเพียง 4-6 เดือน คุ้มครอง 10 ปี และ ต่ออายุได้ทุก 10 ปี

การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในประเทศจีนกับ TGC

ขั้นตอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในประเทศจีน

ขั้นตอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในประเทศจีนมีขั้นตอนที่เหมือนกับประเทศอื่นทั่วโลก ไม่ว่าจะยื่นจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าระบบมาดริด หรือยื่นจดเครื่องหมายการค้าจีนโดยตรง

  1. ตรวจสอบความเหมือนคล้าย ว่าเครื่องหมายการค้ามีชื่อหรือภาพไปซ้ำซ้อนกับเครื่องหมายการค้าที่ได้ยื่นจดทะเบียนไว้แล้วหรือไม่
  2. จัดทำเอกสารและยื่นจดทะเบียนเพื่อขอรับความคุ้มครอง
  3. ทางราชการของจีนจะตรวจสอบและออกหนังสือสำคัญการจดทะเบียนประมาณ 6-15 เดือน โดยมีการพิจารณาตรวจสอบความเหมือนคล้าย 4-6 เดือน หากได้รับการอนุมัติก็จะประกาศโฆษณาให้บุคคลอื่นมาคัดค้านอีก 2 เดือน และขั้นตอนการออกหนังสือสำคัญการจดทะเบียน 1 เดือน

เอกสารที่ใช้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในประเทศจีน

ขั้นตอนการจัดเตรียมเอกสารสำหรับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในประเทศจีนมีเอกสารที่เหมือนกับประเทศอื่น ไม่ว่าจะยื่นจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าระบบมาดริด หรือยื่นจดเครื่องหมายการค้าจีนโดยตรง สำหรับข้อมูลที่ใช้จะประกอบด้วย ชื่อ นามสกุล ที่อยู่ผู้ขอจดทะเบียน ที่เป็นภาษาอังกฤษ หรือภาษจีน ภาพเครื่องหมายการค้า รายการสินค้า/บริการ โดยมีเอกสารที่ใช้คือ

  1. หนังสือมอบอำนาจ จะมีแบบฟอร์มของประเทศจีน
  2. รับรองสำเนาหนังสือเดินทาง กรณีที่ผู้ยื่นจดทะเบียนเป็นบุคคลธรรมดา
  3. รับรองสำเนาหนังสือรับรองบริษัท (กรณีบริษัท) โดยสำเนาหนังสือรับรองบริษัทจะต้องแปลเป็นภาษาอังกฤษเพื่อแนบประกอบด้วย

ค่าธรรมเนียมการขอจดทะเบียนการค้าต่างประเทศ

ค่าธรรมเนียมและรายการสำหรับขอจดทะเบียนการค้าต่างประเทศ

ค่าธรรมเนียมเครื่องหมายการค้าระบบมาดริด

  1. ค่าธรรมเนียมแรกเข้า (Basic Fee) ประมาณ 60,000 บาท
  2. ค่าธรรมเนียมรายประเทศละประมาณ 10,000 บาท

ค่าธรรมเนียมเครื่องหมายการค้าต่างประเทศไม่ผ่านระบบมาดริด

  1. ไม่มีค่าธรรมเนียมแรกเข้า (Basic Fee)
  2. ค่าธรรมเนียมรายประเทศละประมาณ 15,000-50,000 บาทขึ้นอยู่กับประเทศปลายทาง

เช่น ค่าธรรมเนียมเครื่องหมายการค้าจีนจะอยู่ที่ 15,000 บาท

ค่าธรรมเนียมดังกล่าวข้างต้นยังไม่รวมค่าบริการภายในประเทศ

สอบถามข้อมูลด้านการจดเครื่องหมายการค้าจีน หรือต่างประเทศ

 

ทำไมต้องใช้บริการจดทะเบียนการค้าต่างประเทศกับเรา

  1. เราตรวจสอบความเหมือนคล้ายฟรีสำหรับต่างประเทศกับตัวแทนที่เป็นพาร์ทเนอร์
  2. เราสามารถจัดทำเอกสารและยื่นจดทะเบียนภายใน 7-15 วัน กับตัวแทนในต่างประเทศ
  3. เรามีประสบการณ์ยื่นจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าระบบมาดริด จดเครื่องหมายการค้าจีนมากว่า 25 ปี
  4. เรามีประสบการณ์ด้านบริการรับจดเครื่องหมายการค้า และมีโอกาสผ่านมากกว่า 90%
  5. เรามีบริการให้คำปรึกษาสำหรับการออกแบบ แก้ไขปรับปรุงเครื่องหมายการค้า สำหรับการจดลิขสิทธิ์โลโก้ การจดแบรนด์ การจดเครื่องหมายการค้าระบบมาดริด จดเครื่องหมายการค้าจีน
แอดไลน์