สิทธิบัตรและนวัตกรรมที่มาแรงในช่วงโควิด

สิทธิบัตรและนวัตกรรมที่มาแรงในช่วงโควิด
2021 Trends In Patent And Innovation COVID-19

การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด (COVID-19) ที่เกิดขึ้นอย่างกะทันหัน ทำให้หลายกิจการต้องเผชิญกับวิกฤต นอกเหนือจากโรคระบาดที่เกิดขึ้น ประเด็นหนึ่งที่ผู้คนให้ความสนใจไม่แพ้กันคือนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่จะเข้ามาช่วยภายใต้สถานการณ์เช่นนี้

1.วัคซีน (Vaccine)
วัคซีน COVID-19 มีความสําคัญอย่างยิ่งต่อประชากรที่อยู่ในประเทศเสี่ยงโดยมียอดซื้อล่วงหน้าถึง 300 ล้านโดสทั่วโลก การเปิดตัววัคซีนอย่างรวดเร็วและให้เพียงพอต่อความต้องการจึงเป็น ซึ่งไฟเซอร์ (Pfizer) หนึ่งในบิ๊กบริษัทผลิตยาสัญชาติอเมริกันและบริษัทยาเยอรมนีไบโอเอ็นเทค (BioNTech) ทดสอบวัคซีนต้านไวรัส COVID-19 เป็นผลสำเร็จร้อยละ 90 และได้รับการรับรองจากสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และแคนดา รวมทั้งบริษัท โมเดอร์นา (Moderna) บริษัทพัฒนายาและเทคโนโลยีของสหรัฐอเมริกาเผยผลการทดลองวัคซีน COVID-19 ว่ามีประสิทธิภาพ 94.5%

2.หน้ากากนาโนไฟเบอร์ (Nano Mask)
หน้ากากทางการแพทย์ถือว่ามีประสิทธิภาพในการลดความเสี่ยงของการแพร่เชื้อ COVID-19แต่เนื่องจากความต้องการหน้ากากเหล่านี้เริ่มขาดแคลนนักวิจัยทั่วโลกจึงเร่งพัฒนาตัวกรองหน้ากากนาโนไฟเบอร์ที่สามารถล้างและนํากลับมาใช้ใหม่ได้
ยกตัวอย่างแบรนด์เสื้อผ้าชั้นนำในไทยอย่าง GQ และ AIRism

3.เครื่องฆ่าเชื้อด้วยรังสีแบบพกพา (UV Sterilizer)
แอปเปิล (Apple) และซัมซุง (Samsung) บริษัทผู้นำด้านไอทีผุดแนวคิดพัฒนาเทคโนโลยีที่อุปกรณ์ไอทีสามารถทำความสะอาดตัวเอง การจดสิทธิบัตรของแอปเปิลเกิดขึ้นหลังจาก ซัมซุง (Samsung) ประกาศวางจำหน่ายอุปกรณ์ฆ่าเชื้อโรคด้วยรังสี UV-C อย่างเป็นทางการ โดยการันตีเป็นเครื่อง UV Sterilizer แบบพกพาที่ฆ่าเชื้อได้ 99% ให้สมาร์ทดีไวซ์ ต้องมาลุ้นต่อในตลาดว่าใครจะสร้างความว้าวทางด้านนวัตกรรมได้มากกว่ากัน

4.หุ่นยนต์ใช้ในทางการแพทย์ (Service Robot)
สิ่งประดิษฐ์ของในประเทศไทยเช่น FACO ถูกพัฒนาขึ้นโดยสถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) เป็นระบบหุ่นยนต์ช่วยบุคลากรทางการแพทย์ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลช่วงสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโควิด เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระของแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ในการดูแลผู้ป่วยโรค COVID-19 รวมทั้งลดการปฏิสัมพันธ์โดยตรงกับผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงแพร่เชื้อ

ปรากฏการณ์การระบาดโควิด-19 ทำให้เราได้เห็นว่ายังมีสิ่งประดิษฐ์และยาที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตเพิ่มมากขึ้นและต้องพัฒนาต่อไป หวังเป็นอย่างยิ่งว่าประเทศผู้นำระดับโลกและบริษัทยาที่ผูกขาดสิทธิบัตรจะไม่รีรอและพร้อมที่จะนำมาตรการยืดหยุ่นด้านทรัพย์สินทางปัญญามาใช้ เพื่อให้เกิดการเข้าถึงยาและอุปกรณ์ทีจำเป็นต่อประชากรทั่วโลกอย่างเท่าเทียม

แอดไลน์