5 หลักเกณฑ์การพิจารณาความเหมือนคล้ายระหว่างเครื่องหมายการค้าของศาลทรัพย์สินทางปัญญา

5 หลักเกณฑ์การพิจารณาความเหมือนคล้ายระหว่างเครื่องหมายการค้าของศาลทรัพย์สินทางปัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 413/2564

ในการพิจารณาความคล้ายกันระหว่างเครื่องหมายการค้าของผู้ขอจดทะเบียนกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าตามมาตรา 13 (2) และมาตรา 8 (10) แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 หรือไม่นั้น ต้องพิจารณาจากภาพรวมของลักษณะเครื่องหมายการค้าทั้งสองฝ่าย ลักษณะเด่นของเครื่องหมายการค้า และเสียงเรียกขานคำในเครื่องหมายการค้าทั้งสองฝ่ายว่าเหมือนหรือคล้ายกันเพียงใด ตลอดจนต้องพิจารณาว่าสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าทั้งสองฝ่ายดังกล่าวเป็นสินค้าจำพวกเดียวกันหรือต่างจำพวกกันที่มีลักษณะอย่างเดียวกันหรือไม่ รวมทั้งต้องพิจารณาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับโอกาสที่จะสร้างความสับสนที่เกิดขึ้นแก่ผู้บริโภคในการเลือกซื้อสินค้าที่ขายอยู่ในท้องตลาดระหว่างสินค้าของทั้งสองฝ่าย โดยคำนึงถึงระยะเวลาในการใช้เครื่องหมายการค้าของทั้งสองฝ่ายและความสุจริตของผู้ขอจดทะเบียนประกอบด้วย

ดังนั้น การพิจารณาความคล้ายกันระหว่างเครื่องหมายการค้า จะพิจารณาจาก

1.ภาพปรากฎต้องพิจารณาจากภาพรวมของลักษณะเครื่องหมายการค้าทั้งสอง ลักษณะเด่นของเครื่องหมายการค้า

2.เสียงเรียกขานคำในเครื่องหมายการค้าทั้งสองฝ่ายว่าเหมือนหรือคล้ายกันเพียงใด

3.รายการสินค้าและบริการต้องพิจารณาว่าสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าทั้งสองฝ่ายดังกล่าวเป็นสินค้าจำพวกเดียวกันหรือต่างจำพวกกันที่มีลักษณะอย่างเดียวกันหรือไม่

4.ความสับสนหลงผิดคือต้องพิจารณาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับโอกาสที่จะสร้างความสับสนที่เกิดขึ้นแก่ผู้บริโภคในการเลือกซื้อสินค้าที่ขายอยู่ในท้องตลาดระหว่างสินค้าของทั้งสองฝ่าย โดยคำนึงถึงระยะเวลาในการใช้เครื่องหมายการค้าของทั้งสองฝ่าย

5.ความสุจริตของผู้ขอจดทะเบียนประกอบด้วย

ตามคำพิพากษาของศาลจะใช้หลักเกณฑ์ทั้ง 5 ข้อในการพิจารณาความเหมือนคล้ายระหว่างเครื่องหมายการค้าทั้ง 2

หากคุณกำลังสนใจจดเครื่องหมายการค้า หรือต้องการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ สามารถติดต่อ TGC Thailand ได้เลย

แอดไลน์ 5 หลักเกณฑ์การพิจารณาความเหมือนคล้ายระหว่างเครื่องหมายการค้าของศาลทรัพย์สินทางปัญญา

5 หลักเกณฑ์การพิจารณาความเหมือนคล้ายระหว่างเครื่องหมายการค้าของศาลทรัพย์สินทางปัญญา

5 หลักเกณฑ์การพิจารณาความเหมือนคล้ายระหว่างเครื่องหมายการค้าของศาลทรัพย์สินทางปัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 413/2564

ในการพิจารณาความคล้ายกันระหว่างเครื่องหมายการค้าของผู้ขอจดทะเบียนกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าตามมาตรา 13 (2) และมาตรา 8 (10) แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 หรือไม่นั้น ต้องพิจารณาจากภาพรวมของลักษณะเครื่องหมายการค้าทั้งสองฝ่าย ลักษณะเด่นของเครื่องหมายการค้า และเสียงเรียกขานคำในเครื่องหมายการค้าทั้งสองฝ่ายว่าเหมือนหรือคล้ายกันเพียงใด ตลอดจนต้องพิจารณาว่าสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าทั้งสองฝ่ายดังกล่าวเป็นสินค้าจำพวกเดียวกันหรือต่างจำพวกกันที่มีลักษณะอย่างเดียวกันหรือไม่ รวมทั้งต้องพิจารณาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับโอกาสที่จะสร้างความสับสนที่เกิดขึ้นแก่ผู้บริโภคในการเลือกซื้อสินค้าที่ขายอยู่ในท้องตลาดระหว่างสินค้าของทั้งสองฝ่าย โดยคำนึงถึงระยะเวลาในการใช้เครื่องหมายการค้าของทั้งสองฝ่ายและความสุจริตของผู้ขอจดทะเบียนประกอบด้วย

ดังนั้น การพิจารณาความคล้ายกันระหว่างเครื่องหมายการค้า จะพิจารณาจาก

1.ภาพปรากฎต้องพิจารณาจากภาพรวมของลักษณะเครื่องหมายการค้าทั้งสอง ลักษณะเด่นของเครื่องหมายการค้า

2.เสียงเรียกขานคำในเครื่องหมายการค้าทั้งสองฝ่ายว่าเหมือนหรือคล้ายกันเพียงใด

3.รายการสินค้าและบริการต้องพิจารณาว่าสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าทั้งสองฝ่ายดังกล่าวเป็นสินค้าจำพวกเดียวกันหรือต่างจำพวกกันที่มีลักษณะอย่างเดียวกันหรือไม่

4.ความสับสนหลงผิดคือต้องพิจารณาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับโอกาสที่จะสร้างความสับสนที่เกิดขึ้นแก่ผู้บริโภคในการเลือกซื้อสินค้าที่ขายอยู่ในท้องตลาดระหว่างสินค้าของทั้งสองฝ่าย โดยคำนึงถึงระยะเวลาในการใช้เครื่องหมายการค้าของทั้งสองฝ่าย

5.ความสุจริตของผู้ขอจดทะเบียนประกอบด้วย

ตามคำพิพากษาของศาลจะใช้หลักเกณฑ์ทั้ง 5 ข้อในการพิจารณาความเหมือนคล้ายระหว่างเครื่องหมายการค้าทั้ง 2

หากคุณกำลังสนใจจดเครื่องหมายการค้า หรือต้องการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ สามารถติดต่อ TGC Thailand ได้เลย

แอดไลน์