03
May2023

เครื่องหมายการค้า มีความสำคัญอย่างมากต่อการทำธุรกิจ หรือ อาจจะมีชื่อเรียกที่คุ้นเคยกันในชื่อ ลิขสิทธิ์โลโก้ โลโก้แบรนด์ ยี่ห้อสินค้า หรือ ลิขสิทธิ์สินค้า เป็นต้น

เครื่องหมายการค้า มีความมุ่งหมายเพื่อเป็นการสร้างการรับรู้และจดจำให้ผู้บริโภคสามารถจำแนกความแตกต่างของสินค้าหรือบริการ และ แหล่งที่มาของเจ้าของเครื่องหมายการค้า

การแสดงความเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้า คือการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า เพื่อป้องกันไม่ให้บุคคลอื่นนำ เครื่องหมายการค้าเดียวกันหรือคล้ายกันมาใช้เพื่อให้เกิดความสับสนหรือหลงผิดในแหล่งกำเนิดของสินค้า เป็นเครื่องมือหนึ่งที่สำคัญ จากการถูกลอกเลียน หรือละเมิด หากไม่ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า อาจต้องเจอกับความยากลำบากในการปกป้องโลโก้ หรือสัญลักษณ์จากการถูกละเมิด

วันนี้ TGC Thailand เลยอยากจะมาแชร์ข้อมูลว่า เครื่องหมายการค้ามีวิธีการจดทะเบียนอย่างไร? มีทั้งหมดกี่แบบ? และแต่ละแบบคืออะไรบ้าง?

Trademark Value – ยิ่งใช้ยิ่งเพิ่มมูลค่า

โดยมีหลักการที่สำคัญคือ

จดเครื่องหมายการค้าได้ก่อน ใช้เงิน 1 พันบาท  

จดเครื่องหมายการค้าทีหลัง และ อยากได้คืนใช้เงิน 1 แสนบาท

เครื่องหมายการค้า คือ อะไร?

เครื่องหมายการค้า คือ เครื่องหมาย ตราสัญลักษณ์ รูป โลโก้ หรือเสียงเรียกขาน ที่ใช้กับสินค้าหรือบริการ เพื่อช่วยให้ผู้บริโภคสามารถแยกแยะความแตกต่าง ของสินค้าหรือบริการและแหล่งกำเนิดของสินค้าหรือบริการได้

สรุปให้เข้าใจแบบสั้นๆ คือ เครื่องหมายการค้า ต้องการให้ผู้บริโภคทราบว่าสินค้าหรือบริการ และ เจ้าของสินค้าคือใคร เวลาใช้บริการก็จะไม่ทำให้เกิดความสับสนและความเข้าใจ ซึ่งต้องสร้าง อัตลักษณ์ (Identity) และ การจดจำ ที่อาจจะอยู่ในรูปของ ของแบรนด์  โลโก้ สี เสียง กลิ่น หรือรูปลักษณ์ที่เห็นภายนอก  ในทางกฎหมาย เรียกว่า มีความบ่งเฉพาะ (Distinctiveness) ซึ่งทำให้ เครื่องหมายนั้นสามารถยื่นจดทะเบียนและผูกขาดสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในการใช้ เครื่องหมายการค้านั้น

 

ประเภทเครื่องหมายการค้า ตามกฎหมาย 4 ประเภท ดังนี้

 

 

เครื่องหมายการค้า (Trade mark)  ใช้กับสินค้า ติดที่สินค้าเลย           

                                

เครื่องหมายบริการ (Service mark)   ใช้กับบริการ ไม่มีสินค้ามีแต่บริการขาย

 

เครื่องหมายรับรอง (Certification mark)  ใช้รับรองคุณภาพ แหล่งกำเนิดของสินค้า

 

                   

 

 

 

เครื่องหมายร่วม (Collective mark) ใช้โดยบริษัทหรือวิสาหกิจในกลุ่มเดียวกัน หรือโดยสมาชิกของ สมาคม สหกรณ์สหภาพ สมาพันธ์ กลุ่มบุคคลหรือองค์กรอื่นใดของรัฐหรือเอกชน

เครื่องหมายการค้า ลักษณะอื่นๆ

นอกจากเครื่องหมายการค้าทั้ง 4 ประเภทข้างต้นแล้ว ยังมีเครื่องหมายการค้าที่เป็นประเภทย่อย ได้แก่

1. เครื่องหมายเสียง (Sound mark)

เครื่องหมายเสียง คือ ลักษณะของเสียงที่มีความแตกต่างจากเสียงทั่วไป คือเสียงที่ประดิษฐ์ขึ้น ไม่ใช่นำมาจากเสียงธรรมชาติ เช่น เสียงของไอศกรีม Wall, เสียงของโทรศัพท์ iphone , เสียง 7-11 เป็นต้น ซึ่งประเทศไทยในขณะนี้ สามารถจดทะเบียนเครื่องหมายเสียงได้แล้ว

2. เครื่องหมายกลิ่น (Smell mark)

เครื่องหมายกลิ่น มีลักษณะของกลิ่นที่มีความแตกต่างจากกลิ่นทั่วไป คือกลิ่นที่ประดิษฐ์ขึ้น ไม่ใช่นำมาจากกลิ่นธรรมชาติ ซึ่งประเทศไทยยังไม่สามารถจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าลักษณะนี้ได้ในตอนนี้

3. เครื่องหมายรูปลักษณ์ (Trade dress)

เครื่องหมายรูปลักษณ์ มีลักษณะเป็นรูปลักษณ์ภายนอกของแบรนด์ สินค้า หรือบริการ  ยกตัวอย่างเช่น การตกแต่งร้าน, รูปลักษณ์ของสินค้า, บรรจุภัณฑ์ เป็นต้น และ รูปลักษณ์ (Trade dress) ไปสร้างให้เกิดความสับสนและหลงผิดในแหล่งกำเนิดของสินค้าหรือบริการ  เช่นมี กรณีที่เกิดขึ้นจาก  ร้านชานมไข่มุก เสือพ่นไฟ กับ หมีพ่นไฟ เป็นต้น

หลักเกณฑ์การจดเครื่องหมายการค้า

การจดทะเบียนโลโก้ หรือ เครื่องหมายการค้าจะต้องเป็นไปตามหลักกฎหมายด้วย เพราะมีเรื่องของขอบเขตการใช้สิทธิด้วย

โดยต้องยึดหลักการพื้นฐาน 3 ข้อ  ได้ดังนี้

1. มีความบ่งเฉพาะ (Distinctiveness)

คำว่าบ่งเฉพาะ ไม่ใช่คำที่ใช้กันโดยทั่วเป็นคำทางกฎหมายของกฎหมายเครื่องหมายการค้า  ลักษณะบ่งเฉพาะ คือ ต้องเป็นลักษณะที่ไม่ทำให้ผู้บริโภคสับสน หลงผิด หรือ เครื่องหมายการค้านั้นและ สามารถแยกแยะความแตกต่างของสินค้าหรือบริการได้ ถึงแหล่งกำเนิดของงสินค้า เป็นต้น

ยกตัวอย่างเครื่องหมายการค้า ที่ไม่มีความบ่งเฉพาะ คร่าวๆ ได้ดังนี้

1.1 เสียงเรียกขานหรือรูปสัญลักษณ์ ที่สื่อถึงสินค้าหรือบริการ โดยตรง เช่น ขายรถยนต์ใช้คำว่า car to you แสดงว่า รถยนต์สำหรับคุณ

1.2 เสียงเรียกขานหรือรูปสัญลักษณ์ ที่แสดงลักษณะและคุณสมบัติของสินค้า  เช่น ขายรถยนต์ใช้คำว่า car dee แสดงว่า รถยนต์ดี

1.3 เสียงเรียกขานหรือรูปลักษณ์ ที่มีลักษณะเป็นคำสามัญทั่วไป เช่น ขายรถยนต์ใช้คำว่า good to you  แสดงว่า ดีสำหรับคุณ

ประเภทเครื่องหมายการค้าที่แข็งแกร่ง: บ่งเฉพาะ

ประเภทเครื่องหมายการค้าที่อ่อนแอ: ไม่บ่งเฉพาะ

 

 

เครื่องหมายการค้าที่เพ้อฝันเป็นคำที่แต่งขึ้น คำนี้ไม่มีความหมายอื่นใดนอกเหนือจากความเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่ธุรกิจมอบให้ ลองคิดแบบนี้: หากคุณค้นหาคำว่า ‘Adidas’ ในพจนานุกรม จะไม่มีอยู่จริง นั่นเป็นเพราะแบรนด์รองเท้าผ้าใบและรองเท้ากีฬาคิดค้นคำนี้ขึ้นมา!

เครื่องหมายการค้าตามอำเภอใจคือคำจริงที่ไม่เกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการของธุรกิจ พิจารณา Apple ยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยี ผลไม้ยอดนิยมไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ กับสินค้าที่บริษัท Apple จัดหาให้

เครื่องหมายการค้าที่มีการชี้นำเป็นนัยถึงประเภทของผลิตภัณฑ์หรือบริการที่มีให้ แต่ไม่ได้เปิดเผยอย่างชัดเจน มารับบริษัทรถจากัวร์กันเถอะ เครื่องหมายการค้านี้ให้ความรู้สึกว่าการขับรถจากัวร์จะเร็วเหมือนแมวตัวใหญ่

 

เครื่องหมายการค้าเชิงพรรณนาจะอธิบายลักษณะบางอย่างของสินค้าหรือบริการ เช่น คุณภาพ ลักษณะเฉพาะ หน้าที่หรือวัตถุประสงค์ โดยไม่แยกแยะในลักษณะที่จับต้องได้ แน่นอนว่าร้านค้าปลีกที่ขายตุ๊กตาหมีสามารถเรียกตัวเองว่า “น่ารัก” ได้ แต่ Build-A-Bear Workshop เป็นเครื่องหมายที่มีประสิทธิภาพมากกว่า

เครื่องหมายการค้าทั่วไปคือชื่อทั่วไปสำหรับสินค้าหรือบริการของคุณ หากคุณเป็นธุรกิจทำเทียนและพยายามทำเครื่องหมายการค้าคำว่า “candle” มีโอกาสสูงที่จะถูกปฏิเสธ ท้ายที่สุดแล้ว จุดประสงค์ของเครื่องหมายการค้าก็เพื่อสร้างความแตกต่างให้กับแบรนด์ของคุณจากแบรนด์อื่นในตลาด และหากทุกคนในธุรกิจทำเทียนใช้เครื่องหมายการค้า “candle” ลูกค้าก็จะค่อนข้างสับสน

 

2. ไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายที่จดทะเบียนไว้ก่อนหน้า (Similarity)

เครื่องหมายการค้า หรือ โลโก้ ที่ต้องการจดทะเบียนนั้น ต้องไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าที่ทำการจดทะเบียนไว้แล้วก่อนหน้า เพราะมิฉะนั้นจะเกิดการจดทะเบียนซ้ำซ้อนกันได้และไปสร้างความสับสนหลงผิดในแหล่งกำเนิดของสินค้าหรือบริการ

ซึ่งต้องทำการสืบค้นเครื่องหมายการค้าก่อนจดทะเบียน  ตามลิ้งด้านล่าง

https://search.ipthailand.go.th/index2?q=JTdCJTIydHlwZSUyMiUzQSUyMmFkX3NlYXJjaCUyMiUyQyUyMmluJTIyJTNBMSUyQyUyMmluZGV4JTIyJTNBJTIyZGlwX3NlYXJjaF8zX3RtJTJDJTIyJTJDJTIyb2JqZWN0JTIyJTNBJTVCJTdCJTIyb3B0aW9uJTIyJTNBJTIyYW5kJTIyJTJDJTIyZGF0YV9vYmolMjIlM0ElNUIlN0IlMjJpbmRleCUyMiUzQSUyMmRpcF9zZWFyY2hfM190bSUyMiUyQyUyMmluZGV4X2NyZWF0ZSUyMiUzQSUyMmRpcF9zZWFyY2hfM190bSUyMiUyQyUyMmZpZWxkJTIyJTNBJTIyRElQX1RSV09SRDJfVF9TJTIyJTJDJTIydHlwZSUyMiUzQSUyMndpbGRjYXJkJTIyJTJDJTIya2V5JTIyJTNBJTIyYWIlMjIlMkMlMjJpZiUyMiUzQSUyMm51bGwlMjIlMkMlMjJjaGVja190b2tlbiUyMiUzQSUyMmFsbCUyMiU3RCU1RCU3RCU1RCUyQyUyMm9yZGVyJTIyJTNBJTIyX3Njb3JlJTJDZGVzYyUyMiUyQyUyMnN0YXR1cyUyMiUzQXRydWUlN0Q%3D

ในการพิจารณาความเหมือนคล้ายของเครื่องหมายการค้านั้น มีหลักการ คือ ภาพปรากฎ เสียงเรียกขาน และ รายการสินค้า/บริการ จะต้องมีความแตกต่างกัน

3. ต้องไม่มีลักษณะที่ต้องห้าม

คือนอกจากไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นแล้ว  ต้องไม่ขัดต่อสิ่งที่กฎหมายห้ามเอาไว้  ยกตัวอย่างเช่น

3.1 ไม่เป็นชื่อทางภูมิศาสตร์ เช่น ชื่อประเทศ ตำบล อำเภอ ภูเขา ทะเล เป็นต้น

3.2 ไม่สื่อไปในทางลามก อนาจาร หรือขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน

3.3 ไม่เป็นรูปธงชาติ หรือสัญลักษณ์ที่เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์

3.4 ไม่เป็นชื่อ หรือ ภาพ ที่ขัดต่อความสงบสุขเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน

เครื่องหมายการค้าที่มีลักษณะที่ต้องห้ามและไม่สามารถยื่นจดทะเบียนได้

 

พิจารณาว่าใครบ้างที่ต้องยื่นจดเครื่องหมายการค้า ?

บุคคลที่ต้องยื่นจดเครื่องหมายการค้า คือ เจ้าของแบรนด์หรือเจ้าของธุรกิจ ที่จำหน่ายสินค้า หรือบริการนั้น  เพื่อป้องกันการลอกเลียนแบบและเกิดความสับสนหลงผิด
หรือจดโลโก้และเครื่องหมายการค้าไว้ล่วงหน้า ก่อนที่จะดำเนินการจำหน่ายสินค้า หรือบริการนั้น  นอกจากนี้ การจดเครื่องหมายการค้ายังเหมาะสมกับบุคลากร ในงานด้านอื่น ๆ อีก ยกตัวอย่างเช่น  ผู้ผลิตซอฟต์แวร์  นักออกแบบผลงาน นักสร้างสรรค์ผลงาน  ผู้ผลิตสื่อโฆษณา ให้สอดคล้องกับชื่อรายการ หรือ ชื่อโดเมน เป็นต้น

สถานที่จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า

ยื่นด้วยตนเองที่ กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์

หรือ หากไม่สะดวกในการเดินทาง เราสามารถจดทะเบียนแบบออนไลน์ได้แล้วที่เว็บไซต์ของ กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ ที่อยู่ที่สนามบินน้ำ นนทบุรี หรือที่สำนักงานพาณิชย์จังหวัด

การจดเครื่องหมายการค้าในต่างประเทศ

เครื่องหมายการค้า มีลักษณะเป็นหลักดินแดน กล่าวคือ จดทะเบียนที่ไหน ก็คุ้มครองแค่ประเทศนั้น ซึ่งหากต้องการความคุ้มครองที่ประเทศใด ก็ต้องเข้าไปจดทะเบียนในประเทศนั้น

การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในต่างประเทศ สามารถทำได้โดย 2 วิธี หลักๆ คือ

1. Direct route

คือการเข้าไปจดทะเบียนยังประเทศที่ต้องการรับความคุ้มครองโดยตรงเป็นรายประเทศ  ข้อดีคือ เราสามารถเลือกประเทศในการยื่นจดทะเบียนได้ โดยไม่ต้องยื่นจดทะเบียนพร้อมกันทั้งหมด ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่าย  ข้อเสียคือ ค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูงกว่า Madrid protocol  และ ต้องมีความยุ่งยากในการติดต่อตัวแทนในแต่ละประเทศ และ เรื่องเอกสารที่ต้องดำเนินการผ่าน กรมกางกงสุล และ สถานทูตในเรื่องของการรับรองเอกสาร

2. Madrid protocol

Madrid เป็นกระบวนยื่นจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าครั้งเดียวได้หลายประเทศ  ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้จดทะเบียน ให้สามารถเลือกยื่นจดทะเบียนในประเทศปลายทางที่เป็นสมาชิก Madrid ข้อดีคือ ประหยัดค่าใช้จ่าย และลดความยุ่งยากในการดำเนินการ ไม่ต้องติดต่อตัวแทนในแต่ละประเทศ และ ไม่มีเอกสารที่ต้องดำเนินการผ่าน กรมกางกงสุล และ สถานทูตในเรื่องของการรับรองเอกสาร
สำหรับข้อเสียที่สำคัญคือ  หากคำขอประเทศต้นทางมีคำสั่งไม่รับจดทะเบียน หรือโดนคัดค้านไม่รับจด จะมีผลให้คำขอปลายทางทั้งหมดไม่ได้รับการจดทะเบียนไปด้วย แต่ก็แก้ไขได้โดยรอให้คำขอในประเทศต้นทางได้รับอนุมัติก่อน

ประโยชน์ของการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า

1. ป้องกันคนละเมิดเครื่องหมายการค้า

หากมีการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้ หากมีบุคคลอื่นลอกเลียนแบบและเกิดความสับสนเราสามารถยื่นฟ้องร้องได้ แต่หากไม่ได้จดทะเบียนจดไม่สามารถยื่นฟ้องร้องได้

2. ซื้อขายแลกเปลี่ยน

เครื่องหมายการค้า คือทรัพย์สินที่ไม่มีตัวตน (Intangible asset) และ สามารถซื้อขายได้ ยิ่งเครื่องหมายการค้ามีชื่อเสียง ประวัติอันยาวนานก็มีราคาสูง

3. อนุญาตให้ผู้อื่นใช้สิทธิ

การอนุญาตให้ใช้สิทธิ (Licensing) เป็นการให้สิทธิสำหรับสินค้าบางอย่าง หรือ บริการบางอย่าง เช่น doreamon มีชื่อเสียงอย่างมาก ก็สามารถอนุญาตให้ใช้สิทธิ (Licensing) สำหรับการขายเสื้อผ้า ขายเกม ร้านอาหาร หรือ ทำภาพยนต์ ได้เป็นต้น

4. สร้างการจดจำในระยะยาว

เครื่องหมายการค้า เป็น long term strategy asset ที่ช่วยสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันให้กับธุรกิจ เพราะการทำธุรกิจทั้งหมด เงินและแรงที่ลงไป ส่วนหนึ่งจะไปเพิ่มมูลค่าให้กับเครื่องหมายการค้า และ เครื่องหมายการค้ายังแสดงถึงภาพลักษณ์ได้ เช่น ในเรื่องคุณภาพ และ ราคา ความน่าเชื่อถือ เป็นต้น

 

จ้างจดเครื่องหมายการค้า ได้อะไร?

การจดเครื่องหมายการค้า สามารถทำเองได้ที่กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ หรือยื่นจดทะเบียนผ่านระบบออนไลน์ โดยมีค่าใช้จ่ายเป็นค่าธรรมเนียมราชการตามจำพวกของสินค้า/บริการที่เราเลือก
ดูค่าธรรมเนียม

อย่างไรก็ดีการจดเครื่องหมายการค้านั้นต้องใช้เวลานานประมาณ 1 ปี ซึ่งหากยื่นจดทะเบียนเองโดยไม่มีที่ปรึกษาหรือแนะนำว่าการจดทะเบียนนั้นจะผ่านหรือไม่ ก็จะทำให้เสียโอกาส ค่าใช้จ่าย เวลา และ บางกรณีการจดทะเบียนไม่ผ่านยังกระทบถึงความเสียหายของธุรกิจด้วย ดังนั้น การจ้างจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าก็เปรียบเสมือนที่ปรึกษาทางกฎหมายและทางธุรกิจด้วย

ทั้งนี้หากใครมีความสงสัยเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ เครื่องหมายการค้า หรือทรัพย์สินทางปัญญาอื่นๆ หรือต้องการขอคำปรึกษาเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา สามารถติดต่อสอบถามเข้ามาได้ ทั้งทางช่องทางไลน์และโทรศัพท์กับเรา TGC Thailand ได้ ซึ่งเป็นช่องทางที่ทั้งง่ายและสะดวก

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

สรุป

เครื่องหมายการค้า หรือโลโก้ คือทรัพย์สินทางปัญญาที่มีความสำคัญอย่างมากต่อการทำธุรกิจ ที่ช่วย
1.ป้องกัน คือ ป้องกันการเลียนแบบ จากการปลอม หรือ การเลียน หรือ การลวงขายเครื่องหมายการค้า
2.ปกป้อง คือ ปกป้องจากการถูกบุคคลอื่นมาฟ้อง หากเราไม่ได้ทำการจดทะเบียนไว้
3.เครื่องมือ ในการสนับสนุนและส่งเสริมให้ธุรกิจมีความแข็งแรงและเติบโตได้อย่างยั่งยืน
ดังนั้นผู้ประกอบการที่ต้องการจดเครื่องหมายการค้า ควรจะต้องศึกษาและทำความเข้าใจ หรือหาที่ปรึกษาที่มีความเชี่ยวชาญ ในการดำเนินการเรื่องเครื่องหมายการค้า เพื่อที่จะได้ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายที่บานปลายในอนาคต
แอดไลน์