05
May2023

หากเราได้คิดค้นอะไรขึ้นมาได้ ที่เป็นไอเดีย ความคิด และ เราได้ทำให้ไอเดีย ความคิดนั้นกลายมาเป็น งานประดิษฐ์ สูตรส่วนผสม หรือกรรมวิธีการผลิต การจดสิทธิบัตร เป็นสิ่งเดียวที่จะให้สิ่งเหล่านั้นได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายและปกป้องจากการทำซ้ำ

แต่การจดสิทธิบัตรด้วยตัวเองนั้นเป็นเรื่องที่มึความซับซ้อนมาก แต่บทความนี้จะทำให้ท่านสามารถยื่นจดทะเบียนได้ด้วยตนเอง

สิทธิบัตร คือ ทรัพย์สินทางปัญญา  ซึ่งคุ้มครองงานประดิษฐ์ ฟังชั่นการทำงาน กลไกของเครื่องจักร อุปกรณ์การทำงาน สูตรและกรรมวิธีการผลิต โดยให้สิทธิในการ ผลิต ใช้ ขาย มีไว้เพื่อขาย ภายในระยะเวลาที่กำหนดให้

การตัดสินใจเลือกรูปแบบการขอรับความคุ้มครอง

การประดิษฐ์หรือออกแบบผลิตภัณฑ์ที่จะขอความคุ้มครองนั้นมีหลายประเภท เช่น สิทธิบัตรการประดิษฐ์ อนุสิทธิบัตรการประดิษฐ์ สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์  ทั้งนี้ ผู้ที่ประสงค์จะขอรับความคุ้มครองควรที่จะคำนึงถึงสิ่งต่างๆ ดังต่อไปนี้

1. สิ่งที่คิดค้นขึ้นมานั้นมีการเคลื่อนไหวหรือไม่ และ การเคลื่อนไหวนั้นเป็นประโยชน์ และ แก้ปัญหาได้ ก็สามารถสรุปได้ทันที่ว่าเป็นการประดิษฐ์ซึ่งควรที่จะยื่นขอรับความคุ้มครองสิทธิบัตรการประดิษฐ์ อนุสิทธิบัตรการประดิษฐ์

แต่ถ้าสิ่งนั้นเป็นการคิดค้นขึ้นมาและไม่มีการเคลื่อนไหว คือ อยู่นิ่งๆ แสดว่าสิ่งนั้นเกี่ยวกับรูปร่าง ลักษณะ หรือลวดลาย เพื่อให้เกิดความสวยงาม สามารถสรุปได้ว่าเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ซึ่งควรที่จะยื่นขอรับความคุ้มครองสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์

ในกรณีที่เป็นการประดิษฐ์ที่มีการเคลื่อนไหว ก็ต้องพิจารณาว่าจะขอรับความคุ้มครอง สิทธิบัตรการประดิษฐ์ หรือ อนุสิทธิบัตร โดยพิจารณา ดังนี้

สิทธิบัตรการประดิษฐ์ สิ่งประดิษฐ์นั้นมีเทคนิคที่ซับซ้อน  และ มีขั้นประดิษฐ์ที่สูงขึั้น

อนุสิทธิบัตรการประดิษฐ์ เป็นสิ่งประดิษฐ์นั้นมีเทคนิคที่ไม่ซับซ้อน และ มีขั้นประดิษฐ์ธรรมดา

แต่สิทธิบัตรการประดิษฐ์ อนุสิทธิบัตรการประดิษฐ์ สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์  จะต้องสามารถประยุกต์ใช้ในทางอุตสาหกรรมได้

2. องค์ประกอบอื่นๆ เช่น ค่าธรรมเนียม  อายุการคุ้มครอง ระยะเวลาขั้นตอนการจดทะเบียน  เป็นต้น ถือเป็นส่วนสำคัญในการนำมาพิจารณาว่าจะเลือกว่าจะยื่นคำขอแบบใด

วันนี้ TGC Thailand เลยอยากจะมาแชร์ข้อมูลว่า เทคนิคโดยละเอียด

 

เอกสารสำหรับ การจดสิทธิบัตร อนุสิทธิบัตร และสิทธิบัตรออกแบบผลิตภัณฑ์

สิทธิบัตรหรืออนุสิทธิบัตรจะคุ้มครองงานประดิษฐ์ที่เป็นฟังก์ชั่น กลไกการทำงานของเครื่องจักร อุปกรณ์ องค์ประกอบทางวิศวกรรม กระบวนการผลิตหรือสูตร
สำหรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์จะคุ้มครองงานออกแบบ ที่เกี่ยวกับ รูปทรง ลวดลายหรือสีสัน ที่มองเห็นได้จากภายนอก
โดย การจดสิทธิบัตร สามารถแยกเป็น 2 กรณีได้ ดังนี้

1.กรณีเจ้าของสิทธิ์กับผู้ประดิษฐ์เป็นคนเดียวกัน

  • ร่างคำขอ หมายถึง จะต้องประกอบด้วยหัวข้อที่กฎหมายกำหนด และ จะมีลักษณะแบบเดียวกันทั่วโลก ที่ประกอบด้วย รายละเอียดการประดิษฐ์ ชื่อที่แสดงถึงการประดิษฐ์ สาขาวิทยาการที่เกี่ยวข้องกับการประดิษฐ์ ภูมิหลังของศิลปะหรือวิทยาการที่เกี่ยวข้อง ลักษณะและความมุ่งหมายของการประดิษฐ์ การเปิดเผยการประดิษฐ์โดยสมบูรณ์ คำอธิบายรูปเขียนโดยย่อ วิธีการในการประดิษฐ์ที่ดีที่สุด ข้อถือสิทธิ บทสรุปการประดิษฐ์
  • แบบพิมพ์คำขอ คือแบบฟอร์มสำหรับขอรับสิทธิบัตร โดยต้องระบุรายละเอียดประเภทของสิทธิบัตร รายชื่อผู้ขอรับสิทธิบัตร รายชื่อผู้ประดิษฐ์  ที่อยู่ เป็นต้น
  • คำรับรองเกี่ยวกับสิทธิ คือแบบฟอร์มสำหรับรับรองว่าเราเป็นผู้ประดิษฐ์งานนี้ขึ้นมาเอง หรือ บุคคลใดเป็นผู้ประดิษฐ์ก็ต้องลงนามในเอกสารนี้ด้วย
  • สำเนาบัตรประชาชนผู้ขอจดทะเบียน และ ผู้ประดิษฐ์
  • กรณี ผู้ขอจดทะเบียน และ ผู้ประดิษฐ์ ไม่ใช่คนเดียวกัน ต้องให้ ผู้ประดิษฐ์ โอนสิทธิในการขอจดทะเบียนให้กับ  ผู้ขอจดทะเบียน ด้วย

2.กรณีเจ้าของสิทธิ์เป็นนิติบุคคล

  • ร่างคำขอ หมายถึง จะต้องประกอบด้วยหัวข้อที่กฎหมายกำหนด และ จะมีลักษณะแบบเดียวกันทั่วโลก ที่ประกอบด้วย รายละเอียดการประดิษฐ์ ชื่อที่แสดงถึงการประดิษฐ์ สาขาวิทยาการที่เกี่ยวข้องกับการประดิษฐ์ ภูมิหลังของศิลปะหรือวิทยาการที่เกี่ยวข้อง ลักษณะและความมุ่งหมายของการประดิษฐ์ การเปิดเผยการประดิษฐ์โดยสมบูรณ์ คำอธิบายรูปเขียนโดยย่อ วิธีการในการประดิษฐ์ที่ดีที่สุด ข้อถือสิทธิ บทสรุปการประดิษฐ์
  • แบบพิมพ์คำขอ คือแบบฟอร์มสำหรับขอรับสิทธิบัตร โดยต้องระบุรายละเอียดประเภทของสิทธิบัตร รายชื่อผู้ขอรับสิทธิบัตร รายชื่อผู้ประดิษฐ์  ที่อยู่ เป็นต้น
  • หนังสือสัญญาโอนสิทธิการประดิษฐ์ คือ สัญญาที่ระบุรายละเอียดการโอนสิทธิงานประดิษฐ์จากผู้ประดิษฐ์ให้กับบริษัท เนื่องจากบริษัทไม่มีตัวตนเพราะเป็นบุคคลที่สมมุติขึ้น ต้องมีผู้ประดิษฐ์ในการคิดค้นงาน
  • สำเนาบัตรประชาชนผู้ประดิษฐ์ ผู้ออกแบบ
  • สำเนาบัตรประชาชนกรรมการบริษัทฯ
  • หนังสือรับรองบริษัทฯ

ขั้นตอนการยื่นจดทะเบียน

  1. เตรียมร่างคำขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์
  2. เตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้อง เช่น แบบพิมพ์คำขอ คำรับรองเกี่ยวกับสิทธิ(ถ้ามี) สำเนาบัตรประชาชน เป็นต้น
  3. ยื่นคำขอรับสิทธิบัตร ได้ที่ ชั้น 3 กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ ถนนสนามบินน้ำ จังหวัดนนทบุรี หรือ ยื่นจดทะเบียนทางออนไลน์
  4. ชำระค่าธรรมเนียมการยื่นจดทะเบียน สิทธิบัตรการประดิษฐ์  500 บาท อนุสิทธิบัตรการประดิษฐ์  250 บาท
  5. หลังจากนั้นรอให้ผู้ตรวจสอบส่งเอกสารคำสั่งมาให้ เช่น แก้ไข อนุมัติ ส่งเอกสารเพิ่มเติม เป็นต้น

 

ตัวอย่างการกรอกเอกสาร

1.ร่างคำขอ

1.1 ร่างคำขอสำหรับ การจดสิทธิบัตร จดอนุสิทธิบัตร

ต้องประกอบด้วยหัวข้อที่กฎหมายกำหนด ที่ประกอบด้วย รายละเอียดการประดิษฐ์ ชื่อที่แสดงถึงการประดิษฐ์ สาขาวิทยาการที่เกี่ยวข้องกับการประดิษฐ์ ภูมิหลังของศิลปะหรือวิทยาการที่เกี่ยวข้อง ลักษณะและความมุ่งหมายของการประดิษฐ์ การเปิดเผยการประดิษฐ์โดยสมบูรณ์ คำอธิบายรูปเขียนโดยย่อ วิธีการในการประดิษฐ์ที่ดีที่สุด ข้อถือสิทธิ บทสรุปการประดิษฐ์
  • ชื่อที่แสดงถึงการประดิษฐ์ เป็นชื่องานประดิษฐ์ ซึ่งต้องเป็นชื่อที่เป็นมาตรฐาน และ ชื่อที่เป็นการอวดอ้างสรรพคุณจะระบุไม่ได้ เช่น  เสื้อวิเศษ  อันนี้ไม่ได้ แนะนำให้ตั้งชื่อให้กระชับ และ ได้ใจความ เพื่อให้สามารถค้นหาได้ง่าย เช่น เสื้อที่มีผ้าสามชั้นป้องกันความชื้นและแห้งเร็ว เป็นต้น
  • สาขาวิทยาการที่เกี่ยวข้องกับการประดิษฐ์ จะมีรูปแบบเฉพาะ เช่น งานเราเป็นประเภทไหน ให้เอาคำนั้นเป็นคำนำ  วิศวกรรม ให้เขียนว่า “วิศวกรรมในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ “ชื่อการประดิษฐ์” ” แต่ถ้าเป็นงานคอมพิวเตอร์   ให้เขียนว่า “คอมพิวเตอร์ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ “ชื่อการประดิษฐ์” ” เช่น วิศวกรรมที่เกี่ยวข้องกับเสื้อที่มีผ้าสามชั้นป้องกันความชื้นและแห้งเร็ว เป็นต้น

 

  • ภูมิหลังของศิลปะหรือวิทยาการที่เกี่ยวข้อง สำหรับหัวข้อนี้เป็นการอธิบายงานประดิษฐ์ที่มีอยู่ก่อนหน้า  โดยอธิบายงานก่อนหน้าว่ามีข้อเสียอย่างไรและงานประดิษฐ์ของเราได้ไปแก้ปัญหาหรือทำให้ดีขึ้นอย่างไร และ แนะนำให้อ้างตามการประดิษฐ์แบบดิมจากที่เคยยยื่นจดสิทธิบัตรไว้ในฐานข้อมูล โดยสามารถสืบค้นได้ในฐานข้อมูลสิทธิบัตรกรมทรัพย์สินทางปัญญา

 

  • ลักษณะและความมุ่งหมายของการประดิษฐ์ เป็นการบอกรายละเอียดโดยย่อ ของงานประดิษฐ์และประโยชน์ใช้สอย โดยการเขียนให้มีความยาวครึ่งหน้ากระดาษ  แบ่งเป็น 2 ย่อหน้า ย่อหน้าแรกให้บรรยายลักษณะของการประดิษฐ์และย่อหน้าสองให้บรรยาย ความมุ่งหมายของการประดิษฐ์
  • การเปิดเผยการประดิษฐ์โดยสมบูรณ์  โดยเป็นการบรรยายลักษณะของงานประดิษฐ์ให้ละเอียดมากที่สุด แสดงถึงส่วนประกอบต่างๆ ว่าประกอบด้วยอะไรบ้าง แต่ละส่วนมีหน้าที่อย่างไร  มีการทำงานอย่างไร  โดยการอธิบายต้องอ้างอิงรูปเขียนด้วย และให้ใส่ตัวเลขที่ชี้ไปยังส่วนประกอบนั้นๆ ที่เราเขียนไว้ในรูปเขียน เช่น ฝาปิด (1) ในรูปต้องมีการชี้เลข (1) ด้วย
  • คำอธิบายรูปเขียนโดยย่อ เป็นชื่อของรูปเขียน ที่เรามี เช่น ถ้าเรามี 3 รูป เราก็มี 3 บรรทัด โดยเริ่มจากบรรทัดที่ 1 เขียนว่า รูปที่ 1 แสดง “ชื่อรูป”
  •  วิธีการในการประดิษฐ์ที่ดีที่สุด ให้เขียนว่า เหมือนที่ได้กล่าวไว้แล้วในหัวข้อการเปิดเผยการประดิษฐ์โดยสมบูรณ์

 ข้อถือสิทธิหลัก

ข้อนี้สำคัญที่สุดเพราะเป็นข้อที่จะนำไปบังคับใช้และฟ้องร้อง  โดยจะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ รายละเอียดทั่วไป และ สิ่งที่มีลักษณะพิเศษที่ต้องการขอรับความคุ้มครอง และ ส่วนที่ขอรับความคุ้มครองต้องมีความใหม่จากงานประดิษฐ์ก่อนหน้า

โดยส่วนที่ขอรับความคุ้มครองต้องอยู่หลังคำว่า “ลักษณะพิเศษคือ” ดังตัวอย่าง

 

 ข้อถือสิทธิรอง

เป็นการขยายความข้อถือสิทธิหลัก กล่าวคือ อาจจะส่วนประกอบเพิ่มเติม หรือ สิ่งที่เป็นทางเลือก ที่เพิ่มเติมจากข้อถือสิทธิหลัก  โดยต้องมีคำว่า ตามข้อถือสิทธิ 1 ที่ซึ่ง… เช่น 
2.โครงสร้างหน้ากากอนามัยสำหรับครอบจมูก ตามข้อถือสิทธิ 1 ที่ซึ่ง..ส่วนประกอบเพิ่มเติม หรือ สิ่งที่เป็นทางเลือก

ข้อถือสิทธิรองอาจมีมากกว่า 1 ข้อ อนุสิทธิบัตรระบุได้สูงสุด 10 ข้อ สิทธิบัตรระบุได้มากกว่า 10 ข้อ

บทสรุปการประดิษฐ์

เป็นการกล่าวถึงบทสรุปการประดิษฐ์ให้เข้าใจและเห็นภาพของตัวงานได้ ควรมีข้อความ 1 ส่วน 3 ของหน้ากระดาษ ตัวอย่างเช่น

รูปเขียน

การจดสิทธิบัตร กฎหมายบังคับให้ใช้รูปเขียน ที่เป็นลายเส้นขาว ดำ เส้นเท่ากัน ไม่มีแรงเงา ซึ่งต้องแสดงภาพให้เข้าใจรายละเอียดของงาน

การจดสิทธิบัตรการออกแบบ กฎหมายบังคับให้ใช้รูปเขียน หรือ รูปถ่ายได้ ประกอบด้วย 7 รูป คือด้าน บน ล่าง ซ้าย ขวา หน้าตรง หลังตรง และมุมมอง perspective (เห็น 3 ด้าน บน หน้า ซ้ายหรือขวา) ดังแสดงตามตัวอย่างด้านล่างนี้

 

ข้อกำหนดแบบร่างคำขอ

กฎหมายมีข้อกำหนดในการจัดเตรียมเอกสารในเบื้องต้น ดังนี้
  • ใช้กระดาษสีขาวเรียบไม่มีเส้น ขนาด A4 โดยใช้หน้าเดียว ตามแนวตั้ง เว้นแต่รูปเขียนอาจใช้แนวนอนได้
  • ระบุหมายเลขหน้า และจำนวนหน้าทั้งหมดไว้กลางหน้ากระดาษด้านบนของทุกหน้า ตามลำดับ
  • มีหมายเลขกำกับไว้ด้านซ้าย ทุกๆ 5 บรรทัดตามลำดับข้อความในรายละเอียด การประดิษฐ์ ข้อถือสิทธิ และบทสรุปการประดิษฐ์
  • ใช้หน่วยการวัดปริมาณ ตามหลักสากล
  • ใช้ศัพท์เฉพาะ เครื่องหมาย และสัญลักษณ์ที่ใช้กันทั่วไปในศิลปะหรือวิทยาการนั้นๆ
  • ไม่ขูดลบ เปลี่ยนแปลง หรือมีคำหรือข้อความใดๆ ระหว่างบรรทัด

2.แบบพิมพ์คำขอ

แบบพิมพ์คำขอ เป็นแบบพิมพ์หลักที่ใช้ยื่นจดทะเบียน โดยการกรอกตามเอกสารซึ่งไม่ยาก สำคัญต้องเลือกประเภทให้ถูกต้อง

 

กรอกรายละเอียดตามข้อ 1 2 3 4 5 6 ตามความจริง

 

 

ข้อ 7 ส่วนใหญ่จะปล่อยว่าง ข้อ 7 คือ เช่น ยื่นสิทธิบัตรฉบับเดียวกันพร้อมกัน 2 เรื่อง นายทะเบียนสั่งให้แยกจาก 1 เรื่องเป็น 2 เรื่อง

 

ข้อ 8 เป็นเรื่อง คำขอที่ถูกยื่นมากจากต่างประเทศ และ นำคำขอนั้นมายื่นในประเทศไทย

ข้อ 9 เป็นเรื่องสิทธิบัตรที่เปิดเผยโดยได้ออกงานแสดงของรัฐ

 

 

ข้อ 10 ส่วนใหญ่จะปล่อยว่าง ถ้าไม่เกี่ยวกับจุลชีพ

ข้อ 11 ข้อผ่อนผันส่งเอกสารภาษาไทย

ข้อ 12 ส่วนใหญ่ปล่อยว่างไว้

ข้อ 13 กรอกจำนวนหน้าเอกสารตามจริง

ข้อ 14 ติ๊กจำนวนเอกสารตามจริง

ข้อ 15 ส่วนใหญ่จะติ๊กว่าไม่เคยยื่นมาก่อน

 

3.คำรับรองเกี่ยวกับสิทธิ (กรณีเจ้าของสิทธิ์กับผู้ประดิษฐ์เป็นคนเดียวกัน)

กรณีผู้ประดิษฐ์กับเจ้าของสิทธิ์เป็นบุคคลคนเดียวกัน เราต้องมีเอกสารเพื่อยืนยันว่าเราเป็นผู้ประดิษฐ์งานนี้จริงๆ และนั่นก็คือแบบ 001ก(พ) โดยกรอกข้อมูลตามหัวข้อในนั้นได้เลย สามารถดาวน์โหลดเอกสารได้ที่ลิงค์ด้านล่าง

(ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม สป/สผ/อสป/001-ก(พ))

กรอกข้อความตามจริง ถ้ามีผู้ประดิษฐ์มากกว่า 3 คนก็ใช้เอกสาร  2 แผ่นได้

4.หนังสือโอนสิทธิ์ (กรณีเจ้าของสิทธิเป็นนิติบุคคล)

ตัวอย่าง

เขียนที่

วันที่

สัญญาระหว่างผู้โอนคือ  ที่อยู่

ผู้รับโอนคือ  ที่อยู่

โดยสัญญานี้ ผู้โอนซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์  ….. ชื่องาน

ขอโอนสิทธิในการประดิษฐ์ดังกล่าว ซึ่งรวมถึงสิทธิขอรับสิทธิบัตรและสิทธิอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องให้แก่ผู้รับโอน โดยผู้รับโอนได้จ่ายค่าตอบแทนที่เหมาะสมให้แก่ผู้โอน

เพื่อเป็นพยานหลักฐานแห่งการนี้ ผู้โอนและผู้รับโอนได้ลงลายมือชื่อไว้ข้างล่างนี้

ลายมือชื่อผู้โอน (ผู้ประดิษฐ์)______________________________

ลายมือชื่อผู้รับโอน (ผู้ขอรับสิทธิบัตร)_________________________________________

ลายมือชื่อพยาน______________________________

ลายมือชื่อพยาน______________________________

 

เพิ่มเติม

สรุป

จดสิทธิบัตร ด้วยตัวเองไม่ยากเลย  เพียงแค่เราเตรียมเอกสารให้ถูกต้องและศึกษาวิธีการเขียนสิทธิบัตรให้เป็นไปตามกฎหมาย

ทั้งนี้หากใครมีความสงสัยเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ เครื่องหมายการค้า หรือทรัพย์สินทางปัญญาอื่นๆ หรือต้องการขอคำปรึกษาเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา สามารถติดต่อสอบถามเข้ามาได้ ทั้งทางช่องทางไลน์และโทรศัพท์กับเรา TGC Thailand ได้ ซึ่งเป็นช่องทางที่ทั้งง่ายและสะดวก

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

แอดไลน์