3 ขั้นตอนการยื่นขอนำเข้าอาหาร ตามหลักเกณฑ์ อย.
1.ขั้นตอนแรก : ขออนุญาตสถานที่นำเข้า
เมื่อเรานำเข้าอาหารมาจากต่างประเทศ เราต้องมีสถานที่เก็บรักษาอาหารนั้น
เช่น โรงงาน โกดัง อาคารสำนักงาน อาคารพาณิชย์ ตึกแถว
การจัดเตรียมสถานที่นำเข้า
- สภาพแวดล้อมภายนอกของสถานที่เก็บอาหาร เหมาะสม มีการถ่ายเทระบายอากาศได้ดี
- จัดทำชั้นหรือยกพื้นโปร่งสูงประมาณ 8 นิ้วไว้รองรับ อาหารให้ เพียงพอ
- มีอุปกรณ์ในการเก็บและรักษาคุณภาพอาหาร
- จัดทำป้ายดังนี้
- ป้าย “สถานที่นำเข้าหรือสั่งอาหารเข้ามาในราชอาณาจักร”
ติดไว้หน้าสำนักงานและสถานที่เก็บอาหารในที่เปิดเผย
ให้เห็นได้ง่าย จำนวน 2 ป้าย (กรณีที่เก็บและสำนักงานอยู่คนละที่)
- ป้าย “สถานที่เก็บอาหาร” ติดไว้หน้าห้องเก็บอาหาร
- ป้าย “ชื่อแสดงชนิดอาหาร”
- จัดเก็บอาหารเป็นสัดส่วนไม่ปะปนกับสินค้าอื่น
- ไม่เก็บอาหารในโรงงานหรือสถานที่ผลิตวัตถุมีพิษ
- การเก็บอาหารร่วมกันหลาย ๆ ร้ายในอาคารเดียวกันต้องแยกห้องเป็นสัดส่วน ยกเว้นห้องเย็นให้แยกบริเวณเก็บอาหารแต่ละรายให้เป็นสัดส่วนไม่ปะปนกัน
- รูปถ่ายแนบพร้อมคำขอ
ค่าธรรมเนียม
คําขอแบบฟอร์ม(อ.6) 5,000 บาท
ค่าธรรมเนียมใบอนุญาต 15,000 บาทและชําระค่าธรรมเนียมในการต่ออายุทุก 3 ปี
2.ขั้นตอนที่สอง : การขออนุญาตผลิตภัณฑ์ (ขอเลขอย. บนผลิตภัณฑ์)
หลักๆ มีการจัดแบบฟอร์มการยื่นเลขอย. ออกประเภทออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
2.1 ยื่นแบบ สบ.5
สำหรับอาหาร 13 ประเภท ที่ต้องยื่นสูตรส่วนประกอบ ผลวิเคราะห์ และฉลาก ได้แก่
– ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร (เฉพาะแบ่งบรรจุ)
– วัตถุเจือปนอาหาร (เฉพาะแบ่งบรรจุ)
– ชาสมุนไพร
– เครื่องดื่มในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท
– กาแฟ
– เครื่องดื่มเกลือแร่
– ไอศกรีม
– อาหารที่อยู่ในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท (หน่อไม้ปี๊บปรับกรด)
– ผลิตภัณฑ์รอยัลเยลลี และรอยัลเยลลี
– นมเปรี้ยว – ผลิตภัณฑ์ของนม
– นมปรุงแต่ง – นมโค
2.2 ยื่นแบบ สบ.7
สำหรับอาหารประเภทอื่น ๆ ยกเว้น 13 ประเภทข้างต้น ยื่นผ่านระบบออนไลน์ E-submission โดยผู้รับอนุญาตเป็นผู้ยื่นเองหรือมอบอำนาจบุคคลอื่นยื่นได้
3.ขั้นตอนที่สาม : การจัดทำฉลาก
รายละเอียดในฉลากอาหารที่ต้องระบุบนภาชนะบรรจุ
- ชื่ออาหาร รายละเอียดเกณฑ์การตั้งชื่อ
- ที่ตั้งของสถานที่ผลิต
- ส่วนประกอบของอาหารเป็นร้อยละ (เปอร์เซ็นต์)
- วันผลิต และ วันหมดอายุ
- น้ำหนักสุทธิ (กรัม) หรือปริมาตรสุทธิ (ลบ.ชม.)
- เครื่องหมาย
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่