การรับจด อย. ขั้นตอน และเอกสารที่ต้องเตรียมให้ครบ

ก่อนทำความเข้าใจเกี่ยวกับ การรับจด อย. ขั้นตอน และเอกสารที่ต้องเตรียมให้ครบ เรามาทำความรู้จักกับ อย. หรือ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยากันก่อน อย. มีหน้าที่ปกป้องสุขภาพของประชาชนโดยการรับรองความปลอดภัย ประสิทธิภาพ และความมั่นคงของยาสำหรับมนุษย์และยารักษาสัตว์ ผลิตภัณฑ์ชีวภาพ และ อุปกรณ์ทางการแพทย์ การรับรองความปลอดภัยของอาหาร เครื่องสำอาง และ ผลิตภัณฑ์สารเคมี และ ที่ปล่อยรังสี

นอกจากนั้น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ยังมีหน้าที่รับผิดชอบในการพัฒนาด้านสาธารณสุขโดยสนับสนุนวัตกรรมที่ทำให้ผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย และราคาไม่แพงมากขึ้น ด้วยการช่วยให้ประชาชนได้รับข้อมูลที่ถูกต้องตามหลักวิทยาศาสตร์ที่จำเป็นสำหรับการใช้ผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์และอาหาร

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยายังมีบทบาทสำคัญการต่อต้านการก่อการร้ายของประเทศในด้านอาหารและยา โดยตรวจสอบและควบคุมผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์เพื่อตอบสนองต่อภัยคุกคามต่อสุขภาพของประชาชนทั้งโดยเจตนาหรือเกิดขึ้นตามธรรมชาติ

เมื่อมีผลิตภัณฑ์ต้องทำการตรวจสอบข้อกฎหมายว่าจะเป็นต้องดำเนินการขอ อย.หรือ ไม่

  • ก.ผลิตภัณฑ์บังคับให้ต้องมี อย. (ถ้าไม่มีถือว่าผิดกฎหมาย)
  • ข.ผลิตภัณฑ์ที่ไม่บังคับให้ต้องมี อย. (แต่สามารถขอ อย. ได้หากต้องการให้เกิดการรับรองมาตราฐาน)

ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการจด อย. ประกอบด้วย

ผู้ประกอบการที่ผลิตหรือจำหน่ายสินค้าดังต่อไปนี้ จำเป็นที่จะต้อง จด อย.​

  1. อาหาร (พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522)
  2. ยา (พระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510)
  3. เครื่องสำอาง (พระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ. 2558)
  4. วัตถุอันตราย (พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535)
  5. วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท (พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518)
  6. ยาเสพติดให้โทษ (พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522)
  7. เครื่องมือแพทย์ (พระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ พ.ศ. 2531)
  8. สารระเหย (พระราชกำหนดป้องกันการใช้สารระเหย พ.ศ. 2533)
  9. สมุนไพร (พระราชบัญญัติผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ. 2562)

ประโยชน์ของการจด อย.

ผลิตภัณฑ์ที่มี อย. คือได้รับการรับรองความปลอดภัย ประสิทธิภาพของ ผลิตภัณฑ์ และ สามารถระบุตัวตนของตัวผลิตภัณฑ์ สถานที่ผลิต และ เจ้าของผลิตภัณฑ์ได้ ดังนั้น หากผลิตภัณฑ์ของท่านได้รับการรับรองจาก สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา แล้วย่อมเป็นองค์ประกอบสำคัญในการส่งเสริมการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ความน่าเชื่อถือ และ การเข้าถึงแหล่งจำหน่ายผลิตภัณฑ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยผู้ที่ต้องการความถูกต้องและความรวดเร็วก็สามารถใช้บริการ รับจด อย. ได้เช่นกัน

ธุรกิจอะไรที่ควรต้องใช้บริการรับจดอย. หรือบริการรับขอใบอนุญาต อย.(FDA)

ธุรกิจอะไรที่ควรต้องใช้บริการรับจดอย. หรือบริการรับขอใบอนุญาต อย.(FDA) มี 9 ประเภท ดังนี้

ผลิตภัณฑ์ต้องจด อย.

 

  1. อาหาร
  2. ยา
  3. เครื่องสำอาง
  4. วัตถุอันตราย
  5. วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท
  6. ยาเสพติดให้โทษ
  7. เครื่องมือแพทย์
  8. สารระเหย
  9. สมุนไพร

การพิจารณาว่าเราต้องจด อย.หรือไม่

ต้องตรวจสอบว่าเป็น ผลิตภัณฑ์บังคับให้ต้องมี อย. (ถ้าไม่มีถือว่าผิดกฎหมาย) หากไม่มี อย.มิฉะนั้นจะเป็นสินค้าที่ผิดกฎหมาย เช่น ยา เครื่องสำอาง วัตถุอันตราย วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ยาเสพติดให้โทษ เครื่องมือแพทย์ สารระเหย ผลิตภัณฑ์เหล่านี้จะบังคับให้ต้องมี อย. ซึ่งผลิตภัณฑ์เหล่านี้มีผลกระทบต่องสุขภาพของประชาชนและอาจถึงชีวิตได้ ผลิตภัณฑ์อาหารบางชนิดก็ไม่บังคับต้องขอ อย. เช่น อาหารสดบางชนิดที่มีขายในท้องตลาด ผลไม้สด เป็นต้น

อาหารสดบางชนิดที่มีขายในท้องตลาด เช่น บัวลอย ถือว่ามีส่วนประกอบของ แป้ง น้ำตาล ที่วัตถุดิบที่ซื้อมาจากท้องตลาดเช่น แป้ง น้ำตาล จะได้รับรอง อย.มาแล้ว หรือ น้ำส้มค้นสด น้ำปั่น เป็นต้น ไม่ต้อง ขอ อย.

ประโยชน์ของการใช้บริการขอใบอนุญาติ อย. (FDA)

ทางบริษัทฯ มีทีมงานที่มีคุณภาพและคุ้นเคยกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาเป็นอย่างดี ที่จะช่วยอ้างอิงประสบการณ์ในการทำงานที่สามารถจัดเตรียมเอกสารได้ครบถ้วนและรวดเร็ว จนได้รับการอนุมัติอย่างทันท่วงที และ ออกไปตรวจสอบสถานที่ของท่านเพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าจะได้รับการอนุมัติอย่างแน่นอนและถูกต้อง

  1. ลดค่าใช้จ่ายในการยื่นคำขอ
  2. เอกสารครบถ้วนถูกต้อง
  3. ให้คำปรึกษาเรื่องสถานที่/ผลิตภัณฑ์และสินค้า
  4. ประหยัดเวลา ลดความยุ่งยากในการดำเนินการ
  5. มีทนายความให้ความช่วยเหลือเมื่อเกิดข้อพิพาท

โดยหากลูกค้าต้องการให้ทาง TGC Thailand ให้คำปรึกษาหรือให้บริการจดทะเบียนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการ จด อย.​ จดลิขสิทธิ หรือจะเป็นการ จดสิทธิบัตรต่างๆ ก็สามารถติดต่อเราได้เลย เราบริการด้วยสโลแกน “สะดวก รวดเร็ว ถูกต้อง และ เชี่ยวชาญ ด้วยประสบการณ์กว่า 10 ปี”

เอกสารที่ต้องเตรียมก่อนเริ่มใช้บริการรับจดทะเบียนอย.

  1. เอกสารพื้นฐานของบริษัท เช่น หนังสือรับรอง บัตรประชาชนกรรมการ ทะเบียนบ้าน
  2. แปลนสถานที่ ตามหลักการเขียนแบบและมีการกำหนดระยะ กว้าง ยาว
  3. ใบอนุญาติประกอบกิจการโรงงาน เช่น (ร.ง. 2) (ร.ง. 4) ตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535
  4. ภาพถ่ายสถานที่จริง
  5. ลิสต์รายการและรายละเอียด เครื่องจักร/อุปกรณ์เครื่องกลการทำงาน จำนวนแรงม้า
  6. รายละเอียดสินค้าโดยละเอียด ส่วนประกอบ สัดส่วน กรรมวิธีการทำ
  7. โฉนดที่ดิน/สัญญาเช่า หนังสือยินยอมให้ใช้สถานที่จากเจ้าของที่ดิน
  8. อื่นๆ ตามที่กำหนด เช่น เอกสารมอบอำนาจ แผนที่

ขั้นตอนการจด อย. มีอะไรบ้าง

มีสองส่วนสำคัญ

ก.ส่วนที่เป็นสถานที่

สถานที่ผลิตต้องมีหลักเกณฑ์วิธีการผลิตที่ดี (GMP: Good Manufacturing Practice) เช่นต้องเริ่มตั้งแต่ต้นจนจบ เช่น ห้องเก็บวัตถุดิบ ห้องผลิต ห้องผสม ห้องล้าง ห้องเก็บสินค้า มีป้ายบ่งชี้ เรื่องเสียง เรื่องกลิ่น เรื่องระบบบำบัด เป็นต้น

สถานที่ที่ไม่สามารถขอ จดอย. ได้ เช่น บ้านจัดสรรเพื่อการพักอาศัย อาคารชุดพักอาศัย และบ้านแถวเพื่อการพักอาศัย เนื่องจากเป็นที่พักอาศัย และ จะไปรบกวนประชาชน ทั้งเรื่อง เสียง กลิ่น เป็นต้น

ข.ส่วนที่เป็นสินค้า/ผลิตภัณฑ์

สินค้า/ผลิตภัณฑ์ ต้องสามารถบ่งชี้ได้ว่า วัตถุดิบที่นำมาใช้ได้รับใบรับรองหรือไม่ เช่น แป้งที่นำมาเป็นวัตถุดิบได้รับ อย.มาก่อนแล้วหรือไม่ หรือ ได้รับการรับรองความปลอดภัยเรื่องเชื้อโรคแล้ว เป็นต้น และ มีฉลาก บรรจุภัณฑ์ที่ถูกต้องและได้รับมาตรฐาน โดยส่วนที่เป็นสินค้า/ผลิตภัณฑ์ จะต้องผลิตตามวิธีการผลิตที่ดี (GMP: Good Manufacturing Practice) ตามข้อ ก. ด้วย

ค.ส่วนการตรวจสอบอนุมัติ

โดยทางเจ้าหน้าที่จะเข้ามาตรวจสอบสถานที่ตามข้อ ก. และ ส่วนที่เป็นสินค้า/ผลิตภัณฑ์ ตามข้อ ข. หากทั้งสองส่วนผ่านก็จะอนุมัติเลขสารบบ “13 หลัก” (เลข อย.) ขั้นตอนนี้ใช้เวลาประมาณ 3-6 เดือน

เลข อย. 13 หลัก ประกอบด้วย

  • เลขจังหวัดของสถานที่ผลิต
  • เลขที่สถานที่ผลิตหรือนำเข้า
  • เลขหน่วยงานที่ออกเลขสารบบอาหาร
  • เลขสถานะของสถานที่ผลิต หรือนำเข้าและหน่วยงานที่อนุญาต
  • เลขที่สถานที่ผลิตหรือนำเข้า
  • เลขลำดับที่ของอาหารตามสถานที่อนุญาต

สถานที่ยื่นคำขอจดแจ้ง ขึ้นทะเบียน อย.

ในกรณีสถานที่ผลิตตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นคำขอที่ศูนย์บริการผลิตภัณฑ์สุขภาพเบ็ดเสร็จ (0ne stop service center )สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

กรณีสถานที่ผลิตตั้งอยู่ต่างจังหวัดให้ยื่นคำขอ ณ สำนักงานสาธารณสุขในจังหวัดนั้นๆ (สินค้าบางประเภทที่อันตรายและกระทบต่อสุขภาพของประชนชนจะต้องมาขอที่ศูนย์บริการผลิตภัณฑ์สุขภาพเบ็ดเสร็จ (0ne stop service center )สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

เลขทะเบียน อย. ใช้งานได้นานเท่าไร มีอายุกี่ปี

เลขทะเบียนจดแจ้ง อย. อาหารเสริม สามารถใช้เลข อย. นั้นๆ ได้ตลอดชีพ จนกว่าจะมีการขอยกเลิกหรือถูกสั่งให้ยกเลิกจาก สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
เลขทะเบียนจดแจ้ง อย. เครื่องสำอาง มีอายุ 3 ปี และ จะต้องต่ออายุทุกๆ 3 ปี นับตั้งแต่วันที่จดทะเบียน อย.

ค่าใช้จ่ายที่ต้องเตรียมในการจด อย.

1.ค่าธรรมเนียมการขออนุญาตในหมวดยา

กฎกระทรวงฉบับที่ 26 ( พ.ศ. 2537 )ออกตามความในพระราชบัญญัติยา พ.ศ. ๒๕๑๐

ข้อ 1 ให้ยกเลิก กฎกระทรวง ฉบับที่ 13 ( พ.ศ. 2522 ) ออกตามความในพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510
ข้อ 2 ให้กำหนดค่าธรรมเนียม ดังต่อไปนี้

( ก ) ประเภทยาแผนปัจจุบัน
( 1 ) ใบอนุญาตผลิตยาแผนปัจจุบันฉบับละ 8,000 บาท
( 2 ) ใบอนุญาตขายยาแผนปัจจุบันฉบับละ 2,000 บาท
( 3 ) ใบอนุญาตขายส่งยาแผนปัจจุบันฉบับละ 1,500 บาท
( 4 ) ใบอนุญาตขายยาแผนปัจจุบันเฉพาะยาที่บรรจุเสร็จที่ไม่ใช่ยาอันตรายหรือยาควบคุมพิเศษฉบับละ 1,000 บาท
( 5 ) ใบอนุญาตขายยาแผนปัจจุบันเฉพาะยาบรรจุเสร็จสำหรับสัตว์ฉบับละ 1,000 บาท
( 6 ) ใบอนุญาตนำหรือสั่งยาแผนปัจจุบันเข้ามาในราชอาณาจักรฉบับละ 10,000 บาท
( 7 ) การพิสูจน์หรือวิเคราะห์ยาตามตำรับยาที่ขอขึ้นทะเบียนครั้งละ 1,000 บาท
( 8 ) ใบสำคัญการขึ้นทะเบียนตำรับยาแผนปัจจุบันฉบับละ 2,000 บาท
( 9 ) ใบแทนใบอนุญาตฉบับละ 100 บาท
( 10 ) ใบแทนใบสำคัญการขึ้นทะเบียนตำรับยาแผนปัจจุบันฉบับละ 100 บาท

( ข) ประเภทยาแผนโบราณ
( 1 ) ใบอนุญาตผลิตยาแผนโบราณฉบับละ 1,000 บาท
( 2 ) ใบอนุญาตขายยาแผนโบราณฉบับละ 300 บาท
( 3 ) ใบอนุญาตนำหรือสั่งยาแผนโบราณเข้ามาในราชอาณาจักรฉบับละ 5,000 บาท
( 4 ) การพิสูจน์หรือวิเคราะห์ยาตามตำรับยาที่ขอขึ้นทะเบียนครั้งละ 500 บาท
( 5 ) ใบสำคัญการขึ้นทะเบียนตำรับยาแผนโบราณฉบับละ 500 บาท
( 6 ) ใบแทนใบอนุญาตฉบับละ 100 บาท
( 7 ) ใบแทนใบสำคัญการขึ้นทะเบียนตำรับยาแผนโบราณฉบับละ 100 บาท

2.ค่าธรรมเนียมการขออนุญาตในหมวดอาหาร

กฎกระทรวงฉบับที่ 5 (พ.ศ.2522)ออกตามความในพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522 ให้กำหนดค่าธรรมเนียม ดังต่อไปนี้

(1) ใบอนุญาตผลิตอาหารสําหรับโรงงานที่ประกอบกิจการโดยใช้คนงานตั้งแต่ฉบับละ 3,000 บาท
(2) ใบอนุญาตผลิตอาหารสําหรับโรงงานที่ประกอบกิจการโดยใช้คนงานตั้งแต่ฉบับละ 5,000 บาท
(3) ใบอนุญาตผลิตอาหารสําหรับโรงงานที่ประกอบกิจการโดยใช้เครื่องจักรตั้งแต่ฉบับละ 6,000 บาท
(4) ใบอนุญาตผลิตอาหารสําหรับโรงงานที่ประกอบกิจการโดยใช้เครื่องจักรที่มีฉบับละ 7,000 บาท
(5) ใบอนุญาตผลิตอาหารสําหรับโรงงานที่ประกอบกิจการโดยใช้เครื่องจักรที่มีฉบับละ 8,000 บาท
(6) ใบอนุญาตผลิตอาหารสําหรับโรงงานที่ประกอบกิจการโดยใช้เครื่องจักรที่มีฉบับละ 10,000 บาท
(7) ใบอนุญาตนำหรือสั่งอาหารเข้ามาในราชอาณาจักรฉบับละ 15,000 บาท
(8) ใบอนุญาตผลิตอาหารเป็นการเฉพาะคราวฉบับละ 2,000 บาท
(9) ใบอนุญาตนำหรือสั่งอาหารเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการเฉพาะคราวฉบับละ 2,000 บาท
(10) ใบสำคัญการขึ้นทะเบียนตำรับอาหารฉบับละ 5,000 บาท
(11) ใบแทนใบอนุญาตฉบับละ 500 บาท
(12) ใบแทนใบสําคัญการขึ้นทะเบียนตํารับอาหารฉบับละ 500 บาท
(13) การต่ออายุใบอนุญาตครั้งละเท่ากับค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประเภทนั้น ๆแต่ละฉบับ

3.ค่าธรรมเนียมการขออนุญาตในหมวดเครื่องสำอาง

กฎกระทรวง ออกตามความในพระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ.2535 ให้กำหนดค่าธรรมเนียม ดังนี้
(1) ใบสำคัญการขึ้นทะเบียนฉบับละ 1,000 บาท
(2) ใบแทนใบสำคัญการขึ้นทะเบียนฉบับละ 500 บาท
(3) ค่าธรรมเนียมการผลิตเพื่อขายปีละ 1,000 บาท
(4) ค่าธรรมเนียมการนำเข้าเพื่อขายปีละ 2,000 บาท

4.ค่าธรรมเนียมการขออนุญาตในหมวดเครื่องมือแพทย์

กฎกระทรวงกําหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับเครื่องมือแพทย์พ.ศ. 2552 ให้กําหนดค่าธรรมเนียม ดังต่อไปนี้
(1) ใบจดทะเบียนสถานประกอบการฉบับละ 1,000 บาท
(2) ใบอนุญาตผลิตเครื่องมือแพทย์ฉบับละ 10,000 บาท
(3) ใบอนุญาตนําเข้าเครื่องมือแพทย์ฉบับละ 20,000 บาท
(4) ใบอนุญาตขายเครื่องมือแพทย์ฉบับละ 1,000 บาท
(5) ใบอนุญาตโฆษณาเครื่องมือแพทย์
(ก) การโฆษณาบนสิ่งของที่แจก (Gimmick)ฉบับละ 200 บาท
(ข) การโฆษณาอื่น ๆฉบับละ 1,000 บาท
(6) ใบรับแจ้งรายการละเอียดผลิตเครื่องมือแพทย์ฉบับละ 5,000 บาท
(6) ใบรับแจ้งรายการละเอียดนําเข้าเครื่องมือแพทย์ฉบับละ 10,000 บาท
(8) หนังสือรับรอง
(ก) หนังสือรับรองประกอบการนําเข้าเครื่องมือแพทย์
(1) ไม่เกินสิบรายการฉบับละ 1,000 บาท
(2) เกินสิบรายการฉบับละ 2,000 บาท
(ข) หนังสือรับรองระบบคุณภาพการผลิตการนําเข้าและฉบับละ 1,000 บาท
(ค) หนังสือรับรองการส่งออก หนังสือรับรองผู้ผลิตฉบับละ 500 บาท
(ง) หนังสือรับรองฉลากหรือเอกสารกํากับเครื่องมือแพทย์ฉบับละ 1,000 บาท
(จ) หนังสือรับรองการผลิตเครื่องมือแพทย์เพื่อการส่งออกฉบับละ 1,000 บาท
(9) ใบรับรองการประเมินเครื่องมือแพทย์ตามมาตรา 22ฉบับละ1,000 บาท
(10) ใบแทนใบจดทะเบียนสถานประกอบการใบแทนใบอนุญาตฉบับละ 200 บาท
(11) คําขอจดทะเบียนสถานประกอบการฉบับละ 100 บาท
(12) คําขออนุญาตฉบับละ 100 บาท
(13) คําขอแจ้งรายการละเอียดฉบับละ 100 บาท
(14) คําขอย้ายหรือเปลี่ยนแปลงสถานที่ผลิตนําเข้า ขายหรือฉบับละ 100 บาท
(15) คําขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการใบจดทะเบียนสถานประกอบการฉบับละ 100 บาท
(16) คําขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการในใบอนุญาต หรือรายการอื่น ๆฉบับละ 100 บาท
(16) คําขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการในใบรับแจ้งรายการละเอียดหรือฉบับละ 100 บาท
(18) การต่ออายุใบจดทะเบียนสถานประกอบการเท่ากับค่าธรรมเนียมใบจดทะเบียนสถานประกอบการประเภทนั้น ๆ แต่ละฉบับ
(19) การต่ออายุใบอนุญาตเท่ากับค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประเภทนั้น ๆ แต่ละฉบับ
(20) การต่ออายุใบรับแจ้งรายการละเอียดเท่ากับค่าธรรมเนียมใบรับแจ้งรายการละเอียดประเภทนั้น ๆ แต่ละฉบับ
(21) คําขออื่น ๆฉบับละ 100 บาท

5.ค่าธรรมเนียมการขออนุญาตในหมวดวัตถุอันตราย

กฎกระทรวงกําหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับวัตถุอันตรายพ.ศ. 2552
ข้อ 1 ให้ยกเลิกกฎกระทรวงฉบับที่3(พ.ศ.2536)ออกตามความในพระราชบัญญัติวัตถุอันตรายพ.ศ. 2535
ข้อ 2 ให้กําหนดค่าธรรมเนียม ดังต่อไปนี้
(1) ใบสําคัญการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตรายฉบับละ 2,000 บาท
(2) ใบอนุญาตผลิตวัตถุอันตรายคิดตามกําลังการผลิตต่อปีดังต่อไปนี้
(ก) ไม่ถึงสิบเมตริกตันฉบับละ 500 บาท
(ข) ตั้งแต่สิบเมตริกตันขึ้นไป แต่ไม่ถึงห้าสิบเมตริกตันฉบับละ 1,000 บาท
(ค) ตั้งแต่ห้าสิบเมตริกตันขึ้นไป แต่ไม่ถึงหนึ่งร้อยเมตริกตันฉบับละ 1,500 บาท
(ง) ตั้งแต่หนึ่งร้อยเมตริกตันขึ้นไปฉบับละ 3,000 บาท
(3) ใบอนุญาตนําเข้าวัตถุอันตรายคิดตามปริมาณการนําเข้าต่อปี ดังต่อไปนี้
(ก) ไม่ถึงสิบเมตริกตันฉบับละ 500 บาท
(ข) ตั้งแต่สิบเมตริกตันขึ้นไป แต่ไม่ถึงห้าสิบเมตริกตันฉบับละ 1,000 บาท
(ค) ตั้งแต่ห้าสิบเมตริกตันขึ้นไป แต่ไม่ถึงหนึ่งร้อยเมตริกตันฉบับละ 1,500 บาท
(ง) ตั้งแต่หนึ่งร้อยเมตริกตันขึ้นไปฉบับละ 3,000 บาท
(4) ใบอนุญาตส่งออกวัตถุอันตรายคิดตามปริมาณส่งออกต่อปีดังต่อไปนี้
(ก) ไม่ถึงสิบเมตริกตันฉบับละ 500 บาท
(ข) ตั้งแต่สิบเมตริกตันขึ้นไป แต่ไม่ถึงห้าสิบเมตริกตันฉบับละ 1,000 บาท
(ค) ตั้งแต่ห้าสิบเมตริกตันขึ้นไป แต่ไม่ถึงหนึ่งร้อยเมตริกตันฉบับละ 1,500 บาท
(ง) ตั้งแต่หนึ่งร้อยเมตริกตันขึ้นไปฉบับละ 3,000 บาท
(5) ใบอนุญาตมีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตราย
(ก) ไม่ถึงสิบเมตริกตันต่อปี
(1) ใช้พื้นที่เฉพาะเพื่อการเก็บรักษาไม่ถึงห้าร้อยตารางเมตรฉบับละ 500 บาท
(2) ใช้พื้นที่เฉพาะเพื่อการเก็บรักษาตั้งแต่ห้าร้อยตารางเมตรฉบับละ 1,000 บาท
(3) ใช้พื้นที่เฉพาะเพื่อการเก็บรักษาตั้งแต่หนึ่งพันตารางเมตรฉบับละ 1,500 บาท
(4) ใช้พื้นที่เฉพาะเพื่อการเก็บรักษาตั้งแต่สองพันตารางเมตรฉบับละ 3,000 บาท
(ข) ตั้งแต่สิบเมตริกตันขึ้นไปต่อปีแต่ไม่ถึงห้าสิบเมตริกตันต่อปี
(1) ใช้พื้นที่เฉพาะเพื่อการเก็บรักษาไม่ถึงหนึ่งพันตารางเมตรฉบับละ 1,000 บาท
(2) ใช้พื้นที่เฉพาะเพื่อการเก็บรักษาตั้งแต่หนึ่งพันตารางเมตรฉบับละ 1,500 บาท
(3) ใช้พื้นที่เฉพาะเพื่อการเก็บรักษาตั้งแต่สองพันตารางเมตรขึ้นไปฉบับละ 3,000 บาท
(ค) ตั้งแต่ห้าสิบเมตริกตันขึ้นไปต่อปีแต่ไม่ถึงหนึ่งร้อยเมตริกตันต่อปี
(1) ใช้พื้นที่เฉพาะเพื่อการเก็บรักษาไม่ถึงสองพันตารางเมตรฉบับละ 1,500 บาท
(2) ใช้พื้นที่เฉพาะเพื่อการเก็บรักษาตั้งแต่สองพันตารางเมตรขึ้นไปฉบับละ 3,000 บาท
(ง) ตั้งแต่หนึ่งร้อยเมตริกตันขึ้นไปต่อปีฉบับละ 3,000 บาท
(6) ใบอนุญาตผลิตตัวอย่างวัตถุอันตรายฉบับละ300 บาท
(6) ใบอนุญาตนําเข้าตัวอย่างวัตถุอันตรายฉบับละ 300 บาท
(8) ใบแทนใบสําคัญการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตรายฉบับละ 1,000 บาท
(9) ใบแทนใบอนุญาตตาม (2) (3) (4)และ (5)ฉบับละ 500 บาท
(10) ใบแทนใบอนุญาตตาม (6) และ (6)ฉบับละ 200 บาท
(11) การต่ออายุใบสําคัญการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตรายครั้งละเท่ากับค่าธรรมเนียมสําหรับใบสําคัญการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตราย
(12) การต่ออายุใบอนุญาตครั้งละเท่ากับค่าธรรมเนียมสําหรับใบอนุญาตแต่ละประเภท

บริการรับจด อย. ครอบคลุมการขอเอกสารและใบอนุญาตอะไรบ้าง

6 ขั้นตอนและเอกสาร ฉบับผู้ประกอบการ โดยแต่ละขั้นตอนเราจะแนบลิงก์ URL ไปยังหน้าไฟล์เอกสารจาก อย. เพื่อให้ผู้อ่านสามารถศึกษารายละเอียดเชิงลึกได้

1. ขั้นตอนและเอกสารด้านผลิตภัณฑ์ยาและผลิตภัณฑ์วัตถุเสพติด

2. ขั้นตอนและเอกสารด้านผลิตภัณฑ์อาหาร

  • 2.1 ขั้นตอนและเอกสารด้านผลิตภัณฑ์อาหาร (ฉบับ E-book) https://www.fda.moph.go.th/Pages/ebook/food/index.html
  • 2.2 ขั้นตอนและเอกสารรายกระบวนงานด้านผลิตภัณฑ์อาหาร https://www.fda.moph.go.th/sites/food/SitePages/Manual.aspx

3. ขั้นตอนและเอกสารด้านผลิตภัณฑ์เครื่องมือแพทย์

  • 3.1 ขั้นตอนและเอกสารด้านผลิตภัณฑ์เครื่องมือแพทย์ (ฉบับ E-book) https://www.fda.moph.go.th/Pages/ebook/mdc/index.html
  • 3.2 ขั้นตอนและเอกสารรายกระบวนงานผลิตภัณฑ์เครื่องมือแพทย์ https://www.fda.moph.go.th/SitePages/Manual_Medical.aspx?Name=%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B9%81%E0%B8%9E%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B9%8C

4. ขั้นตอนและเอกสารด้านผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์วัตถุอันตราย

  • 4.1 ขั้นตอนและเอกสารด้านผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง (ฉบับ E-book) https://www.fda.moph.go.th/Pages/ebook/cmt/index.html
  • 4.2 ขั้นตอนและเอกสารด้านผลิตภัณฑ์วัตถุอันตราย (ฉบับ E-book)  https://www.fda.moph.go.th/Pages/ebook/txc/index.html
  • 4.3 ขั้นตอนและเอกสารรายกระบวนงานผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง https://www.fda.moph.go.th/sites/Cosmetic/SitePages/Permission.aspx
  • 4.4 ขั้นตอนและเอกสารรายกระบวนงานผลิตภัณฑ์วัตถุอันตราย https://www.fda.moph.go.th/sites/Hazardous/SitePages/Guide_for_citizens_Handbook.aspx

5. ขั้นตอนและเอกสารด้านผลิตภัณฑ์วัตถุเสพติด

6. ขั้นตอนและเอกสารด้านผลิตภัณฑ์สมุนไพร

แอดไลน์เพิ่มเพื่อน
https://line.me/R/ti/p/~@tgcthailand

แอดไลน์