การใช้ลิขสิทธิ์ที่เป็นธรรม (Fair use) คืออะไรและมีหลักการอย่างไร

การใช้ลิขสิทธิ์ที่เป็นธรรม (Fair use) คืออะไรและมีหลักการอย่างไร

การใช้ลิขสิทธิ์ที่เป็นธรรม (Fair use) คือการอนุญาตให้ใช้เนื้อหาที่มีลิขสิทธิ์อย่างจำกัดและมีเงื่อนไขโดยไม่ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน เพื่อมุ่งสร้างความสมดุลระหว่างผลประโยชน์ของผู้ถือลิขสิทธิ์กับผลประโยชน์สาธารณะในการเผยแพร่และใช้งานสร้างสรรค์ที่กว้างขึ้น

การใช้ลิขสิทธิ์ที่เป็นธรรม (Fair use) คือเป็นการใช้งานโดยชอบและเป็นข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ถือว่าเป็นการใช้งานโดยชอบและไม่ผิดกฎหมาย

หลักการมีต้นกำเนิดมาจากกฎหมายทั่วไปของแองโกล-อเมริกันในช่วงศตวรรษที่ 18 และ 19 เพื่อป้องกันไม่ให้กฎหมายลิขสิทธิ์ถูกบังคับใช้อย่างเข้มงวดเกินไป และ ยับยั้งความคิดสร้างสรรค์ซึ่งกฎหมาย ออกแบบมาเพื่อส่งเสริม

พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 32 วางหลักของการใช้ลิขสิทธิ์ที่เป็นธรรม (Fair use) ไว้ดังนี้

การกระทำแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของบุคคลอื่นตามพระราชบัญญัตินี้ หากไม่ขัดต่อการแสวงหาประโยชน์จากงานอันมีลิขสิทธิ์ตามปกติของเจ้าของลิขสิทธิ์และไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิ อันชอบด้วยกฎหมายของเจ้าของลิขสิทธิ์เกินสมควร มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์

ภายใต้บังคับบทบัญญัติในวรรคหนึ่ง การกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ ตามวรรคหนึ่ง มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าได้กระทำดังต่อไปนี้
(๑) วิจัยหรือศึกษางานนั้น อันมิใช่การกระทำเพื่อหากำไร
(๒) ใช้เพื่อประโยชน์ของตนเอง หรือเพื่อประโยชน์ของตนเองและบุคคลอื่นในครอบครัวหรือญาติสนิท
(๓) ติชม วิจารณ์ หรือแนะนาผลงานโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานนั้น
(๔) เสนอรายงานข่าวทางสื่อสารมวลชนโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานนั้น
(๕) ทำซ้ำ ดัดแปลง นำออกแสดง หรือทำให้ปรากฏ เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาของศาลหรือเจ้าพนักงานซึ่งมีอำนาจตามกฎหมาย หรือในการรายงานผลการพิจารณาดังกล่าว
(๖) ทำซ้ำ ดัดแปลง นำออกแสดง หรือทำให้ปรากฏโดยผู้สอน เพื่อประโยชน์ในการสอน ของตน อันมิใช่การกระทำเพื่อหากำไร
(๗) ทำซ้ำ ดัดแปลงบางส่วนของงาน หรือตัดทอนหรือทำบทสรุปโดยผู้สอนหรือสถาบันศึกษา เพื่อแจกจ่ายหรือจำหน่ายแก่ผู้เรียนในชั้นเรียนหรือในสถาบันศึกษา ทั้งนี้ ต้องไม่เป็นการกระทำเพื่อหากำไร
(๘) นำงานนั้นมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการถามและตอบในการสอบ

จะเห็นได้ว่าจากบทบัญญัติมาตรา 32 ของพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ การพิจารณาว่าการใช้ลิขสิทธิ์ในกรณีหนึ่งเป็นไปตามหลักการใช้ลิขสิทธิ์เพื่อผลประโยชน์สาธารณะในการเผยแพร่และใช้งานสร้างสรรค์ที่กว้างขึ้น หากไม่ขัดต่อการแสวงหาประโยชน์จากงานอันมีลิขสิทธิ์ตามปกติของเจ้าของลิขสิทธิ์และไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิ อันชอบด้วยกฎหมายของเจ้าของลิขสิทธิ์เกินสมควร มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์

แอดไลน์ การใช้ลิขสิทธิ์ที่เป็นธรรม (Fair use) คืออะไรและมีหลักการอย่างไร

การใช้ลิขสิทธิ์ที่เป็นธรรม (Fair use) คืออะไรและมีหลักการอย่างไร

การใช้ลิขสิทธิ์ที่เป็นธรรม (Fair use) คืออะไรและมีหลักการอย่างไร

การใช้ลิขสิทธิ์ที่เป็นธรรม (Fair use) คือการอนุญาตให้ใช้เนื้อหาที่มีลิขสิทธิ์อย่างจำกัดและมีเงื่อนไขโดยไม่ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน เพื่อมุ่งสร้างความสมดุลระหว่างผลประโยชน์ของผู้ถือลิขสิทธิ์กับผลประโยชน์สาธารณะในการเผยแพร่และใช้งานสร้างสรรค์ที่กว้างขึ้น

การใช้ลิขสิทธิ์ที่เป็นธรรม (Fair use) คือเป็นการใช้งานโดยชอบและเป็นข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ถือว่าเป็นการใช้งานโดยชอบและไม่ผิดกฎหมาย

หลักการมีต้นกำเนิดมาจากกฎหมายทั่วไปของแองโกล-อเมริกันในช่วงศตวรรษที่ 18 และ 19 เพื่อป้องกันไม่ให้กฎหมายลิขสิทธิ์ถูกบังคับใช้อย่างเข้มงวดเกินไป และ ยับยั้งความคิดสร้างสรรค์ซึ่งกฎหมาย ออกแบบมาเพื่อส่งเสริม

พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 32 วางหลักของการใช้ลิขสิทธิ์ที่เป็นธรรม (Fair use) ไว้ดังนี้

การกระทำแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของบุคคลอื่นตามพระราชบัญญัตินี้ หากไม่ขัดต่อการแสวงหาประโยชน์จากงานอันมีลิขสิทธิ์ตามปกติของเจ้าของลิขสิทธิ์และไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิ อันชอบด้วยกฎหมายของเจ้าของลิขสิทธิ์เกินสมควร มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์

ภายใต้บังคับบทบัญญัติในวรรคหนึ่ง การกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ ตามวรรคหนึ่ง มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าได้กระทำดังต่อไปนี้
(๑) วิจัยหรือศึกษางานนั้น อันมิใช่การกระทำเพื่อหากำไร
(๒) ใช้เพื่อประโยชน์ของตนเอง หรือเพื่อประโยชน์ของตนเองและบุคคลอื่นในครอบครัวหรือญาติสนิท
(๓) ติชม วิจารณ์ หรือแนะนาผลงานโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานนั้น
(๔) เสนอรายงานข่าวทางสื่อสารมวลชนโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานนั้น
(๕) ทำซ้ำ ดัดแปลง นำออกแสดง หรือทำให้ปรากฏ เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาของศาลหรือเจ้าพนักงานซึ่งมีอำนาจตามกฎหมาย หรือในการรายงานผลการพิจารณาดังกล่าว
(๖) ทำซ้ำ ดัดแปลง นำออกแสดง หรือทำให้ปรากฏโดยผู้สอน เพื่อประโยชน์ในการสอน ของตน อันมิใช่การกระทำเพื่อหากำไร
(๗) ทำซ้ำ ดัดแปลงบางส่วนของงาน หรือตัดทอนหรือทำบทสรุปโดยผู้สอนหรือสถาบันศึกษา เพื่อแจกจ่ายหรือจำหน่ายแก่ผู้เรียนในชั้นเรียนหรือในสถาบันศึกษา ทั้งนี้ ต้องไม่เป็นการกระทำเพื่อหากำไร
(๘) นำงานนั้นมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการถามและตอบในการสอบ

จะเห็นได้ว่าจากบทบัญญัติมาตรา 32 ของพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ การพิจารณาว่าการใช้ลิขสิทธิ์ในกรณีหนึ่งเป็นไปตามหลักการใช้ลิขสิทธิ์เพื่อผลประโยชน์สาธารณะในการเผยแพร่และใช้งานสร้างสรรค์ที่กว้างขึ้น หากไม่ขัดต่อการแสวงหาประโยชน์จากงานอันมีลิขสิทธิ์ตามปกติของเจ้าของลิขสิทธิ์และไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิ อันชอบด้วยกฎหมายของเจ้าของลิขสิทธิ์เกินสมควร มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์

แอดไลน์