การยื่นขออนุญาตผลิต/นำเข้าเครื่องสำอาง ด้วยตนเอง
ขั้นตอนการยื่นขออนุญาตผลิต/นำเข้าเครื่องสำอางประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ดังนี้
1. สมัครเข้าใช้งานระบบยืนยันตัวบุคคล (Open ID) 1 วันทำการ
2. ยื่นขออนุมัติสถานที่ 20 วันทำการ
3. ยื่นคำขอจดแจ้งเครื่องสำอาง* 1-3 วันทำการ
ขั้นตอนที่ 1 สมัครเข้าใช้งานระบบยืนยันตัวบุคคล (Open ID)
สมัครผ่านทาง https://accounts.egov.go.th/Citizen โดยกดเลือกหัวข้อ “สมัครสมาชิก”
ขั้นตอนที่ 2 ยื่นขออนุมัติสถานที่
เอกสารสำหรับขอสถานที่ ผลิต นำเข้า
2.1 เอกสารยืนยันตัวตน
1 หนังสือมอบอำนาจ
2 บัตรประจำตัวประชาชน (ผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ)
3 สำเนาทะเบียนบ้านของสถานที่ติดต่อ
4 เอกสารรับรองจากภาครัฐ
1) ทะเบียนพาณิชย์(บุคคลธรรมดา)
2) หนังสือรับรองนิติบุคคล (นิติบุคคล) (ออกให้ไม่เกิน 6 เดือน)
3) หนังสือจดทะเบียน (วิสาหกิจชุมชน)
4) หนังสือจัดตั้งองค์กร (รัฐ/กลุ่ม/องค์กร)
5 บัตรประจำตัวผู้เสียภาษี(ถ้ามี)
2.2 เอกสารการยืนยันสถานที่
1 สำเนาทะเบียนบ้านสถานที่ (กรณีไม่ใช้เจ้าบ้านแนบสัญญาเช่าหรือหนังสือยินยอมให้ใช้สถานที่
พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้เช่า/ผู้ให้เช่า)
2 แผนที่สถานที่ติดต่อ/ผลิต/นำเข้า/เก็บเครื่องสำอาง พร้อมระบุ GPS
3 ข้อมูลทั่วไป
4 เอกสารการฝึกอบรม
5 ใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (ถ้ามี)
2.3 เอกสารแบบแปลนแผนผังและภาพถ่ายสถานที่
1 แบบแปลนแผนผัง
2 ภาพถ่ายอาคารภายนอก และบริเวณโดยรอบ
3 เอกสารแสดงระบบการผลิต/ วิธีการผลิตเครื่องสำอาง (โดยย่อ) ไม่ต้อง
4 ภาพถ่ายป้ายหน้าสถานประกอบการ โดยต้องมีป้ายแสดงข้อความ “สถานที่ผลิตเครื่องสำอาง”
หรือ “สถานที่นำเข้าเครื่องสำอาง” หรือ “สถานที่เก็บรักษาเครื่องสำอาง” ตามประเภทสถานที่
5 ภาพถ่ายภายในห้องสถานที่ผลิต/นำเข้า/เก็บรักษาเครื่องสำอาง
6 ภาพถ่ายอื่น ๆ ได้แก่
– ภาพถ่ายบริเวณเปลี่ยนเครื่องแต่งกาย
– ภาพถ่ายบริเวณล้างอุปกรณ์
– ภาพถ่ายอุปกรณ์ปฐมพยาบาล
– ภาพถ่ายถังดับเพลิง
– ภาพถ่ายถังทราย
แนวทางจัดทำแผนที่สถานที่ผลิต/ติดต่อ/นำเข้า/เก็บรักษา
รายการที่ตรวจสอบในแผนที่ (สถานที่ติดต่อ สถานที่ผลิต สถานที่นำเข้า สถานที่เก็บรักษา)
1.ความชัดเจน
2.ระบุจุดสังเกตที่ใกล้เคียง
3.ระบุชื่อถนน/ชื่อซอย
4.ระบุระยะทางเป็นหน่วย เมตร/ กิโลเมตร
5.ระบุพิกัด GPS
แนวทางจัดทำแผนผังสถานที่ผลิต/นำเข้า/เก็บรักษา
1.ชื่อและที่อยู่สถานที่
2.แสดงแผนผังของทุกชั้นในอาคาร
3.แสดงบริเวณโดยรอบของอาคารที่มีการผลิตและการเก็บ โดยแสดงอาคารที่อยู่ภายในรั้วเดียวกันด้วย
4.ความชัดเจน และแสดงสัดส่วนตามจริง ระบุหน่วยเป็นเมตร
5.แสดงตำแหน่ง “ห้องผลิต” “สำนักงานสถานที่นำเข้า”และ “ห้องเก็บรักษาเครื่องสำอาง” (โดยห้องผลิตและห้องเก็บฯ ต้องไม่เป็นทางเดินผ่านไปสู่บริเวณอื่น ยกเว้น กรณีห้องเก็บฯ เป็นทางผ่านไปห้องผลิตสามารถทำได้)/(ยกเว้นสำนักงานสถานที่นำเข้า)/(ยกเว้นห้องผลิต)/(ยกเว้นห้องผลิตและสำนักงานสถานที่นำเข้า)
6.ระบุตำแหน่งอ่างล้างมือก่อนเข้าห้องผลิต (กรณีเป็นอ่างล้างมือในห้องน้ำด้วย ต้องมีอุปกรณ์ทำความสะอาดเพิ่มเติม เช่น เจลแอลกอฮอล์โดยระบุตำแหน่งด้วย)
7.แสดงตำแหน่งประตู หน้าต่าง ช่องระบายอากาศ (แสดงข้อความ/สัญลักษณ์)
8.ระบุตำแหน่งการติดตั้งอุปกรณ์การผลิตและการบรรจุ
9.ระบุตำแหน่งชั้นวางหรือพาเลทในการจัดเก็บ
10.ระบุตำแหน่งถังดับเพลิง ชุดปฐมพยาบาล และอุปกรณ์ที่ใช้กรณีสารเคมีรั่วไหล
11.ระบุตำแหน่งของเครื่องปรับอากาศและพัดลมระบายอากาศ(ถ้ามี)
ขั้นตอนที่ 3 ยื่นคำขอจดแจ้งเครื่องสำอาง
สรุปย่อจากการศึกษาด้วยตนเอง :
ข้อกำหนดของสถานที่ผลิตเครื่องสำอาง ประกอบด้วยหัวข้อหลักๆ 10 หัวข้อ ดังนี้ .
๑. ข้อมูลทั่วไป : จัดเตรียมเอกสารข้อมูลสถานที่ผลิต และผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง .
๒. บุคลากร : ผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับการผลิต ต้องมีความรู้เกี่ยวกับวิธีการที่ดีในการผลิต .
เครื่องสำอาง ความรู้ทางด้านสุขอนามัยและข้อควรระวังในการปฏิบัติงาน สำหรับผู้ปฏิบัติงานด้าน .
จดแจ้ง ต้องมีความรู้เรื่องกฎหมาย ระเบียบที่เกี่ยวข้อง และต้องมีหลักฐานบันทึกไว้ .
๓. สถานที่ผลิต : ต้องมีอย่างน้อย 2 ห้อง ผนัง พื้น เพดานทำจากวัสดุที่มั่นคงถาวร แข็งแรง .
๔. เครื่องมือ เครื่องใช้และอุปกรณ์การผลิต : ไม่ปนเปื้อน ไม่ทำปฏิกิริยากับเครื่องสำอาง ทำความ .
สะอาดง่าย .
๕. สุขลักษณะและสุขอนามัย : สถานที่และอุปกรณ์สะอาด ผู้ปฏิบัติงานไม่เป็นโรคติดต่อ .
๖. การดำเนินการผลิต : มีการกำหนดและตรวจสอบวัตถุดิบที่ใช้ และขั้นตอนการผลิต .
๗. การควบคุมคุณภาพ : มีการตรวจสอบเครื่องสำอางสำเร็จรูป รวมถึงเก็บตัวอย่างไว้เพื่อทวนสอบ
๘. เอกสารการผลิต : ต้องมีสูตรแม่บทและบันทึกการผลิตในแต่ละรุ่นการผลิต .
๙. การเก็บรักษา : วัตถุดิบ วัสดุบรรจุ และเครื่องสำอางสำเร็จรูป มีการเก็บอย่างเป็นสัดส่วนไม่ก่อเกิด การปนเปื้อน .
๑๐. ข้อร้องเรียน : มีแนวทางการจัดการกรณีมีข้อร้องเรียน
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่