ความแตกต่างระหว่างชื่อทางการค้ากับชื่อเครื่องหมายการค้า ศึกษากรณี ชื่อทางการค้า ตั้งโต๊ะกัง

ความแตกต่างระหว่างชื่อทางการค้ากับชื่อเครื่องหมายการค้า

ชื่อทางการค้า คือ สร้างขึ้นเพื่อระบุตัวตนของแหล่งที่มาของสินค้า หรือ เจ้าของสินค้า เช่น ยูนิลิเวอร์

เครื่องหมายการค้า คือ สร้างขึ้นเพื่อระบุตัวตนของสินค้า เช่น บรีส ซันซิล นกแก้ว เป็นต้น

ชื่อทางการค้า และ เครื่องหมายการค้า มีสิ่งหนึ่งที่เหมือนกันคือ ชื่อจะต้องไม่พ้อง หรือมีชื่อเรียกขานตรงกันหรือคล้ายคลึงกับชื่อที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว

ชื่อทางการค้า จะมีข้อมูลอยู่ในฐานข้อมูลของตนเองภายใต้ ระเบียบสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกลางว่าด้วยการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนและบริษัท พ.ศ. 2549

เครื่องหมายการค้า จะมีข้อมูลอยู่ในฐานข้อมูลของตนเองภายใต้ พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. ๒๕๓๔

 

คำถามคือ ชื่อทางการค้า และ เครื่องหมายการค้า หากมีการตั้งชื่อซ้ำกันจะทำอย่างไร ?? 

หลักการของเรื่องนี้คือความสุจริตของการใช้และความแพร่หลายของการใช้ !! 

 

อ้างถึง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่เกี่ยวกับชื่อทางการค้า มาตรา 18 มีสาระสำคัญว่า “สิทธิของบุคคลในการที่จะใช้นามอันชอบที่จะใช้ได้นั้น ถ้ามีบุคคลอื่นโต้แย้งก็ดี หรือ บุคคลผู้เป็นเจ้าของนามนั้นต้องเสื่อมเสียประโยชน์เพราะการที่มีผู้อื่นมาใช้นามเดียวกันโดยมิได้รับอำนาจให้ใช้ก็ดี บุคคลผู้เป็นเจ้าของนามจะเรียกให้บุคคลนั้นระงับความเสียหายก็ได้ ถ้าและเป็นที่พึงวิตกว่าจะต้องเสียหายอยู่สืบไป จะร้องขอต่อศาลให้สั่งห้ามก็ได้

เช่น หากเราตั้งชื่อ ชื่อทางการค้า ตั้งโต๊ะกัง จดทะเบียนภายใต้ จดทะเบียนห้างหุ้นส่วนและบริษัท และ ไม่ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า แต่ใช้มาไม่นานและไม่แพร่หลาย ถุือว่าบุคคลลอื่นที่ยื่นจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าย่อมมีสิทธิดีกว่า

เช่น หากเราตั้งชื่อ ชื่อทางการค้า ตั้งโต๊ะกัง จดทะเบียนภายใต้ จดทะเบียนห้างหุ้นส่วนและบริษัท และ ไม่ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า แต่ใช้มานานและมีความแพร่หลาย ถุือว่าบุคคลลอื่นที่ยื่นจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าย่อมไม่มีสิทธิดีกว่า

 

 

อ้างถึงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9277/2547 จำเลยที่ 1 จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าอันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ในขณะที่ พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 ใช้บังคับอยู่ ดังนี้ โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าคำว่า “โต๊ะกัง” และ “ตั้งโต๊ะกัง” ที่เป็นภาษาไทย จีน และอังกฤษ ซึ่งเขียนว่า “TOH KANG” และ “TANG TOH KANG” มาตั้งแต่ครั้งบรรพบุรุษของโจทก์ที่ 2 โดยใช้กับสินค้าจำพวกทองคำ คำดังกล่าวเป็นคำที่มีลักษณะบ่งเฉพาะ ไม่ได้มีความหมายว่าทองคำหรือเกี่ยวข้องกับทองคำแต่อย่างใด หากแต่เป็นชื่อสกุลของบรรพบุรุษของฝ่ายโจทก์ที่ประกอบกิจการค้าทองคำติดต่อกันมาตั้งแต่ก่อนปี 2464 เป็นเวลากว่า 80 ปีแล้ว และยังใช้คำว่า “ตั้งโต๊ะกัง” เป็นชื่อห้างหุ้นส่วนจำกัดโจทก์ที่ 1 ตลอดมาด้วย

ส่วนจำเลยที่ 1 เพิ่งมาประกอบกิจการร้านทองในลักษณะเดียวกับโจทก์ทั้งสองเมื่อปี 2515 และต่อมาในปี 2531 ถึงปี 2532 จำเลยทั้งสองนำชื่อเครื่องหมายการค้าของโจทก์ทั้งสองใช้เป็นชื่อห้างย่อมทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดว่าสถานประกอบการค้าทองของจำเลยทั้งสองเป็นสถานประกอบการค้าทองของโจทก์ทั้งสองหรือเป็นสถานประกอบการค้าทองที่โจทก์ทั้งสองมีส่วนรวมอยู่ด้วย เป็นเหตุให้โจทก์ทั้งสองได้รับความเสียหายจากการสับสนหรือหลงผิดดังกล่าวได้เช่นกัน

เมื่อจำเลยทั้งสองไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ทั้งสองให้ใช้ชื่อทางการค้าคำว่า “โต๊ะกัง” เป็นเหตุให้โจทก์ทั้งสองได้รับความเสียหาย จึงเป็นการกระทำละเมิดต่อสิทธิในชื่อทางการค้าของโจทก์ทั้งสอง

แม้โจทก์จะไม่ได้ต่ออายุชื่อเครื่องหมายการค้าของตนจนแต่ก็ไม่ทำให้สิทธิในชื่อเครื่องหมายการค้าของโจทก์เสียไป โจทก์ทั้งสองย่อมมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสองเนื่องจากการใช้ชื่อทางการค้าของโจทก์ทั้งสองโดยไม่ชอบนั้นได้ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 18 และ มาตรา

แอดไลน์